เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์--ชาวทิเบตพลัดถิ่นทั่วโลกกว่า 400 คน รวมตัวกันหารือเกี่ยวกับอนาคตบ้านเกิดของพวกเขา ท่ามกลางกระแส “จุดไฟเผาตัวเอง” ของผู้ประท้วงรัฐบาลจีน
การประชุมชาวทิเบตพลัดถิ่นทั่วโลกซึ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 4 ปี ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 ก.ย.โดยมีชาวทิเบตพลัดถิ่นเข้าร่วมกว่า 400 คน ประชุมรวม 4 วัน จุดประสงค์เพื่อหารือเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้นำของจีน และการหาหนทางยับยั้งกระแสความคิดจุดไฟเผาตัวเองอันน่าสยดสยองของผู้ประท้วง
การประชุมมีขึ้นในชุมชนชาวธิเบตพลัดถิ่นแห่งหนึ่งที่ล้อมรอบด้วยหุบเขาทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย โดยเน้นไปที่ชะตากรรมของชาวทิเบตภายใต้กฎหมายของกรุงปักกิ่ง
การประชุมสามัญในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกนับตั้งแต่คองค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณพลัดถิ่นแห่งทิเบต ได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมือง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของนายลอปซัง ซันเกย์ (Lobsang Sangay) ผู้ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้นำคนใหม่ของชาวทิเบตพลัดถิ่นเมื่อปีที่แล้ว
โดยนาย Penpa Tsering โฆษกรัฐสภาพลัดถิ่นของชาวทิเบตในเมืองธรรมศาลา ได้เริ่มให้ที่ประชุมพิจารณาประนามการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงของรัฐบาลจีน ซึ่งเขาถือว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากการเผาตัวของผู้ประท้วงที่มีมากถึง 51 คน "กฎอัยการศึกยังคงถูกบังคับใช้ในทิเบต" เขากล่าว
“จีนได้เปลี่ยนแปลงให้ดินแดนทิเบตมีสภาพไม่ต่างไปจากค่ายกักกัน คำถามคือผู้พลัดถิ่นอย่างพวกเราต้องทำอย่างไรต่อสถานการณ์อันน่าเศร้าสลดของทิเบตในวันนี้”
อย่างไรก็ตาม องค์ทะไล ลามะที่สละอำนาจทางการเมืองไปแล้วแต่ยังคงเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการเคลื่อนไหวของชาวทิเบตพลัดถิ่น ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย แต่เขาก็จะสวดมนต์ให้กับการประชุมที่คาดว่าเสร็จสิ้นในวันศุกร์ (27ก.ย.) นี้
ชาวทิเบตจำนวนมากตกใจและช็อคไปกับกระแสการเผาตัวเองของผู้ประท้วง ซึ่งขัดแย้งกับคำสอนทางพุทธศาสนาที่ว่า “ทุกชีวิตมีค่า ไม่ควรทำลาย” ขณะเดียวกันก็ผิดหวังในการเจรจากับปักกิ่งที่ไม่มีความคืบหน้าใดๆในปีที่ผ่านมา
การเปลี่ยนแปลงผู้นำของจีนในช่วงปลายปีนี้อาจเป็นกุญแจดอกสำคัญที่นำไปสู่การเจรจาของผู้แทนจากทั้งสองฝ่าย โดยผู้สังเกตการณ์บางคนให้ทัศนะว่านาย สี จิ้นผิง ว่าที่ประธานาธิบดีจีนอาจมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการแก้ไขปัญหาทิเบต
ผู้เชี่ยวชาญธิเบตศึกษาคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าวว่า "หากมีการสนับสนุนเชิงนโยบายจากปักกิ่ง จีนก็อาจเสนอให้มีการเจรจาขึ้นใหม่”
“แต่ผู้นำทิเบตซึ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันอาจถอนตัวจากการเจรจาในอนาคต เนื่องจากขาดความเชื่อมั่น”
ผู้นำนักศึกษากลุ่มปลดปล่อยทิเบต หนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวว่า “ปัญหาระหว่างทิเบตและจีนเลวร้ายลงเรื่อยๆ จากการเผาตัวของผู้ประท้วง ทำให้ชาวทิเบตเกิดความวิตกกังวลว่าจะไม่มีทางออกในการแก้ปัญหา และในการประชุมครั้งนี้เราต้องกำหนดวิธีการเรียกร้อง เพื่อให้แน่ใจว่าเสียงร้องทุกข์ของเราจะไม่สูญเปล่า”
อดีตสมาชิกสภาผู้พลัดถิ่นทิเบตจากบอสตัน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “เราควรดำเนินการโดยปราศจากความรุนแรงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องใช้เครือข่ายที่แข็งแกร่งของเราในการติดต่อสื่อสารกับทั่วโลกเพื่อระดมการสนับสนุนในการกดดันจีน”
ทั้งนี้ หลังจากที่ผู้นำคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้ส่งกองกำลังไปยังทิเบต พร้อมกับประกาศผนวกดินแดนให้อยู่ภายใต้การปกครองของจีน ในฐานะเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต แต่ชาวทิเบตได้ลุกฮือ ต่อต้าน และเกิดสงครามปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างชาวทิเบตและกองทัพปลดแอกประชาชนจีนในปีพ.ศ. 2502 ฝ่ายทิเบตพ่ายแพ้ ทำให้องค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณสูงสุดทิเบต ต้องลี้ภัยไปยังประเทศอินเดีย และจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่ธรรมศาลา
ความขัดแย้งระหว่างจีนและรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน แม้มีการเจรจาระหว่างสองฝ่ายหลายครั้ง แต่ก็ยังล้มเหลว จีนยังคงกล่าวหาองค์ทะไล ลามะ ว่าเป็นผู้ยุแหย่ศึกรุนแรงและลัทธิแบ่งแยกดินแดน
การประชุมชาวทิเบตพลัดถิ่นทั่วโลกซึ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 4 ปี ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 25 ก.ย.โดยมีชาวทิเบตพลัดถิ่นเข้าร่วมกว่า 400 คน ประชุมรวม 4 วัน จุดประสงค์เพื่อหารือเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้นำของจีน และการหาหนทางยับยั้งกระแสความคิดจุดไฟเผาตัวเองอันน่าสยดสยองของผู้ประท้วง
การประชุมมีขึ้นในชุมชนชาวธิเบตพลัดถิ่นแห่งหนึ่งที่ล้อมรอบด้วยหุบเขาทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย โดยเน้นไปที่ชะตากรรมของชาวทิเบตภายใต้กฎหมายของกรุงปักกิ่ง
การประชุมสามัญในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกนับตั้งแต่คองค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณพลัดถิ่นแห่งทิเบต ได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมือง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของนายลอปซัง ซันเกย์ (Lobsang Sangay) ผู้ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้นำคนใหม่ของชาวทิเบตพลัดถิ่นเมื่อปีที่แล้ว
โดยนาย Penpa Tsering โฆษกรัฐสภาพลัดถิ่นของชาวทิเบตในเมืองธรรมศาลา ได้เริ่มให้ที่ประชุมพิจารณาประนามการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงของรัฐบาลจีน ซึ่งเขาถือว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากการเผาตัวของผู้ประท้วงที่มีมากถึง 51 คน "กฎอัยการศึกยังคงถูกบังคับใช้ในทิเบต" เขากล่าว
“จีนได้เปลี่ยนแปลงให้ดินแดนทิเบตมีสภาพไม่ต่างไปจากค่ายกักกัน คำถามคือผู้พลัดถิ่นอย่างพวกเราต้องทำอย่างไรต่อสถานการณ์อันน่าเศร้าสลดของทิเบตในวันนี้”
อย่างไรก็ตาม องค์ทะไล ลามะที่สละอำนาจทางการเมืองไปแล้วแต่ยังคงเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการเคลื่อนไหวของชาวทิเบตพลัดถิ่น ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย แต่เขาก็จะสวดมนต์ให้กับการประชุมที่คาดว่าเสร็จสิ้นในวันศุกร์ (27ก.ย.) นี้
ชาวทิเบตจำนวนมากตกใจและช็อคไปกับกระแสการเผาตัวเองของผู้ประท้วง ซึ่งขัดแย้งกับคำสอนทางพุทธศาสนาที่ว่า “ทุกชีวิตมีค่า ไม่ควรทำลาย” ขณะเดียวกันก็ผิดหวังในการเจรจากับปักกิ่งที่ไม่มีความคืบหน้าใดๆในปีที่ผ่านมา
การเปลี่ยนแปลงผู้นำของจีนในช่วงปลายปีนี้อาจเป็นกุญแจดอกสำคัญที่นำไปสู่การเจรจาของผู้แทนจากทั้งสองฝ่าย โดยผู้สังเกตการณ์บางคนให้ทัศนะว่านาย สี จิ้นผิง ว่าที่ประธานาธิบดีจีนอาจมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการแก้ไขปัญหาทิเบต
ผู้เชี่ยวชาญธิเบตศึกษาคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าวว่า "หากมีการสนับสนุนเชิงนโยบายจากปักกิ่ง จีนก็อาจเสนอให้มีการเจรจาขึ้นใหม่”
“แต่ผู้นำทิเบตซึ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันอาจถอนตัวจากการเจรจาในอนาคต เนื่องจากขาดความเชื่อมั่น”
ผู้นำนักศึกษากลุ่มปลดปล่อยทิเบต หนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวว่า “ปัญหาระหว่างทิเบตและจีนเลวร้ายลงเรื่อยๆ จากการเผาตัวของผู้ประท้วง ทำให้ชาวทิเบตเกิดความวิตกกังวลว่าจะไม่มีทางออกในการแก้ปัญหา และในการประชุมครั้งนี้เราต้องกำหนดวิธีการเรียกร้อง เพื่อให้แน่ใจว่าเสียงร้องทุกข์ของเราจะไม่สูญเปล่า”
อดีตสมาชิกสภาผู้พลัดถิ่นทิเบตจากบอสตัน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “เราควรดำเนินการโดยปราศจากความรุนแรงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องใช้เครือข่ายที่แข็งแกร่งของเราในการติดต่อสื่อสารกับทั่วโลกเพื่อระดมการสนับสนุนในการกดดันจีน”
ทั้งนี้ หลังจากที่ผู้นำคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้ส่งกองกำลังไปยังทิเบต พร้อมกับประกาศผนวกดินแดนให้อยู่ภายใต้การปกครองของจีน ในฐานะเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต แต่ชาวทิเบตได้ลุกฮือ ต่อต้าน และเกิดสงครามปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างชาวทิเบตและกองทัพปลดแอกประชาชนจีนในปีพ.ศ. 2502 ฝ่ายทิเบตพ่ายแพ้ ทำให้องค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณสูงสุดทิเบต ต้องลี้ภัยไปยังประเทศอินเดีย และจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่ธรรมศาลา
ความขัดแย้งระหว่างจีนและรัฐบาลพลัดถิ่นทิเบตยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน แม้มีการเจรจาระหว่างสองฝ่ายหลายครั้ง แต่ก็ยังล้มเหลว จีนยังคงกล่าวหาองค์ทะไล ลามะ ว่าเป็นผู้ยุแหย่ศึกรุนแรงและลัทธิแบ่งแยกดินแดน