xs
xsm
sm
md
lg

“คงกระพัน” CEO ปตท.สั่งทบทวนทุกธุรกิจ ชงที่ประชุม STS ส.ค.นี้ คาดมีข้อสรุป ก.ย.-ต.ค. 67

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“คงกระพัน” ซีอีโอ ปตท.สั่งทบทวนทุกธุรกิจในกลุ่ม ปตท.ใหม่เสนอที่ประชุมแผนยุทธศาสตร์กลุ่ม ปตท.ในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อจัดทำแผนลงทุน 5 ปี ปตท.คาดมีความชัดเจนธุรกิจไหนได้ไปต่อหรือถอยการลงทุนในเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ พร้อมชูวิสัยทัศน์ขับเคลื่อน ปตท.ให้แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตระดับโลกอย่างยั่งยืน    

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยวิสัยทัศน์ ทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท.ว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บางธุรกิจที่เคยดีในอดีตแต่ปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้น ด้วยสภาพการแข่งขันที่สูง คู่แข่งที่มีความได้เปรียบเทียบกว่า จึงได้มอบหมายให้มีการทบทวน (Revisit) ใหม่หมดในทุกกลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจ Hydrocarbon and Power ซึ่งเป็นธุรกิจเดิมของ ปตท.ที่มีการทบทวนบ่อยอยู่แล้วก็ตาม เช่น ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (E&P) ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจน้ำมัน ปิโตรเคมีและการกลั่น และธุรกิจไฟฟ้า และกลุ่มธุรกิจ Non- Hydrocarbon เป็นธุรกิจใหม่ New S-Curve เช่น EV, Life Science & Healthcare, Digital ซึ่ง ปตท.เพิ่งเข้าไปลงทุนในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยทุกธุรกิจจะนำเสนอแผนงานดังกล่าวในที่ประชุมแผนยุทธศาสตร์กลุ่ม ปตท.( PTT Group Strategic Thinking Session :STS) ในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อจัดทำแผนการลงทุน 5 ปีใหม่ (2568-2572) ที่จะมีความชัดเจนได้ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ ทั้งวงเงินลงทุนสำหรับธุรกิจที่จะเร่งเดินหน้าต่อ และธุรกิจที่จะอาจปรับลดขนาด หรือถอยการลงทุน

อย่างไรก็ดี หากพบว่ากลุ่มธุรกิจใดไม่ Perform ก็จะพิจารณาหาทางออกที่เหมาะสมอย่างชาญฉลาด เช่นการหาพันธมิตรเข้ามาเสริมความแข็งแกร่ง หรือขายธุรกิจนั้นออกไป แต่หากพบว่าธุรกิจใดมีอนาคต ยังมีความน่าสนใจเป็นประโยชน์ต่อ ปตท.และประเทศไทย ก็จะเร่งเดินหน้าโดยอาศัยจุดแข็งเพื่อสร้างพลังร่วม (Synergy) ในกลุ่ม ปตท. โดยจะดำเนินการอย่างระมัดระวัง และเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนด้วย

สำหรับทิศทางภาพธุรกิจ ปตท.ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ส่วนของธุรกิจ Hydrocarbon เช่น ราคาน้ำมัน คาดว่าปริมาณจะเคลื่อนไหวในกรอบ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยยังต้องจับตาปัจจัยจากต่างประเทศ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น ขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติ ในปีนี้ ก็มีทิศทางถูกลงจากปีก่อนทั้งราคาก๊าซฯและ LNG ซึ่งในส่วนของ ปตท.ก็จะเน้นเรื่องการปรับต้นทุนการผลิตและจัดหาให้มีราคาที่เป็นธรรมและแข่งขันได้


ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ ปตท. (บอร์ด ปตท.) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติงบฯ ลงทุน 5 ปี (ปี 2567-2571) ของ ปตท. และบริษัทที่ ปตท.ถือหุ้น 100% วงเงินรวม 89,203 ล้านบาท

"ปตท.เป็นองค์กรใหญ่มีบริษัทลูกจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการ Synergy ความร่วมมือในเครือฯ ให้มากกว่านี้ ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปตท.ต้องปรับ มีความคล่องตัว และมุ่งมั่นรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตควบคู่การดูแล สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งสู่การเติบโตขององค์กรระดับโลกอย่างยั่งยืนต่อไป"


นายคงกระพันกล่าวว่า ภายใต้วิสัยทัศน์เพื่อให้ ปตท.แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน หรือ TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD การดำเนินธุรกิจอยู่บนหลักความยั่งยืนอย่างสมดุล ให้เหมาะกับบริบทองค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทำให้ ปตท.เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่สร้างประโยชน์ให้ประเทศไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลที่ดีมีธรรมาภิบาล

ขณะที่ทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท. เน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่กับการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมดุล เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี พ.ศ. 2593 ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่

1. ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิม ทำธุรกิจให้แข็งแรง ปรับ Portfolio โดยหาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ พร้อมต่อยอดสร้างการเติบโตในเรื่องที่ถนัดแบ่งเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ Hydrocarbon and Power ประกอบด้วย ธุรกิจสำรวจและผลิต : สร้างความต่อเนื่อง มั่นคงทางวัตถุดิบ จัดหา source ใหม่ที่มีต้นทุนต่ำ สร้างผลตอบแทนที่ดี และต้องสร้างการเติบโต Hydrocarbon ควบคู่กับการทำ Decarbonization


ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ : สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเดิม ซึ่งต้องมีความ Competitive และ Lean แสวงหา Alternative Source ทั้ง Pipe gas และ LNG และมีต้นทุนที่แข่งขันได้ และต้อง Alignment การทำงานร่วมกับภาครัฐ

ธุรกิจไฟฟ้า : ภารกิจหลักคือการสร้างความมั่นคง และรักษา Reliability ให้กับกลุ่ม ปตท. พร้อมกับการจัดหาพลังงานสะอาดเพื่อช่วย Decarbonization & Net Zero ของกลุ่ม ปตท. และแสวงหาโอกาสสร้างการเติบโตทั้งในและต่างประเทศ

ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น : สร้างความแข็งแรง เติบโตร่วมกับ Strategic Partner รวมทั้ง Competitiveness ด้าน Cost & Feedstock Flexibility ต้องมีการ Synergy Enhancement and Optimization ทั้งกลุ่ม ปตท. รวมถึงการมุ่งเน้นสร้างการเติบโตใน High Value & Low Carbon Business

ธุรกิจค้าปลีก : มุ่งเน้นการลงทุนที่มี Substance มีความสำคัญต่อผลประกอบการและเป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ Asset light, ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ : ต้องสร้าง Synergy ภายในกลุ่ม ปตท. ยกระดับขยายผลทั้งใน และต่างประเทศ

ส่วนกลุ่มธุรกิจ Non-Hydrocarbon Business ที่เป็น New S-Curve หรือธุรกิจใหม่ มีหลักในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ทำเรื่อง EV / Life Science & Healthcare / Digital มีความสอดคล้องกับ Global Megatrends แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงต้องปรับตัวเร็ว และต้องทบทวน (Revisit) โดยจะ Revisit value chain เพื่อพิจารณาว่ามีความน่าสนใจ มีอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. และประเทศไทย หรือจุดใดที่ ปตท.มีจุดแข็งสามารถ Synergy ในกลุ่ม ปตท. เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างได้ เช่น ธุรกิจ EV และ Logistics ต้องเข้าใจ value chain เลือกเล่นใน space ที่เหมาะสม


ธุรกิจ Life Science ร่วมมือกับพันธมิตรสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ, ธุรกิจ Industrial AI ต้องยกระดับ ขยายผลทั้งกลุ่ม ปตท. ช่วยให้ธุรกิจเดิมเข้มแข็ง และต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่

2. สร้างการเติบโต หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ต่อยอดสร้างการเติบโตในธุรกิจ โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน คือธุรกิจไฮโดรเจนและคาร์บอน สร้างการเติบโตต่อยอดจากเป้าหมาย Decarbonization มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แบบบูรณาการทั้งกลุ่ม ปตท. โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจนและมีเป้าหมายร่วมกัน

3. สร้างความชัดเจนในแนวทางความยั่งยืน (Sustainability) ทุกมิติ ด้วยการบูรณาการเข้าไปในธุรกิจ ผสานการบริหารจัดการ Portfolio และ Net Zero เข้าด้วยกันทั้งกลุ่ม
ปตท.มุ่งสู่การเป็น Net Zero Company ควบคู่กับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว
4. สร้างปัจจัยที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ จึงควรมุ่งเน้นทำสิ่งที่ควบคุมได้อย่างเข้มข้น ต้องสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน ลดต้นทุน โดยการยกระดับ Operation & Efficiency ด้วยการนำเทคโนโลยี ดิจิทัล และ AI มาประยุกต์ใช้

5. รักษาพื้นฐานสำคัญ มุ่งเน้นธรรมาภิบาลและการกำกับกิจการที่ดี บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล ยึดถือ Way of Conduct อย่างเคร่งครัด รวมถึงการบริหารบุคลากรด้วยความยุติธรรม โปร่งใส สร้าง Ecosystem ส่งเสริมคนดีและคนเก่งให้เติบโตอย่างเหมาะสม


กำลังโหลดความคิดเห็น