“สังคมสะอาด” เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและอยากเห็น แต่ใครนะจะเป็นคนทำ ? นี่คือคำถามที่น่าคิดจากแคมเปญ “โออาร์ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด” ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวดี ๆ ที่คนไทยทำในแต่ละวัน แม้จะมองว่าเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย แต่เมื่อรวมกันเข้าก็กลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ในการร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่สังคมสะอาดอย่างแท้จริงและยั่งยืน
เมื่อลองกวาดสายตามองดูรอบ ๆ ตัว เราจะพบเห็นความพยายามของคนในสังคมที่ร่วมพลังสร้างสรรค์สังคมสะอาดไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเล็ก ๆ ไปจนถึงหน่วยงานและองค์กรใหญ่ ๆ ระดับประเทศ โดยตัวอย่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดก็คือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ซึ่งเป็นบริษัทอันดับต้น ๆ ที่เริ่มขยับและปรับเปลี่ยนทิศทางอย่างจริงจังเพื่อร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่สังคมสะอาด
ทั้งนี้ แนวคิดการสร้างความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม หรือ SDG ในแบบฉบับของ OR มีอยู่ด้วยกัน 3 คำสำคัญ คือ S – Small สร้างโอกาสเติบโตเพื่อคนตัวเล็ก , D – Diversified สร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G – Green สร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด
จะเห็นได้ว่า “สังคมสะอาด” นับเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจของ OR พร้อมความเชื่อที่ว่า ‘เราทุกคน’ สามารถช่วยกันสร้างสังคมที่สะอาดขึ้นได้ ดังนั้น ในช่วงเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา OR จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทุกธุรกิจให้ก้าวไปอีกขั้น ไม่ใช่เพียงในเรื่องของคุณภาพ หรือความเชื่อมั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลสังคมของคนไทยทุกคนให้ ‘สะอาดขึ้น’ ในทุก ๆ วัน
ดังที่เราจะเห็นได้จากหนังโฆษณาเรื่องล่าสุดที่ผลิตขึ้นมาในธีม “โออาร์ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด” ด้วยการนำเรื่องราวความน่ารักและเรียบง่ายมาบอกเล่าผ่านมุมมองของบุคคลที่สามที่เฝ้ามองคนไทยซึ่งช่วยกันทำสิ่งดี ๆ คนละเล็กละน้อยให้กับสังคมในทุก ๆ วัน จนรวมเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่า หนังโฆษณาเรื่องนี้นับเป็นการประกาศจุดยืนแนวคิดที่หนักแน่นของ OR ในการที่จะทำให้สิ่งที่อยู่รอบตัวทุกคนมีความกรีน (Green) ผ่านการดำเนินธุรกิจและโครงการต่าง ๆ ที่พร้อมจะหนุนสร้างสังคมให้ “กรีน” ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
หนึ่งในธุรกิจสุดกรีนของ OR ที่หลายคนคงเริ่มคุ้นเคยกันแล้ว ก็คือ “EV Station PluZ” สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีทั้งรูปแบบ Normal Charge และ Quick Charge เพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจให้ความสำคัญ และมีแนวโน้มจะเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้
โดย “EV Station PluZ” มีให้บริการทั้งในและนอกสถานีบริการเพื่อรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้มีการติดตั้งครอบคลุม 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว และมีแผนการที่จะขยายเครือข่ายสถานีชาร์จรูปแบบ Quick Charge ให้ครอบคลุมเส้นเดินทางหลักไปภาคต่าง ๆ รวม 77 จังหวัดทั่วไทย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนเมือง ด้วยระยะห่างไม่เกินกว่า 100 กิโลเมตร รวมสะสม 100 สถานี เพื่ออำนวยความสะดวก “ปลั๊กอินความสุข” เติมเต็มทุกเส้นทางให้แก่ผู้ใช้งาน
ในขณะที่ธุรกิจพร้อมขยับเข้าใกล้ชิดความเป็นกรีน (Green) ในส่วนโครงการต่าง ๆ ที่ OR ดำเนินการ ก็ต้องบอกว่า มีเจตนามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ “สังคมสะอาด” อย่างสัมผัสได้ โดยหนึ่งโครงการที่น่ากล่าวถึงก็คือ โครงการไทยเด็ด ที่นำของเด็ดของดีจากชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยที่เปี่ยมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีความ Sustainability มาจัดจำหน่ายภายในร้านไทยเด็ดซึ่งอยู่ในสถานีบริการ PTT Station
และในปี 2567 โครงการไทยเด็ด ยิ่งเด็ดมากกว่าเดิม เพราะมีการเสริมหมวดสินค้ารักษ์โลก หรือ ECO product ขึ้นมาเป็นพิเศษ โดยหัวใจของสินค้าหมวดนี้คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การออกแบบที่ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ก่อขยะหรือมลพิษให้กับโลก ผ่านกระบวนการ 4R คือ Reduct (ลดการใช้), Reuse (นำมาใช้ซ้ำ), Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่), Repair (การซ่อมบำรุง) โดยข้อดีของ ECO product คือ สร้างคุณค่าให้กับโลกในด้านการลดขยะ และทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อมในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น กระเป๋ากาบกล้วย จากจ.นนทบุรี แบรนด์ “ตานีสยาม” ซึ่งเป็นสินค้าที่แปรรูปมาจากต้นกล้วยสายพันธุ์ตานี โดยกระบวนการตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบจนถึงการผลิตล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีเคมีตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านช่างสกุลศรี มีสมาชิกรวม 30 ครัวเรือน มีรายได้ต่อเดือน 12,500 บาทต่อครัวเรือน และมีแผนภายใน 3-5 ปีจะเพิ่มเป็น 80 ครัวเรือนในเร็ว ๆ นี้
เช่นเดียวกับ ใบบัวบกทอดกรอบ แบรนด์ “บ้านหม่อมแซ่บ” จากจ.นนทบุรีอีกเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนการผลิตใบบัวบก เน้นรักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำคือใบบัวบัวบก ที่ได้รับมาตรฐาน GAP จากสำนักงานเกษตร นอกจากรสชาติอร่อย ยังช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรในพื้นที่ในราคารับซื้อ 30 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม ขณะที่การแปรรูปก็มีการใช้พลังงานสะอาดซึ่งไม่มีต้นทุนมาใช้ และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในด้านสุขภาพ ส่วนสิ่งของที่เหลือจากการผลิตก็มีกระบวนการจัดการแบบ Zero Waste
นอกเหนือไปจากนั้น ยังมีโครงการอื่น ๆ ของ OR อีกมากมายที่สะท้อนให้เห็นความตั้งใจใจการสร้างสังคมสะอาด หลายคนคงเคยเข้าไปใช้บริการร้าน Café Amazon ที่มีการนำหลักคิดแบบ Circular Economy มาใช้ และทำให้ Café Amazon เป็นมากกว่าแค่ร้านกาแฟ แต่คือจุดศูนย์รวมของความกรีน (Green) ที่กระจายตัวอยู่ในทุก ๆ พื้นที่
ขณะเดียวกัน OR ยังมีโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ที่มุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรชาวเหนือให้หันมาปลูกกาแฟที่มีคุณภาพ เพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 ให้กับประเทศไทย ขณะที่ PTT Station ก็เป็นเหมือนศูนย์รวมโครงการต่าง ๆ ที่ OR ลงมือทำมารวมไว้ให้ใกล้ชิดกับคนไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อนำพลังงานบางส่วนมาใช้ใน PTT Station ด้วย
และด้วยความเชื่อว่า “สังคมสะอาด” เป็นเรื่องของทุกคน OR ยังมีโครงการ “แยก แลก ยิ้ม” ที่ชวนทุกคนมาร่วมสร้างจิตสำนึกและพฤติกรรมในการแยกขยะให้กับผู้คน เป็นการส่งเสริมการแยกขยะ เชิญชวนผู้บริโภคมาแยกขยะและนำมาทิ้งในถังขยะแยกประเภทเพื่อขยายเป็นโอกาสนำรายได้จากการขายขยะเหล่านั้นมาสร้างรอยยิ้มให้ชุมชน
สุดท้ายแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่ OR มุ่งมั่นทำมาตลอดระยะเวลาหลายปี และที่จะมีโครงการเพิ่มขึ้นอีกมากมายในวันหน้า ก็เกิดจากเจตนาอันดีที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้าง “สังคมสะอาด” อย่างยั่งยืน
แต่เหนืออื่นใดก็คงปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า “สังคมสะอาด” ไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่การช่วยกันคนละไม้คนละมือในทุก ๆ วันนั่นต่างหาก คือหัวใจหลักของความยั่งยืน เพราะโอกาสเพื่อสังคมสะอาด คือโอกาสของพวกเราทุกคน
#OR #โออาร์ #โออาร์โอกาสเพื่อสังคมสะอาด
เมื่อลองกวาดสายตามองดูรอบ ๆ ตัว เราจะพบเห็นความพยายามของคนในสังคมที่ร่วมพลังสร้างสรรค์สังคมสะอาดไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเล็ก ๆ ไปจนถึงหน่วยงานและองค์กรใหญ่ ๆ ระดับประเทศ โดยตัวอย่างหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดก็คือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ซึ่งเป็นบริษัทอันดับต้น ๆ ที่เริ่มขยับและปรับเปลี่ยนทิศทางอย่างจริงจังเพื่อร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่สังคมสะอาด
ทั้งนี้ แนวคิดการสร้างความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม หรือ SDG ในแบบฉบับของ OR มีอยู่ด้วยกัน 3 คำสำคัญ คือ S – Small สร้างโอกาสเติบโตเพื่อคนตัวเล็ก , D – Diversified สร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G – Green สร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด
จะเห็นได้ว่า “สังคมสะอาด” นับเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจของ OR พร้อมความเชื่อที่ว่า ‘เราทุกคน’ สามารถช่วยกันสร้างสังคมที่สะอาดขึ้นได้ ดังนั้น ในช่วงเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา OR จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทุกธุรกิจให้ก้าวไปอีกขั้น ไม่ใช่เพียงในเรื่องของคุณภาพ หรือความเชื่อมั่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลสังคมของคนไทยทุกคนให้ ‘สะอาดขึ้น’ ในทุก ๆ วัน
ดังที่เราจะเห็นได้จากหนังโฆษณาเรื่องล่าสุดที่ผลิตขึ้นมาในธีม “โออาร์ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด” ด้วยการนำเรื่องราวความน่ารักและเรียบง่ายมาบอกเล่าผ่านมุมมองของบุคคลที่สามที่เฝ้ามองคนไทยซึ่งช่วยกันทำสิ่งดี ๆ คนละเล็กละน้อยให้กับสังคมในทุก ๆ วัน จนรวมเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่า หนังโฆษณาเรื่องนี้นับเป็นการประกาศจุดยืนแนวคิดที่หนักแน่นของ OR ในการที่จะทำให้สิ่งที่อยู่รอบตัวทุกคนมีความกรีน (Green) ผ่านการดำเนินธุรกิจและโครงการต่าง ๆ ที่พร้อมจะหนุนสร้างสังคมให้ “กรีน” ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
หนึ่งในธุรกิจสุดกรีนของ OR ที่หลายคนคงเริ่มคุ้นเคยกันแล้ว ก็คือ “EV Station PluZ” สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีทั้งรูปแบบ Normal Charge และ Quick Charge เพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจให้ความสำคัญ และมีแนวโน้มจะเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้
โดย “EV Station PluZ” มีให้บริการทั้งในและนอกสถานีบริการเพื่อรองรับการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้มีการติดตั้งครอบคลุม 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว และมีแผนการที่จะขยายเครือข่ายสถานีชาร์จรูปแบบ Quick Charge ให้ครอบคลุมเส้นเดินทางหลักไปภาคต่าง ๆ รวม 77 จังหวัดทั่วไทย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนเมือง ด้วยระยะห่างไม่เกินกว่า 100 กิโลเมตร รวมสะสม 100 สถานี เพื่ออำนวยความสะดวก “ปลั๊กอินความสุข” เติมเต็มทุกเส้นทางให้แก่ผู้ใช้งาน
ในขณะที่ธุรกิจพร้อมขยับเข้าใกล้ชิดความเป็นกรีน (Green) ในส่วนโครงการต่าง ๆ ที่ OR ดำเนินการ ก็ต้องบอกว่า มีเจตนามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ “สังคมสะอาด” อย่างสัมผัสได้ โดยหนึ่งโครงการที่น่ากล่าวถึงก็คือ โครงการไทยเด็ด ที่นำของเด็ดของดีจากชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยที่เปี่ยมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีความ Sustainability มาจัดจำหน่ายภายในร้านไทยเด็ดซึ่งอยู่ในสถานีบริการ PTT Station
และในปี 2567 โครงการไทยเด็ด ยิ่งเด็ดมากกว่าเดิม เพราะมีการเสริมหมวดสินค้ารักษ์โลก หรือ ECO product ขึ้นมาเป็นพิเศษ โดยหัวใจของสินค้าหมวดนี้คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การออกแบบที่ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ไม่ก่อขยะหรือมลพิษให้กับโลก ผ่านกระบวนการ 4R คือ Reduct (ลดการใช้), Reuse (นำมาใช้ซ้ำ), Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่), Repair (การซ่อมบำรุง) โดยข้อดีของ ECO product คือ สร้างคุณค่าให้กับโลกในด้านการลดขยะ และทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อมในอนาคต
ยกตัวอย่างเช่น กระเป๋ากาบกล้วย จากจ.นนทบุรี แบรนด์ “ตานีสยาม” ซึ่งเป็นสินค้าที่แปรรูปมาจากต้นกล้วยสายพันธุ์ตานี โดยกระบวนการตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบจนถึงการผลิตล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีเคมีตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านช่างสกุลศรี มีสมาชิกรวม 30 ครัวเรือน มีรายได้ต่อเดือน 12,500 บาทต่อครัวเรือน และมีแผนภายใน 3-5 ปีจะเพิ่มเป็น 80 ครัวเรือนในเร็ว ๆ นี้
เช่นเดียวกับ ใบบัวบกทอดกรอบ แบรนด์ “บ้านหม่อมแซ่บ” จากจ.นนทบุรีอีกเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนการผลิตใบบัวบก เน้นรักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำคือใบบัวบัวบก ที่ได้รับมาตรฐาน GAP จากสำนักงานเกษตร นอกจากรสชาติอร่อย ยังช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรในพื้นที่ในราคารับซื้อ 30 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม ขณะที่การแปรรูปก็มีการใช้พลังงานสะอาดซึ่งไม่มีต้นทุนมาใช้ และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในด้านสุขภาพ ส่วนสิ่งของที่เหลือจากการผลิตก็มีกระบวนการจัดการแบบ Zero Waste
นอกเหนือไปจากนั้น ยังมีโครงการอื่น ๆ ของ OR อีกมากมายที่สะท้อนให้เห็นความตั้งใจใจการสร้างสังคมสะอาด หลายคนคงเคยเข้าไปใช้บริการร้าน Café Amazon ที่มีการนำหลักคิดแบบ Circular Economy มาใช้ และทำให้ Café Amazon เป็นมากกว่าแค่ร้านกาแฟ แต่คือจุดศูนย์รวมของความกรีน (Green) ที่กระจายตัวอยู่ในทุก ๆ พื้นที่
ขณะเดียวกัน OR ยังมีโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ที่มุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรชาวเหนือให้หันมาปลูกกาแฟที่มีคุณภาพ เพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 ให้กับประเทศไทย ขณะที่ PTT Station ก็เป็นเหมือนศูนย์รวมโครงการต่าง ๆ ที่ OR ลงมือทำมารวมไว้ให้ใกล้ชิดกับคนไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อนำพลังงานบางส่วนมาใช้ใน PTT Station ด้วย
และด้วยความเชื่อว่า “สังคมสะอาด” เป็นเรื่องของทุกคน OR ยังมีโครงการ “แยก แลก ยิ้ม” ที่ชวนทุกคนมาร่วมสร้างจิตสำนึกและพฤติกรรมในการแยกขยะให้กับผู้คน เป็นการส่งเสริมการแยกขยะ เชิญชวนผู้บริโภคมาแยกขยะและนำมาทิ้งในถังขยะแยกประเภทเพื่อขยายเป็นโอกาสนำรายได้จากการขายขยะเหล่านั้นมาสร้างรอยยิ้มให้ชุมชน
สุดท้ายแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่ OR มุ่งมั่นทำมาตลอดระยะเวลาหลายปี และที่จะมีโครงการเพิ่มขึ้นอีกมากมายในวันหน้า ก็เกิดจากเจตนาอันดีที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้าง “สังคมสะอาด” อย่างยั่งยืน
แต่เหนืออื่นใดก็คงปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า “สังคมสะอาด” ไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่การช่วยกันคนละไม้คนละมือในทุก ๆ วันนั่นต่างหาก คือหัวใจหลักของความยั่งยืน เพราะโอกาสเพื่อสังคมสะอาด คือโอกาสของพวกเราทุกคน
#OR #โออาร์ #โออาร์โอกาสเพื่อสังคมสะอาด