xs
xsm
sm
md
lg

นักธุรกิจไต้หวันในจีนแห่กลับบ้าน เลือกตั้งประมุขเกาะคนใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว (กลาง)  กำลังทักทายผู้สนับสนุนระหว่างหาเสียงในเมืองนิวไถเป่ย วันที่ 12 ม.ค.2555 (ภาพเอเอฟพี)
เอเจนซี-กลุ่มนักธุรกิจไต้หวัน กว่า 180,000 คน ในแผ่นดินใหญ่ เตรียมเดินทางกลับบ้านที่ไต้หวัน เพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่ในวันเสาร์ที่ 14 ม.ค.นี้ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งหัวเลี้ยวหัวต่อของอนาคตไต้หวัน

ขณะนี้ คะแนนนิยมของสองผู้สมัครรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน ได้แก่ ประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว วัย 61 ปี จากพรรคกั๋วมินตั่ง (ก๊กหมินตั๋ง) และนางสาว ไช่ อิงเหวิน วัย 55 ปี จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า หรือดีพีพี สูสีชนิดหายใจรดต้นคอกัน ในการสำรวจคะแนนนิยมฯล่าสุด ปรากฏผล หม่า มีคะแนนนำ ไช่ อิงเหวิน เพียง 3 เปอร์เซนต์

กลุ่มที่ลุ้นระทึกมากที่สุด ก็คือ กลุ่มนักธุรกิจ หลายคนเชื่อว่าตอนนี้คะแนนทุกๆคะแนนจำเป็นมากสำหรับหม่า อิงจิ่ว ในการอยู่ต่อไปในทำเนียบประธานาธิบดี

ทั้งนี้ หม่า อิงจิ่ว แห่งพรรคก๊กมินตั๋ง ได้พลิกความพันธ์กับจีนที่ตึงเครียดมาตลอด 8 ปีที่เฉิน สุยเปี่ยนแห่งดีพีพีนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดี ซึ่งมีนโยบายสนับสนุนอิสรภาพดินแดน หลังจากที่หม่านั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีในปี 2008 (2551) ก็ได้หันเหมากระชับสัมพันธ์มิตรไมตรีกับจีนครั้งประวัติการณ์ จนสามารถบุกเบิกทางสู่การปรับความสัมพันธ์ปกติด้านเศรษฐกิจกับจีน

โฆษกสมาคมนักธุรกิจไต้หวันในแผ่นดินใหญ่ เย่ว์ ฮุยเต๋อ เผยว่ากลุ่มสมาคมธุรกิจไต้หวันในจีน กำลังระดมสมาชิกกลับไปเลือกตั้งประธานาธิบดีในไต้หวันซึ่งจะเปิดหีบหย่อนบัตรคะแนนเสียงในวันเสาร์(14 ม.ค.)นี้ ซึ่งคาดกันว่าจะมีนักธุรกิจไต้หวันในจีน 180,000 ถึง 200,000 คน กลับบเนไปเลือกตั้งฯ โดยขณะนี้นักธุรกิจไต้หวัน 3,000 คน ได้จองตั๋วเครื่องบินบินกลับบ้านกันแล้ว นับเป็นจำนวนมากกว่า 6 เท่าของจำนวนนักธุรกิจใต้หวันในจีนที่กลับบ้านเลือกตั้งผู้นำเทศบาลนครเมื่อปี 2553

“คู่ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวัน มีคะแนนสูสีกันมาก จนทำให้กลุ่มนักธุรกิจที่ตอนแรกไม่คิดจะกลับไปลงคะแนนเสียง ตัดสินใจกลับไปใช้สิทธิกัน” เย่ว์กล่าว พร้อมกับปฏิเสธข่าวลือ ที่ว่าแผ่นดินใหญ่สนับสนุนนักธุรกิจกลับไปเลือกตั้งครั้งนี้ เพื่อช่วยหนุนโอกาสแก่หม่า อิงจิ่ว

อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจในไต้หวันที่มีฐานในจีน กล่าวว่า แม้หม่าดำเนินนโยบายพัวพันกับจีนที่สร้างผลประโยชน์เศรษฐกิจ แต่กลุ่มนักธุรกิจก็ไม่ได้สนับสนุนหม่าไปเสียทั้งหมด “ยังมีนักธุรกิจ 30-40 เปอร์เซนต์ ที่สนับสนุน ดีพีพี” นักธุรกิจไต้หวันในนครฉงชิ่ง กล่าว

ในศึกรณรงค์หาเสียงฯ หม่า อิงจิ่ว ได้ชูหลักการ “ฉันทามติ 1992” ในการกระชับสัมพันธ์กับจีน ทั้งนี้ จีนและไต้หวัน ได้บรรลุ ฉันทามนติ 1992 ที่ฮ่องกงในปี 1992 (2535) ที่ระบุว่าทั้งสองฝ่ายยอมรับว่าในโลกนี้ “มีเพียงจีนเดียวเท่านั้น” ทว่า จีนและไต้หวันต่างก็ได้มีการตีความ “จีนเดียว” ในแบบของตน

หม่าได้ปฏิเสธกระแสโจมตีที่ว่า การกระชับสัมพันธ์กับจีนของเขานั้น ทำให้ไต้หวันพึ่งพิงจีนมากไป

ส่วนไช่ ไม่ยอมรับฉันทามติ “จีนเดียว” นี้ แม้ว่าผู้นำในปักกิ่งจะเตือนมาว่า ฉันทามติจีนเดียว เป็นเงื่อนไขจำเป็นในการแลกเปลี่ยน สร้างความร่วมมือ และพูดคุยระหว่างจีนสองฟากฝั่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น