ความเดิมตอนที่แล้วอ่าน
• Hong Kong on Foot : ส่อง Ngong Ping - Tai O ที่ยอดฮิตคนไทย
• Hong Kong on Foot : ตามรอยมรดก Ping Shan # ๒
• Hong Kong on Foot : ตามรอยมรดก Ping Shan # ๑
• Hong Kong on Foot : พิชิต Dragon Back
• Hong Kong on Foot : ตะลุยเกาะ Lamma
๑๔ กุมภาพันธ์๒๕๕๖ : เช้านี้โปรแกรมของผมจะเข้าไปในเมืองครับ ในเมืองที่ว่าก็คือ เกาะฮ่องกงซึ่งเป็นศูนย์รวมการบริหารราชการ และยังเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของเขตปกครองพิเศษด้วย ผมข้ามเรือข้ามฟากจากฝั่งจิมซาจุ่ย (Tsim Tsa Tsui) เหมือนเมื่อครั้งไปเที่ยวเกาะลัมม่า (Lamma Island) แล้วตั้งต้นจากจุดนั้นเพื่อนั่งรถเมล์เดินทางต่อไปยังหาด “Repulse Bay” เพื่อสักการะเจ้าแม่กวนอิมที่ศาลเจ้า Kwun Yam แหล่งท่องเที่ยวที่คนไทยส่วนใหญ่มาเยี่ยมชมกัน รถเมล์จอดอยู่ใต้ถุนของตึก Exchange Square มีหลายสายที่ไปได้ครับ
ผมนั่งสาย ๖ ไป ย่าน Repulse Bay ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะครับ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ เคยถูกใช้เป็นฐานทัพของพวกโจรสลัด ที่ดักปล้นสะดมเรือชาวต่างชาติที่เดินทางมาค้าขายกับจีน ก่อนจะถูกขับไล่โดยชาวอังกฤษ จนเป็นที่มาของชื่ออ่าว Repulse ที่แปลว่า การขับไล่ นั่นเอง แต่ก็มีอีกทฤษฎีบอกว่า ชื่อของอ่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เรือรบไม้ที่ชื่อ HMS Repulse ได้มาประจำการอยู่ที่อ่าวนี้ ต่อมาได้ถูกพัฒนาเป็นชายหาด มีการสร้างโรงแรม และได้กำเนิดสายรถเมล์จากเซ็นทรัล – อ่าวรีพัลส์ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินรถเมล์ที่เก่าแก่ที่สุดในฮ่องกง นอกจากนี้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการรบด้วย
รถเมล์พามาส่งถึงที่หาด แต่ก่อนหน้านั้น เราต้องเล็งหาไอ้ตึกที่มีช่องโหว่ทะลุกลางตึกเสียก่อน ที่เขาว่าให้มังกรผ่านตามฮวงจุ้ย อะไรก็ว่ากันไป เมื่อถึงแล้วก็ลงเดินเลาะริมหาดไปจนสุดทางสู่ “ศาลเจ้าแม่กวนอิม” ซึ่งมีเจ้าแม่กวนอิมองค์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ คู่กับรูปปั้นของเทพเจ้า Tin Hau จริงๆ ดูแล้วน่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ฮิตมากๆ ของชาวสยาม ถึงขนาดมีป้ายเขียนคำกล่าวบูชาเป็นภาษาไทยด้วย ภายในศาลเจ้าก็มีเทพเจ้าต่างๆ เยอะแยะให้ได้ขอพรไม่ว่าจะเป็นเรื่องโชคลาภ ต่ออายุ กันตามอัธยาศัย
ชมทัศนียภาพไปสักพักก็ได้ฤกษ์นั่งรถเมล์กลับไปยังตึก Exchange Square. เราเดินไปทางเส้นทางของแผนที่ที่ผมเขียนไว้ไปยัง Central Escalator Link Alley (Central Mid-Level's Escalator) หรือบันไดเลื่อนกลางแจ้งที่เขาว่า มีความยาวทั้งระบบยาวที่สุดในโลก ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๖ เพื่อการเดินเท้าขึ้นและลงเขาโดยเชื่อมต่อกับ ถ.Des Voeux ในย่านเซ็นทรัล กับ ถ.Conduit ในย่าน มิด-เลเวลส์ พาดผ่านแนวถนนสายย่อยต่างๆ ตัวบันไดเลื่อนยาวรวม ๘๐๐ เมตร ใช้บันไดเลื่อนทั้งหมด ๒๐ ตัว ถ้าเดินกันจริงๆ จะใช้เวลาราวๆ ๒๐ นาที โดยบันไดจะเปิดให้เลื่อนลงเขาตอน ๖ - ๑๐ โมงเช้า และเลื่อนขึ้นเขาในเวลา ๑๐.๓๐ น. – เที่ยงคืน
ตอนผมมาถึงนี่ยังเป็นภาวะบันไดขาลง เราต้องเดินขึ้นเขาผ่านบันไดไม่เลื่อนคู่ขนาน (บันไดปูนธรรมดา) เอา ถ้าลองคิดภาพตามก็เหมือนบันไดที่ส่งไปกันเป็นทอดๆ จากจุดแรก ไปจุดที่ ๒ จุดที่ ๓ ฯลฯ ซึ่งช่วงที่ว่างก็จะตัดกับถนนต่างๆ ให้คนได้เดินแยกลงไป ซึ่งสองข้างทางก็จะมีทั้งร้านค้า และสถานที่สำคัญอยู่รอบๆ ด้วย ซึ่งในจุดนี้ผมได้แว่บไปลงไปถ่ายรูปสถานีตำรวจเก่าบน ถนนฮอลลิวูด แต่ปรากฏว่าเขาปิดซ่อมครับ
ผมเดินไปลงตรงแยก ถ.Caine แล้วเดินต่อไปยัง “พิพิธภัณฑ์ ดร.ซุน ยัด เซ็น” อดีตประธานาธิบดีจีน ผู้ปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในแผ่นดินมังกร แต่ทว่า .... ผมมาวันพฤหัสบดี ซึ่งตรงกับวันหยุดพิพิธภัณฑ์บ้านเขา (คล้ายๆ กับบ้านเราที่หยุดวันจันทร์) เลยได้แต่เกาะลูกกรงรั้วถ่ายภาพอนุสาวรีย์ของ ดร.ซุน กับตัวอาคารไปเท่านั้น แล้วก็เดินจากมาขึ้นรถเมล์ฝั่งตรงข้ามเพื่อไปชมอาคารเก่าและสถานที่ราชการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเกาะฮ่องกง
รถเมล์ สาย ๑๐๓ พาเรามาส่งตรงที่ป้าย Government House เพื่อพาเราไปเยี่ยมชม “ทำเนียบเขตบริหารพิเศษฮ่องกง” ครับ ทำเนียบนี้ก่อสร้างในปีพ.ศ. ๒๓๙๔ ภายหลังจากที่อังกฤษยึดครองเกาะได้สำเร็จปีที่ ๘ ใช้เวลาสร้าง ๔ ปี และบุคคลแรกที่ได้มาอาศัยที่นี่ก็คือ เซอร์ จอห์น เบาวริ่ง (Sir John Bowring) ผู้ว่าการเมืองฮ่องกงคนที่ ๔ ชื่ออาจจะคุ้นๆ ซึ่งก็คือผู้ทำสนธิสัญญาเบาวริ่ง ระหว่างอังกฤษ กับ สยาม เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ นั่นเอง ส่วนนายคริส แพทเทิร์น (Chris Patten) เป็นผู้ว่าการเมืองคนสุดท้ายที่ได้มาอยู่ นอกจากนี้ได้ถูกใช้เป็นสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกง ในช่วงปี ๒๓๙๘ - ๒๔๗๓
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยึดครองฮ่องกง และก็ได้ถูกใช้งานโดยผู้ว่าการทหารญี่ปุ่น ตัวอาคารได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นแบบลูกผสมระหว่างสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นและนีโอคลาสสิค โดย เซอิชิ ฟูจิมูร่า (Seichi Fujimura) ในปี ๒๔๘๗ และหลังจากอังกฤษส่งมอบฮ่องกงคืนสู่จีนในปี ๒๕๔๐ ก็ได้ถูกใช้เพื่อต้อนรับสำหรับพิธีต่างๆ แต่ นายตุง ชี หวา (Tung Chee Hwa) ผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง คนแรก กลับไม่ได้อาศัยที่นี่ ต่อมา นายโดนัลด์ จาง (Donald Tsang) ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกง คนที่ ๒ ได้ย้ายเข้ามาเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙ ภายหลังที่มีการบูรณะครั้งใหญ่
แน่นอนว่า ผมไม่ได้เข้าไปหรอกครับ เรามีหน้าตาเป็นอาวุธ ได้แต่รีบยืนแชะภาพ ๒ ภาพแล้วก็เดินออกมา ไปกันต่อที่ “St.John's Cathedral” อยู่ไม่ไกลมากนัก วิหารเซนต์จอห์นฯ นี่ถือเป็นศาสนกิจที่เก่าแก่ที่สุดแห่งนิกาย Anglican ในแถบตะวันออกที่ยังหลงเหลืออยู่ในฮ่องกง เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๓๙๒ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นก็เข้ามายึดครองดัดแปลงเป็นสโมสรสำหรับชาวยุ่น มีรายงานด้วยว่าเครื่องประดับวิหารถูกสอยไปหมด รวมทั้งหน้าต่างแบบกระจงหุงด้วย ไอ้ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องสถาปัตยกรรมสักเท่าไหร่ แต่ดูด้วยตาแล้วรู้สึกได้ว่า เป็นวิหารที่สวยมากๆ เลยครับ
ถัดมาจากวิหาร ก็จะพบกับตัวอาคารสีโอรสรูปทรงตะวันตกประมาณ ๓ ชั้น นั่นคือ ศาลอุทธรณ์สูงสุดฮ่องกง (Court of final appeal) หรือ The Former French Mission Building ในอดีตเคยเป็นที่พักของผู้ว่าการเมืองฮ่องกงคนที่ ๑ และ ๒ ราวๆ ปี พ.ศ.๒๓๘๖ จากนั้นตัวอาคารก็ตกเป็นคฤหาสน์ของเอกชนหลายรายจนกระทั่ง ได้ถูกธนาคาร เฮชเอสบีซี ยึดครองในปีพ.ศ.๒๔๑๙ ก่อนจะเป็นสถานทูตรัสเซีย และจากนั้น องค์กรปารีส ฟอเรจ์น มิชชั่น (the Paris Foreign Missions Society) ก็เข้าใช้งานโดยเข้ามาปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยตกแต่งเน้นโทนสีส้มเพิ่มหอสวดมนต์ซึ่งมีหลังคาทรงกลมอยู่ด้านบน ตัวอาคารก็ได้ปรับโฉมด้วยอิฐแดงและถูกเปิดทำการอีกครั้งในพ.ศ.๒๔๖๐ ต่อมาในพ.ศ.๒๔๙๖ ก็ได้ถูกขายคืนสู่รัฐบาลฮ่องกง
หลังจากนั้นก็ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เป็นที่ทำการกระทรวงศึกษาธิการ , ศาลแขวงวิคตอเรีย (the Victoria District Court) ในช่วงพ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๒๓ เป็นที่ทำการศาลฎีกาในปี ๒๕๒๓ - ๒๕๒๖ และสำนักโฆษกรัฐบาล เมื่อปี ๒๕๓๐ จนกระทั่งได้ถูกใช้เป็นศาลอุทธรณ์สูงสุด เมื่อคราวที่อังกฤษคืนฮ่องกงให้จีนเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมด่อมๆ มองๆ รอบๆ อาคารไปเรื่อยๆ แล้วก็ลงมาสู่ด้านล่าง ลองหลับตาแล้วนึกว่า เกาะฮ่องกงนี่เหมือนภูเขาลูกนึง แล้วพวกเขาสร้างสิ่งก่อสร้างกันตามไหล่เขาเป็นชั้นๆ ไปครับ
ผมมาอยู่ตรงธนาคารเอชเอสบีซี สำนักงานใหญ่ มองไปด้านบนก็จะเห็นตัวอาคารศาลอุทธรณ์สูงสุด สีส้มๆ ดูสวยสะดุดตา ก่อนจะเดินจากมาเพื่อไปยังอีกสุดสำคัญ นั่นคืออาคารสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกง (The legislative council building) ต้องบอกว่า ตอนนี้เป็นอดีตไปแล้วสิ เพราะเขาย้ายไปใช้ที่ ศูนย์บริหารราชการกลาง ตาม่า (the Central Government Complex Tamar) แทนตั้งแต่ปี ๒๕๕๔
ส่วนตัวอาคารเดิมที่เราเห็นอยู่นี่ก็จะใช้เป็นศาลอุทธรณ์สูงสุดแทน ในปี ๒๕๕๘ ตัวอาคารออกแบบโดย เซอร์ แอสตัน เว็บบ์ และ เอ็ดเวิร์ด อินเกรสส์ เบลล์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ผู้รับผิดชอบงานส่วนหน้าของตัวอาคารฝั่งตะวันออกของพระราชวังบัคกิ้งแฮมและที่ดินริมถนนครอมเวลล์ ส่วนหน้าของพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ธในกรุงลอนดอน เปิดใช้บริการเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๔๕๕ เป็นอาคารหินแกรนิต ๒ ชั้น ออกแบบสไตล์นีโอคลาสสิค รองรับด้วยเสาหินไอออนนิค มีรูปปั้นของผู้พิพากษาที่ถูกปิดตา ซึ่งเป็นตัวแทนของเทอมิส (Themis) เทพพระเจ้าแห่งความยุติธรรมและกฏหมายของกรีก เป็นแบบจำลองของรูปปั้นบน โอล์ด ไบลี่ย์ (ศาลอาญากลาง) ของกรุงลอนดอน (the Old Bailey of London) อยู่บนยอดหน้าจั่ว
ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ตัวอาคารก็ถูกใช้เป็นกองบัญชาการตำรวจญี่ปุ่นหรือ เค็มปีไตด้วย (Kempeitai) มีรายงานด้วยว่าอาคารหลังนี้เคยถูกใช้เป็นศาลฎีกา และในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์หลังได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน และ ราวๆ พ.ศ.๒๕๒๓ ก็ได้ย้ายศาลฎีกาออกไป ทำให้ในปี ๒๕๒๘ ได้ถูกใช้เป็นสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกงจนถึงปีพ.ศ.๒๕๕๔
พูดถึงความสวยงามก็ต้องยอมรับว่า เห็นแล้วสะดุดตา ก็พลางนึกถึงรัฐสภาบ้านเรา ที่ผมเคยเข้าไปประจำการเมื่อสมัยฝึกงาน อืมม์ .... อย่างล่าสุดนี่ดีกว่า รัฐสภาใหม่ ที่เขาว่าจะสร้างกันตรงเกียกกาย เห็นแบบแล้วก็ดูสวยดีครับ แต่ถ้าประชากรนักการเมืองยังเป็นแบบเดิมนี่ก็ ... สวยแต่รูปจูบไม่หอมจริงๆ
ด้านหน้าของตัวอาคารจะมีลานกว้างๆ เดินไปรอบๆ แล้วก็จะพบกับรูปปั้นบุคคลคนหนึ่งอยู่ เขาคือนายโธมัส แจ็กสัน (Thomas Jackson) อดีตประธานกรรมการผู้จัดการธนาคารเฮชเอสบีซี คนที่๓ ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาจัดการแหล่งเงินของอาณานิคมฮ่องกงภายใต้ธนาคารขนาดใหญ่แห่งแรกของเกาะ
ส่วนด้านข้าง จะมีอนุสรณ์สถาน ดิ เซโนตาปห์ (The Cenotaph) ซึ่งสร้างในครั้งแรกเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และต่อมาได้เพิ่มให้เกียรติแด่เหยื่อของสงครามโลกครั้งที่ ๒ และในปี ๒๕๑๓ ได้มีการแกะสลักคำภาษาจีนซึ่งมีความหมายว่า "ขอให้จิตวิญญาณอันทุกข์ทรมาณของพวกเขาจงเป็นอมตะ และจะเถกิงเกียรติวิญญาณของพวกเขาอย่างยืนยง" ("May their martyred souls be immortal, and their noble spirits endure.") เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตระหว่างที่ญี่ปุ่นยึดครองด้วย เห็นว่าลานกว้างๆ นี้นอกจากจะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่แล้ว ยังเป็นที่จัดกิจกรรมและแสดงงานศิลปะอีกด้วย......
(โปรดติดตามต่อตอนหน้า)
• Hong Kong on Foot : ส่อง Ngong Ping - Tai O ที่ยอดฮิตคนไทย
• Hong Kong on Foot : ตามรอยมรดก Ping Shan # ๒
• Hong Kong on Foot : ตามรอยมรดก Ping Shan # ๑
• Hong Kong on Foot : พิชิต Dragon Back
• Hong Kong on Foot : ตะลุยเกาะ Lamma
๑๔ กุมภาพันธ์๒๕๕๖ : เช้านี้โปรแกรมของผมจะเข้าไปในเมืองครับ ในเมืองที่ว่าก็คือ เกาะฮ่องกงซึ่งเป็นศูนย์รวมการบริหารราชการ และยังเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของเขตปกครองพิเศษด้วย ผมข้ามเรือข้ามฟากจากฝั่งจิมซาจุ่ย (Tsim Tsa Tsui) เหมือนเมื่อครั้งไปเที่ยวเกาะลัมม่า (Lamma Island) แล้วตั้งต้นจากจุดนั้นเพื่อนั่งรถเมล์เดินทางต่อไปยังหาด “Repulse Bay” เพื่อสักการะเจ้าแม่กวนอิมที่ศาลเจ้า Kwun Yam แหล่งท่องเที่ยวที่คนไทยส่วนใหญ่มาเยี่ยมชมกัน รถเมล์จอดอยู่ใต้ถุนของตึก Exchange Square มีหลายสายที่ไปได้ครับ
ผมนั่งสาย ๖ ไป ย่าน Repulse Bay ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะครับ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ เคยถูกใช้เป็นฐานทัพของพวกโจรสลัด ที่ดักปล้นสะดมเรือชาวต่างชาติที่เดินทางมาค้าขายกับจีน ก่อนจะถูกขับไล่โดยชาวอังกฤษ จนเป็นที่มาของชื่ออ่าว Repulse ที่แปลว่า การขับไล่ นั่นเอง แต่ก็มีอีกทฤษฎีบอกว่า ชื่อของอ่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เรือรบไม้ที่ชื่อ HMS Repulse ได้มาประจำการอยู่ที่อ่าวนี้ ต่อมาได้ถูกพัฒนาเป็นชายหาด มีการสร้างโรงแรม และได้กำเนิดสายรถเมล์จากเซ็นทรัล – อ่าวรีพัลส์ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินรถเมล์ที่เก่าแก่ที่สุดในฮ่องกง นอกจากนี้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการรบด้วย
รถเมล์พามาส่งถึงที่หาด แต่ก่อนหน้านั้น เราต้องเล็งหาไอ้ตึกที่มีช่องโหว่ทะลุกลางตึกเสียก่อน ที่เขาว่าให้มังกรผ่านตามฮวงจุ้ย อะไรก็ว่ากันไป เมื่อถึงแล้วก็ลงเดินเลาะริมหาดไปจนสุดทางสู่ “ศาลเจ้าแม่กวนอิม” ซึ่งมีเจ้าแม่กวนอิมองค์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ คู่กับรูปปั้นของเทพเจ้า Tin Hau จริงๆ ดูแล้วน่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ฮิตมากๆ ของชาวสยาม ถึงขนาดมีป้ายเขียนคำกล่าวบูชาเป็นภาษาไทยด้วย ภายในศาลเจ้าก็มีเทพเจ้าต่างๆ เยอะแยะให้ได้ขอพรไม่ว่าจะเป็นเรื่องโชคลาภ ต่ออายุ กันตามอัธยาศัย
ชมทัศนียภาพไปสักพักก็ได้ฤกษ์นั่งรถเมล์กลับไปยังตึก Exchange Square. เราเดินไปทางเส้นทางของแผนที่ที่ผมเขียนไว้ไปยัง Central Escalator Link Alley (Central Mid-Level's Escalator) หรือบันไดเลื่อนกลางแจ้งที่เขาว่า มีความยาวทั้งระบบยาวที่สุดในโลก ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๖ เพื่อการเดินเท้าขึ้นและลงเขาโดยเชื่อมต่อกับ ถ.Des Voeux ในย่านเซ็นทรัล กับ ถ.Conduit ในย่าน มิด-เลเวลส์ พาดผ่านแนวถนนสายย่อยต่างๆ ตัวบันไดเลื่อนยาวรวม ๘๐๐ เมตร ใช้บันไดเลื่อนทั้งหมด ๒๐ ตัว ถ้าเดินกันจริงๆ จะใช้เวลาราวๆ ๒๐ นาที โดยบันไดจะเปิดให้เลื่อนลงเขาตอน ๖ - ๑๐ โมงเช้า และเลื่อนขึ้นเขาในเวลา ๑๐.๓๐ น. – เที่ยงคืน
ตอนผมมาถึงนี่ยังเป็นภาวะบันไดขาลง เราต้องเดินขึ้นเขาผ่านบันไดไม่เลื่อนคู่ขนาน (บันไดปูนธรรมดา) เอา ถ้าลองคิดภาพตามก็เหมือนบันไดที่ส่งไปกันเป็นทอดๆ จากจุดแรก ไปจุดที่ ๒ จุดที่ ๓ ฯลฯ ซึ่งช่วงที่ว่างก็จะตัดกับถนนต่างๆ ให้คนได้เดินแยกลงไป ซึ่งสองข้างทางก็จะมีทั้งร้านค้า และสถานที่สำคัญอยู่รอบๆ ด้วย ซึ่งในจุดนี้ผมได้แว่บไปลงไปถ่ายรูปสถานีตำรวจเก่าบน ถนนฮอลลิวูด แต่ปรากฏว่าเขาปิดซ่อมครับ
ผมเดินไปลงตรงแยก ถ.Caine แล้วเดินต่อไปยัง “พิพิธภัณฑ์ ดร.ซุน ยัด เซ็น” อดีตประธานาธิบดีจีน ผู้ปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในแผ่นดินมังกร แต่ทว่า .... ผมมาวันพฤหัสบดี ซึ่งตรงกับวันหยุดพิพิธภัณฑ์บ้านเขา (คล้ายๆ กับบ้านเราที่หยุดวันจันทร์) เลยได้แต่เกาะลูกกรงรั้วถ่ายภาพอนุสาวรีย์ของ ดร.ซุน กับตัวอาคารไปเท่านั้น แล้วก็เดินจากมาขึ้นรถเมล์ฝั่งตรงข้ามเพื่อไปชมอาคารเก่าและสถานที่ราชการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเกาะฮ่องกง
รถเมล์ สาย ๑๐๓ พาเรามาส่งตรงที่ป้าย Government House เพื่อพาเราไปเยี่ยมชม “ทำเนียบเขตบริหารพิเศษฮ่องกง” ครับ ทำเนียบนี้ก่อสร้างในปีพ.ศ. ๒๓๙๔ ภายหลังจากที่อังกฤษยึดครองเกาะได้สำเร็จปีที่ ๘ ใช้เวลาสร้าง ๔ ปี และบุคคลแรกที่ได้มาอาศัยที่นี่ก็คือ เซอร์ จอห์น เบาวริ่ง (Sir John Bowring) ผู้ว่าการเมืองฮ่องกงคนที่ ๔ ชื่ออาจจะคุ้นๆ ซึ่งก็คือผู้ทำสนธิสัญญาเบาวริ่ง ระหว่างอังกฤษ กับ สยาม เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ นั่นเอง ส่วนนายคริส แพทเทิร์น (Chris Patten) เป็นผู้ว่าการเมืองคนสุดท้ายที่ได้มาอยู่ นอกจากนี้ได้ถูกใช้เป็นสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกง ในช่วงปี ๒๓๙๘ - ๒๔๗๓
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยึดครองฮ่องกง และก็ได้ถูกใช้งานโดยผู้ว่าการทหารญี่ปุ่น ตัวอาคารได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นแบบลูกผสมระหว่างสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นและนีโอคลาสสิค โดย เซอิชิ ฟูจิมูร่า (Seichi Fujimura) ในปี ๒๔๘๗ และหลังจากอังกฤษส่งมอบฮ่องกงคืนสู่จีนในปี ๒๕๔๐ ก็ได้ถูกใช้เพื่อต้อนรับสำหรับพิธีต่างๆ แต่ นายตุง ชี หวา (Tung Chee Hwa) ผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง คนแรก กลับไม่ได้อาศัยที่นี่ ต่อมา นายโดนัลด์ จาง (Donald Tsang) ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮ่องกง คนที่ ๒ ได้ย้ายเข้ามาเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๙ ภายหลังที่มีการบูรณะครั้งใหญ่
แน่นอนว่า ผมไม่ได้เข้าไปหรอกครับ เรามีหน้าตาเป็นอาวุธ ได้แต่รีบยืนแชะภาพ ๒ ภาพแล้วก็เดินออกมา ไปกันต่อที่ “St.John's Cathedral” อยู่ไม่ไกลมากนัก วิหารเซนต์จอห์นฯ นี่ถือเป็นศาสนกิจที่เก่าแก่ที่สุดแห่งนิกาย Anglican ในแถบตะวันออกที่ยังหลงเหลืออยู่ในฮ่องกง เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๓๙๒ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นก็เข้ามายึดครองดัดแปลงเป็นสโมสรสำหรับชาวยุ่น มีรายงานด้วยว่าเครื่องประดับวิหารถูกสอยไปหมด รวมทั้งหน้าต่างแบบกระจงหุงด้วย ไอ้ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องสถาปัตยกรรมสักเท่าไหร่ แต่ดูด้วยตาแล้วรู้สึกได้ว่า เป็นวิหารที่สวยมากๆ เลยครับ
ถัดมาจากวิหาร ก็จะพบกับตัวอาคารสีโอรสรูปทรงตะวันตกประมาณ ๓ ชั้น นั่นคือ ศาลอุทธรณ์สูงสุดฮ่องกง (Court of final appeal) หรือ The Former French Mission Building ในอดีตเคยเป็นที่พักของผู้ว่าการเมืองฮ่องกงคนที่ ๑ และ ๒ ราวๆ ปี พ.ศ.๒๓๘๖ จากนั้นตัวอาคารก็ตกเป็นคฤหาสน์ของเอกชนหลายรายจนกระทั่ง ได้ถูกธนาคาร เฮชเอสบีซี ยึดครองในปีพ.ศ.๒๔๑๙ ก่อนจะเป็นสถานทูตรัสเซีย และจากนั้น องค์กรปารีส ฟอเรจ์น มิชชั่น (the Paris Foreign Missions Society) ก็เข้าใช้งานโดยเข้ามาปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยตกแต่งเน้นโทนสีส้มเพิ่มหอสวดมนต์ซึ่งมีหลังคาทรงกลมอยู่ด้านบน ตัวอาคารก็ได้ปรับโฉมด้วยอิฐแดงและถูกเปิดทำการอีกครั้งในพ.ศ.๒๔๖๐ ต่อมาในพ.ศ.๒๔๙๖ ก็ได้ถูกขายคืนสู่รัฐบาลฮ่องกง
หลังจากนั้นก็ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เป็นที่ทำการกระทรวงศึกษาธิการ , ศาลแขวงวิคตอเรีย (the Victoria District Court) ในช่วงพ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๒๓ เป็นที่ทำการศาลฎีกาในปี ๒๕๒๓ - ๒๕๒๖ และสำนักโฆษกรัฐบาล เมื่อปี ๒๕๓๐ จนกระทั่งได้ถูกใช้เป็นศาลอุทธรณ์สูงสุด เมื่อคราวที่อังกฤษคืนฮ่องกงให้จีนเมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมด่อมๆ มองๆ รอบๆ อาคารไปเรื่อยๆ แล้วก็ลงมาสู่ด้านล่าง ลองหลับตาแล้วนึกว่า เกาะฮ่องกงนี่เหมือนภูเขาลูกนึง แล้วพวกเขาสร้างสิ่งก่อสร้างกันตามไหล่เขาเป็นชั้นๆ ไปครับ
ผมมาอยู่ตรงธนาคารเอชเอสบีซี สำนักงานใหญ่ มองไปด้านบนก็จะเห็นตัวอาคารศาลอุทธรณ์สูงสุด สีส้มๆ ดูสวยสะดุดตา ก่อนจะเดินจากมาเพื่อไปยังอีกสุดสำคัญ นั่นคืออาคารสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกง (The legislative council building) ต้องบอกว่า ตอนนี้เป็นอดีตไปแล้วสิ เพราะเขาย้ายไปใช้ที่ ศูนย์บริหารราชการกลาง ตาม่า (the Central Government Complex Tamar) แทนตั้งแต่ปี ๒๕๕๔
ส่วนตัวอาคารเดิมที่เราเห็นอยู่นี่ก็จะใช้เป็นศาลอุทธรณ์สูงสุดแทน ในปี ๒๕๕๘ ตัวอาคารออกแบบโดย เซอร์ แอสตัน เว็บบ์ และ เอ็ดเวิร์ด อินเกรสส์ เบลล์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ผู้รับผิดชอบงานส่วนหน้าของตัวอาคารฝั่งตะวันออกของพระราชวังบัคกิ้งแฮมและที่ดินริมถนนครอมเวลล์ ส่วนหน้าของพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ธในกรุงลอนดอน เปิดใช้บริการเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๔๕๕ เป็นอาคารหินแกรนิต ๒ ชั้น ออกแบบสไตล์นีโอคลาสสิค รองรับด้วยเสาหินไอออนนิค มีรูปปั้นของผู้พิพากษาที่ถูกปิดตา ซึ่งเป็นตัวแทนของเทอมิส (Themis) เทพพระเจ้าแห่งความยุติธรรมและกฏหมายของกรีก เป็นแบบจำลองของรูปปั้นบน โอล์ด ไบลี่ย์ (ศาลอาญากลาง) ของกรุงลอนดอน (the Old Bailey of London) อยู่บนยอดหน้าจั่ว
ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ตัวอาคารก็ถูกใช้เป็นกองบัญชาการตำรวจญี่ปุ่นหรือ เค็มปีไตด้วย (Kempeitai) มีรายงานด้วยว่าอาคารหลังนี้เคยถูกใช้เป็นศาลฎีกา และในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์หลังได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟใต้ดิน และ ราวๆ พ.ศ.๒๕๒๓ ก็ได้ย้ายศาลฎีกาออกไป ทำให้ในปี ๒๕๒๘ ได้ถูกใช้เป็นสภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกงจนถึงปีพ.ศ.๒๕๕๔
พูดถึงความสวยงามก็ต้องยอมรับว่า เห็นแล้วสะดุดตา ก็พลางนึกถึงรัฐสภาบ้านเรา ที่ผมเคยเข้าไปประจำการเมื่อสมัยฝึกงาน อืมม์ .... อย่างล่าสุดนี่ดีกว่า รัฐสภาใหม่ ที่เขาว่าจะสร้างกันตรงเกียกกาย เห็นแบบแล้วก็ดูสวยดีครับ แต่ถ้าประชากรนักการเมืองยังเป็นแบบเดิมนี่ก็ ... สวยแต่รูปจูบไม่หอมจริงๆ
ด้านหน้าของตัวอาคารจะมีลานกว้างๆ เดินไปรอบๆ แล้วก็จะพบกับรูปปั้นบุคคลคนหนึ่งอยู่ เขาคือนายโธมัส แจ็กสัน (Thomas Jackson) อดีตประธานกรรมการผู้จัดการธนาคารเฮชเอสบีซี คนที่๓ ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาจัดการแหล่งเงินของอาณานิคมฮ่องกงภายใต้ธนาคารขนาดใหญ่แห่งแรกของเกาะ
ส่วนด้านข้าง จะมีอนุสรณ์สถาน ดิ เซโนตาปห์ (The Cenotaph) ซึ่งสร้างในครั้งแรกเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และต่อมาได้เพิ่มให้เกียรติแด่เหยื่อของสงครามโลกครั้งที่ ๒ และในปี ๒๕๑๓ ได้มีการแกะสลักคำภาษาจีนซึ่งมีความหมายว่า "ขอให้จิตวิญญาณอันทุกข์ทรมาณของพวกเขาจงเป็นอมตะ และจะเถกิงเกียรติวิญญาณของพวกเขาอย่างยืนยง" ("May their martyred souls be immortal, and their noble spirits endure.") เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตระหว่างที่ญี่ปุ่นยึดครองด้วย เห็นว่าลานกว้างๆ นี้นอกจากจะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่แล้ว ยังเป็นที่จัดกิจกรรมและแสดงงานศิลปะอีกด้วย......
(โปรดติดตามต่อตอนหน้า)