เมื่อพูดถึงเรื่อง “การปฏิรูปการศึกษา” คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียน การเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน และการพัฒนาครู แต่ที่จริงแล้วคำว่า “การศึกษา” มีความหมายกว้างกว่านั้นมาก เพราะการศึกษาคือ การพัฒนาคุณภาพของคนอย่างรอบด้าน ความรู้เป็นเพียงส่วนเดียวเท่านั้น
การศึกษารวมถึงการมีความรู้ การมีศาสนา และการเป็น “ผู้ดี” ดังนั้นเราจึงควรสนใจกระบวนการอบรมบ่มนิสัยเด็กๆ ให้เป็นผู้มีศาสนา และเป็นผู้ดีควบคู่ไปด้วย จึงจะครบถ้วนสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของศาสนาว่า
“ศาสนาย่อมรักษาผู้ที่ครองธรรมนั้น ศาสนาของเราสอนให้เรามีเมตตาจิต เห็นสุขทุกข์ของผู้อื่น สิ่งไรเมื่อทำเข้าแล้วคนอื่นจะได้รับความทุกข์ หรือเสียหายเพราะเรา สิ่งนั้นศาสนาห้ามมิให้เราทำ ฟังเห็นได้ชัดในสิกขาบทต่างๆ ซึ่งกำหนดให้เราสำรวมระวังกาย วาจา ใจ เพื่อประโยชน์นั้น ศาสนาย่อมเป็นประโยชน์มากในการที่สอนให้เรานึกถึงผู้อื่น แผ่เมตตาจิตแก่สัตว์ทั่วไปดังนี้”
โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนไป-กลับ จะมีเวลาในการอบรมเด็กน้อยกว่าโรงเรียนประจำ นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่มุ่งเน้นการแข่งขัน ทำให้เด็กไม่ได้คำนึงถึงความร่วมมือกับผู้อื่น และบรรยากาศของห้องเรียนก็ไม่ได้ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะทุกคนมุ่งแต่จะเรียนอย่างเดียว ในโรงเรียนทั่วไปโอกาสในการอบรมเด็กมักจะเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนเข้าเรียน ต่างจากโรงเรียนประจำที่เด็กต้องใช้ชีวิตร่วมกัน และเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
สำหรับความเป็นผู้ดีนั้น มักมีคนเข้าใจผิดว่าเป็นการแบ่งแยกชนชั้น หรือแยกฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคม ที่จริงแล้วผู้ดีก็คือ คนดีนั่นเอง แต่มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นคือ เป็นเรื่องของสำนึกภายใน เป็นความหยิ่งในเกียรติของตนเองที่จะดำเนินชีวิตไว้ในความดี ตามครรลองคลองธรรม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความหมายของคำว่า ผู้ดี ไว้ว่า
“คำว่า ผู้ดี อย่าเข้าใจผิด ผู้ที่มีกำเนิดสูงประพฤติตัวไม่ดี ก็ไม่ใช่ผู้ดี ผู้ที่ประพฤติดีจึงจะเป็นผู้ดี เพราะฉะนั้นชาติกำเนิดไม่เป็นของสำคัญเท่าความประพฤติตั้งอยู่ในศีลในธรรม รักษาความสัตย์สุจริตเสมอ
...เราทั้งหลายตั้งใจจะกระทำตนเป็นผู้ดี หรือแยกไปอีกแปลว่า เราทั้งหลายตั้งใจอยู่เสมอที่จะมีความจงรักภักดีต่อผู้ปกครองของเรา เราทั้งหลายตั้งใจเสมอที่จะอยู่ในกฎหมายของบ้านเมือง และประพฤติตัวเป็นพลเมืองดีด้วยประการทั้งปวง อีกประการหนึ่ง เรามีศาสนาที่นับถือ
เราจะถือมั่นตามศาสนาของเรา ของ 3 สิ่งนี้เราที่เป็นผู้ดีนับถือยิ่งกว่าเลือดเนื้อของเรา นับถือยิ่งกว่าชีวิต”
สำหรับนักปราชญ์อย่างอริสโตเติล ได้แยกความแตกต่างระหว่างพลเมืองดีกับคนดีออกจากกัน พลเมืองดีคือผู้ซึ่งทำตามกฎเกณฑ์กติกาของรัฐ ปัญหามีอยู่ว่า หากรัฐเป็นรัฐเผด็จการหรือฟาสซิสต์ หรือนาซีที่ต้องการความจงรักภักดี และให้พลเมืองรับใช้รัฐ ผู้เป็นพลเมืองที่ดีในความหมายนี้ ก็อาจไม่ใช่คนดีก็ได้ อย่างเช่นในสมัยนาซี หรือในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของรัฐได้สร้างความทุกข์ยากให้กับคนจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงต้องเน้นย้ำด้วยว่า การเป็นพลเมืองดีนั้น จะต้องดูที่ลักษณะของรัฐด้วยว่าเป็นอย่างไร
ในปัจจุบันคำว่า “ไพร่” และ “ผู้ดี” ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความขัดแย้งทางการเมือง โดยเน้นความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรม และในโรงเรียนก็ไม่มีการสอนหรือการอธิบายความหมายที่แท้จริง
พระยาปรีชานุสาส์น (บิดาคุณอานันท์ ปันยารชุน) อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ได้เน้นความหมายของคำว่า “ผู้ดี” ว่า
ผู้ดีเป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ซื่อสัตย์ กตัญญู
ผู้ดีไม่จำเป็นต้องเป็นลูกหลานผู้มีบุญวาสนา หรือผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือผู้ร่ำรวย บุคคลดังกล่าวแล้วนี้เป็น “ผู้เลว” ถมเถไป
คำว่า “ผู้ดี” เป็นคำกว้างแทบไม่ต้องอธิบาย ท่านเข้าใจความหมายเป็นอย่างดี ท่านรู้ดีว่าผู้ที่มหาชนนับหน้าถือตานั้น ผู้ไหนเป็นผู้ดี ผู้ดีเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์สุจริตต่อสังคม และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ผู้ดีย่อมปฏิบัติทุกสิ่งที่ปวงชนว่าเป็นสิ่งดีงาม ชาติใดมีผู้ดีอย่างนี้มาก ชาตินั้นก็เจริญ ชาติใดมีผู้ดีอย่างนี้น้อย ชาตินั้นก็เสื่อมโทรม ผู้ดีคนใดหากได้มาซึ่งสิทธิอะไรเป็นพิเศษ ผู้ดีคนนั้นก็สำนึกทันทีว่า เขาจะต้องมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษตามมาด้วย”
จะเห็นได้ว่า “ผู้ดี” ไม่ได้หมายถึงแต่ “คนดี” เท่านั้น หากยังบ่งบอกถึงคุณธรรมหลักที่พึงมีอีกด้วย โดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริต
คนสมัยนี้มักเห็นว่า คนเก่งหากโกงก็ไม่เป็นไร ดังนั้นผู้นำที่ดีในความคิดของคนพวกนี้ ก็คือ “คนเก่ง” แต่ไม่ใช่ผู้ดี ในความหมายที่ว่าจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
เด็กๆ ควรได้รับการสอนไม่เฉพาะแต่เพียงความรู้ในตำรา แต่ให้เขารู้ซึ้งถึงความหมายของคำว่า “ผู้ดี” ด้วยจะได้ไม่เลือกผู้นำที่เป็นคนเก่งแต่โกง
การศึกษารวมถึงการมีความรู้ การมีศาสนา และการเป็น “ผู้ดี” ดังนั้นเราจึงควรสนใจกระบวนการอบรมบ่มนิสัยเด็กๆ ให้เป็นผู้มีศาสนา และเป็นผู้ดีควบคู่ไปด้วย จึงจะครบถ้วนสมบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของศาสนาว่า
“ศาสนาย่อมรักษาผู้ที่ครองธรรมนั้น ศาสนาของเราสอนให้เรามีเมตตาจิต เห็นสุขทุกข์ของผู้อื่น สิ่งไรเมื่อทำเข้าแล้วคนอื่นจะได้รับความทุกข์ หรือเสียหายเพราะเรา สิ่งนั้นศาสนาห้ามมิให้เราทำ ฟังเห็นได้ชัดในสิกขาบทต่างๆ ซึ่งกำหนดให้เราสำรวมระวังกาย วาจา ใจ เพื่อประโยชน์นั้น ศาสนาย่อมเป็นประโยชน์มากในการที่สอนให้เรานึกถึงผู้อื่น แผ่เมตตาจิตแก่สัตว์ทั่วไปดังนี้”
โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนไป-กลับ จะมีเวลาในการอบรมเด็กน้อยกว่าโรงเรียนประจำ นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่มุ่งเน้นการแข่งขัน ทำให้เด็กไม่ได้คำนึงถึงความร่วมมือกับผู้อื่น และบรรยากาศของห้องเรียนก็ไม่ได้ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะทุกคนมุ่งแต่จะเรียนอย่างเดียว ในโรงเรียนทั่วไปโอกาสในการอบรมเด็กมักจะเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนเข้าเรียน ต่างจากโรงเรียนประจำที่เด็กต้องใช้ชีวิตร่วมกัน และเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
สำหรับความเป็นผู้ดีนั้น มักมีคนเข้าใจผิดว่าเป็นการแบ่งแยกชนชั้น หรือแยกฐานะทางเศรษฐกิจ-สังคม ที่จริงแล้วผู้ดีก็คือ คนดีนั่นเอง แต่มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นคือ เป็นเรื่องของสำนึกภายใน เป็นความหยิ่งในเกียรติของตนเองที่จะดำเนินชีวิตไว้ในความดี ตามครรลองคลองธรรม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความหมายของคำว่า ผู้ดี ไว้ว่า
“คำว่า ผู้ดี อย่าเข้าใจผิด ผู้ที่มีกำเนิดสูงประพฤติตัวไม่ดี ก็ไม่ใช่ผู้ดี ผู้ที่ประพฤติดีจึงจะเป็นผู้ดี เพราะฉะนั้นชาติกำเนิดไม่เป็นของสำคัญเท่าความประพฤติตั้งอยู่ในศีลในธรรม รักษาความสัตย์สุจริตเสมอ
...เราทั้งหลายตั้งใจจะกระทำตนเป็นผู้ดี หรือแยกไปอีกแปลว่า เราทั้งหลายตั้งใจอยู่เสมอที่จะมีความจงรักภักดีต่อผู้ปกครองของเรา เราทั้งหลายตั้งใจเสมอที่จะอยู่ในกฎหมายของบ้านเมือง และประพฤติตัวเป็นพลเมืองดีด้วยประการทั้งปวง อีกประการหนึ่ง เรามีศาสนาที่นับถือ
เราจะถือมั่นตามศาสนาของเรา ของ 3 สิ่งนี้เราที่เป็นผู้ดีนับถือยิ่งกว่าเลือดเนื้อของเรา นับถือยิ่งกว่าชีวิต”
สำหรับนักปราชญ์อย่างอริสโตเติล ได้แยกความแตกต่างระหว่างพลเมืองดีกับคนดีออกจากกัน พลเมืองดีคือผู้ซึ่งทำตามกฎเกณฑ์กติกาของรัฐ ปัญหามีอยู่ว่า หากรัฐเป็นรัฐเผด็จการหรือฟาสซิสต์ หรือนาซีที่ต้องการความจงรักภักดี และให้พลเมืองรับใช้รัฐ ผู้เป็นพลเมืองที่ดีในความหมายนี้ ก็อาจไม่ใช่คนดีก็ได้ อย่างเช่นในสมัยนาซี หรือในสมัยปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของรัฐได้สร้างความทุกข์ยากให้กับคนจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงต้องเน้นย้ำด้วยว่า การเป็นพลเมืองดีนั้น จะต้องดูที่ลักษณะของรัฐด้วยว่าเป็นอย่างไร
ในปัจจุบันคำว่า “ไพร่” และ “ผู้ดี” ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความขัดแย้งทางการเมือง โดยเน้นความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรม และในโรงเรียนก็ไม่มีการสอนหรือการอธิบายความหมายที่แท้จริง
พระยาปรีชานุสาส์น (บิดาคุณอานันท์ ปันยารชุน) อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ได้เน้นความหมายของคำว่า “ผู้ดี” ว่า
ผู้ดีเป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ซื่อสัตย์ กตัญญู
ผู้ดีไม่จำเป็นต้องเป็นลูกหลานผู้มีบุญวาสนา หรือผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือผู้ร่ำรวย บุคคลดังกล่าวแล้วนี้เป็น “ผู้เลว” ถมเถไป
คำว่า “ผู้ดี” เป็นคำกว้างแทบไม่ต้องอธิบาย ท่านเข้าใจความหมายเป็นอย่างดี ท่านรู้ดีว่าผู้ที่มหาชนนับหน้าถือตานั้น ผู้ไหนเป็นผู้ดี ผู้ดีเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์สุจริตต่อสังคม และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ผู้ดีย่อมปฏิบัติทุกสิ่งที่ปวงชนว่าเป็นสิ่งดีงาม ชาติใดมีผู้ดีอย่างนี้มาก ชาตินั้นก็เจริญ ชาติใดมีผู้ดีอย่างนี้น้อย ชาตินั้นก็เสื่อมโทรม ผู้ดีคนใดหากได้มาซึ่งสิทธิอะไรเป็นพิเศษ ผู้ดีคนนั้นก็สำนึกทันทีว่า เขาจะต้องมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษตามมาด้วย”
จะเห็นได้ว่า “ผู้ดี” ไม่ได้หมายถึงแต่ “คนดี” เท่านั้น หากยังบ่งบอกถึงคุณธรรมหลักที่พึงมีอีกด้วย โดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริต
คนสมัยนี้มักเห็นว่า คนเก่งหากโกงก็ไม่เป็นไร ดังนั้นผู้นำที่ดีในความคิดของคนพวกนี้ ก็คือ “คนเก่ง” แต่ไม่ใช่ผู้ดี ในความหมายที่ว่าจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต
เด็กๆ ควรได้รับการสอนไม่เฉพาะแต่เพียงความรู้ในตำรา แต่ให้เขารู้ซึ้งถึงความหมายของคำว่า “ผู้ดี” ด้วยจะได้ไม่เลือกผู้นำที่เป็นคนเก่งแต่โกง