เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- คณะกรรมาธิการวางแผนสุขภาพและครอบครัวปักกิ่ง เผย ชาวปักกิ่งเสียชีวิตด้วย “มะเร็ง” เป็นอันดับหนึ่งติดต่อกัน 7 ปีซ้อน ในขณะที่ตัวเลขมะเร็งต่อมไทรอยด์ก็เพิ่มสูงขึ้น
คณะกรรมาธิการวางแผนสุขภาพและครอบครัวปักกิ่ง เปิดเผย ตัวเลขทางด้านสุขภาพของปักกิ่ง ปีที่ผ่านมา (2556) ผู้อาศัยถาวรในปักกิ่ง มากกว่า 40,000 ราย เป็นมะเร็ง นายหวัง หนิง รองผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมและป้องกันมะเร็งปักกิ่ง ระบุ หมายความว่า ปีที่ผ่านมาปักกิ่งมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้น 110 คนต่อวัน ในขณะที่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว อัตราดังกล่าวอยู่เพียงแค่ 63 คนต่อวัน
ทั้งนี้ ในรายงานยังระบุว่า มะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนปักกิ่ง คิดเป็น 27 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และโรคร้ายที่คร่าชีวิตชาวนครหลวงของจีนมากสุด ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โดยโรคร้ายทั้งสามนี้ ได้สังหารชาวปักกิ่ง คิดเป็น 74 เปอร์เซ็นต์ ของกรณีเสียชีวิตทั้งหมด
ในเพศชาย มะเร็งยอดฮิต คือ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับ ตามลำดับ ในขณะที่เพศหญิง มะเร็งสามอันดับแรกที่คุกคามพวกเธอ คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ ตามลำดับ
จะเห็นว่า มะเร็งปอดยังครองแชมป์ มะเร็งร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก ในปี 2555 พบผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ทั่วโลก 1.8 ล้านคน และ ประชากรของโลก ในปีนั้น เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดถึง 1.59 ล้านคน โดย 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตอยู่ในประเทศจีน องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา
“มะเร็งปอดเกิดขึ้นได้ ด้วยหลายเหตุผล ทั้งการสูบบุหรี่ การสูดควันบุหรี่ สังคมที่เต็มไปด้วยหมอกควันเพิ่มขึ้น และปัญหาทางสิ่งแวดล้อม” นายจือ ซิ่วอี้ รองผู้อำนวยการศูนย์บำบัดมะเร็งปอด มหาวิทยาลัยแพทย์ในปักกิ่ง ระบุ
“เราจำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น เริ่มจากการเลิกสูบบุหรี่” นายจือ กล่าว
นอกจากสถานการณ์มะเร็งปอดแล้ว ปักกิ่งยังต้องพบกับมหันตภัยเงียบตัวใหม่ที่ค่อยๆ ทวีขึ้น นั่นคือ มะเร็งต่อมไทรอยด์ โดยพบว่า ชาวปักกิ่ง มีอัตราการเจ็บป่วยด้วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ เท่ากับ 15.74 :100,000 คน เพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่าจากเมื่อ 10 ปีก่อน
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่มะเร็งดังกล่าวเพิ่มขึ้น ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แต่หวังกันว่า ตัวเลขที่รายงานออกมาจะช่วยกระตุ้นให้คนหาทางป้องกันได้ดีขึ้น
รายงานของคณะกรรมาธิการฯ ชิ้นนี้ สอดคล้องกับรายงานเรื่องสุขภาพโดยรวมของประชากร ที่จีนเพิ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ และเผยแพร่ไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน โดยระบุว่า ประชาชนจีนอายุ 18 ปีในปัจจุบัน จะมีอายุคาดหวังเฉลี่ย ไม่น้อยหน้าตัวเลขของประเทศที่พัฒนาแล้ว นั่นคือ 81.51 ปี แต่ทว่า กลับมีตัวเลขอายุคาดหวังทางสุขภาพ (healthy life expectancy) เฉลี่ยเพียง 40.17 หมายความว่า พวกเขาจะมีสุขภาพดีเพียงชั่วระยะสั้น และต้องทนทุกข์กับปัญหาสุขภาพและภาวะทุพพลภาพถึง 10-20 ปี
สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า มาตรฐานชีวิตของคนปักกิ่งจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง เพราะปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขอายุคาดหวังทางสุขภาพของคนปักกิ่งต่ำ ส่วนใหญ่เป็น “โรควิถีชีวิต” หรือ non-communicable diseases ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเชื้อโรค หรือเชื้อจุลินทรีย์ และไม่สามารถแพร่กระจายสู่คนได้ แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต นั่นเอง
อนึ่ง รายงานดังกล่าวเกิดขึ้น ระหว่างที่ปักกิ่งเองยังเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลก ที่ประสบกับปัญหาคุณภาพอากาศ และฝุ่นละอองขนาดเล็กที่แทรกเข้าสู่ปอดได้
คณะกรรมาธิการวางแผนสุขภาพและครอบครัวปักกิ่ง เปิดเผย ตัวเลขทางด้านสุขภาพของปักกิ่ง ปีที่ผ่านมา (2556) ผู้อาศัยถาวรในปักกิ่ง มากกว่า 40,000 ราย เป็นมะเร็ง นายหวัง หนิง รองผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมและป้องกันมะเร็งปักกิ่ง ระบุ หมายความว่า ปีที่ผ่านมาปักกิ่งมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้น 110 คนต่อวัน ในขณะที่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว อัตราดังกล่าวอยู่เพียงแค่ 63 คนต่อวัน
ทั้งนี้ ในรายงานยังระบุว่า มะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนปักกิ่ง คิดเป็น 27 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และโรคร้ายที่คร่าชีวิตชาวนครหลวงของจีนมากสุด ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โดยโรคร้ายทั้งสามนี้ ได้สังหารชาวปักกิ่ง คิดเป็น 74 เปอร์เซ็นต์ ของกรณีเสียชีวิตทั้งหมด
ในเพศชาย มะเร็งยอดฮิต คือ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับ ตามลำดับ ในขณะที่เพศหญิง มะเร็งสามอันดับแรกที่คุกคามพวกเธอ คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ ตามลำดับ
จะเห็นว่า มะเร็งปอดยังครองแชมป์ มะเร็งร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก ในปี 2555 พบผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ทั่วโลก 1.8 ล้านคน และ ประชากรของโลก ในปีนั้น เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดถึง 1.59 ล้านคน โดย 1 ใน 3 ของผู้เสียชีวิตอยู่ในประเทศจีน องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา
“มะเร็งปอดเกิดขึ้นได้ ด้วยหลายเหตุผล ทั้งการสูบบุหรี่ การสูดควันบุหรี่ สังคมที่เต็มไปด้วยหมอกควันเพิ่มขึ้น และปัญหาทางสิ่งแวดล้อม” นายจือ ซิ่วอี้ รองผู้อำนวยการศูนย์บำบัดมะเร็งปอด มหาวิทยาลัยแพทย์ในปักกิ่ง ระบุ
“เราจำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น เริ่มจากการเลิกสูบบุหรี่” นายจือ กล่าว
นอกจากสถานการณ์มะเร็งปอดแล้ว ปักกิ่งยังต้องพบกับมหันตภัยเงียบตัวใหม่ที่ค่อยๆ ทวีขึ้น นั่นคือ มะเร็งต่อมไทรอยด์ โดยพบว่า ชาวปักกิ่ง มีอัตราการเจ็บป่วยด้วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ เท่ากับ 15.74 :100,000 คน เพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่าจากเมื่อ 10 ปีก่อน
อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่มะเร็งดังกล่าวเพิ่มขึ้น ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แต่หวังกันว่า ตัวเลขที่รายงานออกมาจะช่วยกระตุ้นให้คนหาทางป้องกันได้ดีขึ้น
รายงานของคณะกรรมาธิการฯ ชิ้นนี้ สอดคล้องกับรายงานเรื่องสุขภาพโดยรวมของประชากร ที่จีนเพิ่งจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ และเผยแพร่ไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน โดยระบุว่า ประชาชนจีนอายุ 18 ปีในปัจจุบัน จะมีอายุคาดหวังเฉลี่ย ไม่น้อยหน้าตัวเลขของประเทศที่พัฒนาแล้ว นั่นคือ 81.51 ปี แต่ทว่า กลับมีตัวเลขอายุคาดหวังทางสุขภาพ (healthy life expectancy) เฉลี่ยเพียง 40.17 หมายความว่า พวกเขาจะมีสุขภาพดีเพียงชั่วระยะสั้น และต้องทนทุกข์กับปัญหาสุขภาพและภาวะทุพพลภาพถึง 10-20 ปี
สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า มาตรฐานชีวิตของคนปักกิ่งจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง เพราะปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขอายุคาดหวังทางสุขภาพของคนปักกิ่งต่ำ ส่วนใหญ่เป็น “โรควิถีชีวิต” หรือ non-communicable diseases ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเชื้อโรค หรือเชื้อจุลินทรีย์ และไม่สามารถแพร่กระจายสู่คนได้ แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต นั่นเอง
อนึ่ง รายงานดังกล่าวเกิดขึ้น ระหว่างที่ปักกิ่งเองยังเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลก ที่ประสบกับปัญหาคุณภาพอากาศ และฝุ่นละอองขนาดเล็กที่แทรกเข้าสู่ปอดได้