เอเจนซี- คณะมุขมนตรีจีนวางแผนผลักดันประชาชน 100 กว่าล้านคนในชนบทย้ายมาอาศัยในเขตเมืองระดับต่างๆภายในปี 2563 ตามแผนปฏิรูประบบจดทะเบียนสำมะโนประชากร ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ การลดช่องว่างสิทธิประโยชน์กลุ่มประชากร ยังอาศัยเวลาอีกนาน
วานนี้ (30 ก.ค.) คณะมุขมนตรีจีน ออกหนังสือเวียน เพื่อเร่งการปฏิรูปการลงทะเบียนสำมะโนประชากร หรือที่จีนเรียกระบบฮู่โข่ว โดยจะปรับลดข้อจำกัดในการจดทะเบียนระบบสำมะโนประชากรในเขตเมืองระดับต่างๆ ผ่อนปรนข้อจำกัดในกลุ่มเมืองขนาดกลาง และกำหนดคุณสมบัติสำหรับการจดทะเบียนสำมะโนประชากรในกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของผู้อยู่อาศัยในเมืองที่ไม่มีสำมะโนครัวในเมืองนั้นๆ
ในที่ประชุมข่าวเมื่อวันพุธ (30 ก.ค.) นายหวง หมิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ กล่าวว่า จะมีการกำหนดคุณสมบัติและเกณฑ์ที่แตกต่างกันในการจดทะเบียนสำมะโนประชากรบนพื้นฐานของขนาดและประชากรของเมืองนั้นๆ
สำหรับผู้ที่ต้องการตั้งรกรากอยู่ในเมืองขนาดเล็ก สามารถทำได้โดยไร้เงื่อนไข ในกรณีเมืองขนาดเล็ก “ผู้ที่มีใบอนุญาตการอยู่อาศัยแล้ว สามารถจดทะเบียนเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร แม้จะเช่าอาศัยอยู่ชั่วคราวก็ตาม” นายหวง กล่าว
ส่วนเมืองขนาดกลางที่มีประชากรระหว่าง 1 ล้าน - 3 ล้านคน ทางการจะใช้เกณ์พิจารณาขั้นต่ำ ในขณะที่เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคน ทางการจะใช้เงื่อนไขเข้มงวดเพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายประชากรเข้ามาอยู่ในเมือง
ฉะนั้น ผู้ที่หวังจะเข้ามาตั้งรกรากในเมืองใหญ่ อาทิ ปักกิ่ง และ เซี่ยงไฮ้ จะต้องมีคุณสมบัติผ่านตามระบบให้แต้ม ที่พิจารณาจากความอาวุโสในการทำงาน ที่พักอาศัย และเสถียรภาพสังคม นายหวง กล่าว
ปัจจุบันเมืองใหญ่ๆของจีนต้องเผชิญกับปัญหาแรงกดดันด้านประชากร ในแต่ละปี มี "ประชากรลอยไปอยมา" หลายแสนคน นายหวง กล่าวเพิ่มเติม
โดยนายหวง ระบุว่า นับเป็นการปฏิรูปครั้งแรกของระบบจดทะเบียนสำมะโนประชากร และยังเป็นก้าวย่างในการยกเลิกระบบการจดทะเบียนสำมะโนประชากรที่เข้มงวดของจีน ซึ่งแบ่งพลเมืองออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มครัวเรือนในเขตเมือง กับกลุ่มครัวเรือนในเขตชนบหรือเกษตรกรรม ที่ใช้มาตั้งแต่ทศวรรษ 1950
ตามระบบสำมะโนครัวนี้ทุกวันนี้ ประชากรภาคเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสาธารณะ เช่นเดียวกันผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน (ประจำเมือง) ซึ่งเสมือนใบอนุญาตอยู่อาศัยในเมืองอย่างถาวร การไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนของเมืองที่อาศัยอยู่นี้ ก็จะไม่มีสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคมของรัฐ อาทิ ด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย การศึกษา หรือบำนาญ
หยัง จื้อหมิง ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคม ชี้การปฏิรูปจะช่วยควบรวมและสร้างความเสมอภาคระหว่างกลุ่มแรงงานต่างถิ่นเข้าสู่เมืองต่างๆ เนื่องจากแรงงานต่างถิ่นเหล่านี้เป็นประชากรกลุ่มหลักที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนในเมืองที่พวกเขาทำงาน
ข้อมูลทางการระบุว่าปลายปี 2556 ประเทศจีนมีแรงงานต่างถิ่นประมาณ 166 ล้านคน ส่วนในปีนี้เฉพาะถึงเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ตัวเลขดังกล่าวสูงขึ้นเป็น 174 ล้านคน
ด้านนายอู่ เสี่ยวชิง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจในชนบท ภายใต้ศูนย์วิจัยการพัฒนาของคณะมุขมนตรีฯ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
“การลดความแตกต่างทางสังคมในระบบสำมะโนครัวยังอยู่เพียงแค่ในกระดาษ ความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อช่องว่างด้านสิทธิประโยชน์ในกลุ่มประชาชน หายไป” นายอู่ กล่าว “ยังต้องใช้เวลาอีกนานในการสร้างความเสมอภาคด้านระบบประกันสังคมในเขตต่างๆ”
ยกตัวอย่างเช่น ในเจ้อเจียง ซึ่งเป็นมณฑลหนึ่งที่พบว่า ช่องว่างระหว่างเขตเมืองกับชนบทมีน้อยที่สุด เพราะพนักงานของรัฐที่เกษียณในเมือง จะได้รับเงินบำนาญประมาณ เดือนละ 5,000 หยวน หรือราวๆ 25,000 บาท ส่วนชาวนาจะได้ต่ำกว่า 1,000 หยวน หรือราวๆ 5,000 บาท
อนึ่ง ปักกิ่ง นิวส์ รายงานว่า เมื่อ 13 ปีก่อน ระหว่างที่เป็นพ่อเมืองมณฑลฝูเจี้ยน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็เคยเสนอการปรับปรุงระบบฮู่โข่วไว้ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา
วานนี้ (30 ก.ค.) คณะมุขมนตรีจีน ออกหนังสือเวียน เพื่อเร่งการปฏิรูปการลงทะเบียนสำมะโนประชากร หรือที่จีนเรียกระบบฮู่โข่ว โดยจะปรับลดข้อจำกัดในการจดทะเบียนระบบสำมะโนประชากรในเขตเมืองระดับต่างๆ ผ่อนปรนข้อจำกัดในกลุ่มเมืองขนาดกลาง และกำหนดคุณสมบัติสำหรับการจดทะเบียนสำมะโนประชากรในกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของผู้อยู่อาศัยในเมืองที่ไม่มีสำมะโนครัวในเมืองนั้นๆ
ในที่ประชุมข่าวเมื่อวันพุธ (30 ก.ค.) นายหวง หมิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ กล่าวว่า จะมีการกำหนดคุณสมบัติและเกณฑ์ที่แตกต่างกันในการจดทะเบียนสำมะโนประชากรบนพื้นฐานของขนาดและประชากรของเมืองนั้นๆ
สำหรับผู้ที่ต้องการตั้งรกรากอยู่ในเมืองขนาดเล็ก สามารถทำได้โดยไร้เงื่อนไข ในกรณีเมืองขนาดเล็ก “ผู้ที่มีใบอนุญาตการอยู่อาศัยแล้ว สามารถจดทะเบียนเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร แม้จะเช่าอาศัยอยู่ชั่วคราวก็ตาม” นายหวง กล่าว
ส่วนเมืองขนาดกลางที่มีประชากรระหว่าง 1 ล้าน - 3 ล้านคน ทางการจะใช้เกณ์พิจารณาขั้นต่ำ ในขณะที่เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคน ทางการจะใช้เงื่อนไขเข้มงวดเพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายประชากรเข้ามาอยู่ในเมือง
ฉะนั้น ผู้ที่หวังจะเข้ามาตั้งรกรากในเมืองใหญ่ อาทิ ปักกิ่ง และ เซี่ยงไฮ้ จะต้องมีคุณสมบัติผ่านตามระบบให้แต้ม ที่พิจารณาจากความอาวุโสในการทำงาน ที่พักอาศัย และเสถียรภาพสังคม นายหวง กล่าว
ปัจจุบันเมืองใหญ่ๆของจีนต้องเผชิญกับปัญหาแรงกดดันด้านประชากร ในแต่ละปี มี "ประชากรลอยไปอยมา" หลายแสนคน นายหวง กล่าวเพิ่มเติม
โดยนายหวง ระบุว่า นับเป็นการปฏิรูปครั้งแรกของระบบจดทะเบียนสำมะโนประชากร และยังเป็นก้าวย่างในการยกเลิกระบบการจดทะเบียนสำมะโนประชากรที่เข้มงวดของจีน ซึ่งแบ่งพลเมืองออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มครัวเรือนในเขตเมือง กับกลุ่มครัวเรือนในเขตชนบหรือเกษตรกรรม ที่ใช้มาตั้งแต่ทศวรรษ 1950
ตามระบบสำมะโนครัวนี้ทุกวันนี้ ประชากรภาคเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสาธารณะ เช่นเดียวกันผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน (ประจำเมือง) ซึ่งเสมือนใบอนุญาตอยู่อาศัยในเมืองอย่างถาวร การไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนของเมืองที่อาศัยอยู่นี้ ก็จะไม่มีสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคมของรัฐ อาทิ ด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย การศึกษา หรือบำนาญ
หยัง จื้อหมิง ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคม ชี้การปฏิรูปจะช่วยควบรวมและสร้างความเสมอภาคระหว่างกลุ่มแรงงานต่างถิ่นเข้าสู่เมืองต่างๆ เนื่องจากแรงงานต่างถิ่นเหล่านี้เป็นประชากรกลุ่มหลักที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนในเมืองที่พวกเขาทำงาน
ข้อมูลทางการระบุว่าปลายปี 2556 ประเทศจีนมีแรงงานต่างถิ่นประมาณ 166 ล้านคน ส่วนในปีนี้เฉพาะถึงเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ตัวเลขดังกล่าวสูงขึ้นเป็น 174 ล้านคน
ด้านนายอู่ เสี่ยวชิง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจในชนบท ภายใต้ศูนย์วิจัยการพัฒนาของคณะมุขมนตรีฯ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
“การลดความแตกต่างทางสังคมในระบบสำมะโนครัวยังอยู่เพียงแค่ในกระดาษ ความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อช่องว่างด้านสิทธิประโยชน์ในกลุ่มประชาชน หายไป” นายอู่ กล่าว “ยังต้องใช้เวลาอีกนานในการสร้างความเสมอภาคด้านระบบประกันสังคมในเขตต่างๆ”
ยกตัวอย่างเช่น ในเจ้อเจียง ซึ่งเป็นมณฑลหนึ่งที่พบว่า ช่องว่างระหว่างเขตเมืองกับชนบทมีน้อยที่สุด เพราะพนักงานของรัฐที่เกษียณในเมือง จะได้รับเงินบำนาญประมาณ เดือนละ 5,000 หยวน หรือราวๆ 25,000 บาท ส่วนชาวนาจะได้ต่ำกว่า 1,000 หยวน หรือราวๆ 5,000 บาท
อนึ่ง ปักกิ่ง นิวส์ รายงานว่า เมื่อ 13 ปีก่อน ระหว่างที่เป็นพ่อเมืองมณฑลฝูเจี้ยน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็เคยเสนอการปรับปรุงระบบฮู่โข่วไว้ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา