เอเอฟพี- ภาพอนุสรณ์ของ หู เย่าปัง อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ระดับสูง และนักปฏิรูปคนสำคัญภายหลังการเสียชีวิตลงได้จุดประกายให้เหล่าผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ถูกเผยออกมาโดยหนังสือพิมพ์รายวันคนรุ่นใหม่จีน (China Youth Daily) เมื่อวันอาทิตย์(6 ม.ค.)ที่ผ่านมา ทำให้ใครๆ ต่างจับตาดูว่าจะเป็นสัญญาณการเปิดกว้างการเมืองในจีน
แต่นักวิเคราะห์การเมืองจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงกลับไม่เชื่อว่าปรากฏการณ์ครั้งนี้จะนำมาซึ่งการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือการปฏิรูปใดๆ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ในปี 1956 หู เย่าปังไม่เพียงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักพัฒนาการเกษตรของเกาะต้าเฉิน เมืองไถโจว ใจกลางมณฑลเจ้อเจียงเท่านั้น แต่เขายังเป็นต้นแบบให้ผู้คนเรียกร้อง “การเปิดกว้างทางการเมือง” ต่อผู้นำยุคใหม่ หู เย่าปังเรียกร้องเพื่อกอบกู้สถานภาพทางการเมืองให้กับผู้นำที่ตกเป็นเหยื่อการปฏิวัติวัฒนธรรม เรียกร้องให้ทิเบตมีอำนาจปกครองตัวเอง จนกระทั่งถูกบังคับให้ออกจากศูนย์กลางอำนาจพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1987 เนื่องจากแสดงท่าทีที่อ่อนลงต่อกลุ่มนักศึกษาซึ่งเริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องการปฏิรูปการเมือง

การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของเขาในวันที่ 15 เม.ย. 1989 ส่งผลให้มีประชาชนมารวมตัวกันเพื่อไว้อาลัยให้แก่เขาเป็นจำนวนมาก กระทั่งก่อรูปเป็นการเดินขบวนประท้วงต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนและผู้นำจีนในกรุงปักกิ่งโดยกลุ่มนักศึกษา ตั้งแต่วันที่ 15-24 เม.ย. 1989 และลุกลามเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในต้นเดือนมิถุนายน 1989 อย่างไรก็ดี เรื่องราวของ หู เย่าปัง ยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนตลอดระยะเวลา 25 ปี ภายหลังการจากไปของเขา

Joseph Cheng นักวิเคราะห์การเมือง มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า “เป็นเรื่องยากที่จะสร้างอนุสรณ์ใดๆให้กับ หู และเท่าที่รู้ก็มีแค่แห่งเดียวเท่านั้น” Cheng กล่าวกับนักข่าว AFP ว่า “ความขัดแย้งยังคงมีอยู่ในประเด็นเกี่ยวกับ หู,” “พวกนักปฏิรูปต่างให้ความสนใจหู เย่าปังในฐานะที่พวกเขาสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์การเรียกร้องการปฏิรูป”
หู ได้รับการยกย่องว่ามีบทบาทสำคัญในการนำพรรคคอมมิวนิสต์ออกจากความวุ่นวายในช่วง “ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม” โดยล้างมลทินให้สมาชิกพรรคกว่าร้อยคนและริเริ่มเปิดกว้างการปฏิรูปด้านต่างๆ
หู เต๋อผิง บุตรชายของเขา กล่าวในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาว่า “การควบคุมอำนาจพรรคที่ปราศจากการตรวจสอบใดๆ เป็นทางเดียวที่จะนำจีนไปสู่ความสมัยใหม่” ข้อคิดเห็นนี้ออกมาในช่วงการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากประธานาธิบดี หูจิ่นเทา มาสู่รองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ฮ่องกงรายงานว่า เมื่อปีที่ผ่านมา หู เต๋อผิงได้หารือเรื่องการปฏิรูปการเมืองกับ สี จิ้นผิง และในเวลานั้น สี จิ้นผิง ให้คำมั่นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า
อย่างไรก็ดี Joseph Cheng ได้ทัดทานว่า การปรากฏตัวของอนุสรณ์สถานไม่ได้บ่งชี้ว่าจะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น มันเป็นเพียงแค่การยอมรับของของผู้นำส่วนหนึ่ง ไม่ได้มากมายขนาดที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด
แต่นักวิเคราะห์การเมืองจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงกลับไม่เชื่อว่าปรากฏการณ์ครั้งนี้จะนำมาซึ่งการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือการปฏิรูปใดๆ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในปี 1956 หู เย่าปังไม่เพียงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักพัฒนาการเกษตรของเกาะต้าเฉิน เมืองไถโจว ใจกลางมณฑลเจ้อเจียงเท่านั้น แต่เขายังเป็นต้นแบบให้ผู้คนเรียกร้อง “การเปิดกว้างทางการเมือง” ต่อผู้นำยุคใหม่ หู เย่าปังเรียกร้องเพื่อกอบกู้สถานภาพทางการเมืองให้กับผู้นำที่ตกเป็นเหยื่อการปฏิวัติวัฒนธรรม เรียกร้องให้ทิเบตมีอำนาจปกครองตัวเอง จนกระทั่งถูกบังคับให้ออกจากศูนย์กลางอำนาจพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1987 เนื่องจากแสดงท่าทีที่อ่อนลงต่อกลุ่มนักศึกษาซึ่งเริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องการปฏิรูปการเมือง
การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของเขาในวันที่ 15 เม.ย. 1989 ส่งผลให้มีประชาชนมารวมตัวกันเพื่อไว้อาลัยให้แก่เขาเป็นจำนวนมาก กระทั่งก่อรูปเป็นการเดินขบวนประท้วงต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนและผู้นำจีนในกรุงปักกิ่งโดยกลุ่มนักศึกษา ตั้งแต่วันที่ 15-24 เม.ย. 1989 และลุกลามเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในต้นเดือนมิถุนายน 1989 อย่างไรก็ดี เรื่องราวของ หู เย่าปัง ยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนตลอดระยะเวลา 25 ปี ภายหลังการจากไปของเขา
Joseph Cheng นักวิเคราะห์การเมือง มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า “เป็นเรื่องยากที่จะสร้างอนุสรณ์ใดๆให้กับ หู และเท่าที่รู้ก็มีแค่แห่งเดียวเท่านั้น” Cheng กล่าวกับนักข่าว AFP ว่า “ความขัดแย้งยังคงมีอยู่ในประเด็นเกี่ยวกับ หู,” “พวกนักปฏิรูปต่างให้ความสนใจหู เย่าปังในฐานะที่พวกเขาสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์การเรียกร้องการปฏิรูป”
หู ได้รับการยกย่องว่ามีบทบาทสำคัญในการนำพรรคคอมมิวนิสต์ออกจากความวุ่นวายในช่วง “ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม” โดยล้างมลทินให้สมาชิกพรรคกว่าร้อยคนและริเริ่มเปิดกว้างการปฏิรูปด้านต่างๆ
หู เต๋อผิง บุตรชายของเขา กล่าวในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาว่า “การควบคุมอำนาจพรรคที่ปราศจากการตรวจสอบใดๆ เป็นทางเดียวที่จะนำจีนไปสู่ความสมัยใหม่” ข้อคิดเห็นนี้ออกมาในช่วงการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากประธานาธิบดี หูจิ่นเทา มาสู่รองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ฮ่องกงรายงานว่า เมื่อปีที่ผ่านมา หู เต๋อผิงได้หารือเรื่องการปฏิรูปการเมืองกับ สี จิ้นผิง และในเวลานั้น สี จิ้นผิง ให้คำมั่นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้า
อย่างไรก็ดี Joseph Cheng ได้ทัดทานว่า การปรากฏตัวของอนุสรณ์สถานไม่ได้บ่งชี้ว่าจะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น มันเป็นเพียงแค่การยอมรับของของผู้นำส่วนหนึ่ง ไม่ได้มากมายขนาดที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด