เอเอฟพี - สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันในวันที่ 14 ม.ค. 2555 นี้ มีผู้สมัครชิงชัย 3 คน ซึ่งมีอัตชีวประวัติที่แตกต่างกันออกไปได้แก่ หม่า อิงจิ่ว ไช่ อิงเหวิน และซ่ง ฉู่อี้ว์
1) หม่า อิงจิ่ว
หม่า ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนับแต่ปี 2551 และในช่วงที่กำลังจะหมดวาระในต้นปี 2555 นี้ หม่าก็ต่อสู้หวังชิงตำแหน่งอีกเป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้าย หม่าเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งปกครองไต้หวันมาเป็นเวลายาวนานตามประวัติศาสตร์หลังสงครามของไต้หวัน
หม่าถือกำเนิดบนเกาะฮ่องกงเมื่อปี 2493 หลังจากนั้นก็ย้ายมาอยู่ไต้หวันตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก หวันหม่าประสบความสำเร็จในอาชีพนักการเมือง โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและนายกเทศมนตรีกรุงไทเป
หม่า เคยเป็นล่ามแปลภาษามาก่อน ดังนั้นจึงใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และได้รับดุษฎีบัณฑิตจากวิทยาลัยกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
หลังจากที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงไทเป เขาต้องคดีติดสินบนแต่ก็สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์รอดมาได้
หม่าเป็นลูกจีนอพยพจากแผ่นดินใหญ่ เขาจึงมีแนวทัศนะที่จะสานสัมพันธ์ดีกับรัฐบาลปักกิ่งในช่วง 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และความสำเร็จแรกที่เป็นรูปเป็นร่างก็คือการลงนามในข้อตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีนในปี 2553
หม่าใช้บุคลิกผู้ดีในการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน บางครั้งทำให้ดูห่างเหิน และจุดตกต่ำสุดในช่วงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคือช่วงหลังภัยธรรมชาติพายุไต้ฝุ่นกระแทกเกาะไต้หวันเมื่อปี 2552 เขาถูกวิจารณ์ว่า ไม่เห็นใจเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย
หม่าแต่งงานและมีบุตรสาวสองคน
2) ไช่ อิงเหวิน
ไช่ อิงเหวิน เกิดเมื่อปี 2499 ผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวัน และหากเธอได้ชัยชนะก็จะเป็นผู้นำหญิงคนแรก เธอดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านหรือพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี) ซึ่งมีแนวนโยบายรักษาระยะห่างความสัมพันธ์กับจีน และในประวัติศาสตร์ก็ไม่ค่อยญาติดีกับปักกิ่งเท่าใดนัก
ไช่ถือกำเนิดในครอบครัวมีอันจะกินแถบเมืองผิงตงทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน หลังจากนั้นเข้าเรียนในโรงเรียนที่ดีสุดของกรุงไทเป และจบปริญญาเอกจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน หรือ แอลเอสอีอันมีชื่อเสียง
ไช่มีประสบการณ์ทางการเมืองไม่น้อยหน้าหม่า ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงของรัฐบาล เป็นตัวแทนดูแลนโยบายเกี่ยวกับจีนแผ่นดินใหญ่ และยังได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาหลายปี
หลังจากขึ้นนั่งแท่นหัวหน้าพรรคดีพีพีในปี 2552 ไช่ก็พยายามฟื้นฟูภาพลักษณ์ของพรรคที่ตกต่ำในช่วง 8 ปีที่ผู้นำเฉิน สุยเปี่ยนในขณะนั้นก่อเรื่องอื้อฉาวจนต้องคดีจำคุกข้อหาคอร์รัปชั่นนานหลายปี
ไช่มักปรารฏตัวในมาดนักวิชาการ และตัวเธอเองมักจะหันเหความคิดไปจากอุมดมกาณณ์แบบเก่าของพรรคฯ ไช่มักจะไม่สนใจกับคำกล่าวของนักการเมืองพรรคดีพีพีของเธอที่ต่อต้านจีนแบบสุดขั้ว
เธอไปไกลเกินกว่าแค่ประเด็น เอา หรือไม่เอา “จีน” โดยให้ความสำคัญกับประเด็นเศรษฐกิจภายในประเทศมากกว่า เช่น การขยายตัวของช่องว่างทางรายได้ ซึ่งกลายเป็นปัญหาหลักที่สังคมกังวลว่าจะทำให้ประชาชนไต้หวันไม่มีความเสมอภาคกันในท้ายที่สุด
ไช่ยังไม่ได้สมรส
3) ซ่ง ฉู่อี้ว์ หรือ เจมส์ ซ่ง
ซ่ง วัย 69 ปี เป็นเจ้าหน้าที่และนักการเมืองอาวุโส ลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในครั้งนี้แบบไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองฝ่ายใด นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากล้มเหลวในครั้งแรกเมื่อปี 2543
โอกาสได้รับชัยชนะของซ่งนั้นมีน้อยมาก แต่ในฐานะที่เป็นอดีตผู้ทรงอิทธิพลในพรรคก๊กมินตั๋งของหม่า อิงจิ่ว ซ่งก็ดูเหมือนว่าจะมีฐานเสียงที่จะเลือกเขาจำนวนไม่น้อยทีเดียว
ซ่งถือกำเนิดที่จีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาเดินทางมาไต้หวันพร้อมกับพ่อแม่ในปี 2492 ซ่งสำเร็จการศึกษาทั้งในไต้หวันและต่างประเทศ จบปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กรุงวอชิงตัน
ซ่งมีประสบการบริหารประเทศเป็นเวลานาน และนี่เป็นจุดขายในการรณรงค์หาเสียงของเขา ประวัติการทำงานของเขาดำรงตำแหน่งระดับสูงเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคก๊กมินตั๋ง และผู้ว่าการเขตในไต้หวัน แต่ขณะนี้เขาไม่ได้มีตำแหน่งแต่อย่างใด
ซ่งสมรสแล้ว มีบุตรชาย 1 คน และบุตรสาวอีก 1 คน
1) หม่า อิงจิ่ว
หม่า ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนับแต่ปี 2551 และในช่วงที่กำลังจะหมดวาระในต้นปี 2555 นี้ หม่าก็ต่อสู้หวังชิงตำแหน่งอีกเป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้าย หม่าเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งปกครองไต้หวันมาเป็นเวลายาวนานตามประวัติศาสตร์หลังสงครามของไต้หวัน
หม่าถือกำเนิดบนเกาะฮ่องกงเมื่อปี 2493 หลังจากนั้นก็ย้ายมาอยู่ไต้หวันตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก หวันหม่าประสบความสำเร็จในอาชีพนักการเมือง โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและนายกเทศมนตรีกรุงไทเป
หม่า เคยเป็นล่ามแปลภาษามาก่อน ดังนั้นจึงใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และได้รับดุษฎีบัณฑิตจากวิทยาลัยกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
หลังจากที่ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงไทเป เขาต้องคดีติดสินบนแต่ก็สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์รอดมาได้
หม่าเป็นลูกจีนอพยพจากแผ่นดินใหญ่ เขาจึงมีแนวทัศนะที่จะสานสัมพันธ์ดีกับรัฐบาลปักกิ่งในช่วง 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และความสำเร็จแรกที่เป็นรูปเป็นร่างก็คือการลงนามในข้อตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีนในปี 2553
หม่าใช้บุคลิกผู้ดีในการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน บางครั้งทำให้ดูห่างเหิน และจุดตกต่ำสุดในช่วงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคือช่วงหลังภัยธรรมชาติพายุไต้ฝุ่นกระแทกเกาะไต้หวันเมื่อปี 2552 เขาถูกวิจารณ์ว่า ไม่เห็นใจเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย
หม่าแต่งงานและมีบุตรสาวสองคน
2) ไช่ อิงเหวิน
ไช่ อิงเหวิน เกิดเมื่อปี 2499 ผู้สมัครลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวัน และหากเธอได้ชัยชนะก็จะเป็นผู้นำหญิงคนแรก เธอดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านหรือพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี) ซึ่งมีแนวนโยบายรักษาระยะห่างความสัมพันธ์กับจีน และในประวัติศาสตร์ก็ไม่ค่อยญาติดีกับปักกิ่งเท่าใดนัก
ไช่ถือกำเนิดในครอบครัวมีอันจะกินแถบเมืองผิงตงทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน หลังจากนั้นเข้าเรียนในโรงเรียนที่ดีสุดของกรุงไทเป และจบปริญญาเอกจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน หรือ แอลเอสอีอันมีชื่อเสียง
ไช่มีประสบการณ์ทางการเมืองไม่น้อยหน้าหม่า ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงของรัฐบาล เป็นตัวแทนดูแลนโยบายเกี่ยวกับจีนแผ่นดินใหญ่ และยังได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาหลายปี
หลังจากขึ้นนั่งแท่นหัวหน้าพรรคดีพีพีในปี 2552 ไช่ก็พยายามฟื้นฟูภาพลักษณ์ของพรรคที่ตกต่ำในช่วง 8 ปีที่ผู้นำเฉิน สุยเปี่ยนในขณะนั้นก่อเรื่องอื้อฉาวจนต้องคดีจำคุกข้อหาคอร์รัปชั่นนานหลายปี
ไช่มักปรารฏตัวในมาดนักวิชาการ และตัวเธอเองมักจะหันเหความคิดไปจากอุมดมกาณณ์แบบเก่าของพรรคฯ ไช่มักจะไม่สนใจกับคำกล่าวของนักการเมืองพรรคดีพีพีของเธอที่ต่อต้านจีนแบบสุดขั้ว
เธอไปไกลเกินกว่าแค่ประเด็น เอา หรือไม่เอา “จีน” โดยให้ความสำคัญกับประเด็นเศรษฐกิจภายในประเทศมากกว่า เช่น การขยายตัวของช่องว่างทางรายได้ ซึ่งกลายเป็นปัญหาหลักที่สังคมกังวลว่าจะทำให้ประชาชนไต้หวันไม่มีความเสมอภาคกันในท้ายที่สุด
ไช่ยังไม่ได้สมรส
3) ซ่ง ฉู่อี้ว์ หรือ เจมส์ ซ่ง
ซ่ง วัย 69 ปี เป็นเจ้าหน้าที่และนักการเมืองอาวุโส ลงแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในครั้งนี้แบบไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองฝ่ายใด นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากล้มเหลวในครั้งแรกเมื่อปี 2543
โอกาสได้รับชัยชนะของซ่งนั้นมีน้อยมาก แต่ในฐานะที่เป็นอดีตผู้ทรงอิทธิพลในพรรคก๊กมินตั๋งของหม่า อิงจิ่ว ซ่งก็ดูเหมือนว่าจะมีฐานเสียงที่จะเลือกเขาจำนวนไม่น้อยทีเดียว
ซ่งถือกำเนิดที่จีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาเดินทางมาไต้หวันพร้อมกับพ่อแม่ในปี 2492 ซ่งสำเร็จการศึกษาทั้งในไต้หวันและต่างประเทศ จบปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กรุงวอชิงตัน
ซ่งมีประสบการบริหารประเทศเป็นเวลานาน และนี่เป็นจุดขายในการรณรงค์หาเสียงของเขา ประวัติการทำงานของเขาดำรงตำแหน่งระดับสูงเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคก๊กมินตั๋ง และผู้ว่าการเขตในไต้หวัน แต่ขณะนี้เขาไม่ได้มีตำแหน่งแต่อย่างใด
ซ่งสมรสแล้ว มีบุตรชาย 1 คน และบุตรสาวอีก 1 คน