xs
xsm
sm
md
lg

ฮ่องกงประท้วงต่อ ป้ายหน้าโค่นปักกิ่งในสภานิติบัญญัติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผู้ประท้วงออกเดินเรียกร้องในทุกพักกลางวัน ย่านธุรกิจเซ็นทรัล ซึ่งคาดว่าจะยังคงมีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องเพื่อรักษาแรงเหวี่ยงในการกดดันรัฐบาลฮ่องกงให้ยอมตามข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อ (ภาพเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์)
เซาท์ไชน่า มอร์นิงโพสต์ /MGR Online - ชัยชนะของค่ายประชาธิปไตยในการเลือกตั้งสภาเขตของฮ่องกง อาจทำให้กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลดีใจได้ แต่ก็ยังมีเรื่องต้องคิดไตร่ตรองต่อไป จนกว่าความต้องการหลักทั้งห้าข้อของพวกเขาจะประสบความสำเร็จ

รายงานข่าวกล่าวว่า ฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยฮ่องกงคว้าชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต หลังจากประชาชนออกไปใช้สิทธิ์ล้นหลามเป็นประวัติการณ์เมื่อวานนี้ (24 พ.ย.) นับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณท้าทายที่ส่งถึงคณะผู้บริหารฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ภายหลังการชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อมานานถึง 6 เดือน

ดูเหมือนชาวฮ่องกงพยายามจะทำลายอำนาจผูกขาดการปกครองใต้ปีกปักกิ่งในกลุ่มสภานิติบัญญัติ ผู้ประท้วงบางคนเชื่อว่า แม้พรรคประชาธิปไตยได้ชัยชนะ 17 เขต จากทั้งหมด 18 เขต โดยเหลือที่นั่งให้ฝ่ายนิยมปักกิ่งเพียงเขตเดียวในการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ก็ควรรุกต่อไปเพื่อวางรากฐานสำหรับการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในเดือนกันยายนปีหน้าโดยการกระจายอุดมการณ์ทางการเมืองในระดับอำเภอ

ผู้สมัครกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยได้รับเลือก 392 ที่นั่ง หรือเกือบ 90% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ถือเป็นการพลิกขั้วครั้งสำคัญจากฝ่ายผู้สมัครที่จัดตั้งของปักกิ่ง ซึ่งเหลือที่นั่งเพียง 60 ที่ในสภาฯ ลดลงอย่างรวดเร็วจาก 292 ที่พวกเขามีอยู่ในขณะนี้

ผลการเลือกตั้งล่าสุด นับว่าส่งผลอย่างยิ่งต่อการเลือกตั้งผู้นำฮ่องกงคนต่อไปจากนางแคร์รี ลัม หัวหน้าคณะผู้บริหารฮ่องกง ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากชาวฮ่องกง แต่มาจาก "คณะผู้เลือกตั้ง" ซึ่งประกอบด้วยสภาชิกสภานิติบัญญัติ, ผู้แทนองค์กรต่าง ๆ และกลุ่มธุรกิจ โดยมีทั้งหมด 1200 คน ในจำนวนนีี้ 117 คนมาจากผู้แทนท้องถิ่น

"คณะผู้เลือกตั้ง" คือผู้มีสิทธิ์เสนอชื่อ และลงคะแนนเลือกผู้ที่จะมาเป็นผู้นำฮ่องกง ที่ผ่านมาฝ่ายสนับสนุนจีนครองเสียงส่วนใหญ่มาตลอด แต่ในการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ เมื่อฝ่ายประชาธิปไตยได้เสียงข้างมาก จะได้สัดส่วนที่จะมาเป็น "คณะผู้เลือกตั้ง" ในเวทีใหญ่ทั้งหมด 117 คนใน 1200 คนของคณะผู้เลือกตั้ง อาจเป็นสัดส่วนไม่มาก แต่ก็ส่งผลสั่นสะเทือนได้

ดังนั้นการรักษาแรงเหวี่ยงให้ส่งผลใหญ่ในระดับสภานิติบัญญัติซึ่งจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนกันยายนปีหน้าจึงเป็นก้าวสำคัญของอนาคตฮ่องกง โดยขณะนี้มีสองแรงบวกที่ส่งผลดีกับฝ่ายประท้วง อย่างแรกคือคำพิพากษาของศาลสูงฮ่องกง ที่ว่าการออกคำสั่งห้ามสวมหน้ากากนั้นฝ่าฝืนกฎหมายรัฐธรรมนูญพื้นฐานฮ่องกง อย่างที่สองคือการที่สหรัฐฯ ออกกฎหมายสิทธิมนุษยชนฮ่องกง ซึ่งเปิดทางให้สหรัฐฯ สามารถใช้อำนาจในการแทรกแซงกิจการค้าฮ่องกง

กลุ่มผู้ประท้วงแสดงความเห็นควรจะเคลื่อนไหวปิดกั้นถนนและก่อกวนสถานีรถไฟใต้ดินต่อไป เนื่องจากเห็นแล้วว่าแม้จะมีการปะทะกันรุนแรงกับตำรวจ มีความเสียหายทรัพย์สินสาธารณะ แต่ผู้คนฮ่องกงส่วนใหญ่ก็ยังไม่หันหลังให้กับการเคลื่อนไหว

นายหว่อง ผู้ประท้วงระดับแนวหน้า วัย 31 ปี กล่าวว่า “รู้สึกเหนื่อยมานานแล้ว แต่ข้อเรียกร้องหลัก 5 ข้อของเรายังไม่ได้รับการตอบสนอง จึงไม่มีเหตุผลที่จะหยุดในเวลานี้”
ข้อเรียกร้อง 5 ข้อ ดังกล่าวรวมถึงการจัดตั้งการสอบสวนที่นำโดยผู้พิพากษาในการดำเนินการของตำรวจนับตั้งแต่การประท้วงปะทุขึ้นในเดือนมิถุนายน

หว่อง ซึ่งมีอาชีพครู กล่าวเชื่อว่าผู้ประท้วงจะใช้กลยุทธ์การรบแบบกองโจรต่อไป โดยกล่าวว่าฮ่องกงมีความสงบสุขในสัปดาห์ที่ผ่านมาเพราะผู้ประท้วงต้องการพัก

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ พบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ปฏิเสธผู้สมัครที่สนับสนุนปักกิ่ง และเทคะแนนสนับสนุนพรรคประชาธิปไตย

ผู้สมัครบางคนที่ได้รับเลือกชี้ว่า ผลเลือกตั้งครั้งนี้เทียบได้กับการโหวตสนับสนุนฝ่ายผู้ประท้วง และยังเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อนาง แคร์รี ลัม ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง

“นี่คือพลังของระบอบประชาธิปไตย นี่คือคลื่นสึนามิประชาธิปไตย” ทอมมี เฉิง อดีตนักศึกษาแกนนำผู้ประท้วงซึ่งชนะเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตหยุนหลงที่อยู่ใกล้ๆ พรมแดนจีน ให้สัมภาษณ์

ด้านแคร์รี่ หล่ำ หัวหน้าคณะผู้บริหารฮ่องกงกล่าวว่า “ฉันได้ตระหนักถึงการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายต่อผลการเลือกตั้ง มีไม่น้อยที่ชี้ว่า ผลการเลือกตั้งสะท้อนว่า ประชาชนไม่พอใจต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน และปัญหาที่ฝังรากลึก ทางการฮ่องกงจะน้อมรับฟังความเห็นของประชาชน และไตร่ตรองอย่างจริงจัง”

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาโซเชียลมีเดียของกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลฮ่องกง ได้ส่งข้อความกระตุ้นให้ผู้ประท้วงอย่าเพิ่งตื่นเต้นกับชัยชนะการเลือกตั้ง จนลืมเกี่ยวกับข้อเรียกร้องที่ไม่บรรลุทั้งสี่ข้อของพวกเขา โดยที่ผ่านมาเพิ่งสำเร็จเพียงข้อเดียว คือการถอนกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน

แม้ผู้สมัครฝ่ายประชาธิปไตย จะได้ชัยชนะอย่างน่าทึ่ง แต่หว่องกล่าวว่า ตัวเลขแสดงให้เห็นว่าผู้ประท้วงไม่สามารถมั่นใจได้มากเกินไปเกี่ยวกับการเลือกตั้งของสภานิติบัญญัติ หรือเลคโก ในปีหน้า

“เราต้องต่อสู้ต่อไปก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ” หว่องกล่าว

หว่องกล่าวถึงทิศทางของการประท้วงในอนาคตว่า ผู้อยู่อาศัยในเขตเลือกตั้งของเขาบอกว่าพวกเขาเข้าใจว่าพฤติกรรมที่รุนแรงกว่านี้เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง แต่ถึงกระนั้นผู้อยู่อาศัยก็หวังที่จะให้ยุติการกระทำดังกล่าว เพื่อไม่เดือดร้อนกับการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา

แคธี หงอกยุกอิ่ง สมาชิกสภาฯ ที่ได้รับการเลือกตั้งล่าสุดอีกคนหนึ่ง กล่าวว่ายิ่งพรรคประชาธิปไตยได้ที่นั่งจำนวนมากจะยิ่งช่วยให้พวกเขาชนะในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ

เฉิง วัย 25 ปี ผู้ประท้วงแนวหน้าอีกคนกล่าวว่า ชัยชนะเป็น “ทางออกที่ดี” สำหรับชาวฮ่องกงที่จะส่งเรื่องที่พวกเขาต้องการไปสู่เจ้าหน้าที่หลังจากการประท้วงเกือบหกเดือน

“ความกังวลของเขาคือผู้สมัครบางคนที่ชนะไม่มีประสบการณ์ในฐานะที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่อาจปฏิเสธที่จะรับฟังพวกเขา” เขากล่าว

เฉิง ซึ่งอยู่แนวหน้าในการประท้วง ใต้หมวกกันน็อกหน้ากากและถุงมือกันไฟกล่าวว่า ตอนนี้เขากำลังใช้วิธีสันติเพื่อกดดันรัฐบาลให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่เหลืออยู่
และอยากรู้ว่าสภาตำบลจะสามารถนำเสียงของผู้ประท้วงไปสู่รัฐบาลได้หรือไม่

"ผู้คนต่างมีบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม" เฉิง กล่าวฯ

กลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยจะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งครั้งต่อไปของสภานิติบัญญัติฮ่องกงหรือไม่? เพราะฝ่ายนิติบัญญัติ มีสัดส่วนพื้นฐานที่จำกัดอยู่ ด้วยยังมีจำนวนที่นั่งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีที่นั่งจากฟากสมาชิกในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพธุรกิจ

วิลลี ลัม นักวิเคราะห์การเมืองในฮ่องกง ชี้ว่า ผลการเลือกตั้งคราวนี้ “เรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติอย่างแท้จริง”

“มันคือการที่ประชาชนออกมาปฏิเสธรัฐบาลฮ่องกง และนโยบายที่ปักกิ่งใช้กับฮ่องกง”

ผลเลือกตั้งสภาเขตอาจจะทำให้จีนตัดสินใจเปลี่ยนตัวผู้บริหารสูงสุดฮ่องกงเร็วขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็อาจกระตุ้นให้การชุมนุมประท้วงลากยาวออกไปอีก

“ผู้ประท้วงอาจจะมองว่านี่คือชัยชนะครั้งใหญ่ และประชาชนได้มอบอาณัติแก่พวกเขาแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงต้องต่อสู้ให้หนักยิ่งขึ้นไปอีก ในขณะที่ปักกิ่งจะไม่ยอมอ่อนข้ออย่างแน่นอน จึงมีความเป็นไปได้ที่สถานการณ์จะยิ่งรุนแรงขึ้น” ลัม ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี

ทั้งนี้ ผู้ประท้วงฮ่องกงซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวเกิดช่วงหลังการส่งมอบฮ่องกงคืนสู่จีน อาจรู้สึกโกรธแค้นที่รัฐบาลจีนเริ่มใช้อิทธิพลแทรกแซงเสรีภาพของเกาะแห่งนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ปักกิ่งยืนกรานปฏิเสธข้อครหานี้ และย้ำว่ายังคงยึดมั่นในสูตรการปกครอง “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ที่เคยรับปากไว้ขณะรับมอบฮ่องกงกลับคืนจากอังกฤษในปี 1997

โจเซฟ ผู้ประท้วง อายุ 26 ปี กล่าวว่า“ ตามจริงแล้วฉันไม่ต้องการเห็นการประท้วงยกระดับขึ้นไปอีก เพราะมีค่าใช้จ่ายมหาศาลสำหรับเราทุกคน…บางคนได้รับบาดเจ็บ”

อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าการประท้วงในเวลากลางวันในเซ็นทรัลควรดำเนินต่อไปเพื่อรักษาแรงเหวี่ยงในการต่อสู้เรียกร้อง

“การตั้งสิ่งกีดขวางบนถนนและเรียกร้องให้มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องควรดำเนินต่อไป เพราะผมคิดว่ามันประสบความสำเร็จ กับการกดดันทางเศรษฐกิจ” เขากล่าวเสริม

ผู้ประท้วง วัย 19 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคกล่าวว่า ไม่มีปัญหากับการทำลายสถานี MTR “ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่าประชาชนรู้ว่าเราใช้ความรุนแรงอย่างไม่เต็มใจ… จึงไม่กังวลเกี่ยวกับการสูญเสียการสนับสนุนจากประชาชน” 
กำลังโหลดความคิดเห็น