ไชน่านิวส์/เป่ยจิงเฉินเป้า – นักเศรษฐศาสตร์จีนเตือนฟองสบู่ตลาดที่อยู่อาศัยแตกแน่ช้าหรือเร็วเท่านั้น เพราะช่วงที่ราคาบ้านมีแต่ขึ้นไม่มีลงเป็นช่วงเสี่ยงที่สุด พร้อมจี้ให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการควบคุมตลาดที่อยู่อาศัย เพื่อบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ฝานกัง นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของจีนและสมาชิกคณะกรรมการนโยบายเงินตราแห่งธนาคารประชาชนจีน ได้ออกมาตอกย้ำให้รัฐบาลจีนเร่งออกมาตรการควบคุมตลาดที่อยู่อาศัยที่ถูกปั่นให้ราคาสูงขึ้นไม่มีลงอยู่ในขณะนี้ ฝานกล่าวว่า “ขณะที่บ้านในตลาดของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขายดิบขายดี และขณะที่ประชาชนเข้าแถวยาวเหยียดเพื่อซื้อบ้าน รัฐบาลควรออกมาตรการมาควบคุมตลาดที่อยู่อาศัย”
ฝานยังเตือนให้ประชาชนตื่นตัวระแวงระวังภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัย “ฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยมักเกิดขึ้นเมื่อราคาที่อยู่อาศัยมีแต่ทะยานสูงขึ้นไม่มีลด และนี่เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงมากที่สุด”
ฝานกล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มีกลุ่มคนจำนวนมากที่พยายามดันให้ราคาที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้น เหตุผลหลักเพราะชาวจีนจำนวนมากยังต้องการซื้อบ้านแต่ที่ทางของจีนมีจำกัด ซึ่งฝานชี้ว่าควรระวัง เมื่อเทียบกับราคาบ้านในต่างประเทศซึ่งสูงกว่าจีนมาก ทำให้เห็นว่าราคาบ้านในจีนยังต่ำอยู่และยังมีช่องว่างให้ขยับสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้น ชาวจีนอาจซื้อบ้านในราคาที่ถูกดันขึ้นสูงไม่ลดนี้ได้ในอีก 50 ปีข้างหน้า
“จีดีพีต่อหัวของชาวจีนในอีก 50 ปีข้างหน้าอาจสูงถึง 30,000 เหรียญสหรัฐ แต่ว่ารายได้ต่อหัวของคนจีนในขณะนี้เพียง 3,000 เหรียญสหรัฐเท่านั้น” ฝานเห็นว่าราคาบ้านในขณะนี้นับว่าสูงเกินไปสำหรับรายได้เฉลี่ยของคนจีนในปัจจุบัน ราคาบ้านสูงเกินไปและขยับขึ้นเร็วเกินไปจะทำให้ฟองสบู่แตก และการที่ฟองสบู่แตกเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนช้าหรือเร็วเท่านั้น
ฝานกังรู้สึกกังวลอย่างมากกับสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในขณะนี้ ฝานเห็นว่าซับไพรม์ที่ทำให้เกิดฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดๆ “ระหว่างกระบวนการที่ฟองสบู่ในตลาดอสังที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ ขยายตัวไปเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือราคาบ้านและรายได้ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามดันให้ราคาบ้านขึ้นอย่างเดียวไม่มีลงเช่นเดียวกัน” ทั้งนี้ฟองสบู่แตกในสหรัฐฯ ไม่เพียงส่งผลกับเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ เอง ยังมีผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย
ฝานกังเน้นว่า การที่รัฐบาลเร่งเข้ามาควบคุมตลาดที่อยู่อาศัยเท่ากับได้ป้องกันไม่ให้คนกลุ่มใหญ่ต้องมีภาระหนี้สิน และหากฟองสบู่แตกจริงคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบคือนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลางและย่อมจำนวนมากที่ต้องล้มละลาย
เป้าหมายของการควบคุมเศรษฐกิจมหภาคคือการทำให้ฟองสบู่ลดลง ป้องกันไม่ให้ราคาบ้านขึ้นลงอย่างฮวบฮาบ หากรัฐบาลสามารถเข้ามาควบคุมได้เร็ว แรงกระเพื่อมในตลาดเบาบาง ภาวะที่ร้อนแรงก็สามารถชะลอตัวลงได้อย่างนิ่มนวล แม้ทุกคนจะได้รับผลกระทบแต่ก็ไม่ถึงกับล้มละลาย
ทั้งนี้ จากรายงานผลการศึกษาบริษัทบ้านและที่ดินรายใหญ่ 100 รายของจีนประจำปี 2008 ที่จัดทำโดยธนาคารประชาชนจีน พบว่าในปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยของจีนทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความไม่สมดุล 3 ประการได้แก่ ความต้องการมากกว่าสินค้า จำนวนบ้านราคาสูงมากกว่าบ้านราคาถูก และตลาดบ้านซื้อขายขยายตัวมากกว่าตลาดบ้านเช่า
จางเถา รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งธนาคารประชาชนจีนกล่าวโดยยกตัวอย่างความไม่สมดุลระหว่างตลาดบ้านซื้อขายและตลาดบ้านเช่าว่า จากการสำรวจพบว่า คนจีนส่วนใหญ่นิยมซื้อบ้านมากกว่าเช่าบ้านทำให้ราคาบ้านใน 13 เมืองใหญ่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาทะยานขึ้นถึง 21% ขณะที่ราคาบ้านเช่าสูงขึ้นเพียง 8.3% เท่านั้น
นอกจากนี้ บ้านในตลาดซื้อขายเป็นบ้านราคาสูงมากถึง 70-80% และมีคนจำนวนหนึ่งที่ซื้อบ้านหลังที่ 1 เพื่ออยู่อาศัยเอง แต่ซื้อเพิ่มหลังที่ 2 และ 3 เพื่อเก็งกำไร ทำให้บ้านราคาถูกมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ฝานกัง นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของจีนและสมาชิกคณะกรรมการนโยบายเงินตราแห่งธนาคารประชาชนจีน ได้ออกมาตอกย้ำให้รัฐบาลจีนเร่งออกมาตรการควบคุมตลาดที่อยู่อาศัยที่ถูกปั่นให้ราคาสูงขึ้นไม่มีลงอยู่ในขณะนี้ ฝานกล่าวว่า “ขณะที่บ้านในตลาดของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขายดิบขายดี และขณะที่ประชาชนเข้าแถวยาวเหยียดเพื่อซื้อบ้าน รัฐบาลควรออกมาตรการมาควบคุมตลาดที่อยู่อาศัย”
ฝานยังเตือนให้ประชาชนตื่นตัวระแวงระวังภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัย “ฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยมักเกิดขึ้นเมื่อราคาที่อยู่อาศัยมีแต่ทะยานสูงขึ้นไม่มีลด และนี่เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงมากที่สุด”
ฝานกล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มีกลุ่มคนจำนวนมากที่พยายามดันให้ราคาที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้น เหตุผลหลักเพราะชาวจีนจำนวนมากยังต้องการซื้อบ้านแต่ที่ทางของจีนมีจำกัด ซึ่งฝานชี้ว่าควรระวัง เมื่อเทียบกับราคาบ้านในต่างประเทศซึ่งสูงกว่าจีนมาก ทำให้เห็นว่าราคาบ้านในจีนยังต่ำอยู่และยังมีช่องว่างให้ขยับสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้น ชาวจีนอาจซื้อบ้านในราคาที่ถูกดันขึ้นสูงไม่ลดนี้ได้ในอีก 50 ปีข้างหน้า
“จีดีพีต่อหัวของชาวจีนในอีก 50 ปีข้างหน้าอาจสูงถึง 30,000 เหรียญสหรัฐ แต่ว่ารายได้ต่อหัวของคนจีนในขณะนี้เพียง 3,000 เหรียญสหรัฐเท่านั้น” ฝานเห็นว่าราคาบ้านในขณะนี้นับว่าสูงเกินไปสำหรับรายได้เฉลี่ยของคนจีนในปัจจุบัน ราคาบ้านสูงเกินไปและขยับขึ้นเร็วเกินไปจะทำให้ฟองสบู่แตก และการที่ฟองสบู่แตกเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนช้าหรือเร็วเท่านั้น
ฝานกังรู้สึกกังวลอย่างมากกับสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในขณะนี้ ฝานเห็นว่าซับไพรม์ที่ทำให้เกิดฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดๆ “ระหว่างกระบวนการที่ฟองสบู่ในตลาดอสังที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ ขยายตัวไปเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันคือราคาบ้านและรายได้ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามดันให้ราคาบ้านขึ้นอย่างเดียวไม่มีลงเช่นเดียวกัน” ทั้งนี้ฟองสบู่แตกในสหรัฐฯ ไม่เพียงส่งผลกับเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ เอง ยังมีผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย
ฝานกังเน้นว่า การที่รัฐบาลเร่งเข้ามาควบคุมตลาดที่อยู่อาศัยเท่ากับได้ป้องกันไม่ให้คนกลุ่มใหญ่ต้องมีภาระหนี้สิน และหากฟองสบู่แตกจริงคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบคือนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลางและย่อมจำนวนมากที่ต้องล้มละลาย
เป้าหมายของการควบคุมเศรษฐกิจมหภาคคือการทำให้ฟองสบู่ลดลง ป้องกันไม่ให้ราคาบ้านขึ้นลงอย่างฮวบฮาบ หากรัฐบาลสามารถเข้ามาควบคุมได้เร็ว แรงกระเพื่อมในตลาดเบาบาง ภาวะที่ร้อนแรงก็สามารถชะลอตัวลงได้อย่างนิ่มนวล แม้ทุกคนจะได้รับผลกระทบแต่ก็ไม่ถึงกับล้มละลาย
ทั้งนี้ จากรายงานผลการศึกษาบริษัทบ้านและที่ดินรายใหญ่ 100 รายของจีนประจำปี 2008 ที่จัดทำโดยธนาคารประชาชนจีน พบว่าในปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยของจีนทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความไม่สมดุล 3 ประการได้แก่ ความต้องการมากกว่าสินค้า จำนวนบ้านราคาสูงมากกว่าบ้านราคาถูก และตลาดบ้านซื้อขายขยายตัวมากกว่าตลาดบ้านเช่า
จางเถา รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งธนาคารประชาชนจีนกล่าวโดยยกตัวอย่างความไม่สมดุลระหว่างตลาดบ้านซื้อขายและตลาดบ้านเช่าว่า จากการสำรวจพบว่า คนจีนส่วนใหญ่นิยมซื้อบ้านมากกว่าเช่าบ้านทำให้ราคาบ้านใน 13 เมืองใหญ่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาทะยานขึ้นถึง 21% ขณะที่ราคาบ้านเช่าสูงขึ้นเพียง 8.3% เท่านั้น
นอกจากนี้ บ้านในตลาดซื้อขายเป็นบ้านราคาสูงมากถึง 70-80% และมีคนจำนวนหนึ่งที่ซื้อบ้านหลังที่ 1 เพื่ออยู่อาศัยเอง แต่ซื้อเพิ่มหลังที่ 2 และ 3 เพื่อเก็งกำไร ทำให้บ้านราคาถูกมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ