บลูมเบิร์ก – แสตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส หรือ S&P ปรับเพิ่มการจัดอันดับหนี้ของจีนเป็น A+ หลังจากทุนสำรองแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของจีนพุ่งทะยานทำสถิติถึง 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจพญามังกรไม่กระทบกระเทือนเท่าใดนักจากที่สหรัฐฯ ลดความต้องการสินค้าส่งออกลง
อันดับหนี้ระยะยาวของจีนปรับเพิ่มหนึ่งระดับเป็น A+ อันเป็นระดับสูงสุด ซึ่งมีทั้งหมด 5 ระดับ ส่งผลให้อันดับหนี้ของจีนอยู่ในระดับเดียวกับอิตาลี ขณะที่มีการปรับอันดับหนี้ของฮ่องกงเป็น AA+
ส่วนอันดับหนี้ระยะสั้นของจีนปรับเพิ่มจากA-1 เป็นA-1+
S&P ระบุว่า ในช่วงไตรมาส2ของปีนี้ เศรษฐกิจจีนโตกว่าร้อยละ10 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตต่อเนื่องมาเป็นไตรมาที่ 10 แล้ว ขณะที่ทุนสำรองเงินตราพุ่งสูงถึง 1 ใน 3 จากปีก่อนหน้า โดยงบดุลที่ปรับดีขึ้นของรัฐบาลทำให้“เพิ่มความยืดหยุ่น” หากเศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะตกต่ำอย่างหนัก
“การปรับเพิ่มครั้งนี้มีการคาดการณ์กันมาก่อนแล้ว ซึ่งจีนสมควรได้รับ” แฟรงก์ ก่ง หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านจีนของเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค. ในฮ่องกงระบุ
“ความสามารถในการชำระเงินต่างประเทศของจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเติบโตทางเศรษฐกิจก็รวดเร็วกว่าชาติอื่น”
การปรับอันดับดังกล่าวสอดคล้องกับการปรับอันดับที่ A1ของมูดี้ และA+ของฟิตช์
การแข็งค่าของเงินหยวน
การปรับอันดับหนี้ของจีนครั้งนี้ “จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนในระยะสั้น ในขณะที่ธนาคารกลางจีนแสดงความประสงค์ที่จะชะลอการแข็งค่าของเงินหยวน” สือ เหล่ยนักวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ ไชน่า ในกรุงปักกิ่งระบุ
“แต่จะส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์เกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินหยวนในระยะยาวของประชาชน”
เงินหยวนแข็งค่าถึงร้อยละ6.9 ต่อดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งเป็นการแข็งค่ารวดเร็วกว่าเมื่อปีที่แล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนกำลังพยายามควบคุมเงินเฟ้อ ที่เกิดจากราคาอาหารและพลังงาน
การส่งออกของจีนชะลอการเติบโตลงร้อยละ21.9 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จากร้อยละ25.7 ตลอดปีที่แล้ว เนื่องจากสหรัฐฯ ลดความต้องการสินค้าส่งออก
นักเศรษฐศาสตร์ของเลห์แมน บราเทอร์ส โฮลดิ้งส์ ในฮ่องกงระบุว่า จีนอาจเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจบ้าง เพื่อให้ความสำคัญมากขึ้นกับการเติบโตของเศรษฐกิจ แม้ในขณะเดียวกันจีนกำลังพยายามควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งโตเร็วที่สุดในรอบ 12ปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ก็ตาม
ศักยภาพการเติบโตที่พิเศษ
แถลงการณ์ของกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนและธนาคารกลางจีนเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม และ27 กรกฎาคม มิได้ระบุถึง“การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวด” อย่างแถลงการณ์แต่ก่อน
การปรับอันดับหนี้ของจีนโดย S&P เป็นครั้บแรกในรอบ2ปี “สะท้อนว่าฐานะทางการเงินของรัฐบาลจีนมีการปรับปรุงเรื่อยมา รวมทั้งมีสินทรัพย์ในต่างประเทศที่แข็งแกร่งและศักยภาพการเติบโตที่พิเศษ” S&Pระบุ
หนี้ต่างประเทศของจีนอยู่ที่ 392.6 พันล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม
S&P ระบุด้วยว่า อาจมีการปรับเพิ่มหรือปรับลดการจัดอันดับหนี้ของจีนอีกครั้ง โดยพิจารณาจากการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนว่ามีความคืบหน้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อผลประกอบการของอุตสาหกรรมสำคัญในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน
อันดับหนี้ระยะยาวของจีนปรับเพิ่มหนึ่งระดับเป็น A+ อันเป็นระดับสูงสุด ซึ่งมีทั้งหมด 5 ระดับ ส่งผลให้อันดับหนี้ของจีนอยู่ในระดับเดียวกับอิตาลี ขณะที่มีการปรับอันดับหนี้ของฮ่องกงเป็น AA+
ส่วนอันดับหนี้ระยะสั้นของจีนปรับเพิ่มจากA-1 เป็นA-1+
S&P ระบุว่า ในช่วงไตรมาส2ของปีนี้ เศรษฐกิจจีนโตกว่าร้อยละ10 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตต่อเนื่องมาเป็นไตรมาที่ 10 แล้ว ขณะที่ทุนสำรองเงินตราพุ่งสูงถึง 1 ใน 3 จากปีก่อนหน้า โดยงบดุลที่ปรับดีขึ้นของรัฐบาลทำให้“เพิ่มความยืดหยุ่น” หากเศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะตกต่ำอย่างหนัก
“การปรับเพิ่มครั้งนี้มีการคาดการณ์กันมาก่อนแล้ว ซึ่งจีนสมควรได้รับ” แฟรงก์ ก่ง หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านจีนของเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค. ในฮ่องกงระบุ
“ความสามารถในการชำระเงินต่างประเทศของจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเติบโตทางเศรษฐกิจก็รวดเร็วกว่าชาติอื่น”
การปรับอันดับดังกล่าวสอดคล้องกับการปรับอันดับที่ A1ของมูดี้ และA+ของฟิตช์
การแข็งค่าของเงินหยวน
การปรับอันดับหนี้ของจีนครั้งนี้ “จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนในระยะสั้น ในขณะที่ธนาคารกลางจีนแสดงความประสงค์ที่จะชะลอการแข็งค่าของเงินหยวน” สือ เหล่ยนักวิเคราะห์ของแบงก์ ออฟ ไชน่า ในกรุงปักกิ่งระบุ
“แต่จะส่งผลกระทบต่อการคาดการณ์เกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินหยวนในระยะยาวของประชาชน”
เงินหยวนแข็งค่าถึงร้อยละ6.9 ต่อดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งเป็นการแข็งค่ารวดเร็วกว่าเมื่อปีที่แล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนกำลังพยายามควบคุมเงินเฟ้อ ที่เกิดจากราคาอาหารและพลังงาน
การส่งออกของจีนชะลอการเติบโตลงร้อยละ21.9 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จากร้อยละ25.7 ตลอดปีที่แล้ว เนื่องจากสหรัฐฯ ลดความต้องการสินค้าส่งออก
นักเศรษฐศาสตร์ของเลห์แมน บราเทอร์ส โฮลดิ้งส์ ในฮ่องกงระบุว่า จีนอาจเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจบ้าง เพื่อให้ความสำคัญมากขึ้นกับการเติบโตของเศรษฐกิจ แม้ในขณะเดียวกันจีนกำลังพยายามควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งโตเร็วที่สุดในรอบ 12ปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ก็ตาม
ศักยภาพการเติบโตที่พิเศษ
แถลงการณ์ของกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนและธนาคารกลางจีนเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม และ27 กรกฎาคม มิได้ระบุถึง“การดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวด” อย่างแถลงการณ์แต่ก่อน
การปรับอันดับหนี้ของจีนโดย S&P เป็นครั้บแรกในรอบ2ปี “สะท้อนว่าฐานะทางการเงินของรัฐบาลจีนมีการปรับปรุงเรื่อยมา รวมทั้งมีสินทรัพย์ในต่างประเทศที่แข็งแกร่งและศักยภาพการเติบโตที่พิเศษ” S&Pระบุ
หนี้ต่างประเทศของจีนอยู่ที่ 392.6 พันล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม
S&P ระบุด้วยว่า อาจมีการปรับเพิ่มหรือปรับลดการจัดอันดับหนี้ของจีนอีกครั้ง โดยพิจารณาจากการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนว่ามีความคืบหน้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อผลประกอบการของอุตสาหกรรมสำคัญในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน