เอเจนซี- จีนเปิดม่านสีแดงผืนมหึมา เผยโฉมเครื่องบินแอร์บัส รุ่น A320 ลายมังกรไล่โทนสีแดง เหลือง ทอง เหยียดยาวจากหัวจรดหางเครื่องบินในพิธีส่งมอบเครื่องบินแอร์บัสลำแรกที่ประกอบในประเทศจีน เครื่องบินแอร์บัสลายมังกรลำนี้ ยังนับเป็นลำแรกที่ประกอบนอกดินแดนชาติชั้นนำยุโรป
เครื่องบินโดยสารขนาดกลาง หรือเครื่องบินเจ็ทแอร์บัส “เมด อินไชน่า” ลำแรกนี้ ประกอบขึ้นที่โรงงานเทียนจิน แอร์บัสโรงงานประกอบเครื่องบินขั้นสุดท้ายที่เมืองเทียนจิน ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กม. และทำการทดลองบินโดยวิศวกรจีนที่ได้รับการฝึกฝนจากแอร์บัส สำเร็จในเดือนที่ผ่านมา
นาย โธมัส เอ็นเดอร์ส ซีอีโอบริษัทแอร์บัสสัญชาติฝรั่งเศส นำทีมเข้าร่วมพิธีส่งมอบเครื่องบินแอร์บัสประกอบในจีนลำแรกที่โรงงานประกอบเครื่องบินเมืองเทียนจินในวันอังคาร(23 มิ.ย.) โดยเครื่องบินฯถูกส่งมอบให้แก่บริษัทเช่าซื้อเครื่องบิน Dragon Aviation Leasing จากนั้น ก็จะส่งมอบต่อให้แก่ซื่อชวน แอร์ไลน์ (เสฉวน) สายการบินภายในประเทศจีน เป็นผู้ประเดิมนำเครื่องบินเจ็ทแอร์บัสประกอบในจีนลำแรกนี้ ออกบริการเที่ยวบินแก่ลูกค้า
โธมัส เอ็นเดอร์ส์ชี้ว่าเครื่องบินแอร์บัสจากโรงงานเทียนจินนี้ ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างกลุ่มบริษัทผลิตเครื่องบินชั้นนำยุโรปกับประเทศจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดการบินที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุด
“เราได้สร้างอนาคตอันแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมการบินจีนแล้ว และยังมีแผนขยายความร่วมมือกับคู่หุ้นส่วนจีนในการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ” นายใหญ่ยักษ์ใหญ่ผลิตเครื่องบินแดนน้ำหอม กล่าวในพิธีเปิดใหญ่ ที่มีแขกสำคัญเข้าร่วมได้แก่ เอกอัครราชทูตประจำจีนจากฝรั่งเศส และอังกฤษ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งเยอรมนี นาย ฮาร์ตมุท เชาเออเต้ (Hartmut Schauerte ) ตลอดจนกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงเมืองเทียนจิน
หวง ซิงกั๋ว นายกเทศมนตรีแห่งเมืองเทียนจิน ผู้นำทีมฯฝ่ายจีนชี้ถึงการส่งมอบเครื่องบินแอร์บัสมังกรนี้ เป็นวันประวัติศาสตร์ความร่วมมือจีนและยุโรป
โรงงานเครื่องบินเทียนจิน แอร์บัสกำลังประกอบและส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส A319/320 พิสัยบินระยะกลาง จำนวน 10 ลำปลายปีนี้ และจะเริ่มปั๊มออกมาให้ได้เดือนละถึง 4 ลำ ก่อนปลายปี 2554
สำหรับโรงงานเทียนจิน แอร์บัสสร้างขึ้นตามแบบโรงงานแอร์บัสในเมืองฮัมบูวร์ก ประเทศเยอรมนี จีนทุ่มทุนไปกับโรงงานฯแห่งนี้ ร่วม 10,000 ล้านหยวน (1,470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยเป็นธุรกิจร่วมทุนระหว่าง บริษัทในเครือของแอร์บัสคือ EADS แห่งยุโรป ถือหุ้นร้อยละ 51 และกลุ่มบรรษัทการบินของจีน ถือหุ้นที่เหลือร้อยละ 49
การที่แอร์บัสเข้ามาร่วมทุนโรงงานประกอบเครื่องบินในเทียนจิน เท่ากับว่าได้ก้าวก้าวแรกเข้ามาในตลาดการบินที่มีอนาคตสดใสในจีนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ซึ่งมียอดซื้อขายเครื่องบินกับแอร์บัสร้อยละ 15
แอร์บัสประเมินว่าการขยายตัวของตลาดเครื่องบินในจีนนั้นแข็งแกร่งโดยอาจซื้อเครื่องบินโดยสารรวมทั้งเครื่องบินขนส่งเพิ่มอีกถึง 2,800 ลำในช่วง 20 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้คาดว่าประกอบด้วยเครื่องบินขนาดใหญ่หรือจัมโบเจ็ท 190 ลำ มูลค่าถึง 329,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้ เครื่องบินเจ็ทราวครึ่งหนึ่งที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้นเป็นเครื่องของแอร์บัส แอร์บัสมีโรงงานประกอบเครื่องบินขั้นสุดท้ายในบ้านเกิดที่เมืองตูลูส (Toulouse) เมืองฮัมบูวร์ก(Hamburg) เยอรมนี เมืองเซวิญ่า (Seville)สเปน และเมืองเทียนจิน ก็เป็นน้องใหม่ล่าสุด ที่เริ่มปฏิบัติการในเดือนกันยายน โดยมีนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่ามาเป็นสักขีพยานในวันแรกของการดำเนินการ
นอกจากนี้ วงการอุตสาหกรรมการบินยังคาดการณ์ปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารเพิ่มอีก 5 เท่าในช่วง 20 ปีข้างหน้า แอร์บัสตั้งเป้าช่วงชิงครึ่งหนึ่งของส่วนแบ่งตลาดในจีนนับจากตอนนี้ไปถึงปี 2555 โดยในช่วงกลางปีที่แล้ว (2551) แอร์บัสครองส่วนแบ่งตลาดจีนร้อยละ 39 คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 7 เทียบกับปี 2538 ทั้งนี้ คู่แข่งแอร์บัสไม่ใช่ใครที่ไหน คือโบอิ้งแห่งสหรัฐฯอเมริกานั่งเอง
เครื่องบินโดยสารขนาดกลาง หรือเครื่องบินเจ็ทแอร์บัส “เมด อินไชน่า” ลำแรกนี้ ประกอบขึ้นที่โรงงานเทียนจิน แอร์บัสโรงงานประกอบเครื่องบินขั้นสุดท้ายที่เมืองเทียนจิน ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กม. และทำการทดลองบินโดยวิศวกรจีนที่ได้รับการฝึกฝนจากแอร์บัส สำเร็จในเดือนที่ผ่านมา
นาย โธมัส เอ็นเดอร์ส ซีอีโอบริษัทแอร์บัสสัญชาติฝรั่งเศส นำทีมเข้าร่วมพิธีส่งมอบเครื่องบินแอร์บัสประกอบในจีนลำแรกที่โรงงานประกอบเครื่องบินเมืองเทียนจินในวันอังคาร(23 มิ.ย.) โดยเครื่องบินฯถูกส่งมอบให้แก่บริษัทเช่าซื้อเครื่องบิน Dragon Aviation Leasing จากนั้น ก็จะส่งมอบต่อให้แก่ซื่อชวน แอร์ไลน์ (เสฉวน) สายการบินภายในประเทศจีน เป็นผู้ประเดิมนำเครื่องบินเจ็ทแอร์บัสประกอบในจีนลำแรกนี้ ออกบริการเที่ยวบินแก่ลูกค้า
โธมัส เอ็นเดอร์ส์ชี้ว่าเครื่องบินแอร์บัสจากโรงงานเทียนจินนี้ ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างกลุ่มบริษัทผลิตเครื่องบินชั้นนำยุโรปกับประเทศจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดการบินที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุด
“เราได้สร้างอนาคตอันแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมการบินจีนแล้ว และยังมีแผนขยายความร่วมมือกับคู่หุ้นส่วนจีนในการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ” นายใหญ่ยักษ์ใหญ่ผลิตเครื่องบินแดนน้ำหอม กล่าวในพิธีเปิดใหญ่ ที่มีแขกสำคัญเข้าร่วมได้แก่ เอกอัครราชทูตประจำจีนจากฝรั่งเศส และอังกฤษ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งเยอรมนี นาย ฮาร์ตมุท เชาเออเต้ (Hartmut Schauerte ) ตลอดจนกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงเมืองเทียนจิน
หวง ซิงกั๋ว นายกเทศมนตรีแห่งเมืองเทียนจิน ผู้นำทีมฯฝ่ายจีนชี้ถึงการส่งมอบเครื่องบินแอร์บัสมังกรนี้ เป็นวันประวัติศาสตร์ความร่วมมือจีนและยุโรป
โรงงานเครื่องบินเทียนจิน แอร์บัสกำลังประกอบและส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส A319/320 พิสัยบินระยะกลาง จำนวน 10 ลำปลายปีนี้ และจะเริ่มปั๊มออกมาให้ได้เดือนละถึง 4 ลำ ก่อนปลายปี 2554
สำหรับโรงงานเทียนจิน แอร์บัสสร้างขึ้นตามแบบโรงงานแอร์บัสในเมืองฮัมบูวร์ก ประเทศเยอรมนี จีนทุ่มทุนไปกับโรงงานฯแห่งนี้ ร่วม 10,000 ล้านหยวน (1,470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยเป็นธุรกิจร่วมทุนระหว่าง บริษัทในเครือของแอร์บัสคือ EADS แห่งยุโรป ถือหุ้นร้อยละ 51 และกลุ่มบรรษัทการบินของจีน ถือหุ้นที่เหลือร้อยละ 49
การที่แอร์บัสเข้ามาร่วมทุนโรงงานประกอบเครื่องบินในเทียนจิน เท่ากับว่าได้ก้าวก้าวแรกเข้ามาในตลาดการบินที่มีอนาคตสดใสในจีนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ซึ่งมียอดซื้อขายเครื่องบินกับแอร์บัสร้อยละ 15
แอร์บัสประเมินว่าการขยายตัวของตลาดเครื่องบินในจีนนั้นแข็งแกร่งโดยอาจซื้อเครื่องบินโดยสารรวมทั้งเครื่องบินขนส่งเพิ่มอีกถึง 2,800 ลำในช่วง 20 ปีข้างหน้า ในจำนวนนี้คาดว่าประกอบด้วยเครื่องบินขนาดใหญ่หรือจัมโบเจ็ท 190 ลำ มูลค่าถึง 329,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้ เครื่องบินเจ็ทราวครึ่งหนึ่งที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้นเป็นเครื่องของแอร์บัส แอร์บัสมีโรงงานประกอบเครื่องบินขั้นสุดท้ายในบ้านเกิดที่เมืองตูลูส (Toulouse) เมืองฮัมบูวร์ก(Hamburg) เยอรมนี เมืองเซวิญ่า (Seville)สเปน และเมืองเทียนจิน ก็เป็นน้องใหม่ล่าสุด ที่เริ่มปฏิบัติการในเดือนกันยายน โดยมีนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่ามาเป็นสักขีพยานในวันแรกของการดำเนินการ
นอกจากนี้ วงการอุตสาหกรรมการบินยังคาดการณ์ปริมาณการเดินทางของผู้โดยสารเพิ่มอีก 5 เท่าในช่วง 20 ปีข้างหน้า แอร์บัสตั้งเป้าช่วงชิงครึ่งหนึ่งของส่วนแบ่งตลาดในจีนนับจากตอนนี้ไปถึงปี 2555 โดยในช่วงกลางปีที่แล้ว (2551) แอร์บัสครองส่วนแบ่งตลาดจีนร้อยละ 39 คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 7 เทียบกับปี 2538 ทั้งนี้ คู่แข่งแอร์บัสไม่ใช่ใครที่ไหน คือโบอิ้งแห่งสหรัฐฯอเมริกานั่งเอง