xs
xsm
sm
md
lg

จีนเน้นย้ำหลัก “ปัญจศีล” เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ธำรงระเบียบโลกที่เท่าเทียม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



CGTN : จีนเรียกร้องนานาชาติยึดหลัก “ปัญจศีล” ที่ช่วยสร้างสันติภาพกับโลกหลังยุคสงครามเย็น และเป็นหมุดหมายของนโยบายต่างประเทศของจีนมาจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม : Five Principles of Peaceful Coexistence: Bedrock of just global order

หลัก “ปัญจศีล” เป็นแนวคิดของนายโจว เอินไหล อดีตนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ที่เสนอแนวทางการอยู่ร่วมกันอยู่สันติ ท่ามกลางความขัดแย้งของโลกเสรีและสังคมนิยมในช่วงสงครามเย็น จนนำไปสู่ข้อตกลงจีน-อินเดีย ในปี 1954 และนำไปใช้ในข้อตกลงระหว่างจีนกับประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา ประกอบด้วยหลักการ 5 ประการ ได้แก่

1.เคารพในอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน
2.ไม่รุกรานกัน
3.ไม่แทรกแซงกิจการภายใน
4.ร่วมมืออย่างเท่าเทียม และเกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน
5.อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ในเวทีประชุม “ครบรอบ 70 ปีหลักปัญจศีล เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ระบุว่า หลักการ 5 ประการยังคงใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่เคารพอธิปไตยของกันและกัน และไม่แทรกแซงกิจการภายใน ซึ่งจะสนับสนุนการคลี่คลายความขัดแย้งต่างๆ ด้วยวิธีการสันติ และเป็นหลักที่มีศีลธรรมที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่-เล็ก หรือมีอำนาจแตกต่างกันก็ตาม

หลังนายโจว เอินไหล ประกาศหลักปัญจศีล บรรดาผู้นำจาก 29 ประเทศในเอเชียและแอฟริกาได้มารวมตัวกันที่เมืองบันดุง ของอินโดนีเซีย ในปี 1955 เพือร่วมกันลงนามรับรองหลักการนี้ ทำให้นายโจว เอินไหลถูกยกย่องให้เป็นรัฐบุรษ และสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ

70 ปีให้หลัง โลกเผชิญกับ “การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบศตวรรษ” ตามคำกล่าวของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง โลกในยุคของมหาอำนาจเดี่ยว กำลังเข้าสู่ “สงครามเย็นครั้งใหม่” ที่นำไปสู่การแข่งขันทางยุทธศาสตร์ และการแยกข้างแบ่งขั้ว

สหรัฐฯ ซึ่งยกย่องตัวเองว่าเป็น “มหาอำนาจเดี่ยว” กำลังเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่ว่า ความเป็นเจ้าในด้านการเมือง การทหาร เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ กำลังถูกท้าทายด้วยโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ

นี่เป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษที่ประเทศที่ไม่ใช่ชาติตะวันตกกำลังท้าทายการนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และระยะห่างระหว่างทั้งสองฝ่ายกำลังน้อยลงเรื่อยๆ


โลกปัจจุบันกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน 3 ด้าน คือ

1.ความถดถอยของชาติตะวันตก และการเติบโตของกลุ่มประเทศ “โลกใต้”

2.การผงาดของประเทศจีน โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะทวีคูณพลังการสร้างระเบียบโลกใหม่ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความเสื่อมถอยของชาติตะวันตก แต่ตั้งอยู่บนหลัก “ปัญจศีล”

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เรื่อง "The Great Tech Rivalry: China vs. the United States" ที่เผยแพร่ในปี 2021 ชี้ว่า จีนจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญกับสหรัฐฯ ในด้านอุตสาหกรรมไฮเทค ปัญญาประดิษฐ์ (AI) 5G วิทยาศาสตร์ข้อมูลควอนตัน เซมิคอนดักเตอร์ทเทคโนโลยีชีวภาพ และพลังงานสะอาด ซึ่งในหลายด้านจีนได้แซงหน้าสหรัฐฯ แล้ว

นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. เรียกประเทศจีนว่าเป็น “มหาอำนาจทางวิทยาศาสตร์” และชี้ว่า “วิทยาศาสตร์โลกเก่า” ที่ผูกขาดโดยสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น กำลังจะจบสิ้นลง โดยให้ข้อมูลว่า ร้อยละ 40 ของงานวิจัยด้าน AI มาจากประเทศจีน ขณะที่มีเพียงร้อยละ 10 มาจากสหรัฐฯ และร้อยละ 15 มากจากยุโรปและอังกฤษ

มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ 10 อันดับแรกของโลก มี 6 มหาวิทยาลัยอยู่ในจีน โดยมหาวิทยาลัยชิงหัว เป็นสุดยอดมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3.สหรัฐฯ และชาติตะวันตกได้สร้าง "สงครามเย็นครั้งใหม่" เพื่อปิดล้อมและสกัดกั้นการเติบโตของจีน นาโตกล่าวหาว่าจีนเป็น “ภัยคุกคาม” และในการประชุมผู้นำกลุ่ม G7 ครั้งล่าสุดที่อิตาลี มีการเอ่ยถึงประเทศจีนมากถึง 28 ครั้งในแถลงการณ์หลังการประชุม โดยพูดในเชิงที่ว่าจีนเป็น “พลังที่ชั่วร้าย”

บรรดาชาติตะวันตก และเครือข่ายอุตสาหกรรมกลาโหมของสหรัฐฯ ได้สร้าง สงครามเย็นครั้งใหม่กับรัสเซียและจีน ทั้งๆ ที่โลกกำลังเผชิญความท้าทายอื่นๆ มากมาย ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร โรคระบาด ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ การก่อการร้าย ข่าวสารปลอม และการใช้ AI ในทางที่ผิด

การแข่งขันของชาติมหาอำนาจยังนำไปสู่การรวมกลุ่มขนาดเล็ก ซึ่งสหรัฐฯ สนับสนุน เช่น Quad, AUKUS และ I2U2 (กลุ่มของอินเดีย อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา มีเป้าหมายที่จะร่วมมือในด้านน้ำ พลังงาน การขนส่ง พื้นที่ สุขภาพ และความมั่นคงด้านอาหาร) กลุ่มเหล่านี้ยิ่งทำให้โลกแบ่งขั้วแยกข้าง และบั่นทอนศักยภาพในการร่วมมือของประเทศต่างๆ เพื่อรับมืออุปสรรคในด้านต่างๆ ของมนุษยชาติ

การแข่งขันของชาติมหาอำนาจทำให้โลกหวนคืนสู่ยุคสงครามเย็น โดยที่ชาติตะวันตกไม่ตระหนักเลยว่า จีนไม่ใช่สหภาพโซเวียต ดังนั้นตำราที่ใช้ในสมัยสงครามเย็นจึงล้าสมัยแล้ว การแย่งชิงภูมิรัฐศาสตร์ได้แบ่งโลกออกเป็นขั้วเป็นฝ่าย ทั้ง ฝๆ ที่ความร่วมมือ การค้า ซึ่งกันและกันจะก่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่า

การแข่งขันระหว่างกลุ่มพันธมิตร เช่น Quad, AUKUS, I2U2 หรือ Chip 4 alliance (สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน) ได้ทำให้ดุลอำนาจระหว่างภูมิภาคต่างๆ เสียไป ทั้งในเอเชีย ตะวันออกกลาง และเอเชียแปซิฟิก

แนวทางต้านโลกานุวัตรถูกนำมาใช้เพื่อปิดล้อม “คู่แข่ง” การรวมกลุ่มต่างๆ กลายเป็นกลุ่มเฉพาะของชนชั้นนำ และทำให้องค์การที่นานาชาติมีส่วนร่วมอย่างเป็นประชาธิปไตยอย่าง สหประชาชาติ กลายเป็น “เสือกระดาษ” ที่แท้จริง จนโลกไม่สามารถรวมพลังเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญได้ ทั้งโรคระบาด ความยากจน ความอดอยาก การก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.


กำลังโหลดความคิดเห็น