xs
xsm
sm
md
lg

จักรยานฆ่าไม่ตายแม้ 4 ล้อรุกตลาดหนักข้อ กูรูเตือนหยวนแข็งอาจทำจีนเสียลูกค้าให้ไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชาวเมืองยังคงใช้จักรยานเป็นพาหนะ
เอเจนซี – จักรยานยังได้รับความนิยมในหมู่ชาวจีนแม้บริษัทรถยนต์รุกขยายตลาดหนักหน่วง ด้านบริษัทผลิตยาน 2 ล้อปรับตัวตามกระแสสนองความต้องการหลากหลายขึ้น ส่งผลยอดส่งออกปีที่แล้วเพิ่ม 5.7% อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าววงในเตือน เงินหยวนแข็งค่าและค่าแรงสูงขึ้นเป็นปัญหาที่มิอาจมองข้าม เพราะอาจทำอุตสาหกรรมการผลิตจักรยานสุดเฟื่องในประเทศเสียลูกค้าให้กับไทย

ยามเช้าในชั่วโมงเร่งด่วนของปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้เคยล้นทะลักไปด้วยสิงห์จักรยาน แต่วันนี้เลนรถถีบ 2 ล้อเริ่มถูกเบียดเบียนจากรถยนต์และรถประจำทางที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เสียงเครื่องยนต์ แตรรถดังกลบเสียงกริ่งของจักรยาน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จีนจะกระโจนเข้าสู่ความทันสมัยอย่างรวดเร็ว แต่จักรยานก็ยังเป็นพาหนะที่ฆ่าไม่ตาย ตรงกันข้ามจำนวนกลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับชาวจีนจำนวนมาก จักรยานยังคงเป็นพาหนะสำคัญที่พาไปสู่จุดหมาย ทั้งภารกิจส่งลูกไปโรงเรียนหรือใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงจราจรที่ติดขัดมหาโหดด้วย

ภายใต้เงาของตึกระฟ้าเมืองเซี่ยงไฮ้ นครแห่งการเงินของจีน หวัง ชุนเหลียง แรงงานอพยพวัย 30 ปีอาศัยรถจักรยาน 3 ล้อถีบเป็นพาหนะนำดอกไม้-ต้นไม้จากชนบทเข้ามาขายในเมือง พืชไร่พืชสวนเหล่านี้ทำเงินให้เขาราว 300 เหรียญสหรัฐต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งเพียงพอเลี้ยงตัวเองและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในชนบทของมณฑลอันฮุยด้วย โดยไม่ต้องหักค่าใช้จ่ายน้ำมันรถแม้แต่น้อย

ในเมืองเซี่ยงไฮ้ และเมืองอื่นๆ ภาพแรงงานอพยพถีบจักรยานสามารถเห็นได้ทุกหนแห่ง บ้างส่งของ เก็บขยะรีไซเคิล และเร่ขายสินค้าตั้งแต่ข้าวโพดคั่ว ดีวีดีละเมิดลิขสิทธิ์ หนังสือ ยันลูกกระต่ายเลยทีเดียว

จากข้อมูลของ Amir Moghaddass Esfehani นักประวัติศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเบอร์ลินระบุว่า ชาวจีนนั้นเริ่มรู้จัก “จักรยาน” ครั้งแรกจาก ปิน ชุน เจ้าหน้าที่สำนักงานศุลกากรจีน ซึ่งมีโอกาสไปปารีสเมื่อปี ค.ศ.1866 และถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านงานเขียนระบุ “ชาวปารีสขี่พาหนะที่ทำจากล้อ 2 ล้อ ตรงกลางเชื่อมกันด้วยท่อ”

หลังจากนั้น ชาวอเมริกันและยุโรปที่เข้ามาอาศัยอยู่ที่จีน ก็นำจักรยานเข้ามาใช้ด้วย และนั่นคือจุดเริ่มต้นของแฟชั่นจักรยาน ตามที่ Moghaddass เขียนเล่าในหนังสือเรื่อง “จักรยาน และชาวจีน”

และในการเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกครั้งนี้ ปักกิ่งได้นำเสนอจักรยาน 50,000 คันให้นักท่องเที่ยวเช่า

ด้านบริษัทจักรยานจีนก็เริ่มมีการปฏิรูปรูปแบบสินค้าให้ทันยุคทันสมัยมากขึ้น และดึงดูดความสนใจของลูกค้า ดังเช่น บริษัทเซี่ยงไฮ้ ฟอร์เอฟเวอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถจักรยานรายใหญ่สุดของจีน เฉิน ไห่หมิง วิศวกรและผู้จัดการของบริษัทฯ เล่าว่า เมื่อ 20 ปีก่อนตอนที่เข้าทำงานในบริษัทใหม่ๆ บริษัทยังผลิตจักรยานที่เน้นใช้บรรทุกสิ่งของ แต่วันนี้บริษัทผลิตจักรยานทุกรูปแบบทั้งจักรยานเสือภูเขาเทคโนโลยีสูง ไปจนถึงจักรยานพับได้

เฉินมั่นใจว่า จักรยานจะอยู่คู่จีนไปอีกนานทั้งที่กระแสรถยนต์เข้ามารุกตีตลาดมากขึ้น “จักรยานสามารถช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านสามารถขี่จักรยานเพื่อเป็นการออกกำลังกายได้ด้วย จักรยานจะไม่มีทางล้าสมัย ไม่ว่าตลาดรถยนต์และเครื่องบินจะโตเร็วสักแค่ไหน เราก็ยังยืนยันจะผลิตจักรยานให้ทุกคนใช้อยู่”

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ก็คือ ทางวิ่งจักรยานส่วนใหญ่ในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้นั้น ถูกเปลี่ยนให้เป็นเลนเลี้ยวขวา และเลนรถประจำทางเสียแล้ว สำนักงานและโรงแรมขนาดใหญ่ที่กำลังอยู่ในระหว่างก็สร้าง ก็จัดเตรียมที่จอดรถจักรยานเฉพาะไว้สำหรับพนักงานเท่านั้น ขณะที่รถไฟฟ้าใต้ดินและรถประจำทางสามารถรองรับได้แค่ 1 ใน 4 ของผู้ที่ประสงค์สัญจรไปมาทั้งหมด
จักรยานที่ถูกจัดแสดงในงานแสดงสินค้าจักรยานในเซี่ยงไฮ้
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันนโยบายโลก ซึ่งเป็นคลังสมองด้านสิ่งแวดล้อมในวอชิงตันระบุว่า ในจำนวนจักรยาน 130 ล้านคันที่ผลิตขึ้นทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว จีนผลิตถึง 90 ล้านคัน และส่งออก 2 ใน 3 ไปยังต่างประเทศ

โดยเมื่อปี 2007 ที่ผ่านมาจีนส่งออกจักรยานเพิ่มขึ้น 5.7% แตะ 59 ล้านคัน ซึ่งครึ่งหนึ่งของสินค้าส่งออกคือจักรยานเด็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางล้อไม่เกิน 22 นิ้ว) และสหรัฐฯ ก็ยังคงเป็นตลาดอันดับต้นของจีน โดยปีที่แล้วนำเข้าถึง 17.3 ล้านคัน คิดเป็น 96% ของจักรยานทั้งหมดที่นำเข้าในปีนั้น เรียกได้ว่ารถถีบ 9 ใน 10 คันที่ชาวอเมริกันใช้นั้นผลิตในจีนนั่นเอง

ขณะที่ญี่ปุ่นเองก็เป็นอีกประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าจากจีนอย่างมากถึง 97% ของจักรยานนำเข้า หรือคิดเป็น 9.3 ล้านคัน ส่วนโรงงานผลิตจักรยานของแดนซามูไรเอง ก็เผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับของสหรัฐฯ กล่าวคือต้องปิดตัวไปเพราะกระแสสินค้านำเข้าจากจีนที่ไหลทะลักเข้ามา

“หยวนแข็ง-ค่าแรงขึ้น” เปิดทางไทยชิงเค้กจีน

อย่างไรก็ตาม ด้วยแรงกดดันด้านราคาในจีน ซึ่งมีสาเหตุมาจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับค่าเงินหยวนที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายบริษัทอาจย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศเอเชียอื่นๆ อาทิ ไต้หวัน และไทย

ดังเช่น ไต้หวันนั้นเน้นเจาะตลาดบนและกลาง โดยเมื่อปีที่แล้วส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 4.75 ล้านคัน โดยอุตสาหกรรมจักรยานในไต้หวันนั้นก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เนื่องจากไต้หวันเน้นคุณภาพของสินค้าไม่ใช่ปริมาณ โดยสนนราคาเฉลี่ยจักรยานที่จำหน่ายเมื่อปีก่อนตกคันละ 222 เหรียญสหรัฐ

อังกฤษก็เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน โดยนำเข้าเกือบ 933,000 คัน คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 5 ของสินค้าที่ไต้หวันส่งออกทั้งหมด ขณะที่สหรัฐฯ ก็นำเข้าจักรยานของ “จีนเล็ก” ถึง 596,000 คัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่คันละ 388 เหรียญสหรัฐ

ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งนำโดยบริษัท บางกอก ไซเคิล ก็กำลังร่วมโต๊ะชิงเค้กก้อนนี้ด้วยเช่นกัน โดยปีที่แล้วไทยส่งออกจักรยานไปยังสหภาพยุโรป (อียู) เกือบ 1.5 ล้านคัน เพิ่มเป็น 2 เท่าจากปีก่อน เฉลี่ยราคาคันละ 108.22 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้อังกฤษเองที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นลูกค้าชาติยุโรปรายใหญ่สุดของเวียดนาม ปัจจุบันก็เป็นตลาดใหญ่สุดของไทย โดยปี 2007 นำเข้าจักรยาน
กำลังโหลดความคิดเห็น