เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์/ไชน่า เดลี่- นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเตือน อีโบล่าจะระบาดในจีน เพราะแผ่นดินใหญ่มีแรงงานจำนวนมากเข้าไปทำงานในแอฟริกา กระตุ้นให้รัฐเข้มงวดการคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าประเทศ
ปีเตอร์ ไพออท (Peter Piot) นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเชื้ออีโบล่าและเอดส์ ซึ่งเดินทางมาร่วมงานสัมมนาในฮ่องกงเป็นเวลา 2 วัน ระบุเตือนจีนว่า จะถูกอีโบล่าคุกคามเพราะมีแรงงานอยู่ในแอฟริกาจำนวนมาก
“ในแอฟริกา มีคนงานจีนอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นโดยทั่วไปก็ทำให้จีนเสี่ยงพบการระบาด และผมคิดว่า วันหนึ่งข้างหน้า จะพบการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่าในประเทศจีน” ศาสตราจารย์ไพออท ผู้อำนวยการศูนย์สุขศาสตร์และเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน (London School of Hygiene and Tropical Medicine) กล่าว
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ไพออท ยังระบุว่า มาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของจีน หลายแห่งยัง “ไม่มีคุณภาพ” เพียงพอ ทำให้ยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อดังกล่าว
โดยไพออท ย้ำว่า สิ่งสำคัญคือการฝึกบุคลากรให้มีทักษะตรวจสอบผู้ที่อยู่ในความเสี่ยงก่อนจะโดยสารเครื่องบิน และยังเห็นว่า มาตรการเฝ้าระวังที่สนามบินเช็กแล็บก็อก หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แม้กระทั่งตัวเขาเองก็ไม่ต้องผ่านการตรวจสแกน “แม้จะมีการตรวจสอบผู้โดยสารขาเข้าอย่างทั่วถึง ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ พูดกันตามตรง วิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือการตรวจคัดกรองประชาชนก่อนจะโดยสารเครื่องบิน” นายไพออท กล่าว
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ชื่อดังระบุด้วยว่า วิธีการควบคุมอีโบล่าที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ การตรวจเลือดที่ “ปลอดภัยและราคาถูก” ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีก็ทราบผล
ด้านสถานการณ์เฝ้าระวังอีโบล่าในฮ่องกง พบว่า ผลการตรวจเลือดผู้ป่วยวัย 39 ปี ซึ่งเข้าไปในไนจีเรียระหว่างวันที่ 13 - 20 ต.ค. ที่ผ่านมา ออกมาเป็นลบ และผู้ป่วยคนดังกล่าวถูกย้ายจากโรงพยาบาลปรินซ์ออฟเวลล์ไปรักษาตัวในศูนย์โรคติดเชื้อของโรงพยาบาลปรินซ์เซสมาร์กาเรทแล้วเมื่อวานนี้(27 ต.ค.)
อนึ่ง อีโบล่าเป็นเชื้อไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในทวีปแอฟริกาตะวันตก ระบาดจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสโดนของเหลวจากตัวผู้ป่วย แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันว่า เชื้อดังกล่าวสามารถแพร่ตามอากาศได้
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายสัญชาติติดเชื้ออีโบล่า ทั้งอเมริกา เยอรมนี สเปน นอร์เวย์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในขณะที่ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโรคดังกล่าว รวมแล้วทะยานไปถึง 10,141 คน และเสียชีวิตไปแล้ว 4,922 ราย
ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ไพออท ผู้เชี่ยวชาญและเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบเชื้ออีโบล่า คาดการณ์ว่า จะมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบล่าอีกหลายพันคน ในหลายเดือนข้างหน้า และโรคดังกล่าวอาจยังระบาดต่อเนื่องไปอีก 6-12 เดือน
ด้านองค์การอนามัยโลก ระบุเตือนว่า หากรัฐบาลแต่ละประเทศทั่วโลกยังไม่กระตือรือร้นรับมือกับเชื้อไวรัสร้ายฯ คาดว่ากระทั่งเดือนธ.ค. ที่จะถึงนี้ อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นนับหมื่นคนทุกสัปดาห์ และกว่าวัคซีนรักษาโรคฯ จะใช้ได้ก็คือช่วงกลางปีหน้า
ในขณะที่ไพออท กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน มีบริษัทยา 3 แห่ง กำลังวิจัยคิดค้นวัคซีนรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโบล่า ซึ่งผลการทดลองใช้ยาตัวแรกของบริษัทแห่งหนึ่งจะได้ในเดือนก.พ. ต้นปีหน้า (2558) และเขาก็หวังว่า ประชาชนในประเทศที่อีโบล่ากำลังระบาดอย่างหนักจะมั่นใจขึ้นว่าพวกเขาจะได้รับวัคซีนดังกล่าว
ด้านนายบัน คี มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ตอนนี้ยังต้องการเครื่องไม้เครื่องมือในการป้องกันโรค ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ และบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก
จีนทุ่มบริจาคความช่วยเหลือเพื่อสกัดเชื้ออีโบล่า
ในวันศุกร์ (24 ต.ค.) ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประกาศแพคเกจความช่วยเหลือ มูลค่า 500 ล้านหยวน 25,000 ล้านบาท สำหรับต่อสู้เชื้ออีโบล่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือเพื่อป้องกันเชื้อมรณะใหม่ล่าสุดของโลกในอแฟริกาตะวันตก
แพคเกจความช่วยเหลือล่าสุดนี้ เป็นโครงการบริจาคเพื่อควบคุมเชื้ออีโบล่าครั้งที่สี่ ที่จีนให้แก่ประเทศที่โดนอีโบล่าจู่โจมหนักที่สุดในแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ ไลบีเรีย เซียรา-เลโอน กีเนีย และองค์กรต่างๆ โดยแพคเกจความช่วยเหลือนี้ประกอบด้วยเครื่องมืออุปกรณ์และเงินสด
ก่อนหน้าในวันอังคาร(21 ต.ค.) จีนได้บริจาคความช่วยเหลือ มูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO
ปีเตอร์ ไพออท (Peter Piot) นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเชื้ออีโบล่าและเอดส์ ซึ่งเดินทางมาร่วมงานสัมมนาในฮ่องกงเป็นเวลา 2 วัน ระบุเตือนจีนว่า จะถูกอีโบล่าคุกคามเพราะมีแรงงานอยู่ในแอฟริกาจำนวนมาก
“ในแอฟริกา มีคนงานจีนอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นโดยทั่วไปก็ทำให้จีนเสี่ยงพบการระบาด และผมคิดว่า วันหนึ่งข้างหน้า จะพบการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่าในประเทศจีน” ศาสตราจารย์ไพออท ผู้อำนวยการศูนย์สุขศาสตร์และเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน (London School of Hygiene and Tropical Medicine) กล่าว
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ไพออท ยังระบุว่า มาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของจีน หลายแห่งยัง “ไม่มีคุณภาพ” เพียงพอ ทำให้ยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อดังกล่าว
โดยไพออท ย้ำว่า สิ่งสำคัญคือการฝึกบุคลากรให้มีทักษะตรวจสอบผู้ที่อยู่ในความเสี่ยงก่อนจะโดยสารเครื่องบิน และยังเห็นว่า มาตรการเฝ้าระวังที่สนามบินเช็กแล็บก็อก หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แม้กระทั่งตัวเขาเองก็ไม่ต้องผ่านการตรวจสแกน “แม้จะมีการตรวจสอบผู้โดยสารขาเข้าอย่างทั่วถึง ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ พูดกันตามตรง วิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือการตรวจคัดกรองประชาชนก่อนจะโดยสารเครื่องบิน” นายไพออท กล่าว
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ชื่อดังระบุด้วยว่า วิธีการควบคุมอีโบล่าที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ การตรวจเลือดที่ “ปลอดภัยและราคาถูก” ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 10 นาทีก็ทราบผล
ด้านสถานการณ์เฝ้าระวังอีโบล่าในฮ่องกง พบว่า ผลการตรวจเลือดผู้ป่วยวัย 39 ปี ซึ่งเข้าไปในไนจีเรียระหว่างวันที่ 13 - 20 ต.ค. ที่ผ่านมา ออกมาเป็นลบ และผู้ป่วยคนดังกล่าวถูกย้ายจากโรงพยาบาลปรินซ์ออฟเวลล์ไปรักษาตัวในศูนย์โรคติดเชื้อของโรงพยาบาลปรินซ์เซสมาร์กาเรทแล้วเมื่อวานนี้(27 ต.ค.)
อนึ่ง อีโบล่าเป็นเชื้อไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในทวีปแอฟริกาตะวันตก ระบาดจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสโดนของเหลวจากตัวผู้ป่วย แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันว่า เชื้อดังกล่าวสามารถแพร่ตามอากาศได้
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยหลายสัญชาติติดเชื้ออีโบล่า ทั้งอเมริกา เยอรมนี สเปน นอร์เวย์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในขณะที่ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโรคดังกล่าว รวมแล้วทะยานไปถึง 10,141 คน และเสียชีวิตไปแล้ว 4,922 ราย
ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ไพออท ผู้เชี่ยวชาญและเป็นหนึ่งในผู้ค้นพบเชื้ออีโบล่า คาดการณ์ว่า จะมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบล่าอีกหลายพันคน ในหลายเดือนข้างหน้า และโรคดังกล่าวอาจยังระบาดต่อเนื่องไปอีก 6-12 เดือน
ด้านองค์การอนามัยโลก ระบุเตือนว่า หากรัฐบาลแต่ละประเทศทั่วโลกยังไม่กระตือรือร้นรับมือกับเชื้อไวรัสร้ายฯ คาดว่ากระทั่งเดือนธ.ค. ที่จะถึงนี้ อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นนับหมื่นคนทุกสัปดาห์ และกว่าวัคซีนรักษาโรคฯ จะใช้ได้ก็คือช่วงกลางปีหน้า
ในขณะที่ไพออท กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน มีบริษัทยา 3 แห่ง กำลังวิจัยคิดค้นวัคซีนรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโบล่า ซึ่งผลการทดลองใช้ยาตัวแรกของบริษัทแห่งหนึ่งจะได้ในเดือนก.พ. ต้นปีหน้า (2558) และเขาก็หวังว่า ประชาชนในประเทศที่อีโบล่ากำลังระบาดอย่างหนักจะมั่นใจขึ้นว่าพวกเขาจะได้รับวัคซีนดังกล่าว
ด้านนายบัน คี มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ตอนนี้ยังต้องการเครื่องไม้เครื่องมือในการป้องกันโรค ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ และบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก
จีนทุ่มบริจาคความช่วยเหลือเพื่อสกัดเชื้ออีโบล่า
ในวันศุกร์ (24 ต.ค.) ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประกาศแพคเกจความช่วยเหลือ มูลค่า 500 ล้านหยวน 25,000 ล้านบาท สำหรับต่อสู้เชื้ออีโบล่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือเพื่อป้องกันเชื้อมรณะใหม่ล่าสุดของโลกในอแฟริกาตะวันตก
แพคเกจความช่วยเหลือล่าสุดนี้ เป็นโครงการบริจาคเพื่อควบคุมเชื้ออีโบล่าครั้งที่สี่ ที่จีนให้แก่ประเทศที่โดนอีโบล่าจู่โจมหนักที่สุดในแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ ไลบีเรีย เซียรา-เลโอน กีเนีย และองค์กรต่างๆ โดยแพคเกจความช่วยเหลือนี้ประกอบด้วยเครื่องมืออุปกรณ์และเงินสด
ก่อนหน้าในวันอังคาร(21 ต.ค.) จีนได้บริจาคความช่วยเหลือ มูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO