สื่อสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตทำให้การเผยแพร่ข่าวเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว คนธรรมดาก็สามารถเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้เผยแพร่และผู้รับข่าวสารได้ภายในเวลาเดียวกัน หากมองข่าวสารในฐานะที่เป็นสินค้าชนิดหนึ่ง การผูกขาดที่เคยจำกัดอยู่ในสื่อกระแสหลักคือหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์นั้นไม่มีอีกต่อไป เพราะบุคคลธรรมดาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น มีบัญชีการใช้งานเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือบล็อก ก็เป็นผู้ผลิตข่าวสารได้ ซึ่งข่าวสารที่มาจากบุคคลธรรมดานั้นร้อยทั้งร้อยเป็นของฟรี และในหลายๆกรณีก็เป็นข่าวสารที่เจาะลึกยิ่งกว่าสื่อกระแสหลัก จนทำให้สื่อกระแสหลักนำไปอ้างอิงและขยายผลกลายเป็นข่าวใหญ่มาแล้วเป็นจำนวนมาก
ผู้เป็นแหล่งข่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรจึงต้องพึงระวังในเรื่องนี้ การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลด้านเดียวง่ายต่อการถูกขุดคุ้ยเอาข้อมูลอีกด้านมาเปิดเผย หากสาธารณชนไม่เชื่อข้อมูลข่าวสารที่ให้มา โดยเฉพาะสื่อบุคคล หรือที่เรียกกันว่าสื่อภาคพลเมือง (citizen reporter) ซึ่งเป็นใครก็ได้มีความไวต่อการจับผิดข้อมูลข่าวสารและพร้อมที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงอีกด้านมาเผยแพร่สู่สาธารณชน รวมทั้งสื่อมวลชนอาชีพที่ไม่ได้ทำงานในนามองค์กรสื่อแต่ทำงานในฐานะบุคคลธรรมดา เมื่อได้ข้อมูลที่ไม่สามารถเปิดเผยผ่านสื่อหลักได้ ก็สามารถที่จะนำมาเปิดเผยหรือส่งต่อแก่สื่อพลเมืองอื่นๆ ให้เผยแพร่สู่สาธารณชนได้
กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และยังเป็นที่สนใจของสาธารณชนอยู่ในขณะนี้ ซึ่งขอยกตัวอย่างมาเป็นกรณีศึกษาในที่นี้ 2 เรื่อง คือ
1.กรณี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความคิดในการทำงานแตกต่างจาก ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยได้ให้ข้อคิดเห็นต่อสาธารณชนในทางที่ไม่เห็นด้วยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เสมอ จนถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการเมืองเข้าแทรกแซงการทำงานของธนาคารชาติที่ต้องมีอิสระในการกำหนดนโยบายด้านการเงินของประเทศ ซึ่งล่าสุด ดร.วีระพงษ์ รามางกูร ได้กล่าวว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation targeting) ในการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ออกมาคัดค้านและโต้แย้งคำพูดของ ดร.โกร่ง เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งมีสื่อมวลชนตั้งข้อสงสัยในคำพูดของดร.โกร่งเช่นกัน เวลาต่อมาไอเอ็มเอฟได้ส่งหนังสือยืนยันว่าไอเอ็มเอฟโดยผู้อำนวยการคือนางคริสติน ลาการ์ดไม่ได้พูดดังที่ ดร.โกร่งได้กล่าวอ้างไว้
2.กรณีเก็บเงินค่าธรรมเนียมศูนย์กระจายสินค้า หรือ Distribution Center Fee (DC) ของผู้จัดจำหน่ายหนังสือรายใหญ่คือบริษัทซีเอ็ดและอมรินทร์ โดยจะเก็บ 1% จากมูลค่าหนังสือที่สำนักพิมพ์ต่างๆนำมาฝากขาย โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกหลายรายการและว่ายอดขายหนังสือในปัจจุบันก็ลดลงทำให้ได้รับผลกระทบจึงต้องขึ้นค้าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งในกรณีนี้ สำนักพิมพ์ได้รวมตัวกันคัดค้านและนำข้อมูลด้านตรงกันข้ามกับที่ทางผู้จัดจำหน่ายทั้งสองนำมาเป็นเหตุผลในการขอขึ้นค่าธรรมเนียม อันได้แก่ ตัวเลขกำไร การขยายสาขาร้านหนังสือ และการคาดการณ์ยอดขายของบริษัทที่เสนอผ่านสื่อและตลาดหลักทรัพย์ออกมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงจริยธรรมทางการค้าของบริษัททั้งสอง ถึงขนาดมีกลุ่มผู้อ่านหนังสือประกาศไม่เข้าร้านหนังสือของสองบริษัทดังกล่าวผ่านเฟสบุ๊ค และมีกิจกรรมอื่นอีกมากในการต่อต้านคัดค้านกรณีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ทั้งสองกรณีที่กล่าวมานี้ เป็นผลกระทบที่เกิดจากการให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกต้องเพียงครึ่งเดียว หากเป็นในสมัยก่อนที่สื่อจำกัดอยู่เพียงแค่วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ การให้ข่าวสารเช่นนี้เป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่ถูกคัดค้านเปิดโปง แม้จะมีผู้สงสัยแต่ถ้าหากสื่อไม่ติดใจใคร่รู้ก็ไม่มีทางทีใครจะสามารถนำข้อมูลอีกด้านออกมาเผยแพร่โต้แย้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่เมื่อมีสื่ออินเทอร์เน็ตและมีสื่อโซเชียลมีเดียอันมีเฟสบุ๊กเป็นตัวหลักในปัจจุบัน ทำให้คนธรรมดาหรือสื่อภาคพลเมืองมีช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารได้รวดเร็ว แหล่งค้นคว้าข้อมูลข่าวสารที่จะนำมาอ้างอิงก็อยู่ในอินเทอร์เน็ตแทบทั้งสิ้น ในกรณีของซีเอ็ดและอมรินทร์ก็ได้แก่ข่าวเก่าที่ผู้บริหารของบริษัทซีเอ็ดและอมรินทร์ได้ให้ไว้กับสื่อและข้อมูลบริษัทที่รายงานตลาดหลักทรัพย์และอยู่ในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ กรณีของ ดร.โกร่งก็คือเว็บไซต์ของไอเอ็มเอฟและธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงแหล่งข้อมูลอีกมากมายมหาศาลที่สามารถนำมาคัดค้าน โต้แย้ง ได้ เมื่อคำคัดค้านโต้งแย้งได้รับการเผยแพร่สู่สื่ออินเทอร์เน็ตก็ถูกส่งต่อไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกระแสน้ำของข้อมูลข่าวสาร ที่ไหลวนอยู่ในอินเทอร์เน็ตให้ผู้คนได้รับรู้และมีปฏิกิริยาต่อข้อมูลข่าวสารนั้นได้ในทันที กลายเป็นกระแสน้ำพัดกลับมาสู่ผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งในทางดีและไม่ดีในเวลาอันรวดเร็ว
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผู้ให้ข่าวหรือแหล่งข่าวทั้งบุคคลและองค์กร ควรที่จะต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูลข่าวสารเป็นอย่างยิ่ง การให้ข้อมูลแม้จะเป็นความจริงแต่เป็นความจริงเพียงด้านเดียวก็สุ่มเสียงที่จะถูกขุดคุ้ยเปิดโปง โต้แย้งได้ตลอดเวลา เพราะข้อจำกัดของช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารในปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีแล้ว เมื่อมีอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเกิดขึ้น
โดยเฉพาะบุคคลสาธารณะนั้นเป็นทั้งแหล่งข่าวและเป็นทั้งข่าวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ยิ่งสถานภาพทางสังคมสำคัญเพียงใดก็ยิ่งจะต้องระมัดระวังให้มากเพียงนั้น เพราะสาธารณชนในปัจจุบันมีตามากมายยิ่งกว่าตาสับปะรด พร้อมที่จะแปรทุกคำพูดและการกระทำเป็นข่าวเผยแพร่สู่สาธารณะได้เสมอ.
ผู้เป็นแหล่งข่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กรจึงต้องพึงระวังในเรื่องนี้ การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลด้านเดียวง่ายต่อการถูกขุดคุ้ยเอาข้อมูลอีกด้านมาเปิดเผย หากสาธารณชนไม่เชื่อข้อมูลข่าวสารที่ให้มา โดยเฉพาะสื่อบุคคล หรือที่เรียกกันว่าสื่อภาคพลเมือง (citizen reporter) ซึ่งเป็นใครก็ได้มีความไวต่อการจับผิดข้อมูลข่าวสารและพร้อมที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงอีกด้านมาเผยแพร่สู่สาธารณชน รวมทั้งสื่อมวลชนอาชีพที่ไม่ได้ทำงานในนามองค์กรสื่อแต่ทำงานในฐานะบุคคลธรรมดา เมื่อได้ข้อมูลที่ไม่สามารถเปิดเผยผ่านสื่อหลักได้ ก็สามารถที่จะนำมาเปิดเผยหรือส่งต่อแก่สื่อพลเมืองอื่นๆ ให้เผยแพร่สู่สาธารณชนได้
กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และยังเป็นที่สนใจของสาธารณชนอยู่ในขณะนี้ ซึ่งขอยกตัวอย่างมาเป็นกรณีศึกษาในที่นี้ 2 เรื่อง คือ
1.กรณี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความคิดในการทำงานแตกต่างจาก ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยได้ให้ข้อคิดเห็นต่อสาธารณชนในทางที่ไม่เห็นด้วยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เสมอ จนถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการเมืองเข้าแทรกแซงการทำงานของธนาคารชาติที่ต้องมีอิสระในการกำหนดนโยบายด้านการเงินของประเทศ ซึ่งล่าสุด ดร.วีระพงษ์ รามางกูร ได้กล่าวว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ไม่เห็นด้วยกับการใช้นโยบายเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation targeting) ในการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ออกมาคัดค้านและโต้แย้งคำพูดของ ดร.โกร่ง เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งมีสื่อมวลชนตั้งข้อสงสัยในคำพูดของดร.โกร่งเช่นกัน เวลาต่อมาไอเอ็มเอฟได้ส่งหนังสือยืนยันว่าไอเอ็มเอฟโดยผู้อำนวยการคือนางคริสติน ลาการ์ดไม่ได้พูดดังที่ ดร.โกร่งได้กล่าวอ้างไว้
2.กรณีเก็บเงินค่าธรรมเนียมศูนย์กระจายสินค้า หรือ Distribution Center Fee (DC) ของผู้จัดจำหน่ายหนังสือรายใหญ่คือบริษัทซีเอ็ดและอมรินทร์ โดยจะเก็บ 1% จากมูลค่าหนังสือที่สำนักพิมพ์ต่างๆนำมาฝากขาย โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกหลายรายการและว่ายอดขายหนังสือในปัจจุบันก็ลดลงทำให้ได้รับผลกระทบจึงต้องขึ้นค้าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งในกรณีนี้ สำนักพิมพ์ได้รวมตัวกันคัดค้านและนำข้อมูลด้านตรงกันข้ามกับที่ทางผู้จัดจำหน่ายทั้งสองนำมาเป็นเหตุผลในการขอขึ้นค่าธรรมเนียม อันได้แก่ ตัวเลขกำไร การขยายสาขาร้านหนังสือ และการคาดการณ์ยอดขายของบริษัทที่เสนอผ่านสื่อและตลาดหลักทรัพย์ออกมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงจริยธรรมทางการค้าของบริษัททั้งสอง ถึงขนาดมีกลุ่มผู้อ่านหนังสือประกาศไม่เข้าร้านหนังสือของสองบริษัทดังกล่าวผ่านเฟสบุ๊ค และมีกิจกรรมอื่นอีกมากในการต่อต้านคัดค้านกรณีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ทั้งสองกรณีที่กล่าวมานี้ เป็นผลกระทบที่เกิดจากการให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกต้องเพียงครึ่งเดียว หากเป็นในสมัยก่อนที่สื่อจำกัดอยู่เพียงแค่วิทยุ หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ การให้ข่าวสารเช่นนี้เป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่ถูกคัดค้านเปิดโปง แม้จะมีผู้สงสัยแต่ถ้าหากสื่อไม่ติดใจใคร่รู้ก็ไม่มีทางทีใครจะสามารถนำข้อมูลอีกด้านออกมาเผยแพร่โต้แย้งได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่เมื่อมีสื่ออินเทอร์เน็ตและมีสื่อโซเชียลมีเดียอันมีเฟสบุ๊กเป็นตัวหลักในปัจจุบัน ทำให้คนธรรมดาหรือสื่อภาคพลเมืองมีช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารได้รวดเร็ว แหล่งค้นคว้าข้อมูลข่าวสารที่จะนำมาอ้างอิงก็อยู่ในอินเทอร์เน็ตแทบทั้งสิ้น ในกรณีของซีเอ็ดและอมรินทร์ก็ได้แก่ข่าวเก่าที่ผู้บริหารของบริษัทซีเอ็ดและอมรินทร์ได้ให้ไว้กับสื่อและข้อมูลบริษัทที่รายงานตลาดหลักทรัพย์และอยู่ในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ กรณีของ ดร.โกร่งก็คือเว็บไซต์ของไอเอ็มเอฟและธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงแหล่งข้อมูลอีกมากมายมหาศาลที่สามารถนำมาคัดค้าน โต้แย้ง ได้ เมื่อคำคัดค้านโต้งแย้งได้รับการเผยแพร่สู่สื่ออินเทอร์เน็ตก็ถูกส่งต่อไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกระแสน้ำของข้อมูลข่าวสาร ที่ไหลวนอยู่ในอินเทอร์เน็ตให้ผู้คนได้รับรู้และมีปฏิกิริยาต่อข้อมูลข่าวสารนั้นได้ในทันที กลายเป็นกระแสน้ำพัดกลับมาสู่ผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งในทางดีและไม่ดีในเวลาอันรวดเร็ว
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ผู้ให้ข่าวหรือแหล่งข่าวทั้งบุคคลและองค์กร ควรที่จะต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูลข่าวสารเป็นอย่างยิ่ง การให้ข้อมูลแม้จะเป็นความจริงแต่เป็นความจริงเพียงด้านเดียวก็สุ่มเสียงที่จะถูกขุดคุ้ยเปิดโปง โต้แย้งได้ตลอดเวลา เพราะข้อจำกัดของช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารในปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีแล้ว เมื่อมีอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเกิดขึ้น
โดยเฉพาะบุคคลสาธารณะนั้นเป็นทั้งแหล่งข่าวและเป็นทั้งข่าวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ยิ่งสถานภาพทางสังคมสำคัญเพียงใดก็ยิ่งจะต้องระมัดระวังให้มากเพียงนั้น เพราะสาธารณชนในปัจจุบันมีตามากมายยิ่งกว่าตาสับปะรด พร้อมที่จะแปรทุกคำพูดและการกระทำเป็นข่าวเผยแพร่สู่สาธารณะได้เสมอ.