xs
xsm
sm
md
lg

ไทย-ไต้หวันลงนาม TTSTAI จับมือเป็นพันธมิตรด้าน AI

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ไทย - ไต้หวัน สานความร่วมมือด้าน AI พัฒนาโครงการพันธมิตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมระหว่างไทย-ไต้หวัน มีการลงนามบันทึกความเข้าใจอย่างเป็นทางการเพื่อก่อตั้งพันธมิตร TTSTAI

ไต้หวันและไทยมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหลายอุตสาหกรรม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งสองดินแดนต่างมีคำว่า “AI” ในชื่อภาษาอังกฤษ อาจจะบอกได้ว่าเราต่างเป็น “พี่น้องตระกูล AI” ซึ่งมักไม่ค่อยเกิดขึ้นในโลก สำหรับอนาคตภายภาคหน้า เราควรกระชับความร่วมมือใหม่ ๆ ด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น รวมทั้งด้านเศรษฐกิจข้อมูล เช่น AI และ IOT การลงนามในความตกลงเพื่อนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับเอ็นจีโอ

พิธีลงนามจัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เพื่อบันทึกความเข้าใจระหว่าง Taiwan Association of Disaster Prevention Industry ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย Organization for Data-driven Application, Civil IoT Alliance, Taiwan AI Academy และอีกร้อยกว่าบริษัท ส่วนประเทศไทยมีตัวแทนมาจากสมาคม Technology Innovation Association ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยสตาร์ทอัพหลายร้อยแห่ง ตัวแทนของทั้งสองฝ่ายลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้ง Thailand Taiwan Science & Technology Alliance for Innovation (TTSTAI)

ในพิธีนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นสตาร์ทอัพกว่า 60 แห่งจากไต้หวันและไทย ทั้งผู้เข้าร่วมจากไต้หวันและไทยมีโอกาสนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจราจร สตาร์ทอัพ สมาร์ทซิตี้ และกิจกรรม lightning talk

ความร่วมมือระหว่างไต้หวันกับไทย ทำให้เกิดโอกาสของความร่วมมือระดับอุตสาหกรรม และการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมไทย-ไต้หวัน เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐาน ทั้งปัญหามลพิษทางอากาศ ทรัพยากรน้ำ และภัยพิบัติ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของ IoT โดยจะมีการจัดประชุมผ่านวีดิโออย่างสม่ำเสมอ และจะมีการจัดสัมมนาในนาม TTSTAI ทุกปี โดยจะมีการประชุมของ TTSTAI ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2563 ในระหว่างการประชุมสุดยอดและงานแสดงสินค้าสมาร์ทซิตี้ไทเป ความร่วมมือระดับทวิภาคีและพหุภาคี จะช่วยให้ทั้งไต้หวันและไทยมีกระบวนการและโอกาสของความร่วมมือ เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ ภัยพิบัติ การขนส่ง สภาพภูมิอากาศ และการเกษตร ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันระหว่างไต้หวันกับไทย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถค้นหาแนวทางการพัฒนาและแม่แบบทางธุรกิจร่วมกัน

ผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจได้แก่ Dr. Chi-Ming, Peng ประธาน Taiwan Association of Disaster Prevention Industry นักอุตุนิยมวิทยามืออาชีพของไต้หวัน ผู้จัดการทั่วไปของ WeatherRisk Explore Inc. ประธานของ Organization for Data-driven Application Chi-Ming, Peng เห็นว่า ไทยและไต้หวันมีความร่วมมือด้านโอเพนดาต้าตั้งแต่ปี 2547 โดยในแต่ละปี นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ด้านนโยบายจากทั้งสองฝ่าย ได้มีปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกัน ในเวลาเดียวกัน พวกเขาได้ร่วมกันจัดงานที่เรียกว่า “Hackathon” โดยคาดหวังว่าเยาวชนจากทั้งไต้หวันและไทยจะมีการแลกเปลี่ยนกัน ในครั้งนี้เราหวังว่าจะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือระดับอุตสาหกรรมระหว่างไต้หวัน-ไทย เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และสร้างโอกาสใหม่ ๆ สำหรับอุตสาหกรรม เราเชื่อว่าเป็นโอกาสอันดีของการเข้าถึงตลาดในเอเชียและตลาดสากลพร้อมกัน

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ประธานของสมาคม Thailand Tech Startup Association จะเป็นตัวแทนของประเทศไทย ดร.พณชิตยังเป็นผู้ประกอบการและตัวแทนวิสาหกิจใหม่ ๆ ในไทย ดร.พณชิตชี้ว่า มีการเติบโตอย่างรวดเร็วของวิสาหกิจใหม่ในไทย ซึ่งยอมรับให้บุคลากรที่มีความสามารถจากไต้หวัน เข้ามาลงทุนหรือร่วมมือ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่อย่าง AI และ IOT เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับทั้งสองฝ่ายผ่านแพลทฟอร์มใหม่นี้

พยานในพิธีลงนามได้แก่ Dr. Chen-Yuan Tung ผู้อำนวยการใหญ่จากสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ซึ่งระบุว่า ทั้งไทยและไต้หวันต่างมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เริ่มจากภาคเอกชน โดยเป็นผลมาจากโครงการไต้หวัน-ไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่จะร่วมมือ และเพื่อให้โอกาสกับ “พี่น้องตระกูล AI” ในการร่วมมืออย่างเต็มที่ในอนาคต

นายไกลก้อง ไวทยการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของไทย ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและโอเพนดาต้าในไทยมาเป็นเวลานาน ยังเป็นพยานในการลงนามครั้งนี้ด้วย นายไกลก้องระบุว่า มีความร่วมมือมากมายด้านเทคโนโลยีระหว่างไทยกับไต้หวัน และทั้งสองฝ่ายต่างมีปัญหาพื้นฐานร่วมกัน ความร่วมมือระหว่างไต้หวัน-ไทย จะช่วยให้ผู้ประกอบการเกิดความริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้น
·(ซ้ายไปขวา)นายไกลก้อง ไวทยการ , ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม , Dr. Chi-Ming, Peng  และ Dr. Chen-Yuan Tung
หมายเหตุ:

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การใช้ประโยชน์จาก Artificial Intelligence (AI) พัฒนาขึ้นมากมาย เมื่อข้อมูลระดับโลกมีมากขึ้น จึงทำให้มีพัฒนาการที่สำคัญ ทั้งในด้านความสามารถในการคำนวณ deep learning การประมวลผลข้อมูล และวิธีการใหม่ ๆ ซึ่งเป็นพลังผลักดันที่สำคัญของการปฏิวัติเพื่อนวัตกรรมระดับโลกในอนาคต

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนา “เศรษฐกิจดิจิทัล” ซึ่งหมายถึงกิจกรรมด้านเศรษฐกิจที่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลและนวัตกรรมของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งนำมาประยุกติ์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวกับดิจิทัล ในแวดวงวิชาการ การผสานของเทคโนโลยีใหม่ ทั้ง open data, big data, AI และ IoT ทำให้สามารถเชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาที่หลากหลาย ทั้งเรื่องมลพิษทางอากาศ การขนส่ง อาหาร ความแห้งแล้ง เกษตรกรรม การท่องเที่ยว สุขภาพ พลังงาน และการพาณิชย์ ด้วยความก้าวหน้าของแม่แบบทางธุรกิจใหม่ ๆ จะทำให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ ๆ และโอกาสในการทำงานเพิ่มขึ้นสำหรับคนรุ่นใหม่

ไต้หวันได้ประกาศ “โครงการประเทศดิจิทัล-โครงการพัฒนาเศรษฐกิจนวัตกรรม ("Digital Country‧Innovative Economic Development Program" - DIGI+ 2017-2025) ในปี 2016 เพื่อช่วยสร้างรากฐานของการพัฒนาเป็นประเทศดิจิทัล โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนให้กับนวัตกรรมด้านดิจิทัล ภายใต้หลักเกณฑ์ที่เน้นความเท่าเทียมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นการสร้างประเทศที่มีนวัตกรรมคุณภาพสูง เพื่อขยายเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม เพื่อพัฒนาอย่างเท่าเทียมและเข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมคุณค่าเศรษฐกิจระดับสูงของนวัตกรรม และเพื่อพัฒนาประเทศดิจิทัล

ประเทศไทยเองก็ได้ประกาศโครงการ “Thailand 4.0” ในปี 2016 คาดหวังให้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยี และส่งเสริมสังคมสวัสดิการ โดยเน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลเมือง การเพิ่มผลิตภาพและความรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายในระยะยาวของการเป็น “Thailand guide, ASEAN manufacture” เนื่องจากมีที่ตั้งเหมาะสมและมีความต้องการในการลงทุนและการค้าจากทั้งห้าประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐบาลไทยจึงสนับสนุนการลงทุนของต่างชาติ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสวนอุตสาหกรรม เพื่อให้ไทยเป็นผู้นำด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นศูนย์กลางของโครงข่ายเชื่อมโยงบุคลากร การขนส่งและการเงิน


กำลังโหลดความคิดเห็น