หลังจากได้ยลโฉมพร้อมทั้งได้ข้อมูลจาก Review : Windows 8 "Developer Preview" (ตอนที่ 1 - ประสิทธิภาพโดยรวม) กันไปแล้ว มาถึง ภาคต่อเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน (ขอใช้คำว่าแอปพลิเคชันแทนโปรแกรมตามที่ สตีฟ ไซนอฟสกี้ ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์วินโดวส์และวินโดวส์ไลฟ์ ขึ้นพูดในงานเปิดตัว) โดยทั้งหมดจะติดตั้งมาพร้อมใช้งานบน Metro UI
สำหรับแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาใน Meteo UI และพร้อมให้เข้าใช้งานเลยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลอย่าง IE 10, Socialite, Tweet@rama, NewsFeed, Weather, Stocks
อีกกลุ่มคือ โปรแกรมทั่วไปอย่าง Piano, Paintplay, Labyrinth, Mopod, NearMe, Picstream, Measurelt, Remote Desktop, Alarms, Memories, Notespace, Flash Cards และ Inkpad กลุ่มสุดท้ายคือเกมที่มีให้เลือกเล่นตั้งแต่ 5, Tile Puzzle, Zero Gravity, Check, Treehouse, Stampede, Tube Rider, Word Hunt, Copper, Air Craft, BitBox และ Sudoku
ไล่กันตั้งแต่ Internet Explorer 10 บน Metro UI รูปแบบการแสดงผลที่เห็นจะออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนแท็บเล็ต หรือ จอมีเดียเพลยเยอร์มากกว่าใช้งานบนเดสก์ท็อป โดยจุดบอดที่สำคัญของ IE 10 Metro คือ การที่ไม่รองรับปลั๊กอิน (Plug-in) ที่ทางไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่า เพื่อให้ใช้แสดงผลเว็บไซต์ได้รวดเร็วที่สุด จึงส่งผลให้ตัว IE 10 ไม่สามารถแสดงผลแฟลชได้ แต่ยังรองรับการใช้งาน HTML5 ซึ่งกำลังถูกผลักดันขึ้นมาเป็นมาตรฐานใหม่อยู่
หน้าจอ IE 10 ที่ถูกออกแบบมาว่าง่ายนั้น ประกอบไปด้วยปุ่มย้อนกลับ โลโก้เว็บไซต์ ช่องแอดแดรสบาร์ (สามารถใช้พิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาข้อมูลได้) ปุ่มกดรีเฟรช ปักหมุดหน้าเว็บที่ชื่นชอบเพียงแค่นี้
หลังจากเข้าใช้งาน IE 10 กันแล้ว แอปฯที่ตามมาย่อมต้องเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ที่ไมโครซอฟท์เลือกนำ Socialite มาใส่ให้ผู้ใช้ได้เล่นเฟซบุ๊กกัน โดยการทำงานของ Socialite ที่หน้าหลักจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักคือ News Feed, Profile, Photos, Friends และ Check-in
เมื่อเข้ามาในส่วนของ News Feed จะแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ ฝั่งซ้ายแสดงข้อความล่าสุดจากเพื่อนทั้งหมด ส่วนฝั่งขวาจะเลือกแสดงผลเฉพาะผู้ติดต่อที่เลือกอยู่ ความสะดวกของการใช้งานโปรแกรม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ คอมเมนต์ สถานะล่าสุดจากภายในแอปพลิเคชันได้ทันที
ขณะที่ในส่วนของการแสดงโปรไฟล์เพื่อนจะเป็นการแสดงชื่อ รูป มีช่องให้โพสต์ข้อความเข้าไปที่หน้าวอลล์ของเพื่อน ส่วนฝั่งขวาเป็นสถานะล่าสุดที่ผู้ติดต่อนี้โพสต์ไว้ การเข้าใช้งานส่วนที่เหลืออย่างดูโปรไฟล์ตัวเอง ดูรูปภาพ รายชื่อเพื่อน ก็ใช้การแสดงผลในลักษณะเดียวกัน สุดท้ายคือการ Check-in เมื่อกดเข้าไปจะแสดงสถานที่ๆผู้ใช้งานเคยเชคอินไว้ ยังไม่มีระบบให้สามารถกดเข้าไปเชคอินสถานที่ใหม่ได้
อาจจะเพราะยังอยู่ในช่วงการพัฒนาทำให้การเข้าใช้งาน Socialite ยังดูแล้วไม่ค่อยสมบูรณ์แบบ ฟีเจอร์ที่ทำได้ค่อนข้างพื้นฐาน เมื่อเทียบกับแอปฯจากผู้ผลิตรายอื่น หรือแม้แต่แอปฯสำหรับเฟซบุ๊กในระบบปฏิบัติการอื่นก็ตาม ในจุดนี้แนะนำว่าเปิด IE 10 บนเดสก์ท็อปแล้วใช้งานต่อไปดีกว่า
ที่ดูดีขึ้นมาหน่อยของการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์คือ Tweet@rama ที่ให้ฟีเจอร์การใช้งานค่อนข้างครอบคลุมการใช้ทวิตเตอร์แบบพื้นๆ กล่าวคือมีไทม์ไลน์ให้ดู สามารถโพสต์ข้อความสั้น พร้อมแนบรูปภาพได้ทันที มีคมลัมน์แสดง Mentions Following Follower ให้เลือกดูได้ทันที แต่ก็ยังน่าเสียดายที่ไม่สามารถเพิ่มคอลัมน์สำหรับดู Hashtag โดยเฉพาะ รวมถึงการเพิ่มปุ่มกดตอบทวิต รีทวิต มาอำนวยความสะดวกในการใช้งานกัน
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับข่าวสารผ่านทาง RSS Feed ใน Windows 8 ก็มีแอปฯสำหรับดึงข้อมูล Rss Feed มาให้ได้ใช้งานกัน โดยผู้ใช้สามารถใส่ xml ด้วยตนเอง หรือเลือกจากที่ทางไมโครซอฟท์รวบรวมมาให้ก็ได้
เมื่อกดเข้าไปที่แหล่งข้อมูลนั้นๆ ก็จะขึ้นการแสดงผลที่ดึงหัวข้อ พร้อมคำโปรยเล็กน้อยมาให้ได้อ่านกัน ถ้าต้องการอ่านข้อมูลทั้งหมดก็ต้องสัมผัสไปที่หัวข้อนั้นๆ เพื่อเรียกใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ในการเปิดเว็บไซต์ขึ้นมา
แอปพลิเคชันสำหรับติดตามข้อมูลหุ้น ผู้ใช้สามารถเลือกเพิ่มหัวข้อหุ้นที่สนใจได้ และยังสามารถเลือกการแสดงผลเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือทั้งปี ขณะเดียวกันยังมีแสดงราคาหุ้นล่าสุด ราคาเปิดตลาด และข่าวสารเกี่ยวกับหุ้นจากทางไมโครซอฟท์
แอปพลิเคชันยอดฮิตที่ลอยตามมาจากการใช้งานสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่ช่วยระบุสภาพอากาศล่วงหน้าอากาศ ตามเมืองที่อาศัยอยู่ที่ดูล่วงหน้าได้ 5 วัน ซึ่งในแต่ละวันจะมีระบุย่อยลงไปอีกว่า อุณหภูมิสูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย ค่ารังสียูวี สภาพเมฆ ความชื้นจำเพาะ ความเร็วลมเป็นต้น
ในส่วนของแอปพลิเคชันทั่วไป จะมีที่น่าสนใจตรง Memories ที่ออกแบบมาให้เป็นสมุดภาพไดอารี ช่วยบันทึกความทรงจำ มีลูกเล่นช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ที่ชอบบันทึกเรื่องราวความประทับใจในแต่ละวัน ผู้ใช้สามารถเลือกธีม ก่อนเลือกเลย์เอาท์ ใส่รูปภาพ และข้อความตามลงไปเพื่อให้ในหนึ่งหน้าความทรงจำสมบูรณ์แบบ
Picstream เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยดึงรูปจากบริการออนไลน์อย่าง Flickr มาแสดงผลในตัวเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 โดยผู้ใช้สามารถเลือกดูรูปภาพอื่นๆได้จากแท็กของภาพ
และจากการออกแบบมาให้เหมาะสมกับแท็บเล็ต แอปพลิเคชันที่ช่วยแสดงศักยภาพในการใช้นิ้วควบคุม คงหนีไม่พ้นโปรแกรม Paint ที่ออกแบบมาใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้งานบนแท็บเล็ต จากปุ่มควบคุมที่ใหญ่ขึ้น สามารถใช้นิ้วในการแตะสั่งงานได้ วาดภาพได้ตามความต้องการ
ขณะที่ Inkpad เป็นแอปฯที่ช่วยในการจดบันทึก ซึ่งเมื่อจดตัวอักษรภาษาอังกฤษลงไป ตัวโปรแกรมจะแปลงเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษให้โดยอัตโนมัติ หรือจะบันทึกเป็นไฟล์ตามลายมือของผู้จดก็ได้เช่นเดียวกัน
เป็นเหมือนสมุดจดบันทึกข้อความทั่วไป ปรับขนาดตัวอักษร เปลี่ยนสี นำเข้าไฟล์เอกสาร จับภาพจากกล้อง บันทึกเสียง ออกมาเป็นโน้ตย่อแต่ละอัน
Alarms ก็เหมือนนาฬิกาปลุกทั่วไป เลือกใส่ชื่อการแจ้งเตือน เวลา แล้วกดเพิ่ม ลบ เวลาที่ตั้งไว้ได้เหมือนในสมาร์ทโฟนวินโดวส์ โฟน 7
เหล่านี้คือแอปพลิเคชันที่บันเดิลมากับ Windows 8 Develop Preview ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การใช้งานบนแท็บเล็ต เพื่อแสดงประสิทธิภาพของระบบปฏิบัติการมากกว่า เพราะในการใช้งานบนเดสก์ท็อปผู้ใช้ก็สามารถเรียกหน้าตาเดส์กท็อปขึ้นมา ลงโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้งานได้ตามความต้องการเหมือนเดิม
ในส่วนของการตั้งค่า ถ้าใครที่เคยลองใช้งานวินโดวส์ โฟน 7 มาก่อน จะค่อนข้างคุ้นเคยกับการตั้งค่ารูปแบบใหม่นี้ เพื่อให้เหมาะกับการสั่งงานด้วยนิ้วมือบนแท็บเล็ต หรือพีซีแบบ ออลอินวัน
โดยการตั้งค่าจะเริ่มตั้งแต่ Personalize ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเปลี่ยนภาพล็อกสกรีน เลือกแอปฯที่จะให้มีการแสดงผลที่หน้าจอล็อกเครื่อง และเปลี่ยนรูปผู้ใช้ที่สามารถเข้าไปเลือกได้จากในตัวเครื่อง หรือกดถ่ายจากเว็บแคมได้ทันที Users เป็นส่วนของการเปลี่ยนพาสเวิร์ด ตั้งให้ล็อกเครื่องจากการใช้รูปภาพ สร้างพินโค้ด และเพิ่มผู้ใช้รายอื่นๆในระบบ
Wireless ในที่นี้จะทำได้แค่เพียงเปิด-ปิดโหมดเครื่องบิน และเลือกให้มีการเชื่อมต่อไวเลสเท่านั้น ซึ่งหน้าจอการเชื่อมต่อไวเลสจะอยู่ที่ฝั่งขวาของหน้าเดสก์ท็อป ซึ่งเป็นหน้าล็อกอินแบบใหม่ตามที่เคยเขียนถึงไปเมื่อตอนที่ 1 Notifications เป็นรูปแบบของการตั้งค่าแจ้งเตือน ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกเปิด-ปิดการแจ้งเตือนของแอปฯด้วยตัวเอง
Privacy ในการตั้งค่าให้ตัวเครื่องแชร์พิกัด ใช้บัญชีรายชื่อและรูปในแอปฯต่างๆ ตั้งว่าจะส่งข้อมูลให้วินโดวส์ สโตร์ช่วยเหลือ และเลือกจำนวนแอปฯที่จะแสดงว่าเพิ่งเปิดใช้ล่าสุด General ไว้ตั้งเวลาท้องถิ่น ควบคุมระบบป้อนข้อมูลอย่างทัชคีย์บอร์ด ระบบสะกดคำ ล้างระบบปฏิบัติการให้กลับไปเหมือนใหม่โดยที่ข้อมูลไม่หาย และล้างเครื่องให้เหมือนกลับไปเป็นค่าเดิมจากโรงงาน (ล้างระบบปฏิบัติการและข้อมูล แต่ยังสามารถใช้วินโดวส์ 8 ได้ตามปกติ)
Search สำหรับตั้งค่าการค้นหา ให้เลือกว่าจะแสดงประวัติการค้นหา ลิสต์รายชื่อแอปฯที่ทำการค้นหามากที่สุด นอกจากนี้ยังเลือกได้ว่าจะแสดงแอปฯใดที่แถบแสดงการค้นหาได้ Share ในการตั้งค่าการแชร์ข้อมูลผ่านเครือข่ายสังคมอย่างทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก (ในเบื้องต้น) Send คาดว่าเป็นแถบการตั้งค่าไว้สำหรับส่งแอปพลิเคชันไปยังอุปกรณ์เครื่องอื่นๆ Ease of Access เป็นการตั้งค่าการแสดงผลให้ง่ายต่อการใช้งาน อย่างตั้งคอนทราสต์ ทำให้ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ขึ้น ตั้งปุ่มลัดเมื่อกดปุ่มวินโดวส์ และเพิ่มเสียง เวลาในการแจ้งเตือน และความหนาของเคอเซอร์
Devices ในที่นี้จะไว้จัดการอุปกรณ์ต่อพ่วง รวมถึงเครื่องลูกข่ายอื่นๆภายในเน็ตเวิร์กเดียวกัน Sync PC Setting ด้วยความที่ตัวระบบวินโดวส์ 8 ออกแบบมาให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลในบัญชีรายชื่อไปยังอุปกรณ์เครื่องอื่นๆได้ ทำให้ต้องมีการตั้งค่าการซิงค์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Personalize Thems Ease of Access Language Apps Web Browser Other Stuff และ Some Password เพื่อให้ง่ายและคุ้นเคยต่อการใช้งานอุปกรณ์เครื่องอื่นๆ
HomeGroup เป็นระบบที่ช่วยแชร์ข้อมูลภายในเครือข่ายซึ่งมีมาตั้งแต่วินโดวส์ 7 Windows Update ที่จะคอยบอกสถานะการอัปเดตของวินโดวส์ ซึ่งจะมีการแสดงว่าตัวเครื่องได้รับการอัปเดตครั้งล่าสุดเมื่อใด และแน่นอนว่าถ้าผู้ใช้ไม่คุ้นชินกับการตั้งค่าในรูปแบบนี้ ยังสามารถกดที่ More Setting เพื่อกลับไปยังรูปแบบการตั้งค่าที่คุ้นเคยได้
ส่วนตอนต่อไปของ Review : Windows 8 "Developer Preview" จะเป็นการทดสอบในอุปกรณ์พีซี ออลอินวัน ที่สามารถใช้งานระบบสัมผัสได้ ติดตามชมกันได้เร็วๆนี้
สำหรับแอปพลิเคชันที่ติดตั้งมาใน Meteo UI และพร้อมให้เข้าใช้งานเลยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลอย่าง IE 10, Socialite, Tweet@rama, NewsFeed, Weather, Stocks
อีกกลุ่มคือ โปรแกรมทั่วไปอย่าง Piano, Paintplay, Labyrinth, Mopod, NearMe, Picstream, Measurelt, Remote Desktop, Alarms, Memories, Notespace, Flash Cards และ Inkpad กลุ่มสุดท้ายคือเกมที่มีให้เลือกเล่นตั้งแต่ 5, Tile Puzzle, Zero Gravity, Check, Treehouse, Stampede, Tube Rider, Word Hunt, Copper, Air Craft, BitBox และ Sudoku
ไล่กันตั้งแต่ Internet Explorer 10 บน Metro UI รูปแบบการแสดงผลที่เห็นจะออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนแท็บเล็ต หรือ จอมีเดียเพลยเยอร์มากกว่าใช้งานบนเดสก์ท็อป โดยจุดบอดที่สำคัญของ IE 10 Metro คือ การที่ไม่รองรับปลั๊กอิน (Plug-in) ที่ทางไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่า เพื่อให้ใช้แสดงผลเว็บไซต์ได้รวดเร็วที่สุด จึงส่งผลให้ตัว IE 10 ไม่สามารถแสดงผลแฟลชได้ แต่ยังรองรับการใช้งาน HTML5 ซึ่งกำลังถูกผลักดันขึ้นมาเป็นมาตรฐานใหม่อยู่
หน้าจอ IE 10 ที่ถูกออกแบบมาว่าง่ายนั้น ประกอบไปด้วยปุ่มย้อนกลับ โลโก้เว็บไซต์ ช่องแอดแดรสบาร์ (สามารถใช้พิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาข้อมูลได้) ปุ่มกดรีเฟรช ปักหมุดหน้าเว็บที่ชื่นชอบเพียงแค่นี้
หลังจากเข้าใช้งาน IE 10 กันแล้ว แอปฯที่ตามมาย่อมต้องเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ที่ไมโครซอฟท์เลือกนำ Socialite มาใส่ให้ผู้ใช้ได้เล่นเฟซบุ๊กกัน โดยการทำงานของ Socialite ที่หน้าหลักจะประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักคือ News Feed, Profile, Photos, Friends และ Check-in
เมื่อเข้ามาในส่วนของ News Feed จะแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ ฝั่งซ้ายแสดงข้อความล่าสุดจากเพื่อนทั้งหมด ส่วนฝั่งขวาจะเลือกแสดงผลเฉพาะผู้ติดต่อที่เลือกอยู่ ความสะดวกของการใช้งานโปรแกรม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ คอมเมนต์ สถานะล่าสุดจากภายในแอปพลิเคชันได้ทันที
ขณะที่ในส่วนของการแสดงโปรไฟล์เพื่อนจะเป็นการแสดงชื่อ รูป มีช่องให้โพสต์ข้อความเข้าไปที่หน้าวอลล์ของเพื่อน ส่วนฝั่งขวาเป็นสถานะล่าสุดที่ผู้ติดต่อนี้โพสต์ไว้ การเข้าใช้งานส่วนที่เหลืออย่างดูโปรไฟล์ตัวเอง ดูรูปภาพ รายชื่อเพื่อน ก็ใช้การแสดงผลในลักษณะเดียวกัน สุดท้ายคือการ Check-in เมื่อกดเข้าไปจะแสดงสถานที่ๆผู้ใช้งานเคยเชคอินไว้ ยังไม่มีระบบให้สามารถกดเข้าไปเชคอินสถานที่ใหม่ได้
อาจจะเพราะยังอยู่ในช่วงการพัฒนาทำให้การเข้าใช้งาน Socialite ยังดูแล้วไม่ค่อยสมบูรณ์แบบ ฟีเจอร์ที่ทำได้ค่อนข้างพื้นฐาน เมื่อเทียบกับแอปฯจากผู้ผลิตรายอื่น หรือแม้แต่แอปฯสำหรับเฟซบุ๊กในระบบปฏิบัติการอื่นก็ตาม ในจุดนี้แนะนำว่าเปิด IE 10 บนเดสก์ท็อปแล้วใช้งานต่อไปดีกว่า
ที่ดูดีขึ้นมาหน่อยของการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์คือ Tweet@rama ที่ให้ฟีเจอร์การใช้งานค่อนข้างครอบคลุมการใช้ทวิตเตอร์แบบพื้นๆ กล่าวคือมีไทม์ไลน์ให้ดู สามารถโพสต์ข้อความสั้น พร้อมแนบรูปภาพได้ทันที มีคมลัมน์แสดง Mentions Following Follower ให้เลือกดูได้ทันที แต่ก็ยังน่าเสียดายที่ไม่สามารถเพิ่มคอลัมน์สำหรับดู Hashtag โดยเฉพาะ รวมถึงการเพิ่มปุ่มกดตอบทวิต รีทวิต มาอำนวยความสะดวกในการใช้งานกัน
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับข่าวสารผ่านทาง RSS Feed ใน Windows 8 ก็มีแอปฯสำหรับดึงข้อมูล Rss Feed มาให้ได้ใช้งานกัน โดยผู้ใช้สามารถใส่ xml ด้วยตนเอง หรือเลือกจากที่ทางไมโครซอฟท์รวบรวมมาให้ก็ได้
เมื่อกดเข้าไปที่แหล่งข้อมูลนั้นๆ ก็จะขึ้นการแสดงผลที่ดึงหัวข้อ พร้อมคำโปรยเล็กน้อยมาให้ได้อ่านกัน ถ้าต้องการอ่านข้อมูลทั้งหมดก็ต้องสัมผัสไปที่หัวข้อนั้นๆ เพื่อเรียกใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ในการเปิดเว็บไซต์ขึ้นมา
แอปพลิเคชันสำหรับติดตามข้อมูลหุ้น ผู้ใช้สามารถเลือกเพิ่มหัวข้อหุ้นที่สนใจได้ และยังสามารถเลือกการแสดงผลเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือทั้งปี ขณะเดียวกันยังมีแสดงราคาหุ้นล่าสุด ราคาเปิดตลาด และข่าวสารเกี่ยวกับหุ้นจากทางไมโครซอฟท์
แอปพลิเคชันยอดฮิตที่ลอยตามมาจากการใช้งานสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่ช่วยระบุสภาพอากาศล่วงหน้าอากาศ ตามเมืองที่อาศัยอยู่ที่ดูล่วงหน้าได้ 5 วัน ซึ่งในแต่ละวันจะมีระบุย่อยลงไปอีกว่า อุณหภูมิสูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย ค่ารังสียูวี สภาพเมฆ ความชื้นจำเพาะ ความเร็วลมเป็นต้น
ในส่วนของแอปพลิเคชันทั่วไป จะมีที่น่าสนใจตรง Memories ที่ออกแบบมาให้เป็นสมุดภาพไดอารี ช่วยบันทึกความทรงจำ มีลูกเล่นช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ที่ชอบบันทึกเรื่องราวความประทับใจในแต่ละวัน ผู้ใช้สามารถเลือกธีม ก่อนเลือกเลย์เอาท์ ใส่รูปภาพ และข้อความตามลงไปเพื่อให้ในหนึ่งหน้าความทรงจำสมบูรณ์แบบ
Picstream เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยดึงรูปจากบริการออนไลน์อย่าง Flickr มาแสดงผลในตัวเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 โดยผู้ใช้สามารถเลือกดูรูปภาพอื่นๆได้จากแท็กของภาพ
และจากการออกแบบมาให้เหมาะสมกับแท็บเล็ต แอปพลิเคชันที่ช่วยแสดงศักยภาพในการใช้นิ้วควบคุม คงหนีไม่พ้นโปรแกรม Paint ที่ออกแบบมาใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้งานบนแท็บเล็ต จากปุ่มควบคุมที่ใหญ่ขึ้น สามารถใช้นิ้วในการแตะสั่งงานได้ วาดภาพได้ตามความต้องการ
ขณะที่ Inkpad เป็นแอปฯที่ช่วยในการจดบันทึก ซึ่งเมื่อจดตัวอักษรภาษาอังกฤษลงไป ตัวโปรแกรมจะแปลงเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษให้โดยอัตโนมัติ หรือจะบันทึกเป็นไฟล์ตามลายมือของผู้จดก็ได้เช่นเดียวกัน
เป็นเหมือนสมุดจดบันทึกข้อความทั่วไป ปรับขนาดตัวอักษร เปลี่ยนสี นำเข้าไฟล์เอกสาร จับภาพจากกล้อง บันทึกเสียง ออกมาเป็นโน้ตย่อแต่ละอัน
Alarms ก็เหมือนนาฬิกาปลุกทั่วไป เลือกใส่ชื่อการแจ้งเตือน เวลา แล้วกดเพิ่ม ลบ เวลาที่ตั้งไว้ได้เหมือนในสมาร์ทโฟนวินโดวส์ โฟน 7
เหล่านี้คือแอปพลิเคชันที่บันเดิลมากับ Windows 8 Develop Preview ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การใช้งานบนแท็บเล็ต เพื่อแสดงประสิทธิภาพของระบบปฏิบัติการมากกว่า เพราะในการใช้งานบนเดสก์ท็อปผู้ใช้ก็สามารถเรียกหน้าตาเดส์กท็อปขึ้นมา ลงโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้งานได้ตามความต้องการเหมือนเดิม
ในส่วนของการตั้งค่า ถ้าใครที่เคยลองใช้งานวินโดวส์ โฟน 7 มาก่อน จะค่อนข้างคุ้นเคยกับการตั้งค่ารูปแบบใหม่นี้ เพื่อให้เหมาะกับการสั่งงานด้วยนิ้วมือบนแท็บเล็ต หรือพีซีแบบ ออลอินวัน
โดยการตั้งค่าจะเริ่มตั้งแต่ Personalize ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปเปลี่ยนภาพล็อกสกรีน เลือกแอปฯที่จะให้มีการแสดงผลที่หน้าจอล็อกเครื่อง และเปลี่ยนรูปผู้ใช้ที่สามารถเข้าไปเลือกได้จากในตัวเครื่อง หรือกดถ่ายจากเว็บแคมได้ทันที Users เป็นส่วนของการเปลี่ยนพาสเวิร์ด ตั้งให้ล็อกเครื่องจากการใช้รูปภาพ สร้างพินโค้ด และเพิ่มผู้ใช้รายอื่นๆในระบบ
Wireless ในที่นี้จะทำได้แค่เพียงเปิด-ปิดโหมดเครื่องบิน และเลือกให้มีการเชื่อมต่อไวเลสเท่านั้น ซึ่งหน้าจอการเชื่อมต่อไวเลสจะอยู่ที่ฝั่งขวาของหน้าเดสก์ท็อป ซึ่งเป็นหน้าล็อกอินแบบใหม่ตามที่เคยเขียนถึงไปเมื่อตอนที่ 1 Notifications เป็นรูปแบบของการตั้งค่าแจ้งเตือน ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกเปิด-ปิดการแจ้งเตือนของแอปฯด้วยตัวเอง
Privacy ในการตั้งค่าให้ตัวเครื่องแชร์พิกัด ใช้บัญชีรายชื่อและรูปในแอปฯต่างๆ ตั้งว่าจะส่งข้อมูลให้วินโดวส์ สโตร์ช่วยเหลือ และเลือกจำนวนแอปฯที่จะแสดงว่าเพิ่งเปิดใช้ล่าสุด General ไว้ตั้งเวลาท้องถิ่น ควบคุมระบบป้อนข้อมูลอย่างทัชคีย์บอร์ด ระบบสะกดคำ ล้างระบบปฏิบัติการให้กลับไปเหมือนใหม่โดยที่ข้อมูลไม่หาย และล้างเครื่องให้เหมือนกลับไปเป็นค่าเดิมจากโรงงาน (ล้างระบบปฏิบัติการและข้อมูล แต่ยังสามารถใช้วินโดวส์ 8 ได้ตามปกติ)
Search สำหรับตั้งค่าการค้นหา ให้เลือกว่าจะแสดงประวัติการค้นหา ลิสต์รายชื่อแอปฯที่ทำการค้นหามากที่สุด นอกจากนี้ยังเลือกได้ว่าจะแสดงแอปฯใดที่แถบแสดงการค้นหาได้ Share ในการตั้งค่าการแชร์ข้อมูลผ่านเครือข่ายสังคมอย่างทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก (ในเบื้องต้น) Send คาดว่าเป็นแถบการตั้งค่าไว้สำหรับส่งแอปพลิเคชันไปยังอุปกรณ์เครื่องอื่นๆ Ease of Access เป็นการตั้งค่าการแสดงผลให้ง่ายต่อการใช้งาน อย่างตั้งคอนทราสต์ ทำให้ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ขึ้น ตั้งปุ่มลัดเมื่อกดปุ่มวินโดวส์ และเพิ่มเสียง เวลาในการแจ้งเตือน และความหนาของเคอเซอร์
Devices ในที่นี้จะไว้จัดการอุปกรณ์ต่อพ่วง รวมถึงเครื่องลูกข่ายอื่นๆภายในเน็ตเวิร์กเดียวกัน Sync PC Setting ด้วยความที่ตัวระบบวินโดวส์ 8 ออกแบบมาให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลในบัญชีรายชื่อไปยังอุปกรณ์เครื่องอื่นๆได้ ทำให้ต้องมีการตั้งค่าการซิงค์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Personalize Thems Ease of Access Language Apps Web Browser Other Stuff และ Some Password เพื่อให้ง่ายและคุ้นเคยต่อการใช้งานอุปกรณ์เครื่องอื่นๆ
HomeGroup เป็นระบบที่ช่วยแชร์ข้อมูลภายในเครือข่ายซึ่งมีมาตั้งแต่วินโดวส์ 7 Windows Update ที่จะคอยบอกสถานะการอัปเดตของวินโดวส์ ซึ่งจะมีการแสดงว่าตัวเครื่องได้รับการอัปเดตครั้งล่าสุดเมื่อใด และแน่นอนว่าถ้าผู้ใช้ไม่คุ้นชินกับการตั้งค่าในรูปแบบนี้ ยังสามารถกดที่ More Setting เพื่อกลับไปยังรูปแบบการตั้งค่าที่คุ้นเคยได้
ส่วนตอนต่อไปของ Review : Windows 8 "Developer Preview" จะเป็นการทดสอบในอุปกรณ์พีซี ออลอินวัน ที่สามารถใช้งานระบบสัมผัสได้ ติดตามชมกันได้เร็วๆนี้