เล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองน่ะแยบยลกว่าเราท่านทั่วไปคิดไว้นัก !
การ “ให้” ในทางการเมืองดูง่ายแต่การ “เอาคืน” นี่สิที่ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาทำความเข้าใจ
คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยอาจจะได้รับคำโฆษณาเพียงแค่ว่า รัฐบาลมีนโยบายปรับเงินเดือนขั้นต่ำเป็น 1.5 หมื่น บาทหรือให้มีนโยบายเอาใจคนจนรถคันแรกคืนภาษีได้ แต่คนเหล่านี้ไม่ได้คำอธิบายเบื้องหลังนอกเหนือจากนั้นว่า ฐานเงินเงินเดือนขั้นต่ำ 1.5 หมื่นเท่ากับบุคคลนั้น ๆ มีรายได้ต่อปี 1.8 แสนบาท ต้องเข้าสู่ฐานภาษี ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ประจำปี และหากมีค่าลดหย่อนมากพอก็ไม่ต้องจ่าย แต่คนรุ่นใหม่เพิ่งทำงานจะมีกี่คนที่ซื้อบ้าน ค่าประกันชีวิต เลี้ยงดูพ่อแม่ เลี้ยงลูก ซื้อกองทุน LTF กองทุนเลี้ยงชีพ ฯลฯ ครบตามเงื่อนไขลดหย่อน
ไม่เฉพาะกลุ่มที่เพิ่งได้ปรับ 1.5 หมื่นเท่านั้น เพราะคนที่อยู่ก่อนอายุงาน 1-5 ปี ได้รับการปรับฐานขึ้นตามไปด้วย คนที่ไม่เคยอยู่ในเกณฑ์มีรายได้หลังการหักค่าใช้จ่ายมากพอก็จะมากเพียงพอที่ต้องเสียภาษีแล้วล่ะคราวนี้
แท้จริงแล้วนโยบายเรียกความนิยมของชนระดับล่างที่ดูเหมือนจริงใจกับชนชั้นล่างมีปลายทางสุดท้ายที่เป็นประโยชน์กับรัฐบาลมากกว่า หนึ่งก็คือได้คะแนนเสียงเพื่อได้มาซึ่งอำนาจ สองคือเป็นฐานได้รายได้เข้ามาสู่รัฐบาลมากขึ้น ผู้ที่ลงคะแนนควรจะทำความเข้าใจประโยคที่ว่า “ไม่มีของฟรีในโลก” ให้ถ่องแท้ขึ้น
และไม่เพียงแค่นโยบายเงินเดือนขั้นต่ำอย่างเดียวเท่านั้นหรอก เจ้านโยบายรถคันแรกคืนภาษีนี่ก็เหมือนกัน คนที่จะซื้อรถได้ต้องกรอกข้อมูลรายได้หลักทรัพย์ค้ำประกันกับไฟแนนซ์และต้องอยู่ในระบบภาษีใช่ไหม ดังนั้นคนที่จะซื้อรถคันแรกก็ต้องไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี คนที่ผ่อนรถเดือนละ 8-9 พันบาทได้ต้องมีรายได้มากพอใช่ไหม ปฏิเสธได้ยังไงก็ในเมื่อคุณกรอกรายได้ที่มากพอให้กับไฟแนนซ์ตอนซื้อรถ
สรุปว่า ใครที่ไม่เคยเสียภาษีคราวนี้เตรียมตัวได้เลยเพราะรัฐบาลเพิ่งประกาศว่าจะรับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเพิ่มและกำลังขยายฐานภาษีอย่างจริงจัง ทางหนึ่งกรมสรรพากรแถลงว่าจะใช้เทคโนโลยีดูการรั่วไหลของกิจการห้างร้าน โดยเฉพาะธุรกิจใหม่อย่างอีคอมเมิร์ซ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภาษีเงินได้บุคคลประเภทแรงงานรับจ้างนี่จะรอดนะครับ แรงงานกินเงินเดือนหรือประเภทได้ค่าจ้างที่บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายนี่แหละตัวดี ดิ้นไม่รอดหรอก
ปัญหาของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในระยะที่ใกล้ปิดหีบงบประมาณเก่าเริ่มปีงบประมาณใหม่ออกอาการ “ปิดหีบไม่ลง” พอจะเข้าใจได้ว่าการลดภาษีรายได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ปีนี้และ 20% ปีหน้าเป็นความจำเป็นระดับมหภาค แต่การลดภาษีดังกล่าวทำให้รายได้ลดลงไปทันทีปีนี้ 1.5 แสนล้านบาท ผสมโรงกับนโยบายประชานิยมต่างๆ จึงต้องปรับภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ขึ้นมากะทันหัน
ตัวเลขภาษีไม่ตามเป้า ส่งออกไม่ตามเป้า ไหนจะรายจ่ายประชานิยมพองกว่าที่กำหนดไว้เดิม ตัวเลขเหล่านี้มันโกหกไม่ได้ จึงต้องแถและไถเป็น White Lie โน่น ซึ่งที่สุดแล้วจะสะท้อนผ่านการรีดเลือดจากปู จากธุรกิจห้างร้านอย่างขนานใหญ่ในปีหน้า เพราะกรมสรรพากรก็แสดงออกมาแล้วว่ามีความมั่นใจเรื่องการขยายฐานภาษีจริงๆ และมีเป้าในการรีดอยู่พอสมควร
สำหรับผมแล้วไม่ปฏิเสธหรอกครับหากสรรพากรจะขยายฐานภาษีออกไปเพราะฐานภาษีของไทยเล็กและแคบมาก แต่การไปรีดเลือดกับปู กับเอสเอ็มอี และแรงงานรายได้เดือนละไม่เกิน 2 หมื่นบาทโดยไม่แตะกลุ่มคนรวยสุดก็คือไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินโดยเฉพาะภาษีมรดกและภาษีที่ดินเป็นการตัดสินใจที่ผิด และเจตนาช่วยพวกพ้องผู้ที่ได้เปรียบอยู่แล้วโดยไม่คิดแตะคนเหล่านี้
จะไม่ว่าอะไรเลยหากรัฐบาลนี้ขยายฐานภาษีรีดเพิ่มจากคนจน แรงงานผู้กินเงินเดือนระดับล่าง พร้อมๆ กับการมุ่งเก็บภาษีทรัพย์สินเพิ่ม อย่าดีแต่รีดเอาจากผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม รีดเอาจากคนงานแรงงานที่ได้เงินเดือนเพิ่มมานิดหน่อย ไปเอาจากคนที่ถือครองและได้เปรียบสังคมอยู่แล้วให้ได้ดีกว่า
ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ง่าย ผู้ที่อธิบายความบิดเบี้ยวดังกล่าวได้ดีคือมีสถิติตัวเลขหลักฐานทางวิชาการครบครันคนหนึ่งก็คือ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ในงานชิ้นที่ชื่อว่า “เศรษฐศาสตร์ (ของ) การเมืองไทย: ความเหลื่อมล้ำของภาษีทรัพย์สิน” ซึ่งเป็นงานที่ควรจะนำมาย่อยให้คนไทยได้รับรู้แบบตาสว่างเสียจริงๆ อาทิ
•การถือทรัพย์สินของครัวเรือนไทย (บ้านที่ดินยานพาหนะและสมบัติอื่นๆ – จากการสำรวจ สนง.สถิติแห่งชาติ ) หากจำแนกเป็นชั้นมูลค่า 10 ชั้น ปรากฏว่ามีคนที่ถือครองทรัพย์สินกลุ่มที่มากที่สุด มีมูลค่ามากกว่ากลุ่มน้อยที่สุดถึง 300 เท่าตัว
•ผู้ถือครองที่ดินมากสุดในกรุงเทพฯ 50 รายแรกถือครองที่ดินรวมกัน 14,776 ไร่ ลองคิดดูว่าแต่ละรายถือกันคนละกี่ไร่ แต่คนเหล่านี้จ่ายภาษีเพียงนิดหน่อย การถือครองที่ดินแบบกระจุกตัวคือคนไม่มากแต่มีที่ดินมากมายลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วไป เช่นที่สมุทรปราการ 50 รายแรกถือที่ดินรวมกัน 17,016 ไร่
•ปี 2552 มีเงินฝากธนาคารที่มีเงินในบัญชีเกิน 10 ล้านบาทแค่ประมาณ 7 หมื่นบัญชี (จากประชากร 65 ล้านคน) หรือคิดเป็น 0.09% ของบัญชีธนาคารทั้งหมด ถ้าคนรวยๆ เหล่านั้นแบ่งฝากคนละ 2 บัญชี เท่ากับมีคนแค่ 3.5 หมื่นคนในประเทศนี้เท่านั้นที่มีเงินในบัญชีเกิน 10 ล้านบาท และไม่เพียงเท่านั้นเงินในบัญชี 7 หมื่นบัญชีเศรษฐีกลุ่มดังกล่าวรวมกันแล้วเป็นสัดส่วนถึง 42% ของเงินฝากทั้งหมด ก็หมายความว่า หากเศรษฐีเจ้าของบัญชีทั้ง 7 หมื่นบัญชี (ที่อาจจะมีเจ้าของจริงไม่กี่คนเพราะคนรวยๆ มีคนละหลายบัญชี) พร้อมใจกันถอนเงินออกจากธนาคาร เงินฝากของระบบธนาคารไทยจะหายไปทันทีเกือบครึ่ง
แนวทางการแก้ปัญหาเรื่องรายได้รัฐบาลของรัฐบาลนี้ยังไม่มีนโยบายใดที่ไปแตะปัญหาโครงสร้างความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุกจนกระจายอย่างจริงจังเลยแม้แต่เรื่องเดียวทั้งๆ ที่ปากบอกว่าเป็นรัฐบาลของคนจน เป็นรัฐบาลเพื่อไพร่ไล่อำมาตย์ แต่พอเอาเข้าจริงนโยบายแต่ละเรื่องล้วนแต่เอาใจคนที่ได้เปรียบกว่าเป็นหลัก
รัฐบาลเพื่อไทยเลือกเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่กระทบคนทุกระดับเพราะรากหญ้าที่กินแม่โขง แสงทิพย์ เหล้าขาวดูดบุหรี่กรองทิพย์ก็กระทบ ขณะที่เป็ดบางตัวแถวบางบอนกินไวน์ถูกๆ ไม่ได้เพราะฉี่จะเหม็น ซื้อไวน์ขวดละหลักหมื่นขนหน้าแข้งไม่ร่วงที่สำคัญอยากรู้มีกี่ขวดที่ควักกระเป๋าซื้อเอง ดังนั้นผลกระทบจากมาตรการนี้ระหว่างคนจนกับคนรวยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน
รัฐบาลประชาธิปัตย์ทำท่าเงื้อง่าเหมือนจะเอาจริงเรื่องภาษีที่ดิน จะเก็บภาษีคนรวยเพิ่มโดยเฉพาะที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ซื้อทิ้งไว้เฉยๆ เก็งกำไรประเทศก็สูญเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรมาเพิ่มผลผลิต แต่ที่สุดร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ถูกถอนออกมา พอเข้าใจได้ว่าคนประชาธิปัตย์ที่เอาจริงกับปัญหาที่ดินและความเหลื่อมล้ำมีอยู่แต่ก็มีน้อย สรุปว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เอาจริง ส่วนเพื่อไทยแม้แต่นโยบายก็ยังไม่เคยเห็นดังนั้นอย่าหวังเลยว่ารัฐบาลจะหาทางเพิ่มรายได้ทางอื่น สู้ออกพรฎ.เงินกู้ แล้วก็ขยายฐานภาษีรีดจากปู เอาจากชนชั้นแรงงานมนุษย์เงินเดือนนี่แหละง่ายดีเพราะหัก ณ ที่จ่ายดิ้นไม่ออกอยู่แล้ว
นักการเมืองเองก็จัดเป็นกลุ่มคนระดับบน เป็น 1 ใน 7 หมื่นบัญชีเงินฝากที่มีเงินเกิน 10 ล้านบาท แล้วก็เป็นผู้ครองที่ดินระดับต้นๆ ของประเทศ ตัวเลขที่ดร.ผาสุกรวบรวมเมื่อปี 53 บอกว่านักการเมืองพรรคเพื่อไทยถือครองที่ดินมากสุด 173 คนรวมกันแล้ว 21,079 ไร่ ประชาธิปัตย์รองลงมา 15,181 ไร่ แล้วก็ไล่ลงมารวมไปถึงส.ว.ด้วย สรุปว่านักการเมืองในรัฐสภาไทยถือครองที่ดินรวมกัน 72,274 ไร่ แล้วอย่างนี้มันจะไปยกมือแก้กฎหมายเก็บภาษีที่ดินได้ยังไง
นโยบายรัฐบาลว่าด้วยการลดภาษีนิติบุคคลแม้จะถูกตามทฤษฎีว่าเพื่อการแข่งขันโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน แต่ก็ต้องประกอบไปด้วยปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ด้วยเช่น ค่าแรง และการคอรัปชั่น ฯลฯ ในหมวดนี้เงินหายไปแล้วแน่นอน 1.5 แสนล้านบาท ส่วนจะหวังให้นักลงทุนมาลงทุนจริงหรือไม่ก็ต้องดูการดึงดูดของเพื่อนบ้านด้วยเช่นเวียดนามค่าแรงปริญญาตรียังไม่เกิน 5 พันบาท/เดือน ทักษะนั้นไทยดีกว่าแต่อย่าลืมว่าเขาก็พัฒนาไล่ได้เช่นกัน รายจ่ายมากมายก็เห็นๆ อยู่ผ่านโชว์รูมรถติดป้ายหรา ยังรับจองรถคันแรกยืนยันส่งมอบทันพฤศจิกายนภาษีจ่ายคืนตัวนี้เป็นภาระต่องบประมาณ 2556 อย่างแน่นอน รัฐบาลจึงขยันหาเงินเพิ่มด้วยวิธีการง่ายเข้าว่า คือตีหัวคนจน แรงงานชั้นล่าง คนที่เพิ่งทำงาน 1-5 ปีแรก แล้วก็ธุรกิจห้องแถวรายเล็กรายน้อย ในนามของการขยายฐานภาษี
ไม่มีสักแอะที่คิดประกาศว่าจะปรับโครงสร้างภาษี เอาพวกที่รวยอยู่แล้วเป็นหลัก ไม่มีสักแอะที่พูดเรื่องภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดินที่นักการและนายทุนพรรคและกิจการอย่าง เอสซีแอสเสท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ แสนสิริ ฯลฯ ถือครองอยู่
ถ้าเป็นรัฐบาลที่ทำเพื่อคนจน ทำเพื่อชนชั้นไพร่จริง ในนาทีหน้าสิ่วหน้าขวานเงินทองไม่พอจ่ายแบบนี้เขาไม่คิดมาซ้ำเติมคนจนชนชั้นไพร่หรอก
ประหลาดอะไร .. ชนชั้นไพร่จริงย่อมคิดและทำเพื่อไพร่ ส่วนธรรมชาติของชนชั้นนายทุนผสมอำมาตย์แตงโมย่อมคิดและทำเพื่อชนชั้นของตัว
ปีหน้า 2556 เป็นปีของการรีดภาษีในนามของการขยายฐานภาษีครั้งใหญ่ ขอให้แรงงานยุคใหม่ เงินเดือนใหม่ 1.5 หมื่นบาทโชคดีถ้วนหน้า
การ “ให้” ในทางการเมืองดูง่ายแต่การ “เอาคืน” นี่สิที่ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาทำความเข้าใจ
คนที่เลือกพรรคเพื่อไทยอาจจะได้รับคำโฆษณาเพียงแค่ว่า รัฐบาลมีนโยบายปรับเงินเดือนขั้นต่ำเป็น 1.5 หมื่น บาทหรือให้มีนโยบายเอาใจคนจนรถคันแรกคืนภาษีได้ แต่คนเหล่านี้ไม่ได้คำอธิบายเบื้องหลังนอกเหนือจากนั้นว่า ฐานเงินเงินเดือนขั้นต่ำ 1.5 หมื่นเท่ากับบุคคลนั้น ๆ มีรายได้ต่อปี 1.8 แสนบาท ต้องเข้าสู่ฐานภาษี ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ประจำปี และหากมีค่าลดหย่อนมากพอก็ไม่ต้องจ่าย แต่คนรุ่นใหม่เพิ่งทำงานจะมีกี่คนที่ซื้อบ้าน ค่าประกันชีวิต เลี้ยงดูพ่อแม่ เลี้ยงลูก ซื้อกองทุน LTF กองทุนเลี้ยงชีพ ฯลฯ ครบตามเงื่อนไขลดหย่อน
ไม่เฉพาะกลุ่มที่เพิ่งได้ปรับ 1.5 หมื่นเท่านั้น เพราะคนที่อยู่ก่อนอายุงาน 1-5 ปี ได้รับการปรับฐานขึ้นตามไปด้วย คนที่ไม่เคยอยู่ในเกณฑ์มีรายได้หลังการหักค่าใช้จ่ายมากพอก็จะมากเพียงพอที่ต้องเสียภาษีแล้วล่ะคราวนี้
แท้จริงแล้วนโยบายเรียกความนิยมของชนระดับล่างที่ดูเหมือนจริงใจกับชนชั้นล่างมีปลายทางสุดท้ายที่เป็นประโยชน์กับรัฐบาลมากกว่า หนึ่งก็คือได้คะแนนเสียงเพื่อได้มาซึ่งอำนาจ สองคือเป็นฐานได้รายได้เข้ามาสู่รัฐบาลมากขึ้น ผู้ที่ลงคะแนนควรจะทำความเข้าใจประโยคที่ว่า “ไม่มีของฟรีในโลก” ให้ถ่องแท้ขึ้น
และไม่เพียงแค่นโยบายเงินเดือนขั้นต่ำอย่างเดียวเท่านั้นหรอก เจ้านโยบายรถคันแรกคืนภาษีนี่ก็เหมือนกัน คนที่จะซื้อรถได้ต้องกรอกข้อมูลรายได้หลักทรัพย์ค้ำประกันกับไฟแนนซ์และต้องอยู่ในระบบภาษีใช่ไหม ดังนั้นคนที่จะซื้อรถคันแรกก็ต้องไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี คนที่ผ่อนรถเดือนละ 8-9 พันบาทได้ต้องมีรายได้มากพอใช่ไหม ปฏิเสธได้ยังไงก็ในเมื่อคุณกรอกรายได้ที่มากพอให้กับไฟแนนซ์ตอนซื้อรถ
สรุปว่า ใครที่ไม่เคยเสียภาษีคราวนี้เตรียมตัวได้เลยเพราะรัฐบาลเพิ่งประกาศว่าจะรับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเพิ่มและกำลังขยายฐานภาษีอย่างจริงจัง ทางหนึ่งกรมสรรพากรแถลงว่าจะใช้เทคโนโลยีดูการรั่วไหลของกิจการห้างร้าน โดยเฉพาะธุรกิจใหม่อย่างอีคอมเมิร์ซ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภาษีเงินได้บุคคลประเภทแรงงานรับจ้างนี่จะรอดนะครับ แรงงานกินเงินเดือนหรือประเภทได้ค่าจ้างที่บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายนี่แหละตัวดี ดิ้นไม่รอดหรอก
ปัญหาของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในระยะที่ใกล้ปิดหีบงบประมาณเก่าเริ่มปีงบประมาณใหม่ออกอาการ “ปิดหีบไม่ลง” พอจะเข้าใจได้ว่าการลดภาษีรายได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ปีนี้และ 20% ปีหน้าเป็นความจำเป็นระดับมหภาค แต่การลดภาษีดังกล่าวทำให้รายได้ลดลงไปทันทีปีนี้ 1.5 แสนล้านบาท ผสมโรงกับนโยบายประชานิยมต่างๆ จึงต้องปรับภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ขึ้นมากะทันหัน
ตัวเลขภาษีไม่ตามเป้า ส่งออกไม่ตามเป้า ไหนจะรายจ่ายประชานิยมพองกว่าที่กำหนดไว้เดิม ตัวเลขเหล่านี้มันโกหกไม่ได้ จึงต้องแถและไถเป็น White Lie โน่น ซึ่งที่สุดแล้วจะสะท้อนผ่านการรีดเลือดจากปู จากธุรกิจห้างร้านอย่างขนานใหญ่ในปีหน้า เพราะกรมสรรพากรก็แสดงออกมาแล้วว่ามีความมั่นใจเรื่องการขยายฐานภาษีจริงๆ และมีเป้าในการรีดอยู่พอสมควร
สำหรับผมแล้วไม่ปฏิเสธหรอกครับหากสรรพากรจะขยายฐานภาษีออกไปเพราะฐานภาษีของไทยเล็กและแคบมาก แต่การไปรีดเลือดกับปู กับเอสเอ็มอี และแรงงานรายได้เดือนละไม่เกิน 2 หมื่นบาทโดยไม่แตะกลุ่มคนรวยสุดก็คือไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินโดยเฉพาะภาษีมรดกและภาษีที่ดินเป็นการตัดสินใจที่ผิด และเจตนาช่วยพวกพ้องผู้ที่ได้เปรียบอยู่แล้วโดยไม่คิดแตะคนเหล่านี้
จะไม่ว่าอะไรเลยหากรัฐบาลนี้ขยายฐานภาษีรีดเพิ่มจากคนจน แรงงานผู้กินเงินเดือนระดับล่าง พร้อมๆ กับการมุ่งเก็บภาษีทรัพย์สินเพิ่ม อย่าดีแต่รีดเอาจากผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่ม รีดเอาจากคนงานแรงงานที่ได้เงินเดือนเพิ่มมานิดหน่อย ไปเอาจากคนที่ถือครองและได้เปรียบสังคมอยู่แล้วให้ได้ดีกว่า
ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ง่าย ผู้ที่อธิบายความบิดเบี้ยวดังกล่าวได้ดีคือมีสถิติตัวเลขหลักฐานทางวิชาการครบครันคนหนึ่งก็คือ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ในงานชิ้นที่ชื่อว่า “เศรษฐศาสตร์ (ของ) การเมืองไทย: ความเหลื่อมล้ำของภาษีทรัพย์สิน” ซึ่งเป็นงานที่ควรจะนำมาย่อยให้คนไทยได้รับรู้แบบตาสว่างเสียจริงๆ อาทิ
•การถือทรัพย์สินของครัวเรือนไทย (บ้านที่ดินยานพาหนะและสมบัติอื่นๆ – จากการสำรวจ สนง.สถิติแห่งชาติ ) หากจำแนกเป็นชั้นมูลค่า 10 ชั้น ปรากฏว่ามีคนที่ถือครองทรัพย์สินกลุ่มที่มากที่สุด มีมูลค่ามากกว่ากลุ่มน้อยที่สุดถึง 300 เท่าตัว
•ผู้ถือครองที่ดินมากสุดในกรุงเทพฯ 50 รายแรกถือครองที่ดินรวมกัน 14,776 ไร่ ลองคิดดูว่าแต่ละรายถือกันคนละกี่ไร่ แต่คนเหล่านี้จ่ายภาษีเพียงนิดหน่อย การถือครองที่ดินแบบกระจุกตัวคือคนไม่มากแต่มีที่ดินมากมายลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วไป เช่นที่สมุทรปราการ 50 รายแรกถือที่ดินรวมกัน 17,016 ไร่
•ปี 2552 มีเงินฝากธนาคารที่มีเงินในบัญชีเกิน 10 ล้านบาทแค่ประมาณ 7 หมื่นบัญชี (จากประชากร 65 ล้านคน) หรือคิดเป็น 0.09% ของบัญชีธนาคารทั้งหมด ถ้าคนรวยๆ เหล่านั้นแบ่งฝากคนละ 2 บัญชี เท่ากับมีคนแค่ 3.5 หมื่นคนในประเทศนี้เท่านั้นที่มีเงินในบัญชีเกิน 10 ล้านบาท และไม่เพียงเท่านั้นเงินในบัญชี 7 หมื่นบัญชีเศรษฐีกลุ่มดังกล่าวรวมกันแล้วเป็นสัดส่วนถึง 42% ของเงินฝากทั้งหมด ก็หมายความว่า หากเศรษฐีเจ้าของบัญชีทั้ง 7 หมื่นบัญชี (ที่อาจจะมีเจ้าของจริงไม่กี่คนเพราะคนรวยๆ มีคนละหลายบัญชี) พร้อมใจกันถอนเงินออกจากธนาคาร เงินฝากของระบบธนาคารไทยจะหายไปทันทีเกือบครึ่ง
แนวทางการแก้ปัญหาเรื่องรายได้รัฐบาลของรัฐบาลนี้ยังไม่มีนโยบายใดที่ไปแตะปัญหาโครงสร้างความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุกจนกระจายอย่างจริงจังเลยแม้แต่เรื่องเดียวทั้งๆ ที่ปากบอกว่าเป็นรัฐบาลของคนจน เป็นรัฐบาลเพื่อไพร่ไล่อำมาตย์ แต่พอเอาเข้าจริงนโยบายแต่ละเรื่องล้วนแต่เอาใจคนที่ได้เปรียบกว่าเป็นหลัก
รัฐบาลเพื่อไทยเลือกเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่กระทบคนทุกระดับเพราะรากหญ้าที่กินแม่โขง แสงทิพย์ เหล้าขาวดูดบุหรี่กรองทิพย์ก็กระทบ ขณะที่เป็ดบางตัวแถวบางบอนกินไวน์ถูกๆ ไม่ได้เพราะฉี่จะเหม็น ซื้อไวน์ขวดละหลักหมื่นขนหน้าแข้งไม่ร่วงที่สำคัญอยากรู้มีกี่ขวดที่ควักกระเป๋าซื้อเอง ดังนั้นผลกระทบจากมาตรการนี้ระหว่างคนจนกับคนรวยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน
รัฐบาลประชาธิปัตย์ทำท่าเงื้อง่าเหมือนจะเอาจริงเรื่องภาษีที่ดิน จะเก็บภาษีคนรวยเพิ่มโดยเฉพาะที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ซื้อทิ้งไว้เฉยๆ เก็งกำไรประเทศก็สูญเสียโอกาสในการใช้ทรัพยากรมาเพิ่มผลผลิต แต่ที่สุดร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ถูกถอนออกมา พอเข้าใจได้ว่าคนประชาธิปัตย์ที่เอาจริงกับปัญหาที่ดินและความเหลื่อมล้ำมีอยู่แต่ก็มีน้อย สรุปว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เอาจริง ส่วนเพื่อไทยแม้แต่นโยบายก็ยังไม่เคยเห็นดังนั้นอย่าหวังเลยว่ารัฐบาลจะหาทางเพิ่มรายได้ทางอื่น สู้ออกพรฎ.เงินกู้ แล้วก็ขยายฐานภาษีรีดจากปู เอาจากชนชั้นแรงงานมนุษย์เงินเดือนนี่แหละง่ายดีเพราะหัก ณ ที่จ่ายดิ้นไม่ออกอยู่แล้ว
นักการเมืองเองก็จัดเป็นกลุ่มคนระดับบน เป็น 1 ใน 7 หมื่นบัญชีเงินฝากที่มีเงินเกิน 10 ล้านบาท แล้วก็เป็นผู้ครองที่ดินระดับต้นๆ ของประเทศ ตัวเลขที่ดร.ผาสุกรวบรวมเมื่อปี 53 บอกว่านักการเมืองพรรคเพื่อไทยถือครองที่ดินมากสุด 173 คนรวมกันแล้ว 21,079 ไร่ ประชาธิปัตย์รองลงมา 15,181 ไร่ แล้วก็ไล่ลงมารวมไปถึงส.ว.ด้วย สรุปว่านักการเมืองในรัฐสภาไทยถือครองที่ดินรวมกัน 72,274 ไร่ แล้วอย่างนี้มันจะไปยกมือแก้กฎหมายเก็บภาษีที่ดินได้ยังไง
นโยบายรัฐบาลว่าด้วยการลดภาษีนิติบุคคลแม้จะถูกตามทฤษฎีว่าเพื่อการแข่งขันโดยเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน แต่ก็ต้องประกอบไปด้วยปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ด้วยเช่น ค่าแรง และการคอรัปชั่น ฯลฯ ในหมวดนี้เงินหายไปแล้วแน่นอน 1.5 แสนล้านบาท ส่วนจะหวังให้นักลงทุนมาลงทุนจริงหรือไม่ก็ต้องดูการดึงดูดของเพื่อนบ้านด้วยเช่นเวียดนามค่าแรงปริญญาตรียังไม่เกิน 5 พันบาท/เดือน ทักษะนั้นไทยดีกว่าแต่อย่าลืมว่าเขาก็พัฒนาไล่ได้เช่นกัน รายจ่ายมากมายก็เห็นๆ อยู่ผ่านโชว์รูมรถติดป้ายหรา ยังรับจองรถคันแรกยืนยันส่งมอบทันพฤศจิกายนภาษีจ่ายคืนตัวนี้เป็นภาระต่องบประมาณ 2556 อย่างแน่นอน รัฐบาลจึงขยันหาเงินเพิ่มด้วยวิธีการง่ายเข้าว่า คือตีหัวคนจน แรงงานชั้นล่าง คนที่เพิ่งทำงาน 1-5 ปีแรก แล้วก็ธุรกิจห้องแถวรายเล็กรายน้อย ในนามของการขยายฐานภาษี
ไม่มีสักแอะที่คิดประกาศว่าจะปรับโครงสร้างภาษี เอาพวกที่รวยอยู่แล้วเป็นหลัก ไม่มีสักแอะที่พูดเรื่องภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดินที่นักการและนายทุนพรรคและกิจการอย่าง เอสซีแอสเสท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ แสนสิริ ฯลฯ ถือครองอยู่
ถ้าเป็นรัฐบาลที่ทำเพื่อคนจน ทำเพื่อชนชั้นไพร่จริง ในนาทีหน้าสิ่วหน้าขวานเงินทองไม่พอจ่ายแบบนี้เขาไม่คิดมาซ้ำเติมคนจนชนชั้นไพร่หรอก
ประหลาดอะไร .. ชนชั้นไพร่จริงย่อมคิดและทำเพื่อไพร่ ส่วนธรรมชาติของชนชั้นนายทุนผสมอำมาตย์แตงโมย่อมคิดและทำเพื่อชนชั้นของตัว
ปีหน้า 2556 เป็นปีของการรีดภาษีในนามของการขยายฐานภาษีครั้งใหญ่ ขอให้แรงงานยุคใหม่ เงินเดือนใหม่ 1.5 หมื่นบาทโชคดีถ้วนหน้า