jatung_32@yahoo.com
ดีใจคะที่ได้เสียงตอบรับจากท่านผู้อ่าน กับแนวคิดที่อ้วนอยากจะมีการนัดเจอกัน จะนัดแยกกันเฉพาะกลุ่มหญิงล้วน หรือนัดรวมกลุ่มชายหญิงก็ได้คะ ไม่มีปัญหาแต่อย่างไร ยินดีทุกรูปแบบ ขอแค่หลักการที่ว่า เมื่อเราเจอกันแล้ว อยากให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นเท่านั้น..ก็พอใจแล้วคะ
**********
สิ่งที่อ้วนนำเสนอในคอลัมน์ “คุยออกรสกับอ้วน อารีวรรณ” ก็คงเหมือนกับร้านอาหารสักร้านหนึ่งที่พยายามสรรสร้างเมนูที่หลากหลาย การปรุงแต่งรสชาติเป็นไปตามสไตล์หรือความถนัดในการทำอาหารนั้นๆ อาจมีบางคนชอบเฉพาะบางเมนูหรือติดใจในกับข้าวบางอย่าง แต่บางคนก็ไม่ถูกปาก เพราะรู้สึกว่ารสชาติมันจืดชืดไป ไม่เข้มข้น หรือบางคนก็อาจคิดว่ามีเมนูหลายอย่างมากไป ทำให้เก่งเป็นอย่างๆ ดีกว่าไหม?
ในฐานะที่เป็นแม่ครัวมือใหม่อยู่ในร้านชื่อดังขนาดนี้ ก็ต้องการให้ลูกค้าทุกๆ คน ประทับใจในฝีมือการปรุงของตัวเองอย่างทั่วหน้า ก็จะพยายามปรับปรุงฝีมือในการทำครัวไปเรื่อยๆ และก็อยากให้ลูกค้าแต่ละท่านได้แนะนำติชมกันเข้ามาเยอะๆ หรือท่านใด อยากให้ทำอาหารเมนูไหนเป็นพิเศษ ก็แจ้งกันเข้ามาได้นะคะ
บางครั้งบางคราวอาจทำอาหารออกมา รสชาติไม่ถูกปาก เพราะแม่ครัวคิดเอาเองว่า ลิ้นตัวเองดีแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นแค่มุมมองของเราคนเดียว ไม่ใช่ความเป็นจริงทั้งหมดในสังคม ก็ต่อว่าเข้ามากันได้เลยคะ อย่าปล่อยให้อ้วนทำตัวสะเหร่อออกไปอย่างนั้น
ถ้ายังรักกันอยู่ ถือว่า “ติเพื่อก่อ” ค่ะ
ที่สำคัญ แม่ครัวกลัวโดนไล่ออกนะสิ..
และยอมรับว่า ถ้าตัวเองไม่เจอะเจอเรื่องราวความรุนแรงในครอบครัวเมื่อสิบกว่าปีก่อน ชีวิตอ้วนก็คงถูกปิดกั้นอยู่ในมุมมองกรอบคิดในแบบเดิมๆ เป็นผู้หญิงที่ไม่ได้คิดอะไรไปไกลจากความสุขของตัวเรา และของครอบครัวเราเท่านั้น คงไม่ได้มองปัญหาของสังคมอย่างชิดใกล้และมีส่วนร่วมแบบนี้แน่ๆ
ดังนั้น ต้องขอขอบคุณทุกประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และทุกๆ คนที่ทำให้อ้วนได้แง่คิดต่างๆ จนทำให้เราได้เป็นตัวเราอย่างทุกวันนี้
**********
วันนี้เรื่องราวที่นำเสนออาจเป็นเหมือนเมนูพื้นๆ ที่หลายคนทานมาเยอะแล้ว แต่อ้วนคิดว่าอีกหลายๆ คน ซึ่งไม่มีเพื่อนฝูงหรือญาติมิตรอยู่ในแวดวงนักกฎหมาย ก็คงไม่เคยได้รับทราบเรื่องราวเหล่านี้มาก่อน ยกตัวอย่างตัวอ้วนเองก่อนหน้าที่จะมาร่ำเรียนวิชากฎหมายก็ไม่เคยรู้เลย
เหตุผลที่อ้วนมาเรียนกฎหมายจนจบปริญญาตรีและโท และสอบใบอนุญาตว่าความเป็นทนายมาได้หลายปี คงไม่ต้องเล่าย้อนความถึงนะคะ และเรียนแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง ก็คงรู้อยู่แล้วว่า เรียนหนังสือก็ต้องได้ความรู้อย่างแน่นอน
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกดียิ่งขึ้น คือการที่เรามีเพื่อนอยู่ในแวดวงผู้ใช้กฎหมายเป็นอาชีพเยอะพอสมควร จากเดิมที่มีเพื่อนในแวดวงพยาบาล สื่อสารมวลชน และอื่นๆ อ้วนเลยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองความคิดเห็นของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่สำคัญต่างๆ เหล่านี้ ในฐานะที่เป็นเพื่อนกับเขา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ปปช, ปปส, สตง, ดีเอสไอ, นิติกรในกรม,กระทรวงต่างๆ , อัยการ, ผู้พิพากษา, และทนายความ
เป็นที่มาของเรื่องราว ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง
คนที่เรียนกฎหมายจนจบตรีหรือโทได้ จะต้องเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจสูงในระดับหนึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มักมีเป้าหมายที่มุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จ นั้นคือ ถ้าไม่เป็นผู้พิพากษา ก็ต้องเป็นอัยการ เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ได้รับการยอมรับจากสังคม และมีค่าตอบแทนสูง
แต่เส้นทางนี้ ไม่ง่ายเลย เมื่อเรียนจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็ต้องสอบเป็นทนายความ เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานคดี หรือเป็นนิติกรในหน่วยงานภาครัฐอย่างน้อยสองปี แล้วต้องสอบให้ตัวเองได้เป็นสมาชิกเนติบัณฑิต จึงมีคุณสมบัติมีสิทธิสอบคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ
สัดส่วนของผู้เรียนเนติฯ หลักหมื่นคนแล้วสอบผ่านอยู่ที่หลักพันคน จากนั้นยอดผู้ที่สอบผ่านเนติและเป็นทนายความฯ หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์ในจำนวนหลายพันคน ก็มาสอบคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการได้ในจำนวนหลักสิบหรือหลักร้อยคนเท่านั้น
“เส้นทางนี้ จึงเปรียบเสมือนกับการปีนขึ้นสู่ยอดเขาที่สูงชัน ที่ผู้คิดจะปีนไปให้ถึงยอดเขา ต้องเอาชนะจิตใจตัวเองให้ได้ก่อน โดยเฉพาะความท้อถอยและความเกียจคร้าน”
และก็มีบางส่วนในแวดวงนักกฏหมาย ที่คิดว่าเราไม่จำเป็นต้องไปสอบแข่งขันเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการอย่างคนอื่นๆ ก็ได้ เพราะพึงพอใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองอยู่แล้ว อย่างเช่น เป็นนักวิชาการครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ
**********
อ้วนได้เห็นภาพของเพื่อนๆ น้องๆ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ อ่านหนังสือกันอย่างหนักเพื่อการสอบ เรียกว่า ตื่นเช้ามาอ่านหนังสือ เที่ยงพักทานข้าว บ่ายอ่านต่อจนถึงเย็นจึงพักทานข้าวเย็น แล้วก็อ่านต่อจนถึงค่ำมืดดึกดื่น เป็นอย่างนี้กันหลายๆ เดือน หรือบางคนอาจเป็นปี ถึงจะประสบความสำเร็จอย่างที่มุ่งมั่นตั้งใจ
บางคนจึงกล่าวว่า ด้วยสาเหตุของการที่ผู้ทำงานในแวดวงนักกฎหมาย ต้องอยู่กับตำรับตำรามากขนาดนี้หรือเปล่า? ทำให้พวกเขาไม่ค่อยได้เรียนรู้สิ่งที่นอกเหนือจากตำรากฎหมาย และเป็นที่มาของคำว่า “ติดอยู่ในกรอบหลักเกณฑ์ตัวบทกฎหมาย” เท่านั้น
จึงไม่แปลกอะไรที่กรอบแนวคิดโดยส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในแวดวงนี้ ทั้งผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ หรือเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมอื่นๆ จึงเห็นว่า การให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายและหลักแนวคิดของการตีความตามตัวบทเท่านั้น เป็นการทำหน้าที่อย่างดีแล้ว
แต่อาจมีบางคนที่ไม่สนใจในหลักคิดดังกล่าวเลย หรือบางคนอาจใช้ประโยชน์จากการที่กลุ่มนักกฎหมายไม่กล้าขยับขับเคลื่อนอะไรหากไม่มีกฎหมายมารองรับให้กระทำได้ ไปในทิศทางเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องของตน อย่างที่เราได้เคยเห็นกันมาบ้างแล้ว
จึงได้มีนักวิชาการบางคน แนะนำให้เกิดปรากฎการณ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ขึ้น
ความคิดเห็นโดยส่วนตัว อ้วนคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจาก “คนสร้างระบบ” และ “ระบบก็สร้างคน” มากกว่า เนื่องจากสังคมเองก็ต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมมีมาตรฐานในการพิจารณาตัดสินคดีเพื่อให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริงในสังคม
จึงสร้างระบบของการกลั่นกรองบุคคลากรที่จะเข้าไปทำหน้าที่นี้ ในรูปแบบที่ต้องใช้ระบบสอบคัดเลือกเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง จนทำให้ผู้ลงสนามสอบต้องทุ่มเทความสำคัญไปกับวิชาการความรู้อย่างมากมาย จนอาจหลงลืมความสำคัญบางอย่างไป โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า จะทำอย่างไรให้ประชาชนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีความรู้ ได้เข้าใจและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เพื่อได้รับความเป็นธรรมทางสังคม
**********
อ้วนไม่ก้าวล่วง หรือบังอาจอวดเก่งอธิบายเรื่อง “ผู้พิพากษา” “ตุลาการ” หรือ “อัยการ” ไปมากกว่านี้ เพราะเรายังเป็นแค่ผู้ใช้กฎหมายในฐานะทนายความตัวเล็กๆ และคนทำงานในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีเท่านั้น
แต่เป็นที่รู้กันว่า “ใครถือกฎหมาย คนนั้นถืออำนาจ” หรือเอาเป็นว่า ใครรู้กฎหมายก็ย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่ไม่รู้กฎหมาย ถูกต้องไหมคะ?
ถามว่า ขนาดพวกเราที่เรียนจบปริญญาตรี ถ้าไม่ได้ค้นคว้าหาความรู้เรื่องกฎหมายมาใส่ตัวเองบ้าง เราก็คงแก้ปัญหาหลายๆ อย่างไม่ถูกเหมือนกัน และก็ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ดี แล้วถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ตาสียายสา จะทำอย่างไรล่ะคะ
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีหนึ่งที่พบบ่อยๆ คือ โดนงัดห้องพักในหอพักหรือคอนโดฯ ที่เราเช่าอาศัยอยู่ เราก็ต้องขึ้นโรงพักด้วยใจหวั่นๆ คาดหวังว่า ตำรวจจะช่วยดำเนินการติดตามสืบหาโจรผู้ร้ายมาลงโทษ หรืออย่างน้อยก็ช่วยตามหาทรัพย์สินของเรากลับคืนมาบ้าง เก็บเงินเก็บทองผ่อนอยู่หลายปีกว่าจะได้มีสมบัติสักชิ้น
ปรากฎว่า ขึ้นโรงพัก แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วมีการลงบันทึกประจำวัน ได้เอกสารหนึ่งแผ่น กลับไปนอนดูให้เจ็บใจว่า อะไรหายไปบ้าง พร้อมกับฝันเล็กๆว่า เดี๋ยวตำรวจคงมาดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดต่อไป
คิดแบบนี้ บอกได้เลยว่า “เข้าใจผิด” เพราะการที่ตำรวจลงบันทึกประจำวัน ก็ไม่ต่างกับการที่ตำรวจได้รับทราบเรื่องราวต่างๆ ที่ประชาชนแจ้ง แล้วลงบันทึกในไดอารี่ของหน่วยงาน เนื่องจากการลงบันทึกประจำวันไม่ใช่การร้องทุกข์ตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่อย่างใด
เมื่อไม่ได้เป็นการร้องทุกข์ตามระเบียบของกฎหมาย ก็ย่อมส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ต้องทำการสอบสวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ (ไอ้ที่ถามๆ ไป แต่ไม่ได้เขียน เรียกว่า พูดคุยสนทนากันธรรมดาๆ ) เมื่อไม่มีการสอบสวนก็ยังไม่มีผู้ต้องหาหรือผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด เรียกว่าคนชั่วก็ยังคงลอยนวลอยู่ ก็ได้เหมือนกันคะ
**********
อ้วนเองได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมอยู่หลายครั้ง จึงได้รับฟังมุมมองความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมว่า จะก้าวข้ามผ่านปัญหาที่ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาหรือเข้าสู่ขบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง
หากเราเชื่อว่า ปัญหาอยู่ที่จุดเริ่มต้น คือ “อำนาจสอบสวน” ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ?
ในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยธรรมดาๆ คนหนึ่ง เราจะไว้วางใจให้ “อำนาจสอบสวน” นี้อยู่กับใครคะ อยู่กับอัยการดีไหม? หรือว่าอยู่กับผู้พิพากษา?
โดยส่วนตัว อ้วนเห็นว่า อยู่กับใครหรือหน่วยงานไหนก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงคนในองค์กรนั้นเป็นคนดีมีความยุติธรรม และทำให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมได้ โดยไม่สร้างระบบสองมาตรฐานขึ้นก็เพียงพอแล้ว
แต่ความสำคัญอยู่ที่จะทำอย่างไรให้กฎหมายสามารถตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ เราอาจต้องกลับไปดูถึงที่มาของกฎหมาย ประกอบกับผู้บังคับใช้กฎหมายควบคู่กัน
มุมของสตรีนิยมมีแนวคิดที่ว่า การที่ผู้หญิงถูกมองว่าไม่มีส่วนสำคัญในการกำหนดกฎหมายที่จะมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม อาจเพราะนักวิชาการด้านกฎหมายที่เป็นผู้หญิงมีจำนวนน้อยกว่าผู้ชาย หรือว่าสตรีมีส่วนร่วมทางการเมืองในสัดส่วนที่น้อยมาก อาจทำให้มุมมองในแบบสตรีไม่มีโอกาสได้นำเสนอต่อสังคมเท่าที่ควร แม้ว่าประชากรเกินครึ่งหนึ่งของสังคมจะเป็นผู้หญิงก็ตาม
เมื่อกรอบความคิดที่ใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ระหว่างคนตัวเล็กตัวน้อย หรือผู้อ่อนแอ อ่อนด้อย ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพากระบวนการยุติธรรมมากกว่าคนที่เข้มแข็งและมีอำนาจ ย่อมไม่ได้รับการตระหนักถึง กลายเป็นมิติของชนชั้นทางสังคมโดยปริยาย
ผู้หญิงได้กลายเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าหรือไม่มีความเท่าเทียมกับผู้ชาย ย่อมส่งผลให้กลุ่มสตรีนิยมเกิดทัศนคติแบบผสมผสานว่า “เมื่อแนวความคิดของกฎหมายมาจากชนชั้นใด กฎหมายก็ย่อมเอื้อประโยชน์กับชนชั้นนั้น หากกฎหมายมาจากแนวความคิดของบุรุษ ก็ย่อมทำให้กฎหมายที่ออกมาเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์กับบุรุษ”
ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรคะ ...
ดีใจคะที่ได้เสียงตอบรับจากท่านผู้อ่าน กับแนวคิดที่อ้วนอยากจะมีการนัดเจอกัน จะนัดแยกกันเฉพาะกลุ่มหญิงล้วน หรือนัดรวมกลุ่มชายหญิงก็ได้คะ ไม่มีปัญหาแต่อย่างไร ยินดีทุกรูปแบบ ขอแค่หลักการที่ว่า เมื่อเราเจอกันแล้ว อยากให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นเท่านั้น..ก็พอใจแล้วคะ
**********
สิ่งที่อ้วนนำเสนอในคอลัมน์ “คุยออกรสกับอ้วน อารีวรรณ” ก็คงเหมือนกับร้านอาหารสักร้านหนึ่งที่พยายามสรรสร้างเมนูที่หลากหลาย การปรุงแต่งรสชาติเป็นไปตามสไตล์หรือความถนัดในการทำอาหารนั้นๆ อาจมีบางคนชอบเฉพาะบางเมนูหรือติดใจในกับข้าวบางอย่าง แต่บางคนก็ไม่ถูกปาก เพราะรู้สึกว่ารสชาติมันจืดชืดไป ไม่เข้มข้น หรือบางคนก็อาจคิดว่ามีเมนูหลายอย่างมากไป ทำให้เก่งเป็นอย่างๆ ดีกว่าไหม?
ในฐานะที่เป็นแม่ครัวมือใหม่อยู่ในร้านชื่อดังขนาดนี้ ก็ต้องการให้ลูกค้าทุกๆ คน ประทับใจในฝีมือการปรุงของตัวเองอย่างทั่วหน้า ก็จะพยายามปรับปรุงฝีมือในการทำครัวไปเรื่อยๆ และก็อยากให้ลูกค้าแต่ละท่านได้แนะนำติชมกันเข้ามาเยอะๆ หรือท่านใด อยากให้ทำอาหารเมนูไหนเป็นพิเศษ ก็แจ้งกันเข้ามาได้นะคะ
บางครั้งบางคราวอาจทำอาหารออกมา รสชาติไม่ถูกปาก เพราะแม่ครัวคิดเอาเองว่า ลิ้นตัวเองดีแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นแค่มุมมองของเราคนเดียว ไม่ใช่ความเป็นจริงทั้งหมดในสังคม ก็ต่อว่าเข้ามากันได้เลยคะ อย่าปล่อยให้อ้วนทำตัวสะเหร่อออกไปอย่างนั้น
ถ้ายังรักกันอยู่ ถือว่า “ติเพื่อก่อ” ค่ะ
ที่สำคัญ แม่ครัวกลัวโดนไล่ออกนะสิ..
และยอมรับว่า ถ้าตัวเองไม่เจอะเจอเรื่องราวความรุนแรงในครอบครัวเมื่อสิบกว่าปีก่อน ชีวิตอ้วนก็คงถูกปิดกั้นอยู่ในมุมมองกรอบคิดในแบบเดิมๆ เป็นผู้หญิงที่ไม่ได้คิดอะไรไปไกลจากความสุขของตัวเรา และของครอบครัวเราเท่านั้น คงไม่ได้มองปัญหาของสังคมอย่างชิดใกล้และมีส่วนร่วมแบบนี้แน่ๆ
ดังนั้น ต้องขอขอบคุณทุกประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และทุกๆ คนที่ทำให้อ้วนได้แง่คิดต่างๆ จนทำให้เราได้เป็นตัวเราอย่างทุกวันนี้
**********
วันนี้เรื่องราวที่นำเสนออาจเป็นเหมือนเมนูพื้นๆ ที่หลายคนทานมาเยอะแล้ว แต่อ้วนคิดว่าอีกหลายๆ คน ซึ่งไม่มีเพื่อนฝูงหรือญาติมิตรอยู่ในแวดวงนักกฎหมาย ก็คงไม่เคยได้รับทราบเรื่องราวเหล่านี้มาก่อน ยกตัวอย่างตัวอ้วนเองก่อนหน้าที่จะมาร่ำเรียนวิชากฎหมายก็ไม่เคยรู้เลย
เหตุผลที่อ้วนมาเรียนกฎหมายจนจบปริญญาตรีและโท และสอบใบอนุญาตว่าความเป็นทนายมาได้หลายปี คงไม่ต้องเล่าย้อนความถึงนะคะ และเรียนแล้วได้ประโยชน์อะไรบ้าง ก็คงรู้อยู่แล้วว่า เรียนหนังสือก็ต้องได้ความรู้อย่างแน่นอน
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกดียิ่งขึ้น คือการที่เรามีเพื่อนอยู่ในแวดวงผู้ใช้กฎหมายเป็นอาชีพเยอะพอสมควร จากเดิมที่มีเพื่อนในแวดวงพยาบาล สื่อสารมวลชน และอื่นๆ อ้วนเลยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองความคิดเห็นของผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่สำคัญต่างๆ เหล่านี้ ในฐานะที่เป็นเพื่อนกับเขา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ, เจ้าหน้าที่ปปช, ปปส, สตง, ดีเอสไอ, นิติกรในกรม,กระทรวงต่างๆ , อัยการ, ผู้พิพากษา, และทนายความ
เป็นที่มาของเรื่องราว ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง
คนที่เรียนกฎหมายจนจบตรีหรือโทได้ จะต้องเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจสูงในระดับหนึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มักมีเป้าหมายที่มุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จ นั้นคือ ถ้าไม่เป็นผู้พิพากษา ก็ต้องเป็นอัยการ เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ได้รับการยอมรับจากสังคม และมีค่าตอบแทนสูง
แต่เส้นทางนี้ ไม่ง่ายเลย เมื่อเรียนจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ก็ต้องสอบเป็นทนายความ เก็บเกี่ยวประสบการณ์งานคดี หรือเป็นนิติกรในหน่วยงานภาครัฐอย่างน้อยสองปี แล้วต้องสอบให้ตัวเองได้เป็นสมาชิกเนติบัณฑิต จึงมีคุณสมบัติมีสิทธิสอบคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ
สัดส่วนของผู้เรียนเนติฯ หลักหมื่นคนแล้วสอบผ่านอยู่ที่หลักพันคน จากนั้นยอดผู้ที่สอบผ่านเนติและเป็นทนายความฯ หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามหลักเกณฑ์ในจำนวนหลายพันคน ก็มาสอบคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการได้ในจำนวนหลักสิบหรือหลักร้อยคนเท่านั้น
“เส้นทางนี้ จึงเปรียบเสมือนกับการปีนขึ้นสู่ยอดเขาที่สูงชัน ที่ผู้คิดจะปีนไปให้ถึงยอดเขา ต้องเอาชนะจิตใจตัวเองให้ได้ก่อน โดยเฉพาะความท้อถอยและความเกียจคร้าน”
และก็มีบางส่วนในแวดวงนักกฏหมาย ที่คิดว่าเราไม่จำเป็นต้องไปสอบแข่งขันเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการอย่างคนอื่นๆ ก็ได้ เพราะพึงพอใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองอยู่แล้ว อย่างเช่น เป็นนักวิชาการครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ
**********
อ้วนได้เห็นภาพของเพื่อนๆ น้องๆ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ อ่านหนังสือกันอย่างหนักเพื่อการสอบ เรียกว่า ตื่นเช้ามาอ่านหนังสือ เที่ยงพักทานข้าว บ่ายอ่านต่อจนถึงเย็นจึงพักทานข้าวเย็น แล้วก็อ่านต่อจนถึงค่ำมืดดึกดื่น เป็นอย่างนี้กันหลายๆ เดือน หรือบางคนอาจเป็นปี ถึงจะประสบความสำเร็จอย่างที่มุ่งมั่นตั้งใจ
บางคนจึงกล่าวว่า ด้วยสาเหตุของการที่ผู้ทำงานในแวดวงนักกฎหมาย ต้องอยู่กับตำรับตำรามากขนาดนี้หรือเปล่า? ทำให้พวกเขาไม่ค่อยได้เรียนรู้สิ่งที่นอกเหนือจากตำรากฎหมาย และเป็นที่มาของคำว่า “ติดอยู่ในกรอบหลักเกณฑ์ตัวบทกฎหมาย” เท่านั้น
จึงไม่แปลกอะไรที่กรอบแนวคิดโดยส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในแวดวงนี้ ทั้งผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ หรือเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมอื่นๆ จึงเห็นว่า การให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายและหลักแนวคิดของการตีความตามตัวบทเท่านั้น เป็นการทำหน้าที่อย่างดีแล้ว
แต่อาจมีบางคนที่ไม่สนใจในหลักคิดดังกล่าวเลย หรือบางคนอาจใช้ประโยชน์จากการที่กลุ่มนักกฎหมายไม่กล้าขยับขับเคลื่อนอะไรหากไม่มีกฎหมายมารองรับให้กระทำได้ ไปในทิศทางเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องของตน อย่างที่เราได้เคยเห็นกันมาบ้างแล้ว
จึงได้มีนักวิชาการบางคน แนะนำให้เกิดปรากฎการณ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ขึ้น
ความคิดเห็นโดยส่วนตัว อ้วนคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจาก “คนสร้างระบบ” และ “ระบบก็สร้างคน” มากกว่า เนื่องจากสังคมเองก็ต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมมีมาตรฐานในการพิจารณาตัดสินคดีเพื่อให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริงในสังคม
จึงสร้างระบบของการกลั่นกรองบุคคลากรที่จะเข้าไปทำหน้าที่นี้ ในรูปแบบที่ต้องใช้ระบบสอบคัดเลือกเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง จนทำให้ผู้ลงสนามสอบต้องทุ่มเทความสำคัญไปกับวิชาการความรู้อย่างมากมาย จนอาจหลงลืมความสำคัญบางอย่างไป โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า จะทำอย่างไรให้ประชาชนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีความรู้ ได้เข้าใจและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เพื่อได้รับความเป็นธรรมทางสังคม
**********
อ้วนไม่ก้าวล่วง หรือบังอาจอวดเก่งอธิบายเรื่อง “ผู้พิพากษา” “ตุลาการ” หรือ “อัยการ” ไปมากกว่านี้ เพราะเรายังเป็นแค่ผู้ใช้กฎหมายในฐานะทนายความตัวเล็กๆ และคนทำงานในแวดวงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีเท่านั้น
แต่เป็นที่รู้กันว่า “ใครถือกฎหมาย คนนั้นถืออำนาจ” หรือเอาเป็นว่า ใครรู้กฎหมายก็ย่อมได้เปรียบกว่าผู้ที่ไม่รู้กฎหมาย ถูกต้องไหมคะ?
ถามว่า ขนาดพวกเราที่เรียนจบปริญญาตรี ถ้าไม่ได้ค้นคว้าหาความรู้เรื่องกฎหมายมาใส่ตัวเองบ้าง เราก็คงแก้ปัญหาหลายๆ อย่างไม่ถูกเหมือนกัน และก็ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ดี แล้วถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ ตาสียายสา จะทำอย่างไรล่ะคะ
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีหนึ่งที่พบบ่อยๆ คือ โดนงัดห้องพักในหอพักหรือคอนโดฯ ที่เราเช่าอาศัยอยู่ เราก็ต้องขึ้นโรงพักด้วยใจหวั่นๆ คาดหวังว่า ตำรวจจะช่วยดำเนินการติดตามสืบหาโจรผู้ร้ายมาลงโทษ หรืออย่างน้อยก็ช่วยตามหาทรัพย์สินของเรากลับคืนมาบ้าง เก็บเงินเก็บทองผ่อนอยู่หลายปีกว่าจะได้มีสมบัติสักชิ้น
ปรากฎว่า ขึ้นโรงพัก แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วมีการลงบันทึกประจำวัน ได้เอกสารหนึ่งแผ่น กลับไปนอนดูให้เจ็บใจว่า อะไรหายไปบ้าง พร้อมกับฝันเล็กๆว่า เดี๋ยวตำรวจคงมาดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดต่อไป
คิดแบบนี้ บอกได้เลยว่า “เข้าใจผิด” เพราะการที่ตำรวจลงบันทึกประจำวัน ก็ไม่ต่างกับการที่ตำรวจได้รับทราบเรื่องราวต่างๆ ที่ประชาชนแจ้ง แล้วลงบันทึกในไดอารี่ของหน่วยงาน เนื่องจากการลงบันทึกประจำวันไม่ใช่การร้องทุกข์ตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่อย่างใด
เมื่อไม่ได้เป็นการร้องทุกข์ตามระเบียบของกฎหมาย ก็ย่อมส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ต้องทำการสอบสวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ (ไอ้ที่ถามๆ ไป แต่ไม่ได้เขียน เรียกว่า พูดคุยสนทนากันธรรมดาๆ ) เมื่อไม่มีการสอบสวนก็ยังไม่มีผู้ต้องหาหรือผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด เรียกว่าคนชั่วก็ยังคงลอยนวลอยู่ ก็ได้เหมือนกันคะ
**********
อ้วนเองได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมอยู่หลายครั้ง จึงได้รับฟังมุมมองความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมว่า จะก้าวข้ามผ่านปัญหาที่ประชาชนไม่สามารถพึ่งพาหรือเข้าสู่ขบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง
หากเราเชื่อว่า ปัญหาอยู่ที่จุดเริ่มต้น คือ “อำนาจสอบสวน” ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ?
ในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยธรรมดาๆ คนหนึ่ง เราจะไว้วางใจให้ “อำนาจสอบสวน” นี้อยู่กับใครคะ อยู่กับอัยการดีไหม? หรือว่าอยู่กับผู้พิพากษา?
โดยส่วนตัว อ้วนเห็นว่า อยู่กับใครหรือหน่วยงานไหนก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงคนในองค์กรนั้นเป็นคนดีมีความยุติธรรม และทำให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมได้ โดยไม่สร้างระบบสองมาตรฐานขึ้นก็เพียงพอแล้ว
แต่ความสำคัญอยู่ที่จะทำอย่างไรให้กฎหมายสามารถตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ เราอาจต้องกลับไปดูถึงที่มาของกฎหมาย ประกอบกับผู้บังคับใช้กฎหมายควบคู่กัน
มุมของสตรีนิยมมีแนวคิดที่ว่า การที่ผู้หญิงถูกมองว่าไม่มีส่วนสำคัญในการกำหนดกฎหมายที่จะมาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม อาจเพราะนักวิชาการด้านกฎหมายที่เป็นผู้หญิงมีจำนวนน้อยกว่าผู้ชาย หรือว่าสตรีมีส่วนร่วมทางการเมืองในสัดส่วนที่น้อยมาก อาจทำให้มุมมองในแบบสตรีไม่มีโอกาสได้นำเสนอต่อสังคมเท่าที่ควร แม้ว่าประชากรเกินครึ่งหนึ่งของสังคมจะเป็นผู้หญิงก็ตาม
เมื่อกรอบความคิดที่ใช้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ระหว่างคนตัวเล็กตัวน้อย หรือผู้อ่อนแอ อ่อนด้อย ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพากระบวนการยุติธรรมมากกว่าคนที่เข้มแข็งและมีอำนาจ ย่อมไม่ได้รับการตระหนักถึง กลายเป็นมิติของชนชั้นทางสังคมโดยปริยาย
ผู้หญิงได้กลายเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าหรือไม่มีความเท่าเทียมกับผู้ชาย ย่อมส่งผลให้กลุ่มสตรีนิยมเกิดทัศนคติแบบผสมผสานว่า “เมื่อแนวความคิดของกฎหมายมาจากชนชั้นใด กฎหมายก็ย่อมเอื้อประโยชน์กับชนชั้นนั้น หากกฎหมายมาจากแนวความคิดของบุรุษ ก็ย่อมทำให้กฎหมายที่ออกมาเป็นกฎหมายที่เอื้อประโยชน์กับบุรุษ”
ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรคะ ...