xs
xsm
sm
md
lg

ชี้ ผู้สูงอายุฮ่องกง นับวันยิ่งจมจ่อมกับความจน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชีวิตคนชราฮ่องกงแร้นแค้น ช่องว่างความยากจนถ่างกว้าง (ภาพเอเอฟพี)
เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - ผลการสำรวจเผย "ขณะที่คนมีอันจะกินบนเกาะฮ่องกงรวยเอารวยเอา คนจนก็ยิ่งดิ่งลงสู่ความยากจนอย่างยากจะถอนตัว.. โดยเฉพาะผู้สูงอายุ"

แม้ว่าตัวเลขจากสถิติจะชี้ชัดว่าจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ใต้เส้นความยากจน จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 17.1 แล้ว จากจำนวนประชากรทั้งหมดในปี 2554 ทว่า ช่องว่างระหว่างคนมั่งมีกับคนด้อยฐานะกลับยิ่งถ่างกว้าง

สภาบริการด้านสังคมศาสตร์แห่งฮ่องกงเผยผลการศึกษา ว่า ฮ่องกงมีจำนวนผู้สูงอายุที่ยากจนเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นอัตราส่วนเกือบหนึ่งในสาม ที่ต้องใช้ชีวิตดิ้นรนต่อสู้เพื่ออยู่รอดท่ามกลางค่าครองชีพที่แพงขึ้น

ฮ่องกงไม่มีเส้นแบ่งความยากจนอย่างเป็นทางการ ดังนั้นสภาฯ จึงทำการกำหนดระดับความยากจนให้อยู่ที่ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยครัวเรือนโดยเฉลี่ย ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 3,500 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อคน และ 13,250 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อครัวเรือนที่มีสมาชิกสี่คน

จากหลักการขีดเส้นแบ่งความยากจนดังกล่าว ทำให้ในปี 2554 ประชากรฮ่องกงประมาณ 1.15 ล้านคนเป็นผู้ยากจน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลงจากปีก่อนหน้าจำนวน 55,000 คน หากคำนวณที่อัตรารายได้เช่นนี้พบว่าคนจนลดลง ทว่าช่องว่างรายรับกลับถ่างกว้างขึ้น รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนที่มีรายได้สูง มากกว่ารายได้เฉลี่ยของครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำถึง 3.5 เท่า เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ซึ่งอยู่ที่ 3.1เท่า

ซีอีโอในสภาฯ คริสติน ฟัง เมิ่งซัง แถลงตัวเลขดังกล่าวฯ ซึ่งอ้างอิงกับตัวเลขสถิติของรัฐบาล เธอเชื่อว่าการกำหนดมาตรการรายได้ต่อชั่วโมงขั้นต่ำในเดือนเม.ย.ปีที่ผ่านมาให้อยู่ที่ 28 ดอลลาร์ฮ่องกงนั้น มีส่วนช่วยอย่างมากในการลดอัตราความยากจน แต่เธอก็กังวลว่า ต่อให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมงเป็น 30 ดอลลาร์ฮ่องกง ก็ยังไม่เพียงพอที่จะบรรเทาปัญหาความยากจน เธอย้ำว่าอัตราค่าจ้างควรจะมีการทบทวนใหม่ทุกปีเพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อด้วย

ฟังเผยว่า สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือปัญหาความยากจนที่ย่ำแย่ในหมู่ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งเพิ่มมากขึ้นถึง 32.7 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2553 นั่นก็หมายความว่า คนชราฮ่องกงที่ต้องเผชิญปัญหาแร้นแค้นทางการเงินมีมากถึง 290,000 คน

ขณะเดียวกัน นางแครี แลม (หลินเจิ้งเย่ว์เอ๋อ) รัฐมนตรีของฮ่องกงก็เผยด้วยว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันจะได้จัดระบบเส้นความยากจนของฮ่องกงเสียใหม่ รัฐบาลชุดก่อนหน้าเคยเผยว่า ฮ่องกงไม่ต้องการเส้นความยากจน "คณะกรรมาธิการจัดการปัญหาความยากจนของฮ่องกงมีหน้าที่จัดระบบเส้นความยากจนเสียใหม่ ให้น่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน" นางแลมกล่าว

มาตรฐานนี้จะสามารถใช้ในการศึกษาความยากจนในอนาคต เพื่อประเมินว่านโยบายของรัฐบาลสามารถคลี่คลายความยากจนได้หรือไม่

นอกจากนั้น นางแลมเห็นว่าปัญหาความยากจนของคนชรานั้นย่ำแย่ลง และได้เรียกร้องให้วุฒิสมาชิกสนับสนุนข้อเสนอเงินสงเคราะห์ผู้สูงวัยเดือนละ 2,200 ดอลลาร์ฮ่องกง เธอเชื่อมั่นว่าข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งเป็นวิธีการบรรเทาปัญหานั้นจะไม่ถูกขยำทิ้ง

นายเหอ เวยหวา ผู้อำนวยการองค์การสังคมเพื่อชุมชนแนะว่า การแก้ปัญหานั้นควรจะจัดการทรัพยากรให้กระจายไปสู่กลุ่มผู้สูงอายุโดยตรง

ประชากรวัย 65 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิ์ร่วมสมัครรับเงินสงเคราะห์เดือนละ 2,200 ดอลลาร์ฮ่องกง จะต้องมีคุณสมบัติมีรายได้ต่อไปไม่เกิน 186,000 ดอลลาร์ฮ่องกง และเงินได้รายเดือนไม่มากไปกว่า 6,600 ดอลลาร์ฮ่องกง

แม้ว่าฟังจะสนับสนุนวิธีการแก้ปัญหาด้วยการอุดหนุนเงินช่วยเหลือ เธอก็เผยว่า เงินเพียง 2,200 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อเดือนไม่พอลดความยากจนของกลุ่มผู้สูงอายุ เธอแนะนำว่า ควรจะเพิ่มเงื่อนไขรายได้ขั้นต่ำต่อปีให้มากกว่า 186,000 แก่ผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน

เงินเพียงน้อยนิดไม่สามารถแก้ปัญหายากจนคนชราได้ อย่างน้อยควรจะให้การอุดหนุนให้เหมาะสมกับเงื่อนไขการใช้จ่ายที่เป็นจริง ซึ่งปัจจุบันอย่างต่ำในฮ่องกงเดือนหนึ่งต้องใช้อย่างน้อย 3,000 ดอลลาร์ฮ่องกง ดังนั้นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายทุกวันนี้ที่ 1,090 ดอลลาร์ฮ่องกงนั้น แทบไม่พอยาไส้ด้วยซ้ำ

ฟังเชื่อว่า ฮ่องกงควรจะปรับชุดการจ่ายบำนาญให้เป็นสากล เธอยังให้การสนับสนุนมาตรการจัดการเส้นความยากจนของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

แมทธิว เฉิง รัฐมนตรีด้านแรงงานและสวัสดิการฮ่องกงเรียกร้องให้คนชราซื่อสัตย์ต่อการเผยรายได้สินทรัพย์ที่ตนมี พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าหากโยกย้ายสินทรัพย์เพื่อให้ตนมีคุณสมบัติเพื่อรับเงินสงเคราะห์แล้วไซร้ ต่อไปหากมีการขยับตัวเลขขั้นต่ำให้สูงขึ้น คนเหล่านี้จะหมดสิทธิ์ทุกกรณี
กำลังโหลดความคิดเห็น