การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ที่มีเนื้อหาบางส่วนเอื้อประโยชน์แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และหลายฝ่ายเกรงจะเป็นชนวนให้เกิดวิกฤติ โดยเฉพาะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ระดมพลคนเสื้อเหลืองออกมาชุมนุมอย่างเต็มที่หน้ารัฐสภา ทำให้หลายฝ่ายเกรงว่าอาจมีการปะทะกันได้
นายอุดมเดช รัตนเสถียร วิปรัฐบาลออกมาแถลงว่า วิปรัฐบาลเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาร่างพิจารณา พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองฯ จากวันที่ ๓๐ พ.ค. เป็นวันที่ ๓๑ พ.ค. หลังพิจารณากระทู้เสร็จแล้วโดยจะพิจารณาตามวาระปกติไม่ใช่ ๓ วาระรวด เพราะเห็นว่าถ้ามีการร่างกฎหมายใดที่สามารถสร้างความปรองดอง สามัคคีและทำให้บ้านเมืองกลับไปอยู่ในสภาวการณ์ปกติ เหมือนช่วง ๖-๗ ปี ก่อนก็จะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย สำหรับร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง ๔ ฉบับ มีหลักการคล้ายกัน อาจแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่เพื่อให้เกียรติพรรคร่วมรัฐบาลที่ลงชื่อสนับสนุน จึงจะพิจารณาฉบับที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคมาตุภูมิเป็นผู้เสนอ
ทางด้านพรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต แถลงจุดยืนว่าพรรคจะคัดค้านพ.ร.บ.ปรองดองอย่างเต็มที่ในสภาทุกขั้นตอน และขอเรียกร้องให้ประชาชนออกมาร่วมต่อต้าน พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ในการชุมนุมของประชาชนอาจจะมี ส.ส.ของพรรคไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย เชื่อว่าการชุมนุมครั้งนี้จะมีหลายกลุ่มหลายสีที่มีแนวคิดเดียวกันในการปกป้องไม่ให้รัฐบาลออกกฎหมายล้มอำนาจรัฐและล้างความผิดให้บางคน โดยเฉพาะในคดีทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งนอกจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะได้ประโยชน์แล้วนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมก็อาจจะได้ประโยชน์ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์ว่าปัญหาที่ว่ากฎหมายเหล่านี้ถือเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่ เพราะจะมีผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงิน ๔.๖ หมื่นล้านบาท หรืออาจจะมากกว่าให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เราจึงไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนระเบียบวาระในบรรยากาศของความคิดเห็นแตกต่างอย่างในขณะนี้
บรรยากาศการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ลานพระบรมรูปทรงม้าที่นัดรวมพลกันตั้งแต่ ๑๓.๐๐ น. ของวันที่ ๓๐ พ.ค. ก่อนจะเคลื่อนไปหน้ารัฐสภาเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีแนวร่วมมาจำนวนมากจากกทม. และต่างจังหวัดด้วยรถบัสและรถตู้ มีการใช้รถบรรทุก ๖ ล้อ ๒ คัน ดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยโจมตีร่างพ.ร.บ.ปรองดอง โดยกลุ่มกองทัพธรรมตั้งเต็นท์เป็นแนวยาวตลอดแนวถนนกว่า ๑๐ เต็นท์เป็นกองอำนวยการที่ริมถนนฝั่งสนามเสือป่า
แกนนำพันธมิตรนำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายภิภพ ธงไชย ขึ้นเวทีปราศรัย โจมตีร่างพ.ร.บ.ปรองดอง โดยนายสนธิกล่าวว่าเรื่องชาติบ้านเมืองยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้มีการละเมิดสถาบันและออกกฎหมายให้คนผิด การชุมนุมครั้งนี้ขอให้ฟังแกนนำ ๔ คนเท่านั้น พร้อมกันนั้นได้กล่าวโจมตี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าขายชาติทั้งที่สาบานตนต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล จึงสมควรเรียกว่า “บังเละ”
พลตรีจำลองกล่าวว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองทั้ง ๔ ฉบับ เป็นกฎหมายทำลายชาติ ทราบว่าจะมีการเลื่อนขึ้นมาพิจารณาในวาระแรกของวันที่ ๓๑ พ.ค. ขอยืนยันว่าจะต่อต้านจนถึงที่สุด จากนั้นได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปหน้ารัฐสภาโดยให้ชุมนุมปราศจากอาวุธ
พลตรีจำลอง ศรีเมือง นายสนธิ พร้อมแกนนำจำนวนหนึ่งเข้ายื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านทางนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ หนังสือระบุว่าจากการตรวจสอบพบร่างพ.ร.บ.ปรองดองมุ่งหวังลบล้างความผิดบุคคลต่างๆ ในอดีตทั้งที่บางคดีมีคำพิพากษาของศาลฎีกาถึงที่สุดแล้ว กฎหมายฉบับนี้ไร้ขอบเขต ไม่มีคำนิยามชัดเจนเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง มีการก้าวล่วงไปถึงการล้มล้างคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งส.ส.และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลหลายคนยังได้รับประโยชน์โดยตรงและพ.ร.บ.ปรองดองเป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหลายมาตรา จึงขอให้ระงับหยุดยั้งการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทุกฉบับ
ส่วนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเริ่มด้วย ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอญัตติขอให้เลื่อนวาระการพิจารณาเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองที่มีส.ส. เข้ามาเป็นวาระแรก พร้อมขอเสียงรับรองจากสมาชิก แต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์ทักท้วง และว่าตามร่างของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ระบุให้บุคคลที่ถูกพิพากษามีความผิดจากการดำเนินการขององค์กร หรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติให้ถือว่าไม่มีความผิด และได้รับการนิรโทษกรรม จึงอยากให้พล.อ.สนธิชี้แจงว่าเนื้อหาที่เสนอว่า หากคนทำผิดพ้นผิดก็จะได้เงินคืนใช่หรือไม่ และส่วนตัวมองว่ากฎหมายเหล่านี้เข้าข่ายเป็นกฎหมายว่าด้วยการเงินซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๔๓ ระบุว่าต้องให้นายกฯ รับรองก่อน
หลังจากนั้นมีส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้านกันหลายคน การประชุมเริ่มตึงเครียดมีการใช้คำหยาบและประธานสภาฯ คุมเกมได้ยาก จนกระทั่ง ส.ส.ไม่พอใจโห่และกล่าวว่าประธานสภาเป็นเผด็จการ พร้อมทั้งมีส.ส. ๓ คน จากพรรคประชาธิปัตย์พากันขึ้นไปบนบัลลังก์ พร้อมทั้งกระชากแขนซ้ายและดันต้นคอนายสมศักดิ์เพื่อให้ลุกจากบัลลังก์ มีการยื้อยุดฉุกกระชากกันพักใหญ่ก่อนที่จะมีส.ส.จากพรรคเพื่อไทยมากันส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์ออกไป และมีตำรวจสภากว่า ๒๐ นาย มาคุ้มกันนายสมศักดิ์ออกไป
ท้ายสุดสภาต้องยุติกลางคันและเลื่อนการประชุมออกไป
ครับ สภาวุ่นวายอย่างนี้เท่ากับขาดความปรองดองกันเสียแล้ว
นายอุดมเดช รัตนเสถียร วิปรัฐบาลออกมาแถลงว่า วิปรัฐบาลเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาร่างพิจารณา พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองฯ จากวันที่ ๓๐ พ.ค. เป็นวันที่ ๓๑ พ.ค. หลังพิจารณากระทู้เสร็จแล้วโดยจะพิจารณาตามวาระปกติไม่ใช่ ๓ วาระรวด เพราะเห็นว่าถ้ามีการร่างกฎหมายใดที่สามารถสร้างความปรองดอง สามัคคีและทำให้บ้านเมืองกลับไปอยู่ในสภาวการณ์ปกติ เหมือนช่วง ๖-๗ ปี ก่อนก็จะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย สำหรับร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง ๔ ฉบับ มีหลักการคล้ายกัน อาจแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่เพื่อให้เกียรติพรรคร่วมรัฐบาลที่ลงชื่อสนับสนุน จึงจะพิจารณาฉบับที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคมาตุภูมิเป็นผู้เสนอ
ทางด้านพรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต แถลงจุดยืนว่าพรรคจะคัดค้านพ.ร.บ.ปรองดองอย่างเต็มที่ในสภาทุกขั้นตอน และขอเรียกร้องให้ประชาชนออกมาร่วมต่อต้าน พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ในการชุมนุมของประชาชนอาจจะมี ส.ส.ของพรรคไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย เชื่อว่าการชุมนุมครั้งนี้จะมีหลายกลุ่มหลายสีที่มีแนวคิดเดียวกันในการปกป้องไม่ให้รัฐบาลออกกฎหมายล้มอำนาจรัฐและล้างความผิดให้บางคน โดยเฉพาะในคดีทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งนอกจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจะได้ประโยชน์แล้วนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมก็อาจจะได้ประโยชน์ด้วย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์ว่าปัญหาที่ว่ากฎหมายเหล่านี้ถือเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่ เพราะจะมีผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงิน ๔.๖ หมื่นล้านบาท หรืออาจจะมากกว่าให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เราจึงไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนระเบียบวาระในบรรยากาศของความคิดเห็นแตกต่างอย่างในขณะนี้
บรรยากาศการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ลานพระบรมรูปทรงม้าที่นัดรวมพลกันตั้งแต่ ๑๓.๐๐ น. ของวันที่ ๓๐ พ.ค. ก่อนจะเคลื่อนไปหน้ารัฐสภาเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีแนวร่วมมาจำนวนมากจากกทม. และต่างจังหวัดด้วยรถบัสและรถตู้ มีการใช้รถบรรทุก ๖ ล้อ ๒ คัน ดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยโจมตีร่างพ.ร.บ.ปรองดอง โดยกลุ่มกองทัพธรรมตั้งเต็นท์เป็นแนวยาวตลอดแนวถนนกว่า ๑๐ เต็นท์เป็นกองอำนวยการที่ริมถนนฝั่งสนามเสือป่า
แกนนำพันธมิตรนำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายภิภพ ธงไชย ขึ้นเวทีปราศรัย โจมตีร่างพ.ร.บ.ปรองดอง โดยนายสนธิกล่าวว่าเรื่องชาติบ้านเมืองยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้มีการละเมิดสถาบันและออกกฎหมายให้คนผิด การชุมนุมครั้งนี้ขอให้ฟังแกนนำ ๔ คนเท่านั้น พร้อมกันนั้นได้กล่าวโจมตี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าขายชาติทั้งที่สาบานตนต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล จึงสมควรเรียกว่า “บังเละ”
พลตรีจำลองกล่าวว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองทั้ง ๔ ฉบับ เป็นกฎหมายทำลายชาติ ทราบว่าจะมีการเลื่อนขึ้นมาพิจารณาในวาระแรกของวันที่ ๓๑ พ.ค. ขอยืนยันว่าจะต่อต้านจนถึงที่สุด จากนั้นได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปหน้ารัฐสภาโดยให้ชุมนุมปราศจากอาวุธ
พลตรีจำลอง ศรีเมือง นายสนธิ พร้อมแกนนำจำนวนหนึ่งเข้ายื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ผ่านทางนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ หนังสือระบุว่าจากการตรวจสอบพบร่างพ.ร.บ.ปรองดองมุ่งหวังลบล้างความผิดบุคคลต่างๆ ในอดีตทั้งที่บางคดีมีคำพิพากษาของศาลฎีกาถึงที่สุดแล้ว กฎหมายฉบับนี้ไร้ขอบเขต ไม่มีคำนิยามชัดเจนเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง มีการก้าวล่วงไปถึงการล้มล้างคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งส.ส.และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลหลายคนยังได้รับประโยชน์โดยตรงและพ.ร.บ.ปรองดองเป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหลายมาตรา จึงขอให้ระงับหยุดยั้งการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ปรองดองทุกฉบับ
ส่วนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเริ่มด้วย ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอญัตติขอให้เลื่อนวาระการพิจารณาเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองที่มีส.ส. เข้ามาเป็นวาระแรก พร้อมขอเสียงรับรองจากสมาชิก แต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์ทักท้วง และว่าตามร่างของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ระบุให้บุคคลที่ถูกพิพากษามีความผิดจากการดำเนินการขององค์กร หรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติให้ถือว่าไม่มีความผิด และได้รับการนิรโทษกรรม จึงอยากให้พล.อ.สนธิชี้แจงว่าเนื้อหาที่เสนอว่า หากคนทำผิดพ้นผิดก็จะได้เงินคืนใช่หรือไม่ และส่วนตัวมองว่ากฎหมายเหล่านี้เข้าข่ายเป็นกฎหมายว่าด้วยการเงินซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๔๓ ระบุว่าต้องให้นายกฯ รับรองก่อน
หลังจากนั้นมีส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ออกมาคัดค้านกันหลายคน การประชุมเริ่มตึงเครียดมีการใช้คำหยาบและประธานสภาฯ คุมเกมได้ยาก จนกระทั่ง ส.ส.ไม่พอใจโห่และกล่าวว่าประธานสภาเป็นเผด็จการ พร้อมทั้งมีส.ส. ๓ คน จากพรรคประชาธิปัตย์พากันขึ้นไปบนบัลลังก์ พร้อมทั้งกระชากแขนซ้ายและดันต้นคอนายสมศักดิ์เพื่อให้ลุกจากบัลลังก์ มีการยื้อยุดฉุกกระชากกันพักใหญ่ก่อนที่จะมีส.ส.จากพรรคเพื่อไทยมากันส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์ออกไป และมีตำรวจสภากว่า ๒๐ นาย มาคุ้มกันนายสมศักดิ์ออกไป
ท้ายสุดสภาต้องยุติกลางคันและเลื่อนการประชุมออกไป
ครับ สภาวุ่นวายอย่างนี้เท่ากับขาดความปรองดองกันเสียแล้ว