นับจาก 30 พฤษภาคม - - 3 วันสุดสัปดาห์นี้เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญจุดหนึ่งของการ “รบครั้งสุดท้าย” ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
เป็นระยะที่ผู้กำหนดเกมทั้ง 2 ฝ่ายชิงไหวชิงพริบ กำหนดหมากตาเดินด้วยความรอบคอบ
ชนะ-แพ้ อาจจะอยู่ที่การเดินหมากสำคัญเพียงตาเดียวก็ได้
ในจังหวะที่ฝ่ายพันธมิตรเป็นฝ่ายสะสมชัยชนะมาตลอด 6 วัน สามารถรักษาพลังความฮึกเหิม และจำนวนไพร่พลได้ต่อเนื่องแถมมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้กำลังจากต่างจังหวัดเข้ามาสมทบ ซึ่งขณะที่เขียนต้นฉบับเช้าตรู่วันศุกร์ ประเมินเบื้องต้นว่าอาจจะถึงหลักแสนด้วยซ้ำไป
ระดมเข้ามาเพื่อรอการขอฉันทามติ เดินเกมหมากต่อไป
ทางด้านรัฐบาล- ภาพที่ออกมาเหมือนถอย
จักรภพ เพ็ญแข เตรียมแถลงเรื่องสำคัญของชีวิตรัฐมนตรี
ญัตติแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญอยู่ในภาวะง่อนแง่นพร้อมตกไม่อีกไม่กี่อึดใจ
เหมือนจะแพ้ แต่แท้จริงไม่ใช่ !!!
เหมือนจะชนะ แท้จริงก็ไม่ใช่เช่นกัน !!!
การศึกมีพลิกผัน ไม่แน่ว่าในระยะ 2 วันนี้ กระแสสังคมจะพลิกกลับมาซัดใส่ฝ่ายพันธมิตร ในลักษณะว่า ได้คืบเอาศอก ก็เขาถอยให้แล้ว ถอนญัตติแล้ว รอประชามติไม่ดีกว่าหรือ ?
เปลี่ยนทิศทางหอกดาบให้พุ่งเป้าเข้าหาพันธมิตรบ้าง !!!
...............
การศึกรอบนี้ของฝ่ายรัฐบาล ยกมาด้วยทัพใหญ่ หลายเหล่าหลายกอง
บ้างก็รบเปะปะ ทำให้ขบวนทั้งขบวนเสียหาย, บ้างก็รบแบบไดโนเสาร์ เที่ยวปล่อยข่าวลวง ข่าวลือ รวมไปถึง การหน่วงเหนี่ยวสร้างเงื่อนไขให้การทำงานของพันธมิตรยากลำบากขึ้น แต่กลับเป็นการสร้างแรงแค้น-แรงฮึดให้กับพันธมิตรไปในตัว
ขุนพลต่ำชั้นเหล่านี้ รบไป ทำไป อาจเสียกระบวนบ้างแต่ยุทธศาสตร์ใหญ่ยังคงอยู่
แต่ขุนพลใหญ่ที่คุมทัพจริง ๆ ก็ยังยืนช้างศึกคุมเกมอยู่
การที่ญัตติแก้รัฐธรรมนูญตกไป ไม่ได้หมายความว่า พ่ายแพ้
ถอยทัพ ไม่ได้หมายถึง แพ้ศึก !!
น้ำเชี่ยวเช่นนี้ไม่มีขุนพลเจนสนามคนไหนเอาเรือไปขวางหรอก
การถอนญัตติเปรียบได้กับ การถอยทางยุทธวิธี
ตีทางตรงไม่ได้ ก็เปลี่ยนมาตีทางโอบ
แนวทางประชามติ ซึ่งต้องอาศัยจำนวนมือของพี่น้องประชาชนผ่านการหย่อนบัตร ทั่วทั้งประเทศนี้มีคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ชำนาญที่สุด นั่นคือ เหล่านักเลือกตั้ง
ดึงพันธมิตร ไปเล่นในสนามและกติกาที่พวกเขาคุ้นเคย
เมื่อได้ผลประชามติ เท่ากับ ได้ความชอบธรรม
ต่อจากนั้นจะย้ายสนามไปยังรัฐสภา ซึ่งพวกเขาคุ้นเคยสนามเป็นเจ้าถิ่นตัวจริง หลักการของการเล่นในสนามนี้คือการต่อรองผลประโยชน์ เหล่านักเลือกตั้งคุ้นเคยกับเกมเหล่านี้มาโชกโชน
การยื่นญัตติรอบใหม่แบบรวดเดียวจบ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับขัดใจโจรทิ้งไปตามเป้าหมายเดิม
..........
ภาพรวมขณะนี้ เหมือนพันธมิตรจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ สะสมทำคะแนนเรื่อยมา และกำลังระดมพลครั้งใหญ่อีกรอบ
แต่หากผ่านสุดสัปดาห์นี้ไป ไม่แน่ว่า สถานการณ์จะพลิกกลับ....เป็นธรรมดาของการรบ วันนี้เป็นฝ่ายรุกย่อมมีวันเป็นฝ่ายตั้งรับบ้าง
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นักยุทธวิธีรบในเมืองตัวจริง เคยกล่าวไว้ก่อนนี้ว่า หลักการชุมนุมในเมืองนั้น สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือการรักษาเป้าหมายเดิม
ภาพที่ปรากฏ-วาทกรรมที่หลากหลายในช่วงระหว่าง พุธ-พฤหัสฯ ที่ผ่านมา ทำให้ดูคลับคล้ายว่า พันธมิตรกำลังเปลี่ยนเป้าหมายการชุมนุม อันเป็นกฎข้อต้องห้ามที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เคยกล่าวไว้
Politics is perception !
ภาพลักษณ์-ความเชื่อ ที่เผยแพร่ออกผ่านสื่อต่าง ๆ ในช่วงสองวันที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนเข้าใจคล้อยตามไปว่า พันธมิตรกำลังเปลี่ยนจุดยืน หันมาไล่รัฐบาล
คล้าย ๆ กับ พอใกล้จะได้ชัยชนะเรื่องญัตติแก้รัฐธรรมนูญ ก็หาเรื่อง-สร้างเรื่องใหม่ หันมาไล่รัฐบาลแทน
มีตัวอย่างจำนวนมากของการรบในยุคก่อน...ฝ่ายหนึ่งแสร้งถอย ยั่วให้อีกฝ่ายฮึกเหิม จนถลำเข้าสู่หลุมพราง
หลุมพรางนี้อาจจะเรียกชื่อว่า “กับดักภาพลักษณ์” ภาพลักษณ์ได้คืบเอาศอกนั้น มีความหมายเดียวกันกับ การช่วงชิงความชอบธรรม
…………..
Politics is perception !
ทั้ง ๆ ที่พันธมิตรยังไม่ได้ชัยชนะตามเป้าหมายดั้งเดิม คือ การคัดค้าน-สกัดกั้นมิให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่สังคมทั้งสังคมอาจจะถูกล่อให้เข้าใจว่า พันธมิตรได้ชัยชนะไปแล้ว จากการถอนญัตติของส.ส.รัฐบาล
เท่ากับ แม่ทัพใหญ่แห่งพลพรรคส.ส.อีสานใต้ ได้บรรจงหยิบยื่น ชัยชนะลม ๆ แล้ง ๆ ให้กับพันธมิตร แถมบังคับให้สังคมทั้งสังคมปรบมือยินดี
นี่มิใช่การแสร้างถอยเพื่อรุกเพียงประการเดียว !!
หากยังขุดหลุมพราง ทำกับดักพิสดารวางไว้อีกชั้นหนึ่ง
....................
พันธมิตรยังไม่ได้รับชัยชนะ
การลาออกของจักรภพ เพ็ญแข , จะออกหรือไม่ออกก็ไม่ใช่เป้าหมายดั้งเดิม
เป้าหมายดั้งเดิมที่ยังดำรงอยู่มิเปลี่ยนแปร ก็คือ เป้าหมายที่จะสกัดกั้นการฟอกโจร ช่วยเหลือคดีความนายใหญ่ ปลดแอกบ้านเลขที่ 111 แก้กติกาเพื่อให้กลุ่มอำนาจปัจจุบันครองอำนาจต่อได้ยาวนาน
หรือแม้แต่การถอนญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่ชัยชนะ
เพราะความมุ่งมั่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ แบบฉีกทิ้งเพื่อนำกติกาปี 40 มาใช้ ก็ยังคงอยู่
ยังคงอยู่ในเส้นทางผลักดันเพื่อบังคับใช้ต่อไป
เพียงแต่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ วิธีการ ที่ซับซ้อน แยบยล และอยู่ในเกมที่นักเลือกตั้งชำนาญเท่านั้นเอง
ที่สำคัญที่สุด อำนาจรัฐยังอยู่ในมือครบถ้วน เป็นสถานะที่ได้เปรียบในทางยุทธวิธี
...........
สุดสัปดาห์นี้เป็นห้วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง
การเดินหมากแต่ละตัวนับจากนี้ ละเอียดอ่อนยิ่ง
........
เป็นระยะที่ผู้กำหนดเกมทั้ง 2 ฝ่ายชิงไหวชิงพริบ กำหนดหมากตาเดินด้วยความรอบคอบ
ชนะ-แพ้ อาจจะอยู่ที่การเดินหมากสำคัญเพียงตาเดียวก็ได้
ในจังหวะที่ฝ่ายพันธมิตรเป็นฝ่ายสะสมชัยชนะมาตลอด 6 วัน สามารถรักษาพลังความฮึกเหิม และจำนวนไพร่พลได้ต่อเนื่องแถมมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้กำลังจากต่างจังหวัดเข้ามาสมทบ ซึ่งขณะที่เขียนต้นฉบับเช้าตรู่วันศุกร์ ประเมินเบื้องต้นว่าอาจจะถึงหลักแสนด้วยซ้ำไป
ระดมเข้ามาเพื่อรอการขอฉันทามติ เดินเกมหมากต่อไป
ทางด้านรัฐบาล- ภาพที่ออกมาเหมือนถอย
จักรภพ เพ็ญแข เตรียมแถลงเรื่องสำคัญของชีวิตรัฐมนตรี
ญัตติแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญอยู่ในภาวะง่อนแง่นพร้อมตกไม่อีกไม่กี่อึดใจ
เหมือนจะแพ้ แต่แท้จริงไม่ใช่ !!!
เหมือนจะชนะ แท้จริงก็ไม่ใช่เช่นกัน !!!
การศึกมีพลิกผัน ไม่แน่ว่าในระยะ 2 วันนี้ กระแสสังคมจะพลิกกลับมาซัดใส่ฝ่ายพันธมิตร ในลักษณะว่า ได้คืบเอาศอก ก็เขาถอยให้แล้ว ถอนญัตติแล้ว รอประชามติไม่ดีกว่าหรือ ?
เปลี่ยนทิศทางหอกดาบให้พุ่งเป้าเข้าหาพันธมิตรบ้าง !!!
...............
การศึกรอบนี้ของฝ่ายรัฐบาล ยกมาด้วยทัพใหญ่ หลายเหล่าหลายกอง
บ้างก็รบเปะปะ ทำให้ขบวนทั้งขบวนเสียหาย, บ้างก็รบแบบไดโนเสาร์ เที่ยวปล่อยข่าวลวง ข่าวลือ รวมไปถึง การหน่วงเหนี่ยวสร้างเงื่อนไขให้การทำงานของพันธมิตรยากลำบากขึ้น แต่กลับเป็นการสร้างแรงแค้น-แรงฮึดให้กับพันธมิตรไปในตัว
ขุนพลต่ำชั้นเหล่านี้ รบไป ทำไป อาจเสียกระบวนบ้างแต่ยุทธศาสตร์ใหญ่ยังคงอยู่
แต่ขุนพลใหญ่ที่คุมทัพจริง ๆ ก็ยังยืนช้างศึกคุมเกมอยู่
การที่ญัตติแก้รัฐธรรมนูญตกไป ไม่ได้หมายความว่า พ่ายแพ้
ถอยทัพ ไม่ได้หมายถึง แพ้ศึก !!
น้ำเชี่ยวเช่นนี้ไม่มีขุนพลเจนสนามคนไหนเอาเรือไปขวางหรอก
การถอนญัตติเปรียบได้กับ การถอยทางยุทธวิธี
ตีทางตรงไม่ได้ ก็เปลี่ยนมาตีทางโอบ
แนวทางประชามติ ซึ่งต้องอาศัยจำนวนมือของพี่น้องประชาชนผ่านการหย่อนบัตร ทั่วทั้งประเทศนี้มีคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ชำนาญที่สุด นั่นคือ เหล่านักเลือกตั้ง
ดึงพันธมิตร ไปเล่นในสนามและกติกาที่พวกเขาคุ้นเคย
เมื่อได้ผลประชามติ เท่ากับ ได้ความชอบธรรม
ต่อจากนั้นจะย้ายสนามไปยังรัฐสภา ซึ่งพวกเขาคุ้นเคยสนามเป็นเจ้าถิ่นตัวจริง หลักการของการเล่นในสนามนี้คือการต่อรองผลประโยชน์ เหล่านักเลือกตั้งคุ้นเคยกับเกมเหล่านี้มาโชกโชน
การยื่นญัตติรอบใหม่แบบรวดเดียวจบ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับขัดใจโจรทิ้งไปตามเป้าหมายเดิม
..........
ภาพรวมขณะนี้ เหมือนพันธมิตรจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ สะสมทำคะแนนเรื่อยมา และกำลังระดมพลครั้งใหญ่อีกรอบ
แต่หากผ่านสุดสัปดาห์นี้ไป ไม่แน่ว่า สถานการณ์จะพลิกกลับ....เป็นธรรมดาของการรบ วันนี้เป็นฝ่ายรุกย่อมมีวันเป็นฝ่ายตั้งรับบ้าง
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นักยุทธวิธีรบในเมืองตัวจริง เคยกล่าวไว้ก่อนนี้ว่า หลักการชุมนุมในเมืองนั้น สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือการรักษาเป้าหมายเดิม
ภาพที่ปรากฏ-วาทกรรมที่หลากหลายในช่วงระหว่าง พุธ-พฤหัสฯ ที่ผ่านมา ทำให้ดูคลับคล้ายว่า พันธมิตรกำลังเปลี่ยนเป้าหมายการชุมนุม อันเป็นกฎข้อต้องห้ามที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เคยกล่าวไว้
Politics is perception !
ภาพลักษณ์-ความเชื่อ ที่เผยแพร่ออกผ่านสื่อต่าง ๆ ในช่วงสองวันที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนเข้าใจคล้อยตามไปว่า พันธมิตรกำลังเปลี่ยนจุดยืน หันมาไล่รัฐบาล
คล้าย ๆ กับ พอใกล้จะได้ชัยชนะเรื่องญัตติแก้รัฐธรรมนูญ ก็หาเรื่อง-สร้างเรื่องใหม่ หันมาไล่รัฐบาลแทน
มีตัวอย่างจำนวนมากของการรบในยุคก่อน...ฝ่ายหนึ่งแสร้งถอย ยั่วให้อีกฝ่ายฮึกเหิม จนถลำเข้าสู่หลุมพราง
หลุมพรางนี้อาจจะเรียกชื่อว่า “กับดักภาพลักษณ์” ภาพลักษณ์ได้คืบเอาศอกนั้น มีความหมายเดียวกันกับ การช่วงชิงความชอบธรรม
…………..
Politics is perception !
ทั้ง ๆ ที่พันธมิตรยังไม่ได้ชัยชนะตามเป้าหมายดั้งเดิม คือ การคัดค้าน-สกัดกั้นมิให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่สังคมทั้งสังคมอาจจะถูกล่อให้เข้าใจว่า พันธมิตรได้ชัยชนะไปแล้ว จากการถอนญัตติของส.ส.รัฐบาล
เท่ากับ แม่ทัพใหญ่แห่งพลพรรคส.ส.อีสานใต้ ได้บรรจงหยิบยื่น ชัยชนะลม ๆ แล้ง ๆ ให้กับพันธมิตร แถมบังคับให้สังคมทั้งสังคมปรบมือยินดี
นี่มิใช่การแสร้างถอยเพื่อรุกเพียงประการเดียว !!
หากยังขุดหลุมพราง ทำกับดักพิสดารวางไว้อีกชั้นหนึ่ง
....................
พันธมิตรยังไม่ได้รับชัยชนะ
การลาออกของจักรภพ เพ็ญแข , จะออกหรือไม่ออกก็ไม่ใช่เป้าหมายดั้งเดิม
เป้าหมายดั้งเดิมที่ยังดำรงอยู่มิเปลี่ยนแปร ก็คือ เป้าหมายที่จะสกัดกั้นการฟอกโจร ช่วยเหลือคดีความนายใหญ่ ปลดแอกบ้านเลขที่ 111 แก้กติกาเพื่อให้กลุ่มอำนาจปัจจุบันครองอำนาจต่อได้ยาวนาน
หรือแม้แต่การถอนญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ใช่ชัยชนะ
เพราะความมุ่งมั่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ แบบฉีกทิ้งเพื่อนำกติกาปี 40 มาใช้ ก็ยังคงอยู่
ยังคงอยู่ในเส้นทางผลักดันเพื่อบังคับใช้ต่อไป
เพียงแต่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ วิธีการ ที่ซับซ้อน แยบยล และอยู่ในเกมที่นักเลือกตั้งชำนาญเท่านั้นเอง
ที่สำคัญที่สุด อำนาจรัฐยังอยู่ในมือครบถ้วน เป็นสถานะที่ได้เปรียบในทางยุทธวิธี
...........
สุดสัปดาห์นี้เป็นห้วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง
การเดินหมากแต่ละตัวนับจากนี้ ละเอียดอ่อนยิ่ง
........