- • ลาซาด้าไทย ทำกำไรเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 12 ปี เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
- • กลยุทธ์การตลาดของลาซาด้าไทยประสบความสำเร็จ
- • ตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยเติบโตสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 20%
การตลาด - เปิดเกมการรุกธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ ของลาซาด้าไทย กับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ที่ทำให้วันนี้มีผลประกอบการเป็นบวกครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในรอบ 12 ปี กับตลาดรวมอี-คอมเมิร์ซไทยที่โตมากกว่าใครในเซาท์อีสต์เอเชีย ถึง 20% เผย 3 กลยุทธ์หลักในการลงทุน
“ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปี ลาซาด้าได้ขับเคลื่อนนวัตกรรมและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากสถานะ EBITDA จากการดำเนินธุรกิจใน 6 ประเทศของลาซาด้า กรุ๊ป ที่มีผลเป็นบวกเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา”
เป็นคำกล่าวของ นางสาว วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย
เธอย้ำด้วยว่า “ความสำเร็จดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงการก้าวสู่ยุคใหม่ของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพและความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ มากกว่าการบรรลุเป้าหมายในระยะสั้น เพื่อมุ่งสู่การเติบโตระยะยาวอย่างยั่งยืน”
อย่างไรก็ตาม ก่อนนี้มีรายงานผลประกอบการของลาซาด้าประเทศไทย พบว่า
ปี 2564 มีรายได้รวม 14,675 ล้านบาท กำไร 226 ล้านบาทปี 2565 มีรายได้รวม 20,675 ล้านบาท กำไร 413 ล้านบาทปี 2566 มีรายได้รวม 21,470 ล้านบาท กำไร 604 ล้านบาท
ตลาดอี-คอมเมิร์ซกับคนไทยปัจจุบันนี้ค่อนข้างที่จะแยกออกจากกันลำบาก เพราะว่าาพฤติกรรมคนไทยให้การยอมีรับกับการช้อปปิ้งในรูปแบบนี้กันแล้ว ไม่แพ้การช้อปปิ้งแบบออฟไลน์ที่ไปเดินตามห้างศูนย์การค้าทั้งหลาย
ขณะที่ อี-คอมเมิร์ซ ในไทย กำลังก้าวไปสู่ยุคใหม่
บอสใหญ่ลาซาด้าไทย อธิบายว่า ลาซาด้ามุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจโดยยึด 3 ปัจจัยหลักดังนี้
1. การเติบโตอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างมั่่นคงขององค์กรมากกว่าผลกำไรในระยะยาว
2. ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ด้วยการปรับการทำงานให้มีความเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุด สู่หมุดหมายที่สำคัญทางธุรกิจ
3. ผลประกอบการทางธุรกิจที่ยั่งยืนมุ่งมั่นสู่การเติบโตและความสำเร็จในระยะยาว
สถานการณ์นี้่โดยเฉพาะในตลาดประเทศไทย ลาซาด้ากำลังเดินไปในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมตลาดอี-คอมเมิร์ซในไทย
ทั้ง 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเซาท์อีสต์เอเชียของลาซาด้าประกอบด้วย อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม
แต่ว่า อุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซในไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ไทยเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 9.8 แสนล้านบาท ด้วยอัตราการเติบโต 20% เทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค ลาซาด้า
ขณะที่่ อินโดนีเซีย เป็นตลาดอันดับหนึ่งของลาซาด้าในภูมิภาคนี้ ด้วยมูลค่าตลาดรวมมากกว่า 2.73 ล้านล้านบาท ทิ้งห่างไทยอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้มีอัตราการเติบโตมากเหมือนลาซาด้าในไทย
ส่วนลาซาด้าตลาดประเทศอื่นที่เหลือคือ เวียดนามมูลค่าตลาดรวม 7แสนล้านบาท, ฟิลิปปินส์ 7 แสนล้านบาท, มาเลเซีย 5.6 แสนล้านบาท และ สิงคโปร์ 3.5 แสนล้านบาท
ประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญอันดับที่สองในแง่มูลค่า แต่เป็นตลาดที่สำคัญสุดในแง่ของการเติบโตมากที่สุด ส่วนเรื่องพฤติกรรมการช้อปปิ้งของคนไทยนั้นก็มีความหลากหลาย ซึ่งคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มาก มีเทคโนโลยีที่พร้อมสรรพ ส่งผลให้อี-คอมเมิร์ซในไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว
“ไทยเริ่มมีการเติบโตทางด้านอี-คอมเมิร์ซที่โดดเด่่นอย่างมากในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมานี้”
ขณะที่ในเวียดนามนั้นเป็นตลาดที่น่ากลัวสำหรับไทยเหมือนกัน เพราะการเติบโตที่ดี ตามข้อมูลจากบริษัทวิเคราะห์ตลาด Metric ผู้บริโภคเวียดนามใช้จ่าย 143.9 ล้านล้านเวียดนามด่ง (5,700 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อซื้อสินค้า 1.53 ล้านรายการบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ 5 แพลตฟอร์มในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 (แพลตฟอร์ม Shopee, Lazada, Tiki, Sendo และ Tiktok Shop) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.91 และร้อยละ 65.55 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ตามลําดับ
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 ผู้บริโภคเวียดนามใช้จ่ายซื้อของออนไลน์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมูลค่า 143.9 ล้านล้านเวียดนามด่ง การเติบโตนี้ส่วนใหญ่มาจากสองแพลตฟอร์ม Tiktok Shop และแพลตฟอร์ม Shopee โดยผลิตภัณฑ์ด้านความงาม แฟชั่นสำหรับผู้หญิง และของใช้ในบ้าน ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำในด้านยอดขายและจำนวนผลิตภัณฑ์บนทั้ง 5 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 (แพลตฟอร์ม Shopee, Lazada, Tiki, Sendo และ Tiktok Shop)
“ตลาดอี-คอมเมิร์ซในไทยเป็นตลาดที่มีความแข็งแกร่ง มีความสมบูรณ์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็่นเรื่องของโลจิสติกส์ เรื่องของอินฟราสตรัคเจอร์ ที่พร้อมสมบูรณ์ซึ่งลาซาด้ามีโลจิสติกส์อของตัวเองดำเนินการด้วย หรือแม้แต่เรื่องของการจ่ายเงิน เราก็มีระบบของเราเอง และยงมีระบบของพันธมิตรอีกมากด้วย” นางสาววาริสฐา กล่าว
หากมองถึงแนวโน้มและเทรนด์ของตลาดอี-คอมเมิร์ซ ของไทย พบว่า แนวโน้มของตลาดรวมจะถูกขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่และนักช้อปปิ้ที่เป็นผู้หญิงเป็นหลัก
ขณะที่นักช้อปที่อยู่ในGen Z จะเป็นผู้มีบทบาทในการสั่งซื้อสินค้าให้ครอบครัวมากที่สุด สัดสส่วน 35% โดยที่มีจำนวนนักช้อปของลาซาด้ามากกว่า71% จะทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านฟีเจอร์และคำแนะนำที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ผลสำรวจโดย Meta และ Bain & Company ที่ระบุว่า 35% ของนักช้อป Gen Z ในไทย ได้รับหน้าที่สั่งซื้อสินค้าให้คนในครอบครัว สำหรับบนแพลตฟอร์มลาซาด้า พบว่า นักช้อป Gen Z มีการซื้อสินค้าในหลากหลายหมวดหมู่ โดยนอกจากจะมีสินค้าแฟชันและความงาม ซึ่งเป็นสินค้ายอดฮิตของนักช้อปกลุ่มนี้แล้ว ยังเห็นเทรนด์ว่ามีการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีส่วนให้ยอดการสั่งซื้อสินค้าขยายตัวขึ้นเช่นกัน
สำหรับทิศทางการลงทุนของลาซาด้าในไทยนั้น ก็เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวที่มั่นคง ด้วย 3 กลยุทธ์หลักคือ
1. การยกระดับประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบเฉพาะบุคคล
เพื่อตอบรับการขยายตัวของกลุ่มนักช้อปหญิงและบทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ลาซาด้า เดินหน้ากลยุทธ์เพิ่มประสบการณ์การช้อปที่แตกต่าง ภายใต้แนวคิด “Customer-First” เน้นการตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราการซื้อซ้ำและความเหนียวแน่นของนักช้อป โดยสร้างความแตกต่างในหมวดหมู่สินค้าพรีเมียม แฟชัน และความงาม ซึ่งเป็นจุดแข็งของแพลตฟอร์ม เห็นได้จากยอดขายรวมของ LazMall ในช่วงเมกะแคมเปญ ซึ่งก้าวกระโดดมากกว่า 7 เท่า เมื่อเทียบกับวันปกติ
ในขณะที่ LazBEAUTY มีจำนวนสมาชิกในไทยกว่า 1 ล้านรายรวมทั้ง LazLOOK ที่เติบโตต่อเนื่อง
สำหรับในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2567 ลาซาด้า วางเแผนที่จะสร้างเสริมความแข็งแกร่งของ LazMall ผ่านการขยายพันธมิตรแบรนด์เอ็กซ์คลูซีฟ และรุกเซ็กเมนต์สินค้าลักชูรี ผ่านหมวดสินค้า LazMall Premium Brand นอกจากนี้ ยังตอกย้ำ LazLOOK ในฐานะจุดหมายสินค้าแฟชัน ผ่านแคมเปญรายสัปดาห์ที่จะเข้ามาสร้างความตื่นเต้นและสีสันให้แก่นักช้อปอย่างต่อเนื่อง
ทั้งหมดนี้จะบริการหลังการซื้อด้วยนโยบายคืนสินค้าและคืนเงินครอบคลุมหมวดหม่ํูสินค้าหลากหลายและขยายระยะเวลาการคืนสินค้าจาก LazMALL เป็นภายใน 30 วัน
2. การลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้การช้อปเป็นเรื่องสะดวกและสนุกยิ่งขึ้น ลาซาด้า ยังนำเทคโนโลยี AI เข้ามาขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมและฟีเจอร์ต่าง ๆ โดยมี Gamification เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมกับนักช้อป ที่ผ่านมา LazGame ได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยมีผู้เล่นเกมกว่า 1 ล้านคนต่อวัน ซึ่งนักช้อปกลุ่มนี้มีการใช้งานแอปพลิเคชันนานกว่าค่าเฉลี่ยของแพลตฟอร์มถึง 3 เท่า และราว 82% กลับมาใช้งานแอปพลิเคชันเป็นประจำทุกวัน
อีกทั้งแคมเปญเมกะเซลล์แต่ละครั้งช่วยเพิ่มยอดขายมากกวันธรรมดามากถึง 3.3 เท่า
อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการลงทุนด้านนวัตกรรมของลาซาด้า คือ ฟีเจอร์ “ถามผู้ใช้งานจริง (Ask the Buyer)” ซึ่งนำเทคโนโลยี AI มาช่วยตั้งคำถามเชิญชวนให้ผู้ซื้อรายก่อน ๆ มาร่วมรีวิวสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรายใหม่ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันมีการตอบคำถามจากผู้ซื้อจริงไปแล้วกว่า 1.5 ล้านครั้ง
3. การสนับสนุนสินค้าเอสเอ็มอีขอไทย ส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพผู้ขายไทย
ด้วยพันธกิจในการสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ลาซาด้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโซลูชันการตลาดเพื่อสนับสนุนผู้ขายให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ เช่น เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี AI ช่วยปรับแต่งรูปภาพ เขียนคำอธิบายสินค้า และให้บริการลูกค้า โดยพบว่าสามารถเพิ่มอัตราการซื้อได้กว่า 30%
ลาซาด้า ยังนำเสนอโปรแกรมสิทธิประโยชน์ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับร้านค้าในทุกกลุ่มและทุกก้าวของธุรกิจนอกจากนี้ ยังพัฒนาบริการเสริมที่จะช่วยให้ผู้ขายนำเสนอประสบการณ์ช้อปปิงออนไลน์ที่ผสานกับออฟไลน์ได้อย่างไร้รอยต่อ เช่น บริการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์ การประกันสินค้าประเภทต่าง ๆ รวมถึงการนำสินค้าเก่ามาแลกสินค้าใหม่ในหมวดโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน ลาซาด้า ประเทศไทย ยังได้ผนึกความร่วมมือระยะยาวกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซของผู้ประกอบการไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร ผ่านโครงการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ที่ผ่านมาก็มีหลายแบรนด์ไทยที่สามารถแจ้งเกิดจากแพลตฟอร์มของลาซาด้าได้
เช่นกรณีของแบรนด์ ลุกบุ๊ก ลุกบุ๊ก ( LOOKBOOK) เสื้อผ้าแฟชั่น มียอดขายเพิ่มขึ้นในช่วงแคมเปญลาซาด้ามากถึง 50 เท่า
หรือแบรนด์ HER HYNESS ได้รับผลตอบแทนจากการลงเครื่องมือโปรโมตสินค้าของลาซาด้า (Lazada Sponsored Solutions) สูงกว่าปรกติถึง 25 เท่า
ผู้ขายส่วนใหญ่บนลาซาด้าเป็นผู้ขายไทย โดยใน 1 ปีที่ผ่านมา ยอดขายของกลุ่มผู้ขายรายย่อย (Marketplace) บนลาซาด้า ในประเทศไทย เติบโตเฉลี่ย 121% นับจากต้นปี2566 ( ค.ศ.2023) ถึงเดือนมิถุนายน2567 (ค.ศ. 2024)
ปัจจุบันแพลตฟอร์มลาซาด้าทั้งภูมิภาค มีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม 160 ล้านคน และมีผู้ขายที่แอคทีฟต่อเดือน 1 ล้านคนทั่วภูมิภาค สำหรับมูลค่าการสั่งซื้อยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด LazMall
ลาซาด้า เป็นหนึ่งในธุรกิจ Flagship ของเครือธุรกิจภายใต้ AIDC หรือ อาลีบาบาอินเตอร์เนชันแนลดิจิทัลคอมเมิร์ซกรุ๊ป ซึ่งมีการเติบโตที่แข็งแกร่งจากยอดขายของทุกหน่วยธุรกิจในไตรมาส 2 ปี 2567 ที่เพิ่มขึ้น 32% จากปีก่อนหน้า โดยหน่วยธุรกิจภายใต้ AIDC ครอบคลุมธุรกิจอีคอมเมิร์ซในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก
การเดินเกมด้วยกลยุทธ์ต่อจากนี้ไปของลาซาด้า มีความน่าสนใจและน่าติดตามไม่น้อย กับผลประกอบการที่ไปในทิศทางที่เป็นบวกแล้ว