ถ้าไม่คิดอะไรมากประมาณว่าทำชีวิตให้ขำ ๆ ไว้...เช้าวันแถลงนโยบายผมจะเปิดทีวีพร้อมสมุดโน้ตเตรียมไว้บันทึกสถิติการยกมือประท้วงของเหล่าองครักษ์พิทักษ์ปูเพราะอย่างไรเสียประชาธิปัตย์คงไม่ปล่อยโอกาสทองของการประชุมที่ถ่ายทอดสดครั้งนี้ให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
คงคล้าย ๆ การอภิปรายถ่ายทอดสดหลายครั้งที่ผ่านมาพอประชาธิปัตย์พาดพิงไปถึงนายใหญ่คนต่างแดนก็จะมีองครักษ์อาสายกมือขึ้นประท้วงหน้าดำหน้าแดงออกอาการยิ่งกว่าญาติผู้ใหญ่ถูกล่วงเกิน แต่สำหรับรอบนี้ทุกฝ่าย(รวมทั้งคนดู)รู้ว่านายกปูยิ่งลักษณ์มีปัญหาของมือใหม่จะลุกขึ้นแจงแจงตอบโต้ทุกเม็ดแบบอดีตนายกฯ สมัครคงทำไม่ได้ ยิ่งมาเจอลีลาอภิปรายยั่วเดี๋ยวพาดพิงเดี๋ยวกระทบชิ่งเฉี่ยวไปมาอย่างไรเสียคงจะมีขุนพลฝีปากดีของเพื่อไทยลุกขึ้นมาแน่ ๆ
ถ้ายึดหลักขำ ๆ เข้าไว้ จะรอดูว่านอกจากการลุกขึ้นยืนอ่านคำแถลงของนายกฯยิ่งลักษณ์แล้วคุณปูผู้เป็นหญิงแกร่งสุดยอดซีอีโอแสนล้าน(ตามคำอวยของเฉลิม) จะลุกขึ้นมาชี้แจงอีกกี่ครั้งในประเด็นอะไรบ้างและจะอ่านโพยแบบไหน..อ่านคล่องหรือไม่คล่อง..ถ้าสังเกตให้ลึกลงไปอีกควรจะดูว่าระยะเวลาที่ลุกขึ้นตอบนั้นห่างจากที่เขาพาดพิงถามมานานแค่ไหน เพราะถ้าเป็นนายกฯสมัครจะยกมือสวนทันที สำหรับนายกฯ ปูอาจต้องรอทีมงานเตรียมตอบให้คงไม่สามารถยกมือสวนแบบนายกฯสมัครได้ ให้ดีควรสังเกตบทบาทส.ส.ใหม่อย่าง ส.ส.เหวง ส.ส.เต้น ส.ส.ก่อแก้ว และคณะว่าจะมีบทบาทอะไรบ้าง และที่ขาดไม่ได้คือฝ่ายค้านดาวรุ่งอย่างชูวิทย์จะออกลีลาเช่นไร
ผมคิดว่าเนื้อหาข่าวสารทั้งในโซเชี่ยลมีเดียและในสื่อหลักตลอด 2 วันคงจะมีเรื่องแบบที่เกริ่นมาแทรกอยู่ในเนื้อหาอภิปรายไม่น้อยเลย เผลอ ๆ เกร็ดกระพี้เหล่านี้อาจจะทำให้คนลืมดูแก่นที่เป็นเนื้อหาไปเลยก็ได้
เคยสังเกตตัวเองกันบ้างมั้ยครับว่าเราแทบไม่ได้สนใจการอภิปรายนโยบายรัฐบาลในยุคก่อนหน้าคือยุครัฐบาลสมัคร-พล.อ.สุรยุทธ์-ทักษิณ-ชวน-บรรหาร ฯลฯ เลย เพิ่งจะมายุควิกฤตกีฬาสีนี่แหละที่การอภิปรายเป็นเงื่อนการเมืองขนาดเอาตำรวจมายิงคนตายเมื่อ 7 ต.ค.51 จากนั้นพอมายุคอภิสิทธิ์ถึงกับต้องย้ายสถานที่หนีไปก.ต.และไม่ได้อภิปรายอะไรนักเพราะต้องรีบปิดสภาหนีม็อบกัน
นั่นเพราะว่าการเมืองแบบไทย ๆ ไม่เคยมีการแข่งขันเชิงนโยบายอย่างแท้จริงดังนั้นนโยบายรัฐบาลชุดก่อน ๆ จึงเหมือนกับสูตรสำเร็จรูปเขียนให้กว้าง ๆ คลุม ๆ เข้าไว้ การแถลงนโยบายในยุคก่อนหน้าจึงกลายเป็น “แบบแผนพิธีกรรม” ที่ทำ ๆ ไปให้ครบ ๆ องค์ประกอบประชาชนไม่ได้สนใจเท่ากับอภิปรายไม่ไว้วางใจเพราะจะได้ดูคนใส่สูททะเลาะกันด้วยวาจาเสียดสียียวน หลัง ๆ มานี้เผลอมีชกมีถีบและมีแจก (ฮา)
หากเรามองข้ามการเมืองแบบคอยจับตาดูความสนุกสนานของ“กลวิธีล่อปูออกจากรู” และกระบวนท่าตอบโต้ของเหล่าขุนพลคอมมานโดแล้วไซร้เราก็จะพบว่าการอภิปรายในวาระรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภาครั้งนี้เป็นก้าวที่คืบหน้าครั้งใหญ่ของประชาธิปไตยไทย
การแถลงนโยบายไม่ได้เป็นพิธีกรรมเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป เพราะเนื้อหาถ้อยแถลงและคำชี้แจงของรัฐมนตรีในสภาในสมัยนี้ถูกจับจ้องจากทุกฝ่ายมาก่อนหน้าว่าจะบรรจุเรื่องที่สัญญาไว้หรือไม่แบบไหนจะเลี่ยงบาลีศรีธนนไชยกันอย่างไร
การแถลงนโยบายและคำชี้แจงนอกจากมีผลต่อการเมืองประเภทว่าเจ๊ปูเสียหน้า-เสียอาการ นายกมือใหม่ถูกขย้ำกลางสภาแล้ว อาจจะยังมีผลผูกพันกับข้อกฏหมายมีความผิดตามพรบ.ประกอบร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ด้วยซ้ำไป
สมมตินะครับว่าเกิดมีรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยเกิดสติแตกปากมากโม้ไปเรื่อยลุกขึ้นอธิบายโครงการหนึ่งที่เคยหาเสียงไว้แล้วว่าไม่ได้บรรจุในนโยบายเพราะทำไม่ได้ หรือบรรจุแต่ดันตอบไปว่าทำไม่ได้หรอกมันเป็นแค่การหาเสียงไปโก้ ๆ งั้นแหละ คำพูดดังกล่าวอาจจะเข้าข่ายข้อห้ามในการหาเสียงและมีผลต่อเนื่องตามมาตรา 111 ส่งเรื่องสู่ศาลฎีกาแผนกคดีนักเลือกตั้งแบบที่ยงยุทธ ติยะไพรัชโดนมาแล้ว ยิ่งหากผู้กระทำผิดเป็นหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารด้วยอาจถึงศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคตามมาตรา 237 วรรค 2 อีกเด้งหนึ่ง
ดังนั้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในยุคที่พรรคการเมืองต่างแข่งกันหาเสียงแบบเกทับบลัฟแหลก ทำให้การเสนอนโยบายต่อรัฐสภาจำเป็นต้องบรรจุเอาเรื่องที่สัญญาไว้ลงไปเพื่อเป็นการรับผิดชอบทางการเมืองแล้ว ยังอาจจะมีผลผูกพันรับผิดชอบต่อกฏหมายเลือกตั้งอีกโสดหนึ่งด้วย
มิฉะนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พรรคการเมืองเสนอว่าจะแจกเฮลิคอปเตอร์คนละลำ เบนซ์ครอบครัวละคัน ปลดหนี้บัตรเครดิตทุกบาท ฯลฯ แล้วพอได้เป็นรัฐบาลจริงกลับไม่ทำบรรจุในนโยบายแค่ว่า “จะศึกษาความเป็นไปได้ของการแจกเบนซ์ครอบครัวละคันอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม” จริงอยู่พรรคการเมืองนี้อาจจะถูกลงโทษจากประชาชนไม่ได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไปแต่พร้อมกันนั้นก็อาจต้องถูกลงโทษจากกฎหมายเลือกตั้งที่ไปหาเสียงโดยการหลอกลวงทำให้หลงเชื่อเพื่อให้คนลงคะแนนให้ด้วย (ม.53วงเล็บ5)
ถ้าจะดูการอภิปรายให้สนุกกว่าดูหัวขาวลุกขึ้นโต้แทนหัวล้าน ดูแบบคอการเมืองของจริงให้เงี่ยหูฟังการชี้แจงต่อข้อสงสัยในคำสัญญาระหว่างหาเสียงเรื่องต่าง ๆ ด้วย บางเรื่องสัญญาว่าจะให้เงินกองทุนสตรี 100 ล้านต่อจังหวัด พอมาเป็นนโยบายแค่เพิ่มคำว่า “เฉลี่ย”ลงไปกลายเป็น “เฉลี่ย100ล้านบาทต่อจังหวัด” มันคนละเรื่องกันเลยเห็นไหม
บทบาทฝ่ายค้าน ถ้ายังแบบเดิมก็น่าผิดหวัง
ผมจะไม่มองบทบาทประชาธิปัตย์ (ซึ่งเชี่ยวชาญด้านปากอยู่เดิม) แค่ว่าจะมีลีลาหลอกล่อ-หลอกด่า ยั่วให้เจ๊ปูลุกขึ้นมาตอบโต้ หรือทำลายความน่าเชื่อถือของเจ๊ปูอย่างไรเพราะอย่างไรเสียประชาธิปัตย์ขึ้นชื่อว่าเชี่ยวชาญบทบาทโต้วาทีในสภาอยู่แล้ว
แต่ผมตั้งใจจะดูเนื้อหาการอภิปรายว่าประชาธิปัตย์ยังติดหล่มวังวนกับการให้น้ำหนักลีลาการพูด การจับผิดหาช่องโหว่ที่ฝ่ายตรงข้ามเสนอสู่สภา ประชาธิปัตย์จับผิดเก่ง ขยายแผลเก่ง แต่ที่ขาดไปในประวัติศาสตร์ความเป็นฝ่ายค้านก็คือประชาธิปัตย์ขาดการเสนอวิธีการแก้ปัญหา/พัฒนาแบบที่ประชาธิปัตย์คิดรังสรรค์ออกมาเพื่อให้คนฟังเปรียบเทียบ
มีคนวิเคราะห์มาก่อนหน้าหลายคนว่าที่ประชาธิปัตย์ขาดที่สุดคือ “นักคิด” เพิ่งเขียนถึงทัศนะของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ไปเมื่อสัปดาห์ก่อนนึก ๆ ก็จริงตามเขาว่า...ทักษิณสุดกู่ไปทางหนึ่งเช่นจู่ ๆ ก็โฟนอินบอกว่าเพื่อไทยจะถมทะเล 30 ก.ม.ลึกลงไป 10 ก.ม.เพื่อป้องกันน้ำท่วมการคิดเร็วทำเร็วแปลกแหวกแนวสุด ๆ เป็นทั้งจุดเด่นและจุดอ่อนของทักษิณขณะที่ประชาธิปัตย์จะเก่งแค่บอกว่าโครงการนี้ไม่ดีไม่เหมาะอย่างไร แต่ที่สุดประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถจะนำเสนอโครงการที่เด่น-ดี-สามารถแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้ “โดนใจ”ยิ่งไปกว่าทักษิณเสนอ
การอภิปรายครั้งนี้ประชาธิปัตย์มีพื้นฐานจากข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้คิดค้นนำเสนอในระหว่างเลือกตั้ง นี่เป็นครั้งแรกของประชาธิปัตย์กระมังที่สามารถคิดชุดนโยบายอย่างเป็นรูปร่างและน่าสนใจพอสมควรออกมา พื้นฐานนโยบายเดิมที่เสนอระหว่างเลือกตั้งเพื่อเทียบกับชุดนโยบายของเพื่อไทยอาจจะถูกนำมาปัดฝุ่นเน้นย้ำให้คนดูแปะข้างฝาไว้อีกรอบกันลืมแต่ที่สุดแล้วให้ดีที่สุดสำหรับพัฒนาการทางการเมืองไทยการอภิปรายชี้จุดดีจุดอ่อนของฝ่ายรัฐบาลควรควบคู่กับข้อเสนอที่คิดว่าดีกว่าเปรียบเทียบกันด้วย
ผมไม่อยากเห็นแค่ลีลาของขุนพลปากเอก หยอกล้อ ยั่วเย้า กระทบกระเทียบเรียกเสียงฮาหรือมุ่งตอกย้ำให้ผู้นำฝ่ายตรงข้ามดูน่าสมเพชเป็นยุทธวิธีหลัก เพราะหากเป็นเช่นนี้ประชาธิปัตย์ก็ยังกอดกับความสำเร็จ(ที่ไม่เคยสำเร็จ)เดิม ๆ ประชาชนไม่ได้อะไร(เหมือนเดิม)
นโยบายปู-1 แยกเนื้อแยกน้ำดีก็มีเยอะ (ถ้าทำได้)
ได้อ่านเอกสารนโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้วมีหลายเรื่องที่น่าสนใจไม่เฉพาะแต่นโยบายเร่งด่วน 16 ข้อที่จะเป็นโฟกัสสำคัญของการอภิปราย
ถ้าจะให้บอกว่านโยบายนี้ ยี้สุด-แย่จริง-เลวจัง มันก็อคติเกินไปเพราะอย่างไรเสียนโยบายของทุกรัฐบาลหลังปี 2550 มานี้ล้วนแต่เขียนนโยบายล้อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐซึ่งกำหนดในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ ผสมผสานกับแนวทางการเขียนนโยบายแบบคลาสสิค(แบบเดิม ๆ ประมาณว่าท่าพื้นฐานภาคบังคับของยิมนาสติก) แล้วก็นโยบายของพรรคที่หาเสียงไว้ (ประมาณว่าท่าคิดเองผาดแผลงฟรีสไตล์)
ช่วง 2-3 วันมานี้สิ่งที่ผมสนใจที่สุดคือพยายามจะแกะร่องรอย “ชุดความคิดพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเมือง” ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายเหมือนกับในประเทศตะวันตกที่นโยบายรัฐบาลสามารถสะท้อนและบ่งบอก Political View ออกมาว่าเป็นเสรีนิยมใหม่ เป็นสังคมนิยมอ่อน ๆ เป็นกลางซ้าย หรือเป็นกลางเอียงขวา ฯลฯ
อาจจะด้วยความอ่อนด้อยของผมเองกระมังที่พยายามพลิกดูอย่างไรก็ไม่พบเจ้าแนวคิดพื้นฐานที่ชัดเจนออกมา รัฐบาลบอกเหมือนกับทุกรัฐบาลเหมือนกับทักษิณ สมชาย สมัคร ชวน อภิสิทธิ์ บรรหารว่าจะส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรีแต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้ปล่อยเสรีตามกลไกตลาดจ๋าเพราะมีนโยบายแทรกแซงตลาดชัดเจนคือการจำนำสินค้าเกษตรและการอุดหนุนการผลิตรูปแบบต่าง ๆ อย่างในสมัยทักษิณประกาศเหมือนกับเชื่อในแนวทางเสรีนิยมใหม่ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจทำ Privatize ปตท.และรัฐวิสาหกิจอื่นที่ไหนได้แปรรูปแค่กระจายหุ้นให้เอกชนเข้ามาร่วมถือครองแต่ ปตท.ยังมีอำนาจเหนือตลาดได้สิทธิ์ของรัฐวิสาหกิจเช่นที่เคยเป็น ปากหนึ่งบอกศรัทธาในตลาดเสรี อีกปากหนึ่งก็สมยอมกับการผูกขาด-กึ่งผูกขาดแบบที่เคยเป็นมา
ที่กล่าว ๆมาไม่ได้หมายถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือทักษิณเท่านั้นหรอกนะครับ อาการแบบชุดนโยบายอะไรก็ได้บนฐานทฤษฎีแมวกี่สีก็จับหนูได้ประชาธิปัตย์และขิงแก่ก็เป็นเหมือนกัน จึงไม่แปลกอะไรที่ประชาธิปัตย์รวมถึงภูมิใจไทยชาติไทยบรรหารฯลฯจะเดินตามก้นประชานิยมทักษิณต้อย ๆ เพราะการเมืองไทยเพิ่งจะอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากยุคพื้นฐานความคิดทางการเมืองแบบจับฉ่ายอะไรก็ได้ขอให้ได้เป็นรัฐบาล มาสู่ ขั้นตอนเปลี่ยนผ่านสู่การหลอมรวมชุดความคิดพื้นฐานดังที่เป็นในปัจจุบัน
ผมมีความเชื่อของผมเองว่าแนวโน้มในระยะต่อไปดูอัลแทรกซ์และฐานเสียงรากหญ้าจะค่อย ๆ หลอมให้พรรคเพื่อไทยมีฐานความคิดแบบกลางซ้ายในอนาคต ขณะที่ฐานของประชาธิปัตย์จะออกไปแนวกลางขวา แต่นี่เป็นแนวโน้มในอนาคตไม่ใช่การเลือกตั้งครั้งนี้ ดังนั้นจึงหวังอะไรได้ยากกับชุดนโยบายยิ่งลักษณ์ว่าจะสะท้อนอะไรออกมาที่ชัดเจน เสรีก็เอา แทรกแซงตลาดก็จะเอา แล้วก็ลดแลกแจกแถมไปตามเกม ที่กล่าวมานี้ผมหาใช่นักเศรษฐศาสตร์มือฉมังอะไรดอกนะครับเพียงแค่ผมลองเปรียบเทียบชุดนโยบายของรัฐบาลลาตินอเมริกาหลายประเทศที่เขาเรียกกันว่าซ้าย ๆ น่ะมันคนละแบบกับซ้ายไทยที่ประดาซ้ายเสื้อแดงประกาศว่าพรรคเพื่อไทยเป็นอยู่
ยอมรับว่านโยบายนี้เขียนได้รัดกุมพอสมควรเอาประสบการณ์แย่ ๆ ของทักษิณมาปรับใช้เช่นประกาศส่งเสริม OTOP แต่ไม่ลืมกล่าวถึงการส่งเสริมมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษพร้อมกันไป เรื่องปราบยาเสพติดก็มีคำเน้นว่าภายใต้หลักนิติรัฐ (คือไม่ปราบแบบเท็กซัสเหมือนยุคทักษิณ)
ที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประเด็นให้เกิดเรื่องเถียงกันในสภาฯ คือนโยบายเร่งด่วนเรื่องปราบทุจริตคอรัปชั่นที่เขียนขึงขังดูดีขนาดบอกว่าจะขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึงอ่านแล้วนึกถึงทักษิณขึ้นยังไงก็ไม่รู้ แต่ดอกนี้นี่แหละครับที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นรัฐบาลอภิปรายฝ่ายค้านเพราะมีการแพล็ม ๆ ออกมาแล้วว่ารัฐบาลเพื่อไทยสั่งคุ้ยทุจริตของรัฐบาล ปชป. สำหรับประชาชนแล้วยินดีครับที่นักการเมืองตรวจสอบกันเองแบบนี้ ให้ดีต้องเอาคนผิดมาลงโทษให้ได้ด้วยอย่าเป็นแค่ละครลิงนาน ๆ ครั้งถ่ายทอดสดทีก็ดุเดือดขึ้นมาที กรณีทุจริตน่ะผมไม่เชื่อทั้งคู่นั่นแหละไม่ว่ารัฐบาลไหน ถ้าจะให้สะใจประชาชนจริง ๆ ส.ส.เพื่อไทยกับปชป.ต้องร่วมกันแก้กฏหมายเพิ่มโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ริบทรัพย์สินตกเป็นของหลวงอย่างเด็ดขาดกับได้พวกทุจริตคอรัปชั่น ถ้าจะทำอย่างนั้นค่อยน่าเชื่อขึ้นมาหน่อย
ส่วนกรณีใหญ่ ๆ ที่จะมีข้อถกเถียงกันมาก ๆ อย่างถมทะเล แลนด์บริดจ์ นครปัตตานี ก็พอมองเห็นแล้วว่าพรรคเพื่อไทยสวมหมวกกันน็อคตั้งแต่ออกจากบ้านเขียนไว้กว้าง ๆ ไม่มัดตัวคงจะไม่น่ามีปัญหาที่จะเป็นปัญหาจริง ๆ คือพวกแหกโผชอบโม้ว่าไปเรื่อยนอกสคริปต์นี่แหละ คงไม่ต้องบอกว่ามีใครบ้างที่ชอบโกหกให้คนจับติดบ้าง บอกแล้วตั้งแต่ต้นน่ะครับว่างานนี้มีผลย้อนหลังไปถึงกฏหมายเลือกตั้งด้วย
การอภิปรายครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของยกระดับการเมืองจากยุคไร้นโยบายมาสู่การแข่งขันเชิงนโยบายและจะเป็นพื้นฐานก่อรูปตกผลึกแนวคิดพื้นฐานทางสังคมและการเมืองในระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ต่อไป
ใน 2 วันนี้ผมจะสวมวิญญาณขำ ๆ จดสถิติประดาขุนพลล่อปูออกจากรูและอัศวินองครักษ์พิทักษ์ปูเป็นเรื่องแรก จากนั้นจะดูคู่หัวขาวช่วยหิ้วหัวล้านและดูว่านายกฯเจ๊ปูจะรักษารูปมวยป้องกันตัวเองไม่ให้เสียหายในทางการเมืองแค่ไหน พอเป็นกระสาย..จากนั้นจะเคร่งเครียดตั้งใจฟังเนื้อหาอื่น ๆ เพื่อจะดูว่าการเมืองไทยจะก้าวไปข้างหน้าได้แค่ไหนจากการอภิปรายที่ไม่ใช่แค่พิธีกรรมในครั้งนี้.
คงคล้าย ๆ การอภิปรายถ่ายทอดสดหลายครั้งที่ผ่านมาพอประชาธิปัตย์พาดพิงไปถึงนายใหญ่คนต่างแดนก็จะมีองครักษ์อาสายกมือขึ้นประท้วงหน้าดำหน้าแดงออกอาการยิ่งกว่าญาติผู้ใหญ่ถูกล่วงเกิน แต่สำหรับรอบนี้ทุกฝ่าย(รวมทั้งคนดู)รู้ว่านายกปูยิ่งลักษณ์มีปัญหาของมือใหม่จะลุกขึ้นแจงแจงตอบโต้ทุกเม็ดแบบอดีตนายกฯ สมัครคงทำไม่ได้ ยิ่งมาเจอลีลาอภิปรายยั่วเดี๋ยวพาดพิงเดี๋ยวกระทบชิ่งเฉี่ยวไปมาอย่างไรเสียคงจะมีขุนพลฝีปากดีของเพื่อไทยลุกขึ้นมาแน่ ๆ
ถ้ายึดหลักขำ ๆ เข้าไว้ จะรอดูว่านอกจากการลุกขึ้นยืนอ่านคำแถลงของนายกฯยิ่งลักษณ์แล้วคุณปูผู้เป็นหญิงแกร่งสุดยอดซีอีโอแสนล้าน(ตามคำอวยของเฉลิม) จะลุกขึ้นมาชี้แจงอีกกี่ครั้งในประเด็นอะไรบ้างและจะอ่านโพยแบบไหน..อ่านคล่องหรือไม่คล่อง..ถ้าสังเกตให้ลึกลงไปอีกควรจะดูว่าระยะเวลาที่ลุกขึ้นตอบนั้นห่างจากที่เขาพาดพิงถามมานานแค่ไหน เพราะถ้าเป็นนายกฯสมัครจะยกมือสวนทันที สำหรับนายกฯ ปูอาจต้องรอทีมงานเตรียมตอบให้คงไม่สามารถยกมือสวนแบบนายกฯสมัครได้ ให้ดีควรสังเกตบทบาทส.ส.ใหม่อย่าง ส.ส.เหวง ส.ส.เต้น ส.ส.ก่อแก้ว และคณะว่าจะมีบทบาทอะไรบ้าง และที่ขาดไม่ได้คือฝ่ายค้านดาวรุ่งอย่างชูวิทย์จะออกลีลาเช่นไร
ผมคิดว่าเนื้อหาข่าวสารทั้งในโซเชี่ยลมีเดียและในสื่อหลักตลอด 2 วันคงจะมีเรื่องแบบที่เกริ่นมาแทรกอยู่ในเนื้อหาอภิปรายไม่น้อยเลย เผลอ ๆ เกร็ดกระพี้เหล่านี้อาจจะทำให้คนลืมดูแก่นที่เป็นเนื้อหาไปเลยก็ได้
เคยสังเกตตัวเองกันบ้างมั้ยครับว่าเราแทบไม่ได้สนใจการอภิปรายนโยบายรัฐบาลในยุคก่อนหน้าคือยุครัฐบาลสมัคร-พล.อ.สุรยุทธ์-ทักษิณ-ชวน-บรรหาร ฯลฯ เลย เพิ่งจะมายุควิกฤตกีฬาสีนี่แหละที่การอภิปรายเป็นเงื่อนการเมืองขนาดเอาตำรวจมายิงคนตายเมื่อ 7 ต.ค.51 จากนั้นพอมายุคอภิสิทธิ์ถึงกับต้องย้ายสถานที่หนีไปก.ต.และไม่ได้อภิปรายอะไรนักเพราะต้องรีบปิดสภาหนีม็อบกัน
นั่นเพราะว่าการเมืองแบบไทย ๆ ไม่เคยมีการแข่งขันเชิงนโยบายอย่างแท้จริงดังนั้นนโยบายรัฐบาลชุดก่อน ๆ จึงเหมือนกับสูตรสำเร็จรูปเขียนให้กว้าง ๆ คลุม ๆ เข้าไว้ การแถลงนโยบายในยุคก่อนหน้าจึงกลายเป็น “แบบแผนพิธีกรรม” ที่ทำ ๆ ไปให้ครบ ๆ องค์ประกอบประชาชนไม่ได้สนใจเท่ากับอภิปรายไม่ไว้วางใจเพราะจะได้ดูคนใส่สูททะเลาะกันด้วยวาจาเสียดสียียวน หลัง ๆ มานี้เผลอมีชกมีถีบและมีแจก (ฮา)
หากเรามองข้ามการเมืองแบบคอยจับตาดูความสนุกสนานของ“กลวิธีล่อปูออกจากรู” และกระบวนท่าตอบโต้ของเหล่าขุนพลคอมมานโดแล้วไซร้เราก็จะพบว่าการอภิปรายในวาระรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภาครั้งนี้เป็นก้าวที่คืบหน้าครั้งใหญ่ของประชาธิปไตยไทย
การแถลงนโยบายไม่ได้เป็นพิธีกรรมเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป เพราะเนื้อหาถ้อยแถลงและคำชี้แจงของรัฐมนตรีในสภาในสมัยนี้ถูกจับจ้องจากทุกฝ่ายมาก่อนหน้าว่าจะบรรจุเรื่องที่สัญญาไว้หรือไม่แบบไหนจะเลี่ยงบาลีศรีธนนไชยกันอย่างไร
การแถลงนโยบายและคำชี้แจงนอกจากมีผลต่อการเมืองประเภทว่าเจ๊ปูเสียหน้า-เสียอาการ นายกมือใหม่ถูกขย้ำกลางสภาแล้ว อาจจะยังมีผลผูกพันกับข้อกฏหมายมีความผิดตามพรบ.ประกอบร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ด้วยซ้ำไป
สมมตินะครับว่าเกิดมีรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยเกิดสติแตกปากมากโม้ไปเรื่อยลุกขึ้นอธิบายโครงการหนึ่งที่เคยหาเสียงไว้แล้วว่าไม่ได้บรรจุในนโยบายเพราะทำไม่ได้ หรือบรรจุแต่ดันตอบไปว่าทำไม่ได้หรอกมันเป็นแค่การหาเสียงไปโก้ ๆ งั้นแหละ คำพูดดังกล่าวอาจจะเข้าข่ายข้อห้ามในการหาเสียงและมีผลต่อเนื่องตามมาตรา 111 ส่งเรื่องสู่ศาลฎีกาแผนกคดีนักเลือกตั้งแบบที่ยงยุทธ ติยะไพรัชโดนมาแล้ว ยิ่งหากผู้กระทำผิดเป็นหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารด้วยอาจถึงศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคตามมาตรา 237 วรรค 2 อีกเด้งหนึ่ง
ดังนั้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในยุคที่พรรคการเมืองต่างแข่งกันหาเสียงแบบเกทับบลัฟแหลก ทำให้การเสนอนโยบายต่อรัฐสภาจำเป็นต้องบรรจุเอาเรื่องที่สัญญาไว้ลงไปเพื่อเป็นการรับผิดชอบทางการเมืองแล้ว ยังอาจจะมีผลผูกพันรับผิดชอบต่อกฏหมายเลือกตั้งอีกโสดหนึ่งด้วย
มิฉะนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พรรคการเมืองเสนอว่าจะแจกเฮลิคอปเตอร์คนละลำ เบนซ์ครอบครัวละคัน ปลดหนี้บัตรเครดิตทุกบาท ฯลฯ แล้วพอได้เป็นรัฐบาลจริงกลับไม่ทำบรรจุในนโยบายแค่ว่า “จะศึกษาความเป็นไปได้ของการแจกเบนซ์ครอบครัวละคันอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม” จริงอยู่พรรคการเมืองนี้อาจจะถูกลงโทษจากประชาชนไม่ได้คะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไปแต่พร้อมกันนั้นก็อาจต้องถูกลงโทษจากกฎหมายเลือกตั้งที่ไปหาเสียงโดยการหลอกลวงทำให้หลงเชื่อเพื่อให้คนลงคะแนนให้ด้วย (ม.53วงเล็บ5)
ถ้าจะดูการอภิปรายให้สนุกกว่าดูหัวขาวลุกขึ้นโต้แทนหัวล้าน ดูแบบคอการเมืองของจริงให้เงี่ยหูฟังการชี้แจงต่อข้อสงสัยในคำสัญญาระหว่างหาเสียงเรื่องต่าง ๆ ด้วย บางเรื่องสัญญาว่าจะให้เงินกองทุนสตรี 100 ล้านต่อจังหวัด พอมาเป็นนโยบายแค่เพิ่มคำว่า “เฉลี่ย”ลงไปกลายเป็น “เฉลี่ย100ล้านบาทต่อจังหวัด” มันคนละเรื่องกันเลยเห็นไหม
บทบาทฝ่ายค้าน ถ้ายังแบบเดิมก็น่าผิดหวัง
ผมจะไม่มองบทบาทประชาธิปัตย์ (ซึ่งเชี่ยวชาญด้านปากอยู่เดิม) แค่ว่าจะมีลีลาหลอกล่อ-หลอกด่า ยั่วให้เจ๊ปูลุกขึ้นมาตอบโต้ หรือทำลายความน่าเชื่อถือของเจ๊ปูอย่างไรเพราะอย่างไรเสียประชาธิปัตย์ขึ้นชื่อว่าเชี่ยวชาญบทบาทโต้วาทีในสภาอยู่แล้ว
แต่ผมตั้งใจจะดูเนื้อหาการอภิปรายว่าประชาธิปัตย์ยังติดหล่มวังวนกับการให้น้ำหนักลีลาการพูด การจับผิดหาช่องโหว่ที่ฝ่ายตรงข้ามเสนอสู่สภา ประชาธิปัตย์จับผิดเก่ง ขยายแผลเก่ง แต่ที่ขาดไปในประวัติศาสตร์ความเป็นฝ่ายค้านก็คือประชาธิปัตย์ขาดการเสนอวิธีการแก้ปัญหา/พัฒนาแบบที่ประชาธิปัตย์คิดรังสรรค์ออกมาเพื่อให้คนฟังเปรียบเทียบ
มีคนวิเคราะห์มาก่อนหน้าหลายคนว่าที่ประชาธิปัตย์ขาดที่สุดคือ “นักคิด” เพิ่งเขียนถึงทัศนะของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ไปเมื่อสัปดาห์ก่อนนึก ๆ ก็จริงตามเขาว่า...ทักษิณสุดกู่ไปทางหนึ่งเช่นจู่ ๆ ก็โฟนอินบอกว่าเพื่อไทยจะถมทะเล 30 ก.ม.ลึกลงไป 10 ก.ม.เพื่อป้องกันน้ำท่วมการคิดเร็วทำเร็วแปลกแหวกแนวสุด ๆ เป็นทั้งจุดเด่นและจุดอ่อนของทักษิณขณะที่ประชาธิปัตย์จะเก่งแค่บอกว่าโครงการนี้ไม่ดีไม่เหมาะอย่างไร แต่ที่สุดประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถจะนำเสนอโครงการที่เด่น-ดี-สามารถแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้ “โดนใจ”ยิ่งไปกว่าทักษิณเสนอ
การอภิปรายครั้งนี้ประชาธิปัตย์มีพื้นฐานจากข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้คิดค้นนำเสนอในระหว่างเลือกตั้ง นี่เป็นครั้งแรกของประชาธิปัตย์กระมังที่สามารถคิดชุดนโยบายอย่างเป็นรูปร่างและน่าสนใจพอสมควรออกมา พื้นฐานนโยบายเดิมที่เสนอระหว่างเลือกตั้งเพื่อเทียบกับชุดนโยบายของเพื่อไทยอาจจะถูกนำมาปัดฝุ่นเน้นย้ำให้คนดูแปะข้างฝาไว้อีกรอบกันลืมแต่ที่สุดแล้วให้ดีที่สุดสำหรับพัฒนาการทางการเมืองไทยการอภิปรายชี้จุดดีจุดอ่อนของฝ่ายรัฐบาลควรควบคู่กับข้อเสนอที่คิดว่าดีกว่าเปรียบเทียบกันด้วย
ผมไม่อยากเห็นแค่ลีลาของขุนพลปากเอก หยอกล้อ ยั่วเย้า กระทบกระเทียบเรียกเสียงฮาหรือมุ่งตอกย้ำให้ผู้นำฝ่ายตรงข้ามดูน่าสมเพชเป็นยุทธวิธีหลัก เพราะหากเป็นเช่นนี้ประชาธิปัตย์ก็ยังกอดกับความสำเร็จ(ที่ไม่เคยสำเร็จ)เดิม ๆ ประชาชนไม่ได้อะไร(เหมือนเดิม)
นโยบายปู-1 แยกเนื้อแยกน้ำดีก็มีเยอะ (ถ้าทำได้)
ได้อ่านเอกสารนโยบายรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้วมีหลายเรื่องที่น่าสนใจไม่เฉพาะแต่นโยบายเร่งด่วน 16 ข้อที่จะเป็นโฟกัสสำคัญของการอภิปราย
ถ้าจะให้บอกว่านโยบายนี้ ยี้สุด-แย่จริง-เลวจัง มันก็อคติเกินไปเพราะอย่างไรเสียนโยบายของทุกรัฐบาลหลังปี 2550 มานี้ล้วนแต่เขียนนโยบายล้อแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐซึ่งกำหนดในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ ผสมผสานกับแนวทางการเขียนนโยบายแบบคลาสสิค(แบบเดิม ๆ ประมาณว่าท่าพื้นฐานภาคบังคับของยิมนาสติก) แล้วก็นโยบายของพรรคที่หาเสียงไว้ (ประมาณว่าท่าคิดเองผาดแผลงฟรีสไตล์)
ช่วง 2-3 วันมานี้สิ่งที่ผมสนใจที่สุดคือพยายามจะแกะร่องรอย “ชุดความคิดพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการเมือง” ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายเหมือนกับในประเทศตะวันตกที่นโยบายรัฐบาลสามารถสะท้อนและบ่งบอก Political View ออกมาว่าเป็นเสรีนิยมใหม่ เป็นสังคมนิยมอ่อน ๆ เป็นกลางซ้าย หรือเป็นกลางเอียงขวา ฯลฯ
อาจจะด้วยความอ่อนด้อยของผมเองกระมังที่พยายามพลิกดูอย่างไรก็ไม่พบเจ้าแนวคิดพื้นฐานที่ชัดเจนออกมา รัฐบาลบอกเหมือนกับทุกรัฐบาลเหมือนกับทักษิณ สมชาย สมัคร ชวน อภิสิทธิ์ บรรหารว่าจะส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรีแต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้ปล่อยเสรีตามกลไกตลาดจ๋าเพราะมีนโยบายแทรกแซงตลาดชัดเจนคือการจำนำสินค้าเกษตรและการอุดหนุนการผลิตรูปแบบต่าง ๆ อย่างในสมัยทักษิณประกาศเหมือนกับเชื่อในแนวทางเสรีนิยมใหม่ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจทำ Privatize ปตท.และรัฐวิสาหกิจอื่นที่ไหนได้แปรรูปแค่กระจายหุ้นให้เอกชนเข้ามาร่วมถือครองแต่ ปตท.ยังมีอำนาจเหนือตลาดได้สิทธิ์ของรัฐวิสาหกิจเช่นที่เคยเป็น ปากหนึ่งบอกศรัทธาในตลาดเสรี อีกปากหนึ่งก็สมยอมกับการผูกขาด-กึ่งผูกขาดแบบที่เคยเป็นมา
ที่กล่าว ๆมาไม่ได้หมายถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือทักษิณเท่านั้นหรอกนะครับ อาการแบบชุดนโยบายอะไรก็ได้บนฐานทฤษฎีแมวกี่สีก็จับหนูได้ประชาธิปัตย์และขิงแก่ก็เป็นเหมือนกัน จึงไม่แปลกอะไรที่ประชาธิปัตย์รวมถึงภูมิใจไทยชาติไทยบรรหารฯลฯจะเดินตามก้นประชานิยมทักษิณต้อย ๆ เพราะการเมืองไทยเพิ่งจะอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากยุคพื้นฐานความคิดทางการเมืองแบบจับฉ่ายอะไรก็ได้ขอให้ได้เป็นรัฐบาล มาสู่ ขั้นตอนเปลี่ยนผ่านสู่การหลอมรวมชุดความคิดพื้นฐานดังที่เป็นในปัจจุบัน
ผมมีความเชื่อของผมเองว่าแนวโน้มในระยะต่อไปดูอัลแทรกซ์และฐานเสียงรากหญ้าจะค่อย ๆ หลอมให้พรรคเพื่อไทยมีฐานความคิดแบบกลางซ้ายในอนาคต ขณะที่ฐานของประชาธิปัตย์จะออกไปแนวกลางขวา แต่นี่เป็นแนวโน้มในอนาคตไม่ใช่การเลือกตั้งครั้งนี้ ดังนั้นจึงหวังอะไรได้ยากกับชุดนโยบายยิ่งลักษณ์ว่าจะสะท้อนอะไรออกมาที่ชัดเจน เสรีก็เอา แทรกแซงตลาดก็จะเอา แล้วก็ลดแลกแจกแถมไปตามเกม ที่กล่าวมานี้ผมหาใช่นักเศรษฐศาสตร์มือฉมังอะไรดอกนะครับเพียงแค่ผมลองเปรียบเทียบชุดนโยบายของรัฐบาลลาตินอเมริกาหลายประเทศที่เขาเรียกกันว่าซ้าย ๆ น่ะมันคนละแบบกับซ้ายไทยที่ประดาซ้ายเสื้อแดงประกาศว่าพรรคเพื่อไทยเป็นอยู่
ยอมรับว่านโยบายนี้เขียนได้รัดกุมพอสมควรเอาประสบการณ์แย่ ๆ ของทักษิณมาปรับใช้เช่นประกาศส่งเสริม OTOP แต่ไม่ลืมกล่าวถึงการส่งเสริมมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษพร้อมกันไป เรื่องปราบยาเสพติดก็มีคำเน้นว่าภายใต้หลักนิติรัฐ (คือไม่ปราบแบบเท็กซัสเหมือนยุคทักษิณ)
ที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประเด็นให้เกิดเรื่องเถียงกันในสภาฯ คือนโยบายเร่งด่วนเรื่องปราบทุจริตคอรัปชั่นที่เขียนขึงขังดูดีขนาดบอกว่าจะขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึงอ่านแล้วนึกถึงทักษิณขึ้นยังไงก็ไม่รู้ แต่ดอกนี้นี่แหละครับที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นรัฐบาลอภิปรายฝ่ายค้านเพราะมีการแพล็ม ๆ ออกมาแล้วว่ารัฐบาลเพื่อไทยสั่งคุ้ยทุจริตของรัฐบาล ปชป. สำหรับประชาชนแล้วยินดีครับที่นักการเมืองตรวจสอบกันเองแบบนี้ ให้ดีต้องเอาคนผิดมาลงโทษให้ได้ด้วยอย่าเป็นแค่ละครลิงนาน ๆ ครั้งถ่ายทอดสดทีก็ดุเดือดขึ้นมาที กรณีทุจริตน่ะผมไม่เชื่อทั้งคู่นั่นแหละไม่ว่ารัฐบาลไหน ถ้าจะให้สะใจประชาชนจริง ๆ ส.ส.เพื่อไทยกับปชป.ต้องร่วมกันแก้กฏหมายเพิ่มโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ริบทรัพย์สินตกเป็นของหลวงอย่างเด็ดขาดกับได้พวกทุจริตคอรัปชั่น ถ้าจะทำอย่างนั้นค่อยน่าเชื่อขึ้นมาหน่อย
ส่วนกรณีใหญ่ ๆ ที่จะมีข้อถกเถียงกันมาก ๆ อย่างถมทะเล แลนด์บริดจ์ นครปัตตานี ก็พอมองเห็นแล้วว่าพรรคเพื่อไทยสวมหมวกกันน็อคตั้งแต่ออกจากบ้านเขียนไว้กว้าง ๆ ไม่มัดตัวคงจะไม่น่ามีปัญหาที่จะเป็นปัญหาจริง ๆ คือพวกแหกโผชอบโม้ว่าไปเรื่อยนอกสคริปต์นี่แหละ คงไม่ต้องบอกว่ามีใครบ้างที่ชอบโกหกให้คนจับติดบ้าง บอกแล้วตั้งแต่ต้นน่ะครับว่างานนี้มีผลย้อนหลังไปถึงกฏหมายเลือกตั้งด้วย
การอภิปรายครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของยกระดับการเมืองจากยุคไร้นโยบายมาสู่การแข่งขันเชิงนโยบายและจะเป็นพื้นฐานก่อรูปตกผลึกแนวคิดพื้นฐานทางสังคมและการเมืองในระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ต่อไป
ใน 2 วันนี้ผมจะสวมวิญญาณขำ ๆ จดสถิติประดาขุนพลล่อปูออกจากรูและอัศวินองครักษ์พิทักษ์ปูเป็นเรื่องแรก จากนั้นจะดูคู่หัวขาวช่วยหิ้วหัวล้านและดูว่านายกฯเจ๊ปูจะรักษารูปมวยป้องกันตัวเองไม่ให้เสียหายในทางการเมืองแค่ไหน พอเป็นกระสาย..จากนั้นจะเคร่งเครียดตั้งใจฟังเนื้อหาอื่น ๆ เพื่อจะดูว่าการเมืองไทยจะก้าวไปข้างหน้าได้แค่ไหนจากการอภิปรายที่ไม่ใช่แค่พิธีกรรมในครั้งนี้.