ไชน่าเดลี่ - แหล่งข่าววงในแง้ม มอร์แกน สแตนลีย์ วาณิชธนกิจระดับโลกจากสหรัฐฯ กำลังวางแผนเทขายหุ้นทั้งหมดที่ถือใน ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ป (ซีไอซีซี) ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งแรกของจีน
แหล่งข่าวซึ่งมีความใกล้ชิดกับบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ และ ซีไอซีซี ยืนยันรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ต้ากงเป้าของฮ่องกง ซึ่งระบุว่า ธนาคารเพื่อการลงทุนสหรัฐฯ "มอร์แกน สแตนลีย์" กำลังวางแผนเทขายหุ้นของซีไอซีซีหมดหน้าตัก โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัทกองทุนเอกชนรายอื่นๆ เพื่อหาผู้ซื้อ แต่ย้ำว่าต้องไม่ใช่ธนาคารเพื่อการลงทุน
ปัจจุบันมอร์แกน สแตนลีย์ถือหุ้นในซีไอซีซีทั้งสิ้น 34.4% แต่ด้วยบทบาทที่จำกัดของธนาคารเพื่อการลงทุน ทำให้บริษัทสหรัฐฯ อาจต้องขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในซีไอซีซี และหันไปลงทุนในโบรกเกอร์ท้องถิ่นอีกรายแทน โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สื่อจีนรายงานว่า มอร์แกน สแตนลีย์กำลังวางแผนที่จะซื้อหุ้น 33.5% ของบริษัทหลักทรัพย์ไชน่า ฟอร์จูนในเซี่ยงไฮ้เป็นเงินถึง 4,000 ล้านหยวน
รายงานยังระบุอีกว่า มอร์แกนได้ลงนามสัญญากับบริษัทหลักทรัพย์ไชน่า ฟอร์จูน เพื่อจัดตั้งธนาคารร่วมทุนเพื่อการลงทุน และมอร์แกนน่าจะสนใจถือหุ้นใหญ่ของธนาคารดังกล่าวด้วย
แต่ภายใต้กฎระเบียบใหม่ ซึ่งออกโดยคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (ซีเอสอาร์ซี) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมระบุว่า หุ้นสูงสุดที่นักลงทุนต่างชาติสามารถถือครองได้ในบริษัทหลักทรัพย์จีนจะยังคงอยู่ที่ประมาณ 33.3% ทั้งที่มีการลดกำแพงในด้านอื่นๆ ลงก็ตาม
อนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ไชน่า ฟอร์จูน นั้น ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 48 จากบริษัทโบรกเกอร์ทั้งสิ้น 104 แห่ง จากเงินทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,000 ล้านหยวนเมื่อปลายปี 2006 ที่ผ่านมา ตามข้อมูลจากซีเอสอาร์ซี
นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ของซีเอสอาร์ซีซึ่งออกเมื่อปลายเดือนธันวาคมยังเรียกร้องให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีเงินทุนสุทธิ 1,200 ล้านหยวนหากต้องการจัดตั้งสาขาย่อย
“เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของซีเอสอาร์ซี มอร์แกน สแตนลีย์ และไชน่า ฟอร์จูน อาจต้องเพิ่มเงินทุนสุทธิของบริษัทก่อนที่จะร่วมกันจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน” เหลียงจิง นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์กั๋วไท่ จวินอันแสดงความคิดเห็น พร้อมกล่าวว่า “กฎระเบียบใหม่อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับทั้งสองบริษัท”
ทั้งนี้ มอร์แกน สแตนลีย์คาดว่าจะกลายเป็นหนึ่งในบริษัทต่างชาติรายแรกๆ ที่เข้ามาลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ท้องถิ่นในปี 2008 หลังจากที่รัฐบาลปักกิ่งได้ฟื้นกฎอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาร่วมทุนในบริษัทหลักทรัพย์จีนได้ อันเป็นผลตกผลึกมาจากการประชุมหารือกลยุทธเศรษฐกิจจีน-สหรัฐ
โดยรัฐบาลปักกิ่งนั้นได้ห้ามบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ท้องถิ่นตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2006 เนื่องจากกังวลว่า ต่างชาติจะเข้ามาคุกคามบริษัทโบรกเกอร์ท้องถิ่น ซึ่งเพิ่งฟื้นฟูหลังจากซบเซานานถึง 4 ปี ก่อนที่จะมีการสั่งห้ามดังกล่าว ยูเอสบี และโกลด์แมน แซกส์ เป็นบริษัทต่างชาติเพียง 2 รายที่เข้ามาลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ของจีน
แหล่งข่าวซึ่งมีความใกล้ชิดกับบริษัทมอร์แกน สแตนลีย์ และ ซีไอซีซี ยืนยันรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ต้ากงเป้าของฮ่องกง ซึ่งระบุว่า ธนาคารเพื่อการลงทุนสหรัฐฯ "มอร์แกน สแตนลีย์" กำลังวางแผนเทขายหุ้นของซีไอซีซีหมดหน้าตัก โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจากับบริษัทกองทุนเอกชนรายอื่นๆ เพื่อหาผู้ซื้อ แต่ย้ำว่าต้องไม่ใช่ธนาคารเพื่อการลงทุน
ปัจจุบันมอร์แกน สแตนลีย์ถือหุ้นในซีไอซีซีทั้งสิ้น 34.4% แต่ด้วยบทบาทที่จำกัดของธนาคารเพื่อการลงทุน ทำให้บริษัทสหรัฐฯ อาจต้องขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในซีไอซีซี และหันไปลงทุนในโบรกเกอร์ท้องถิ่นอีกรายแทน โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สื่อจีนรายงานว่า มอร์แกน สแตนลีย์กำลังวางแผนที่จะซื้อหุ้น 33.5% ของบริษัทหลักทรัพย์ไชน่า ฟอร์จูนในเซี่ยงไฮ้เป็นเงินถึง 4,000 ล้านหยวน
รายงานยังระบุอีกว่า มอร์แกนได้ลงนามสัญญากับบริษัทหลักทรัพย์ไชน่า ฟอร์จูน เพื่อจัดตั้งธนาคารร่วมทุนเพื่อการลงทุน และมอร์แกนน่าจะสนใจถือหุ้นใหญ่ของธนาคารดังกล่าวด้วย
แต่ภายใต้กฎระเบียบใหม่ ซึ่งออกโดยคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน (ซีเอสอาร์ซี) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมระบุว่า หุ้นสูงสุดที่นักลงทุนต่างชาติสามารถถือครองได้ในบริษัทหลักทรัพย์จีนจะยังคงอยู่ที่ประมาณ 33.3% ทั้งที่มีการลดกำแพงในด้านอื่นๆ ลงก็ตาม
อนึ่ง บริษัทหลักทรัพย์ไชน่า ฟอร์จูน นั้น ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 48 จากบริษัทโบรกเกอร์ทั้งสิ้น 104 แห่ง จากเงินทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,000 ล้านหยวนเมื่อปลายปี 2006 ที่ผ่านมา ตามข้อมูลจากซีเอสอาร์ซี
นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ของซีเอสอาร์ซีซึ่งออกเมื่อปลายเดือนธันวาคมยังเรียกร้องให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องมีเงินทุนสุทธิ 1,200 ล้านหยวนหากต้องการจัดตั้งสาขาย่อย
“เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของซีเอสอาร์ซี มอร์แกน สแตนลีย์ และไชน่า ฟอร์จูน อาจต้องเพิ่มเงินทุนสุทธิของบริษัทก่อนที่จะร่วมกันจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุน” เหลียงจิง นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์กั๋วไท่ จวินอันแสดงความคิดเห็น พร้อมกล่าวว่า “กฎระเบียบใหม่อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับทั้งสองบริษัท”
ทั้งนี้ มอร์แกน สแตนลีย์คาดว่าจะกลายเป็นหนึ่งในบริษัทต่างชาติรายแรกๆ ที่เข้ามาลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ท้องถิ่นในปี 2008 หลังจากที่รัฐบาลปักกิ่งได้ฟื้นกฎอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาร่วมทุนในบริษัทหลักทรัพย์จีนได้ อันเป็นผลตกผลึกมาจากการประชุมหารือกลยุทธเศรษฐกิจจีน-สหรัฐ
โดยรัฐบาลปักกิ่งนั้นได้ห้ามบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ท้องถิ่นตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2006 เนื่องจากกังวลว่า ต่างชาติจะเข้ามาคุกคามบริษัทโบรกเกอร์ท้องถิ่น ซึ่งเพิ่งฟื้นฟูหลังจากซบเซานานถึง 4 ปี ก่อนที่จะมีการสั่งห้ามดังกล่าว ยูเอสบี และโกลด์แมน แซกส์ เป็นบริษัทต่างชาติเพียง 2 รายที่เข้ามาลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ของจีน