รอยเตอร์ – ปักกิ่งหอบศิลปวัตถุล้ำค่าชิ้นงาม ๆ อาทิ เกี้ยววิวาห์ และเครื่องดนตรี บินมาจัดแสดงนิทรรศการถึงถิ่นไทเป หวังสั่งสอนให้ชาวมังกรน้อยได้ประจักษ์ถึงรากเหง้าความเป็นคนจีน
งานนิทรรศการมรดกวัฒนธรรมอันจับต้องมิได้แห่งรากเหง้าและจิตวิญญาณของจีน (Root and Spirit Chinese Intangible Cultural Heritage Exhibition) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 พ.ย.-7 ธ.ค. และไม่เสียค่าบัตรเข้าชม โดยสถาบันศิลปะแห่งชาติของจีนนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 230 ชิ้น ที่หาชมยาก มาจัดแสดง เช่น เครื่องแต่งตัวของนักแสดงงิ้วในกรุงปักกิ่ง, แบบจำลองหมู่บ้านริมแม่น้ำ และพระราชวังไม้ของฮ่องเต้ ตลอดจนเครื่องทอผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งยังใช้งานได้ดี โดยมีช่างฝีมือ 22 คน สาธิตการทอผ้าให้ดูกันจะ ๆ
วัตถุบางชิ้นนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติแห่งชาติจีน และมีอยู่สองสามชิ้น ที่สหประชาชาติให้อนุรักษ์ไว้ ขณะที่จำนวนหนึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 2,000 ปี
“ผู้คนทั้งสองฝั่งมาจากต้นกำเนิดเดียวกัน” ศาสตราจารย์เทียน ฉิง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมงานนิทรรศการกล่าว พร้อมกับแนะนำว่า คนหนุ่มสาวไต้หวันควรศึกษาและอนุรักษ์สมบัติมีค่าเหล่านี้
“ในแง่หนึ่ง งานนิทรรศการต้องการบอกให้ประชาชาชนทราบว่า เราได้ความงดงามนี้มาจากอดีต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง” เขาระบุ
“บนหนทางไปสู่ความเจริญทันสมัย อย่าให้มันสูญหายไป”
ศาสตราจารย์เทียนกล่าวว่า จีนแผ่นดินใหญ่สูญเสียศิลปวัตถุชิ้นเอกไปจำนวนหนึ่งในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม (1966-1976) ซึ่งสิ่งของใด ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวยจะถูกกำจัดไปหมด โดยในส่วนของไต้หวันเองควรระวังอิทธิพลวัฒนธรรมจากภายนอก เช่นจากอเมริกา
แม้นิทรรศการครั้งนี้มิได้ประชาสัมพันธ์เท่าใดนัก แต่ปรากฏว่า มีผู้เข้าชมถึงราววันละ 600 คน
“ผมมาจากวัฒนธรรมจีน ซึ่งผมเห็นด้วย แต่คนที่ไม่เห็นเหมือนผม อาจเปิดใจกว้างยอมรับได้ที่นี่” อดีตครูสอนหนังสือ วัย 50 ปี ซึ่งอาศัยในกรุงไทเปกล่าวอย่างปิติ
งานนิทรรศการมรดกวัฒนธรรมอันจับต้องมิได้แห่งรากเหง้าและจิตวิญญาณของจีน (Root and Spirit Chinese Intangible Cultural Heritage Exhibition) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 พ.ย.-7 ธ.ค. และไม่เสียค่าบัตรเข้าชม โดยสถาบันศิลปะแห่งชาติของจีนนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ 230 ชิ้น ที่หาชมยาก มาจัดแสดง เช่น เครื่องแต่งตัวของนักแสดงงิ้วในกรุงปักกิ่ง, แบบจำลองหมู่บ้านริมแม่น้ำ และพระราชวังไม้ของฮ่องเต้ ตลอดจนเครื่องทอผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งยังใช้งานได้ดี โดยมีช่างฝีมือ 22 คน สาธิตการทอผ้าให้ดูกันจะ ๆ
วัตถุบางชิ้นนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติแห่งชาติจีน และมีอยู่สองสามชิ้น ที่สหประชาชาติให้อนุรักษ์ไว้ ขณะที่จำนวนหนึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 2,000 ปี
“ผู้คนทั้งสองฝั่งมาจากต้นกำเนิดเดียวกัน” ศาสตราจารย์เทียน ฉิง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมงานนิทรรศการกล่าว พร้อมกับแนะนำว่า คนหนุ่มสาวไต้หวันควรศึกษาและอนุรักษ์สมบัติมีค่าเหล่านี้
“ในแง่หนึ่ง งานนิทรรศการต้องการบอกให้ประชาชาชนทราบว่า เราได้ความงดงามนี้มาจากอดีต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง” เขาระบุ
“บนหนทางไปสู่ความเจริญทันสมัย อย่าให้มันสูญหายไป”
ศาสตราจารย์เทียนกล่าวว่า จีนแผ่นดินใหญ่สูญเสียศิลปวัตถุชิ้นเอกไปจำนวนหนึ่งในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม (1966-1976) ซึ่งสิ่งของใด ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวยจะถูกกำจัดไปหมด โดยในส่วนของไต้หวันเองควรระวังอิทธิพลวัฒนธรรมจากภายนอก เช่นจากอเมริกา
แม้นิทรรศการครั้งนี้มิได้ประชาสัมพันธ์เท่าใดนัก แต่ปรากฏว่า มีผู้เข้าชมถึงราววันละ 600 คน
“ผมมาจากวัฒนธรรมจีน ซึ่งผมเห็นด้วย แต่คนที่ไม่เห็นเหมือนผม อาจเปิดใจกว้างยอมรับได้ที่นี่” อดีตครูสอนหนังสือ วัย 50 ปี ซึ่งอาศัยในกรุงไทเปกล่าวอย่างปิติ