ศตวรรษภาพยนตร์จีน(7)/ จากพื้นฐานการแสดงและโครงเรื่องละครงิ้ว สู่ศักราชใหม่ของแผ่นฟิล์มบนหนามเตย ในยุคบุกเบิก องค์ประกอบของหนังจีนแต่ละเรื่อง มีเพียงนักแสดง ช่างภาพ คนเขียนบทที่ควบงานกำกับด้วยเท่านั้น การถ่ายทำก็ตั้งกล้องถ่ายกันท่ามกลางฉากและแสงตามธรรมชาติ กว่าหนังจีนจะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมอย่างทุกวันนี้ได้ ‘ผู้กำกับหนังแต่ละรุ่น’ คือเฟืองจักรสำคัญ ที่คอยร้อยเรียงเสียงภาพให้กลายเป็น ‘เมืองจีนใบเล็ก’ เบื้องหน้าสายตาผู้ชมมาตลอดศตวรรษ
ผู้กำกับรุ่น 1-4 : เสาเอกแห่งจอเงินจีน
คนทำหนังในยุคแรกยังไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่และตำแหน่งชัดเจนเหมือนเช่นในปัจจุบัน ดังนั้นผู้กำกับรุ่นที่หนึ่งจึงถูกเรียกรวมไปกับทีมงานผลิตหนังด้านอื่นๆว่า ‘คนหนังยุคแรก'
ผู้กำกับที่โดดเด่น หรือคนหนังยุคแรกราวทศวรรษที่ 20 แห่งศตวรรษที่แล้ว ที่ผลิตหนังเรื่องในช่วงบุกเบิก ได้แก่ เจิ้งเจิ้งชิว (郑正秋) จางสือชวน (张石川) หยางเสี่ยวจ้ง (杨小仲) ฯลฯ ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากหนังสั้นที่ถ่ายทำไม่ซับซ้อน อาจกล่าวได้ว่าผู้กำกับและคนทำหนังยังไม่เข้าใจว่า การทำหนังคืออะไร จึงนำพื้นฐานการแสดงงิ้วซึ่งเป็นทักษะดั้งเดิมมาดัดแปลงใช้เพื่อการสร้างหนัง ฉะนั้นหนังส่วนใหญ่จึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการแสดงอุปรากร และบางส่วนเป็นหนังบู๊ที่มีลีลาการต่อสู้ตามแบบนิยายกำลังภายใน
จางสือชวน ถูกยกย่องให้เป็น ‘บิดาแห่งธุรกิจภาพยนตร์จีน’ โดยเขาและ เจิ้งเจิ้งชิว และ ถือเป็นสองผู้กำกับคนดังแห่งยุค ที่เป็นเจ้าของงานชิ้นประวัติศาสตร์หลายเรื่อง เช่น หนังสั้นเรื่องแรก ‘หนันฟูหนันชี (难夫难妻 - Die for Marriage)’ ในปี 1913 หนังยาวเรื่องแรก ‘เฮยจี๋ยวนหุน (黑籍冤魂 - Victums of Opium /1916)’ หนังเสียงเรื่องแรก ‘เกอหนี่ว์หงหมู่ตัน (歌女红牡丹 - Burning of Red Lotus Temple, The /1931)’ หนังชุดกำลังภายในเรื่องแรก ‘หั่วเซาหงเหลียนซื่อ (火烧红莲寺)’ ที่เบ็ดเสร็จแล้วมีถึง 18 ตอน ส่วนหนังยอดนิยมแห่งยุคคือ ‘จื่อเม่ยฮวา (姊妹花)’ ที่สร้างประวัติการณ์ฉายต่อเนื่องติดต่อกันถึง 60 วัน
ภายใต้การนำของจางสือชวน กลุ่มคนทำหนังยุคแรกยังได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทภาพยนตร์หมิงซิง(明星电影公司) ขึ้นในเดือนมีนาคม 1922 ที่เซี่ยงไฮ้ ตลอด 16 ปีที่เปิดกิจการ ผลิตหนังออกมากว่า 200 เรื่อง และถือเป็นเจ้าแห่งบริษัทผลิตหนังยุคแรกของแดนมังกร
ในยุคเริ่มต้นของทศวรรษที่ 30 เมื่อกลุ่มปัญญาชนต่างตบเท้าเข้าสู่วงการหนังเพิ่มมากขึ้น ด้วยเทคนิคและศิลปะการทำหนังที่พัฒนาสูงขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในวงการภาพยนตร์จีน ประกอบกับกระแสเลือดรักชาติช่วงสงครามต่อต้านญี่ปุ่น (ค.ศ.1937-1945) หนังส่วนใหญ่จึงผลิตออกมารับใช้สังคม และสะท้อนชีวิตความเป็นจริงในสังคมขณะนั้นมากขึ้น เป็นเวลาที่หนังจีนแนวเรียลลิสม์ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับผู้กำกับรุ่นที่ 2 นี้เอง ขณะเดียวกันกลุ่มผู้กำกับและบริษัทผลิตภาพยนตร์ก็ได้แยกตัวแบ่งเป็นค่ายต่างๆมากขึ้นด้วย
ผู้กำกับคนสำคัญในรุ่นนี้ได้แก่ เจิ้งจวินหลี่ (郑君里) อู๋หย่งกัง(吴永刚) ไช่ฉู่เซิง(蔡楚生) ทังเสี่ยวตัน (汤晓丹) เฟ่ยมู่ (费穆) ฯลฯ
หนังขึ้นชื่อของยุคนี้ อาทิ ‘อี๋ว์กวงฉี่ว์ (渔光曲/1934)’ ‘เสินหนี่ว์ (神女)/1934’ ‘อี้เจียงชุนสุ่ยเซี่ยงตงหลิว (一江春水向东流/1947)’ ตลอดจน ‘เสี่ยวเฉิงจือชุน (小城之春)’ หนังความรักหลังสงครามต่อต้านญี่ปุ่น เวอร์ชันต้นฉบับที่เป็นหนังขาว-ดำของ เฟ่ยมู่ เมื่อปี 1948 ซึ่งเถียนจ้วงจ้วง ผู้กำกับรุ่น 5 นำมาทำซ้ำจนโด่งดังอีกครั้งเมื่อปี 2002
เมื่อเข้าสู่ยุคของผู้กำกับรุ่นที่ 3 ราวทศวรรษที่ 40-50 ก็ยังคงยึดแนวทางการนำเสนอเช่นเดียวกับผู้กำกับรุ่นที่ 2 โดยเน้นหนักด้านสะท้อนสังคม แต่มีเนื้อหากล่าวถึงแก่นแท้ในชีวิตที่ลึกซึ้งมากขึ้น รวมถึงความเป็นชาติ กล้าที่จะพูดถึงความขัดแย้งในสังคม บทบาทสตรี และแสวงหาความเป็นศิลปะมากขึ้น
ผู้กำกับรุ่นที่ 3 ที่เป็นตัวแทนของรุ่นนี้ คือ หลิงจื่อเฟิง (凌子风) ซึ่งประสบความสำเร็จตั้งแต่งานกำกับเรื่องแรก ‘จงหัวหนี่ว์เออร์ (中华女儿)’ ซึ่งเป็นหนังจีนเรื่องแรกที่ไปคว้ารางวัลในต่างแดนจากงาน Karlovy Vary International Film Festival เมื่อปี 1950
ผลงานชิ้นเยี่ยมของหลิงจื่อเฟิงก่อนยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ได้แก่ ‘กวงหรงเหรินเจีย《光荣人家》’ ‘หมู่ชิน 《母亲》/1956’ และ ‘หงฉีผู่《红旗谱》’ หลังจากนั้น หลิงจื่อเฟิง ยังนิยมนำบทประพันธ์ชิ้นเยี่ยมของนักเขียนเพื่อสังคม เหลาเส่อ (老舍) มาสร้างเป็นหนังได้อย่างงดงามหลายเรื่อง เช่น ‘ลั่วถัวเสียงจื่อ (骆驼祥子/1982)’ ‘เปียนเฉิง (边城/1985)’ และ‘ชุนเถา (春桃)’
ขณะที่ ผู้กำกับรุ่น 3 อีกคน สุ่ยหัว(水华) ได้นำบทประพันธ์ ‘ซังซื่อ (伤逝)’ ของ หลู่ซวิ่น (鲁迅) นักเขียนเชิงเสียดสีสังคมชื่อดังมาถ่ายทอดในแบบภาพยนตร์
ส่วน เซี่ยจิ้น (谢晋) ได้ฝากผลงานขึ้นชื่อไว้หลายเรื่อง เช่น ‘มู่หม่าเหริน (牧马人)’ และ ‘ชิงชุน (青春)’หนังเรื่องแรกของ เฉินชง (陈冲) ที่ทำให้เธอดังเป็นพลุแตก ขึ้นแท่นนางเอกแถวหน้า ก่อนที่ทุกวันนี้จะลัดฟ้าไปเป็นผู้กำกับอยู่ที่อเมริกา
ทำเนียบผู้กำกับรุ่น 3 ยังมี หลี่จวิ่นจื๋อ (李俊执) เฉิงยิน(成荫) เซี่ยเถี่ยหลี(谢铁骊) และ ชุยเหวย (崔嵬) เป็นต้น
มาถึงผู้กำกับรุ่นที่ 4 ซึ่งโดยส่วนใหญ่หมายถึงกลุ่มคนทำหนังที่จบจากมหาวิทยาลัยภาพยนตร์ปักกิ่ง (北京电影学院) และกลุ่มผู้กำกับที่ศึกษาด้านภาพยนตร์ด้วยตนเองในช่วงทศวรรษ 1960 พวกเขาเริ่มมีผลงานออกมาหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) ผ่านพ้นไปแล้ว คือหลังปีค.ศ.1977 มีการลองวิชาโดยใช้ศิลปะการสร้างใหม่ๆให้หนังแพรวพราวมากขึ้น พวกเขามีทฤษฎีและแนววิถีปฏิบัติเฉพาะตัว ที่หลุดจากกรอบการสร้างหนังแนวอุปรากรที่ยึดถือกันมาตามแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยหันมาสร้างหนังที่เรียบง่ายแต่สมจริงตามธรรมชาติ เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาและแก่นแท้การดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม
ตัวแทนผู้กำกับรุ่นนี้ได้แก่ อู๋เทียนหมิง (吴天明) กับผลงานเรื่อง ‘เหลาจิ่ง (老井 หรือ Old Well /1986)’ ซึ่งเป็นผลงานแจ้งเกิดให้กับ จางอี้โหมว ในฐานะนักแสดงนำชาย จางหน่วนซิน (张暖忻) กับหนังอาร์ทความหมายดีเรื่อง ‘ชิงชุนจี้ (青春祭)’ หวงเจี้ยนจง (黄健中) กับหนังสื่อมุมสวยงามและคุณความดีของคนภายใต้สภาวการณ์ที่มนุษย์ยากจะดำรงอยู่ ซึ่งได้รับคำชมเชยไปเต็มอิ่ม
นอกจากนั้น ยังมี เถิงเหวินจี้ (滕文骥) ที่ขึ้นชื่อว่าชอบลองของใหม่และเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยมีหนังเพลงที่ขับกล่อมเล่าขานถึงชีวิตชาวบ้านริมแม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโหในอดีต
ผู้กำกับรุ่น 4 ฝีมือดีอีกคน คือ อู๋อี๋กง (吴贻弓) กับเรื่อง ‘เฉิงหนันจิ้วซื่อ (城南旧事)’ และยังจับมือกันผู้กำกับรุ่น 2 อู๋หย่งกัง ทำเรื่อง ‘ปาซันเยี่ยว์อี่ว์(巴山夜雨)’ ที่สะท้อนมิตรภาพในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมจีน
ผู้กำกับรุ่น 1-4 ถือเป็น ‘ผู้ให้กำเนิด’ และสร้างประวัติศาสตร์หน้าแรกแก่วงการภาพยนตร์จีน ท่ามกลางเหตุการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวาย และโลกยุคใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทว่ามันกลับเป็นสีสันและเสมือนจารึกแห่งวันวานที่คนรุ่นหลังต้องคารวะ ในฐานะ ‘เสาเอกแห่งจอเงินจีน’
** สารคดีชุด ‘ศตวรรษภาพยนตร์จีน’ นำเสนอทุกวันอาทิตย์ โปรดติดตามตอนหน้า 'ผู้กำกับหนังต่างยุค (2) : ผู้กำกับรุ่น 5 นำพาหนังจีนสู่เวทีโลก'
ผู้กำกับรุ่น 1-4 : เสาเอกแห่งจอเงินจีน
คนทำหนังในยุคแรกยังไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่และตำแหน่งชัดเจนเหมือนเช่นในปัจจุบัน ดังนั้นผู้กำกับรุ่นที่หนึ่งจึงถูกเรียกรวมไปกับทีมงานผลิตหนังด้านอื่นๆว่า ‘คนหนังยุคแรก'
ผู้กำกับที่โดดเด่น หรือคนหนังยุคแรกราวทศวรรษที่ 20 แห่งศตวรรษที่แล้ว ที่ผลิตหนังเรื่องในช่วงบุกเบิก ได้แก่ เจิ้งเจิ้งชิว (郑正秋) จางสือชวน (张石川) หยางเสี่ยวจ้ง (杨小仲) ฯลฯ ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากหนังสั้นที่ถ่ายทำไม่ซับซ้อน อาจกล่าวได้ว่าผู้กำกับและคนทำหนังยังไม่เข้าใจว่า การทำหนังคืออะไร จึงนำพื้นฐานการแสดงงิ้วซึ่งเป็นทักษะดั้งเดิมมาดัดแปลงใช้เพื่อการสร้างหนัง ฉะนั้นหนังส่วนใหญ่จึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการแสดงอุปรากร และบางส่วนเป็นหนังบู๊ที่มีลีลาการต่อสู้ตามแบบนิยายกำลังภายใน
จางสือชวน ถูกยกย่องให้เป็น ‘บิดาแห่งธุรกิจภาพยนตร์จีน’ โดยเขาและ เจิ้งเจิ้งชิว และ ถือเป็นสองผู้กำกับคนดังแห่งยุค ที่เป็นเจ้าของงานชิ้นประวัติศาสตร์หลายเรื่อง เช่น หนังสั้นเรื่องแรก ‘หนันฟูหนันชี (难夫难妻 - Die for Marriage)’ ในปี 1913 หนังยาวเรื่องแรก ‘เฮยจี๋ยวนหุน (黑籍冤魂 - Victums of Opium /1916)’ หนังเสียงเรื่องแรก ‘เกอหนี่ว์หงหมู่ตัน (歌女红牡丹 - Burning of Red Lotus Temple, The /1931)’ หนังชุดกำลังภายในเรื่องแรก ‘หั่วเซาหงเหลียนซื่อ (火烧红莲寺)’ ที่เบ็ดเสร็จแล้วมีถึง 18 ตอน ส่วนหนังยอดนิยมแห่งยุคคือ ‘จื่อเม่ยฮวา (姊妹花)’ ที่สร้างประวัติการณ์ฉายต่อเนื่องติดต่อกันถึง 60 วัน
ภายใต้การนำของจางสือชวน กลุ่มคนทำหนังยุคแรกยังได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทภาพยนตร์หมิงซิง(明星电影公司) ขึ้นในเดือนมีนาคม 1922 ที่เซี่ยงไฮ้ ตลอด 16 ปีที่เปิดกิจการ ผลิตหนังออกมากว่า 200 เรื่อง และถือเป็นเจ้าแห่งบริษัทผลิตหนังยุคแรกของแดนมังกร
ในยุคเริ่มต้นของทศวรรษที่ 30 เมื่อกลุ่มปัญญาชนต่างตบเท้าเข้าสู่วงการหนังเพิ่มมากขึ้น ด้วยเทคนิคและศิลปะการทำหนังที่พัฒนาสูงขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในวงการภาพยนตร์จีน ประกอบกับกระแสเลือดรักชาติช่วงสงครามต่อต้านญี่ปุ่น (ค.ศ.1937-1945) หนังส่วนใหญ่จึงผลิตออกมารับใช้สังคม และสะท้อนชีวิตความเป็นจริงในสังคมขณะนั้นมากขึ้น เป็นเวลาที่หนังจีนแนวเรียลลิสม์ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับผู้กำกับรุ่นที่ 2 นี้เอง ขณะเดียวกันกลุ่มผู้กำกับและบริษัทผลิตภาพยนตร์ก็ได้แยกตัวแบ่งเป็นค่ายต่างๆมากขึ้นด้วย
ผู้กำกับคนสำคัญในรุ่นนี้ได้แก่ เจิ้งจวินหลี่ (郑君里) อู๋หย่งกัง(吴永刚) ไช่ฉู่เซิง(蔡楚生) ทังเสี่ยวตัน (汤晓丹) เฟ่ยมู่ (费穆) ฯลฯ
หนังขึ้นชื่อของยุคนี้ อาทิ ‘อี๋ว์กวงฉี่ว์ (渔光曲/1934)’ ‘เสินหนี่ว์ (神女)/1934’ ‘อี้เจียงชุนสุ่ยเซี่ยงตงหลิว (一江春水向东流/1947)’ ตลอดจน ‘เสี่ยวเฉิงจือชุน (小城之春)’ หนังความรักหลังสงครามต่อต้านญี่ปุ่น เวอร์ชันต้นฉบับที่เป็นหนังขาว-ดำของ เฟ่ยมู่ เมื่อปี 1948 ซึ่งเถียนจ้วงจ้วง ผู้กำกับรุ่น 5 นำมาทำซ้ำจนโด่งดังอีกครั้งเมื่อปี 2002
เมื่อเข้าสู่ยุคของผู้กำกับรุ่นที่ 3 ราวทศวรรษที่ 40-50 ก็ยังคงยึดแนวทางการนำเสนอเช่นเดียวกับผู้กำกับรุ่นที่ 2 โดยเน้นหนักด้านสะท้อนสังคม แต่มีเนื้อหากล่าวถึงแก่นแท้ในชีวิตที่ลึกซึ้งมากขึ้น รวมถึงความเป็นชาติ กล้าที่จะพูดถึงความขัดแย้งในสังคม บทบาทสตรี และแสวงหาความเป็นศิลปะมากขึ้น
ผู้กำกับรุ่นที่ 3 ที่เป็นตัวแทนของรุ่นนี้ คือ หลิงจื่อเฟิง (凌子风) ซึ่งประสบความสำเร็จตั้งแต่งานกำกับเรื่องแรก ‘จงหัวหนี่ว์เออร์ (中华女儿)’ ซึ่งเป็นหนังจีนเรื่องแรกที่ไปคว้ารางวัลในต่างแดนจากงาน Karlovy Vary International Film Festival เมื่อปี 1950
ผลงานชิ้นเยี่ยมของหลิงจื่อเฟิงก่อนยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ได้แก่ ‘กวงหรงเหรินเจีย《光荣人家》’ ‘หมู่ชิน 《母亲》/1956’ และ ‘หงฉีผู่《红旗谱》’ หลังจากนั้น หลิงจื่อเฟิง ยังนิยมนำบทประพันธ์ชิ้นเยี่ยมของนักเขียนเพื่อสังคม เหลาเส่อ (老舍) มาสร้างเป็นหนังได้อย่างงดงามหลายเรื่อง เช่น ‘ลั่วถัวเสียงจื่อ (骆驼祥子/1982)’ ‘เปียนเฉิง (边城/1985)’ และ‘ชุนเถา (春桃)’
ขณะที่ ผู้กำกับรุ่น 3 อีกคน สุ่ยหัว(水华) ได้นำบทประพันธ์ ‘ซังซื่อ (伤逝)’ ของ หลู่ซวิ่น (鲁迅) นักเขียนเชิงเสียดสีสังคมชื่อดังมาถ่ายทอดในแบบภาพยนตร์
ส่วน เซี่ยจิ้น (谢晋) ได้ฝากผลงานขึ้นชื่อไว้หลายเรื่อง เช่น ‘มู่หม่าเหริน (牧马人)’ และ ‘ชิงชุน (青春)’หนังเรื่องแรกของ เฉินชง (陈冲) ที่ทำให้เธอดังเป็นพลุแตก ขึ้นแท่นนางเอกแถวหน้า ก่อนที่ทุกวันนี้จะลัดฟ้าไปเป็นผู้กำกับอยู่ที่อเมริกา
ทำเนียบผู้กำกับรุ่น 3 ยังมี หลี่จวิ่นจื๋อ (李俊执) เฉิงยิน(成荫) เซี่ยเถี่ยหลี(谢铁骊) และ ชุยเหวย (崔嵬) เป็นต้น
มาถึงผู้กำกับรุ่นที่ 4 ซึ่งโดยส่วนใหญ่หมายถึงกลุ่มคนทำหนังที่จบจากมหาวิทยาลัยภาพยนตร์ปักกิ่ง (北京电影学院) และกลุ่มผู้กำกับที่ศึกษาด้านภาพยนตร์ด้วยตนเองในช่วงทศวรรษ 1960 พวกเขาเริ่มมีผลงานออกมาหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) ผ่านพ้นไปแล้ว คือหลังปีค.ศ.1977 มีการลองวิชาโดยใช้ศิลปะการสร้างใหม่ๆให้หนังแพรวพราวมากขึ้น พวกเขามีทฤษฎีและแนววิถีปฏิบัติเฉพาะตัว ที่หลุดจากกรอบการสร้างหนังแนวอุปรากรที่ยึดถือกันมาตามแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยหันมาสร้างหนังที่เรียบง่ายแต่สมจริงตามธรรมชาติ เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาและแก่นแท้การดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม
ตัวแทนผู้กำกับรุ่นนี้ได้แก่ อู๋เทียนหมิง (吴天明) กับผลงานเรื่อง ‘เหลาจิ่ง (老井 หรือ Old Well /1986)’ ซึ่งเป็นผลงานแจ้งเกิดให้กับ จางอี้โหมว ในฐานะนักแสดงนำชาย จางหน่วนซิน (张暖忻) กับหนังอาร์ทความหมายดีเรื่อง ‘ชิงชุนจี้ (青春祭)’ หวงเจี้ยนจง (黄健中) กับหนังสื่อมุมสวยงามและคุณความดีของคนภายใต้สภาวการณ์ที่มนุษย์ยากจะดำรงอยู่ ซึ่งได้รับคำชมเชยไปเต็มอิ่ม
นอกจากนั้น ยังมี เถิงเหวินจี้ (滕文骥) ที่ขึ้นชื่อว่าชอบลองของใหม่และเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยมีหนังเพลงที่ขับกล่อมเล่าขานถึงชีวิตชาวบ้านริมแม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโหในอดีต
ผู้กำกับรุ่น 4 ฝีมือดีอีกคน คือ อู๋อี๋กง (吴贻弓) กับเรื่อง ‘เฉิงหนันจิ้วซื่อ (城南旧事)’ และยังจับมือกันผู้กำกับรุ่น 2 อู๋หย่งกัง ทำเรื่อง ‘ปาซันเยี่ยว์อี่ว์(巴山夜雨)’ ที่สะท้อนมิตรภาพในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมจีน
ผู้กำกับรุ่น 1-4 ถือเป็น ‘ผู้ให้กำเนิด’ และสร้างประวัติศาสตร์หน้าแรกแก่วงการภาพยนตร์จีน ท่ามกลางเหตุการณ์บ้านเมืองที่วุ่นวาย และโลกยุคใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทว่ามันกลับเป็นสีสันและเสมือนจารึกแห่งวันวานที่คนรุ่นหลังต้องคารวะ ในฐานะ ‘เสาเอกแห่งจอเงินจีน’
** สารคดีชุด ‘ศตวรรษภาพยนตร์จีน’ นำเสนอทุกวันอาทิตย์ โปรดติดตามตอนหน้า 'ผู้กำกับหนังต่างยุค (2) : ผู้กำกับรุ่น 5 นำพาหนังจีนสู่เวทีโลก'