ไชน่า เดลี - ระบบการศึกษาแบบสอบวัดผล เป็นสาเหตุกดดันให้เด็กประถมและมัธยมในจีน ฆ่าตัวตาย ผลวิจัยด้านการศึกษาของจีน ระบุวานนี้(13 พ.ค.)
รายงานประจำปี (2557) ด้านการศึกษา หรือ หนังสือปกฟ้าเรื่องการศึกษา เปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ฆ่าตัวตาย เป็นเด็กมัธยม และส่วนใหญ่ พวกเขาฆ่าตัวตาย เพราะแบกรับความกดดันเรื่องการสอบไม่ไหว
หนังสือปกฟ้าดังกล่าว จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยด้านการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 (the 21 st Century Education Research Institute) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านการศึกษาที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ โดยมีคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาประจำอยู่ จำนวนมาก
ทั้งนี้ การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น กลายเป็นประเด็นขึ้นมา หลังจากที่ปีที่ผ่านมา (2556) มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลายสิบครั้ง
ในวันที่ 11 ม.ค. 2556 นักเรียนมัธยมในเฮ่าเท่อ ของเขตปกครองตนเองมองโกเลีย โดดตึกตายหลังรู้ว่า คะแนนสอบของตนตกลง
วันที่ 2 พ.ค. ปีเดียวกัน เด็กชายวัย 13 ปี ในหนานจิง มณฑลเจียงซู ผูกคอตายในบ้านเพราะทำการบ้านไม่ได้
ต่อมา ในวันที่ 22 มิ.ย. ปี 2556 เด็กหญิงในมณฑลเสฉวน กรีดข้อมือตนเอง และดื่มยาพิษ หลังผลสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยประกาศออกมา และเธอรู้ว่า ตัวเองสอบไม่ติดเพราะคะแนนไม่ถึง
ด้าน นายเฉิง ผิงหยวน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยนานกิง และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยดังกล่าว ระบุไว้ในหนังสือปกฟ้าว่า เด็กวัยรุ่น ส่วนใหญ่ ฆ่าตัวตายเพราะความกดดัน
จากการวิเคราะห์เด็กประถมและมัธยม 79 ราย ที่ฆ่าตัวตายในปี 2556 นายเฉิง เผยว่า92.7 เปอร์เซ็นต์ของเด็กเหล่านั้น กระทำอัตวินิตบาตรกรรมหลังจากมีปัญหากับครู หรือ กำลังอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างหนักเรื่องเรียน
“การพยายามสอบให้ได้คะแนนสูง ไม่เพียงแต่กดดันเด็ก แต่ยังกดดันครูอีกด้วย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลง โดยเฉพาะเมื่อเด็กทำได้ไม่ดีนักในการสอบ สุดท้ายก็ทำให้เด็กจำนวนหนึ่ง ฆ่าตัวตาย” นายเฉิง ระบุไว้ในหนังสือปกฟ้า
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า การฆ่าตัวตายเหล่านั้น 63 เปอร์เซ็นต์ เกิดขึ้นในช่วงเดือนก.พ. และ เดือน ก.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่มีการจัดสอบรายการสำคัญๆ อาทิ การสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลาย และ การสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ
ในขณะที่ จากการฆ่าตัวตายทั้ง 79 ราย พบว่า เป็นนักเรียนม.ต้น 33 ราย และ นักเรียน ม.ปลาย 28 ราย ทำให้เห็นชัดว่า เด็กๆ มีความอ่อนไหวในช่วงที่เป็นวัยรุ่น
อย่างไรก็ตาม นายฉู เจ้าหุย นักวิจัยอาวุโสด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำสถาบันวิทยาศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ระบุว่า ความกดดันเรื่องเรียน เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยเท่านั้น ที่ทำให้วัยรุ่นฆ่าตัวตาย
นายฉู เห็นว่าควรให้ความสนใจสภาวการณ์ช่วงที่เด็กเรียน ม.ต้น และม. ปลายด้วย “ช่วงม.ต้น และม.ปลาย เป็นช่วงพิเศษสำหรับเด็ก เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ ช่วงนั้น เด็กๆ มักมีแนวโน้มเป็นขบถ
“ความคิดของพวกเขา ค่อนข้างต่างจากความคิดของผู้ปกครองและครู พวกเขาสับสนหลายอย่าง แต่เลือกที่จะปกปิดความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง และพยายามแก้ไขปัญหาทุกอย่างเอง ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าอันตรายมาก” นายฉู อธิบาย
ภายใต้สภาวการณ์เช่นนั้น นายฉูเห็นว่า จำเป็นต้องมีการสื่อสารระหว่างเด็กที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นกับผู้ปกครองและครูของเขา “ผู้ปกครองและครู ควรพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ จะได้รู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร และเคารพความคิดของเด็กๆ” นายฉูกล่าว “มันทำได้ง่ายมาก แต่ก็เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากเช่นกัน”
รายงานประจำปี (2557) ด้านการศึกษา หรือ หนังสือปกฟ้าเรื่องการศึกษา เปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ฆ่าตัวตาย เป็นเด็กมัธยม และส่วนใหญ่ พวกเขาฆ่าตัวตาย เพราะแบกรับความกดดันเรื่องการสอบไม่ไหว
หนังสือปกฟ้าดังกล่าว จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยด้านการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 (the 21 st Century Education Research Institute) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านการศึกษาที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ โดยมีคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาประจำอยู่ จำนวนมาก
ทั้งนี้ การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น กลายเป็นประเด็นขึ้นมา หลังจากที่ปีที่ผ่านมา (2556) มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลายสิบครั้ง
ในวันที่ 11 ม.ค. 2556 นักเรียนมัธยมในเฮ่าเท่อ ของเขตปกครองตนเองมองโกเลีย โดดตึกตายหลังรู้ว่า คะแนนสอบของตนตกลง
วันที่ 2 พ.ค. ปีเดียวกัน เด็กชายวัย 13 ปี ในหนานจิง มณฑลเจียงซู ผูกคอตายในบ้านเพราะทำการบ้านไม่ได้
ต่อมา ในวันที่ 22 มิ.ย. ปี 2556 เด็กหญิงในมณฑลเสฉวน กรีดข้อมือตนเอง และดื่มยาพิษ หลังผลสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยประกาศออกมา และเธอรู้ว่า ตัวเองสอบไม่ติดเพราะคะแนนไม่ถึง
ด้าน นายเฉิง ผิงหยวน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยนานกิง และเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยดังกล่าว ระบุไว้ในหนังสือปกฟ้าว่า เด็กวัยรุ่น ส่วนใหญ่ ฆ่าตัวตายเพราะความกดดัน
จากการวิเคราะห์เด็กประถมและมัธยม 79 ราย ที่ฆ่าตัวตายในปี 2556 นายเฉิง เผยว่า92.7 เปอร์เซ็นต์ของเด็กเหล่านั้น กระทำอัตวินิตบาตรกรรมหลังจากมีปัญหากับครู หรือ กำลังอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างหนักเรื่องเรียน
“การพยายามสอบให้ได้คะแนนสูง ไม่เพียงแต่กดดันเด็ก แต่ยังกดดันครูอีกด้วย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลง โดยเฉพาะเมื่อเด็กทำได้ไม่ดีนักในการสอบ สุดท้ายก็ทำให้เด็กจำนวนหนึ่ง ฆ่าตัวตาย” นายเฉิง ระบุไว้ในหนังสือปกฟ้า
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า การฆ่าตัวตายเหล่านั้น 63 เปอร์เซ็นต์ เกิดขึ้นในช่วงเดือนก.พ. และ เดือน ก.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่มีการจัดสอบรายการสำคัญๆ อาทิ การสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลาย และ การสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ
ในขณะที่ จากการฆ่าตัวตายทั้ง 79 ราย พบว่า เป็นนักเรียนม.ต้น 33 ราย และ นักเรียน ม.ปลาย 28 ราย ทำให้เห็นชัดว่า เด็กๆ มีความอ่อนไหวในช่วงที่เป็นวัยรุ่น
อย่างไรก็ตาม นายฉู เจ้าหุย นักวิจัยอาวุโสด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำสถาบันวิทยาศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ ระบุว่า ความกดดันเรื่องเรียน เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยเท่านั้น ที่ทำให้วัยรุ่นฆ่าตัวตาย
นายฉู เห็นว่าควรให้ความสนใจสภาวการณ์ช่วงที่เด็กเรียน ม.ต้น และม. ปลายด้วย “ช่วงม.ต้น และม.ปลาย เป็นช่วงพิเศษสำหรับเด็ก เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ ช่วงนั้น เด็กๆ มักมีแนวโน้มเป็นขบถ
“ความคิดของพวกเขา ค่อนข้างต่างจากความคิดของผู้ปกครองและครู พวกเขาสับสนหลายอย่าง แต่เลือกที่จะปกปิดความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง และพยายามแก้ไขปัญหาทุกอย่างเอง ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าอันตรายมาก” นายฉู อธิบาย
ภายใต้สภาวการณ์เช่นนั้น นายฉูเห็นว่า จำเป็นต้องมีการสื่อสารระหว่างเด็กที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นกับผู้ปกครองและครูของเขา “ผู้ปกครองและครู ควรพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ จะได้รู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร และเคารพความคิดของเด็กๆ” นายฉูกล่าว “มันทำได้ง่ายมาก แต่ก็เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากเช่นกัน”