เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินหน้าแผนปฏิรูป พุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้บริหารระดับสูงรัฐวิสาหกิจหลักของประเทศ โดยสื่อจีนชี้ รัฐวิสาหกิจเตรียมตัวได้เลย ผู้นำจีนล้างบางคอรัปชั่นแน่
ในที่ประชุมเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (18 ส.ค.) ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ระบุ ประเทศจีนต้องเร่งปฏิรูปเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ผู้นำจีนยังอนุมัติแผน 7 ปียกเครื่องโครงสร้างการจัดการรัฐวิสาหกิจของแดนมังกรอีกด้วย
โดยแหล่งข่าวระบุว่า แผนการปฏิรูปนี้มี 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นแรก เป็นการตัดเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจหลัก โดยเฉพาะในภาคการเงินและการธนาคาร ซึ่งบางส่วนอาจถูกหั่นเงินออกถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ส่วนขั้นตอนที่สอง คือการค่อยๆ ปรับโครงสร้างหน้าที่รับผิดชอบของบรรดาผู้บริหารเหล่านี้ โดยรัฐบาลจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เข้าไปนั่งในบอร์ดบริหาร ส่วนการดำเนินงานทั่วไปจะใช้ผู้จัดการอาวุโสที่สรรหาจากภายนอกเข้ามาดูแลและรับเงินเดือนตามขั้นเงินเดือนมาตรฐานระหว่างประเทศ
โมเดลใหม่นี้จะคล้ายคลึงกับบรรษัทเอ็มอาร์ที (MRT Corporation) ของฮ่องกง นั่นคือ รัฐบาลฮ่องกงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และแต่งตั้งผู้แทน 3 คน เข้าไปนั่งในบอร์ดบริหารเพื่อดูแลการทำงานของบรรษัทให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด รวมทั้งว่าจ้างผู้จัดการระดับมืออาชีพเข้ามาบริหารงานทั่วไป ผ่านระบบการสรรหาแบบเปิด
ทั้งนี้ การปฏิรูปที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นปัญหาเรื่องสถานภาพของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่ค่อนข้างคลุมเครือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารรัฐวิสาหกิจกลางภายใต้การกำกับโดยตรงของคณะมุขมนตรี ผู้บริหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือ ควบตำแหน่งระดับรัฐมนตรีด้วย ทำให้ได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม รวมทั้งอภิสิทธิ์ในด้านต่างๆ ในขณะเดียวกัน ก็รับเงินเดือนระดับเดียวกับผู้บริหารจากตะวันตก ซึ่งมากกว่าเงินเดือนผู้ใต้บังคับบัญชาหลายเท่าตัว
ดังนั้น ประเด็นเรื่องเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจจีนจึงตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์มานานต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐบาลผูกขาด หรือ เกือบผูกขาด
ผู้บริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมพลังงานรายหนึ่ง เปิดเผยว่า หัวหน้ารัฐวิสาหกิจกลางในสายงานของเขา ทำเงินได้ถึงปีละ 1 ล้านหยวน หรือ ราวๆ 5 ล้านบาท ส่วนในสายการธนาคารและการเงินยิ่งได้สูงกว่านี้มาก
ยกตัวอย่างเช่น นายเจียง เจี้ยนชิง ประธานธนาคารอุตสาหกรรมและการค้าแห่งชาติจีน (Industrial and Commercial Bank of China) ได้ค่าตอบแทนปีที่ผ่านมา (2556) รวมแล้วเกือบ 2 ล้านหยวน หรือประมาณ 10 ล้านบาท ในขณะที่เงินเดือนของฝ่ายบริหารพรรคฯ บางคนอยู่แค่ 200,000 หยวน ต่อปี (ราวๆ 1 ล้านบาท) ทว่าผู้บริหารระดับสูง (ของรัฐวิสาหกิจ) บางคนกลับบ่นว่าตนเองได้เงินเดือนน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับเงินเดือนของบุคลากรจากโลกตะวันตกในตำแหน่งเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จากกระแสการปฏิรูปดังกล่าว ทำให้สื่อทางการของรัฐ อย่างซินหวา ออกมาคาดการณ์ว่า ผู้นำจีน ไม่เพียงแต่จะปฏิรูปโครงสร้างรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่ยังเตรียมเดินหน้าปราบคอรัปชั่นในองค์กรเหล่านี้
ซินหวา ระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงขององค์รัฐวิสาหกิจ มีวิถีชีวิตอย่างหรูหรา ทั้งอาหาร รถยนต์ รวมทั้งตีกอล์ฟ โดยซินหวา ระบุเพิ่มเติมว่า ผู้นำจีนให้คำมั่นในที่ประชุมว่า จะกำจัดความฟุ่มเฟือยของผู้บริหารระดับอาวุโสขององค์กรรัฐวิสาหกิจให้จงได้
นายแอนดี้ เหยา เชาหัว นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคารฮั่งเส็ง กล่าวว่า การปฏิรูปในองค์กรรัฐวิสาหกิจเกี่ยวข้องกับนโยบายปราบปรามทุจริต “ประเด็นหลักคือ เจ้าหน้าที่หลายคนเบียดบังใช้เงินขององค์กรฯ มากเกินไป จึงควรมีการจำกัดและเข้มงวดกับค่างานเลี้ยงสังสรรค์และค่าเดินทางที่จ่ายในนามองค์กรฯ”
นอกจากนี้ ซินหวา ยังระบุเพิ่มเติมว่า ในปี 2555 กลุ่มบริษัทในตลาดหุ้นกระดาน เอ (A Share) ที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล ประมาณ 250 แห่ง จ่ายเงินค่าจัดเลี้ยงต้อนรับรวมแล้วกว่า 6,500 ล้านหยวน หรือ ราว 32,500 ล้านบาท ส่วนในมณฑลซานตง ค่าใช้จ่ายเกือบครึ่งที่ผู้บริหารระดับสูงจากรัฐวิสาหกิจทั้ง 32 แห่ง เบิกจ่าย คือค่ายานพาหนะ
อนึ่ง ที่ผ่านในปี 2545 นายเวิน จยาเป่า ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจีน ก็เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะผลักดันเพื่อปฏิรูปและปรับยอดฐานเงินเดือนของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจให้ “ไม่เกิน 12 เท่า ของเงินเดือนเฉลี่ยของพนักงาน” ในองค์กรเดียวกัน
ทว่าในปี 2552 นายเวิน ก็ประกาศให้คำมั่นสัญญาอีกครั้งว่า จะปรับยอดฐานเงินเดือนดังกล่าวให้ “ไม่เกิน 30 เท่า” แต่สุดท้าย กระทั่งในปี 2553 ที่เขาก้าวลงจากตำแหน่ง ก็ไม่มีการปฏิรูปเรื่องนี้เกิดขึ้น
ด้านนายหลี่ สือ คณบดีฝ่ายบริหารของสถาบันจีนเพื่อการกระจายรายได้ แห่งมหาวิทยาลัยการศึกษาปักกิ่ง กล่าวว่า มันมีการพูดถึงเรื่องปฏิรูปแบบนั้นอยู่ตลอด แต่ในอดีตที่ผ่านมา มีการต่อต้านอย่างมากเกิดขึ้น
“ตอนนี้ประธานาธิบดีสี เอาเรื่องนี้กลับมาพูดถึงอีกครั้ง … การต่อต้านมันย่อมเกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่นายสีได้สร้างฐานอำนาจจากโครงการรณรงค์ปราบปรามทุจริตไว้แล้ว หากตอนนี้เขายืนกรานจะเดินหน้า ผมคิดว่า (แผน) การปฏิรูปจะประสบความสำเร็จ” นายหลี่ กล่าว
ในที่ประชุมเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (18 ส.ค.) ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ระบุ ประเทศจีนต้องเร่งปฏิรูปเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ผู้นำจีนยังอนุมัติแผน 7 ปียกเครื่องโครงสร้างการจัดการรัฐวิสาหกิจของแดนมังกรอีกด้วย
โดยแหล่งข่าวระบุว่า แผนการปฏิรูปนี้มี 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นแรก เป็นการตัดเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจหลัก โดยเฉพาะในภาคการเงินและการธนาคาร ซึ่งบางส่วนอาจถูกหั่นเงินออกถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ส่วนขั้นตอนที่สอง คือการค่อยๆ ปรับโครงสร้างหน้าที่รับผิดชอบของบรรดาผู้บริหารเหล่านี้ โดยรัฐบาลจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เข้าไปนั่งในบอร์ดบริหาร ส่วนการดำเนินงานทั่วไปจะใช้ผู้จัดการอาวุโสที่สรรหาจากภายนอกเข้ามาดูแลและรับเงินเดือนตามขั้นเงินเดือนมาตรฐานระหว่างประเทศ
โมเดลใหม่นี้จะคล้ายคลึงกับบรรษัทเอ็มอาร์ที (MRT Corporation) ของฮ่องกง นั่นคือ รัฐบาลฮ่องกงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และแต่งตั้งผู้แทน 3 คน เข้าไปนั่งในบอร์ดบริหารเพื่อดูแลการทำงานของบรรษัทให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด รวมทั้งว่าจ้างผู้จัดการระดับมืออาชีพเข้ามาบริหารงานทั่วไป ผ่านระบบการสรรหาแบบเปิด
ทั้งนี้ การปฏิรูปที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นปัญหาเรื่องสถานภาพของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่ค่อนข้างคลุมเครือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารรัฐวิสาหกิจกลางภายใต้การกำกับโดยตรงของคณะมุขมนตรี ผู้บริหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ หรือ ควบตำแหน่งระดับรัฐมนตรีด้วย ทำให้ได้รับเงินตอบแทนเพิ่ม รวมทั้งอภิสิทธิ์ในด้านต่างๆ ในขณะเดียวกัน ก็รับเงินเดือนระดับเดียวกับผู้บริหารจากตะวันตก ซึ่งมากกว่าเงินเดือนผู้ใต้บังคับบัญชาหลายเท่าตัว
ดังนั้น ประเด็นเรื่องเงินเดือนผู้บริหารระดับสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจจีนจึงตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์มานานต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐบาลผูกขาด หรือ เกือบผูกขาด
ผู้บริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมพลังงานรายหนึ่ง เปิดเผยว่า หัวหน้ารัฐวิสาหกิจกลางในสายงานของเขา ทำเงินได้ถึงปีละ 1 ล้านหยวน หรือ ราวๆ 5 ล้านบาท ส่วนในสายการธนาคารและการเงินยิ่งได้สูงกว่านี้มาก
ยกตัวอย่างเช่น นายเจียง เจี้ยนชิง ประธานธนาคารอุตสาหกรรมและการค้าแห่งชาติจีน (Industrial and Commercial Bank of China) ได้ค่าตอบแทนปีที่ผ่านมา (2556) รวมแล้วเกือบ 2 ล้านหยวน หรือประมาณ 10 ล้านบาท ในขณะที่เงินเดือนของฝ่ายบริหารพรรคฯ บางคนอยู่แค่ 200,000 หยวน ต่อปี (ราวๆ 1 ล้านบาท) ทว่าผู้บริหารระดับสูง (ของรัฐวิสาหกิจ) บางคนกลับบ่นว่าตนเองได้เงินเดือนน้อยเกินไป เมื่อเทียบกับเงินเดือนของบุคลากรจากโลกตะวันตกในตำแหน่งเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จากกระแสการปฏิรูปดังกล่าว ทำให้สื่อทางการของรัฐ อย่างซินหวา ออกมาคาดการณ์ว่า ผู้นำจีน ไม่เพียงแต่จะปฏิรูปโครงสร้างรัฐวิสาหกิจเท่านั้น แต่ยังเตรียมเดินหน้าปราบคอรัปชั่นในองค์กรเหล่านี้
ซินหวา ระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงขององค์รัฐวิสาหกิจ มีวิถีชีวิตอย่างหรูหรา ทั้งอาหาร รถยนต์ รวมทั้งตีกอล์ฟ โดยซินหวา ระบุเพิ่มเติมว่า ผู้นำจีนให้คำมั่นในที่ประชุมว่า จะกำจัดความฟุ่มเฟือยของผู้บริหารระดับอาวุโสขององค์กรรัฐวิสาหกิจให้จงได้
นายแอนดี้ เหยา เชาหัว นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคารฮั่งเส็ง กล่าวว่า การปฏิรูปในองค์กรรัฐวิสาหกิจเกี่ยวข้องกับนโยบายปราบปรามทุจริต “ประเด็นหลักคือ เจ้าหน้าที่หลายคนเบียดบังใช้เงินขององค์กรฯ มากเกินไป จึงควรมีการจำกัดและเข้มงวดกับค่างานเลี้ยงสังสรรค์และค่าเดินทางที่จ่ายในนามองค์กรฯ”
นอกจากนี้ ซินหวา ยังระบุเพิ่มเติมว่า ในปี 2555 กลุ่มบริษัทในตลาดหุ้นกระดาน เอ (A Share) ที่เชื่อมโยงกับรัฐบาล ประมาณ 250 แห่ง จ่ายเงินค่าจัดเลี้ยงต้อนรับรวมแล้วกว่า 6,500 ล้านหยวน หรือ ราว 32,500 ล้านบาท ส่วนในมณฑลซานตง ค่าใช้จ่ายเกือบครึ่งที่ผู้บริหารระดับสูงจากรัฐวิสาหกิจทั้ง 32 แห่ง เบิกจ่าย คือค่ายานพาหนะ
อนึ่ง ที่ผ่านในปี 2545 นายเวิน จยาเป่า ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจีน ก็เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะผลักดันเพื่อปฏิรูปและปรับยอดฐานเงินเดือนของผู้บริหารรัฐวิสาหกิจให้ “ไม่เกิน 12 เท่า ของเงินเดือนเฉลี่ยของพนักงาน” ในองค์กรเดียวกัน
ทว่าในปี 2552 นายเวิน ก็ประกาศให้คำมั่นสัญญาอีกครั้งว่า จะปรับยอดฐานเงินเดือนดังกล่าวให้ “ไม่เกิน 30 เท่า” แต่สุดท้าย กระทั่งในปี 2553 ที่เขาก้าวลงจากตำแหน่ง ก็ไม่มีการปฏิรูปเรื่องนี้เกิดขึ้น
ด้านนายหลี่ สือ คณบดีฝ่ายบริหารของสถาบันจีนเพื่อการกระจายรายได้ แห่งมหาวิทยาลัยการศึกษาปักกิ่ง กล่าวว่า มันมีการพูดถึงเรื่องปฏิรูปแบบนั้นอยู่ตลอด แต่ในอดีตที่ผ่านมา มีการต่อต้านอย่างมากเกิดขึ้น
“ตอนนี้ประธานาธิบดีสี เอาเรื่องนี้กลับมาพูดถึงอีกครั้ง … การต่อต้านมันย่อมเกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่นายสีได้สร้างฐานอำนาจจากโครงการรณรงค์ปราบปรามทุจริตไว้แล้ว หากตอนนี้เขายืนกรานจะเดินหน้า ผมคิดว่า (แผน) การปฏิรูปจะประสบความสำเร็จ” นายหลี่ กล่าว