ผู้จัดการรายวัน 360 - เครื่องดื่ม เอส รุกหนัก รับตลาดรวมน้ำอัดลม 66,000 ล้านบาท ที่เติบโตดี 12% แต่เอสโต 15% มากกว่าตลาดรวม หลังแคมเปญปีที่แล้วเป็นผลสำเร็จ สามารถขยายฐานกลุ่ม Z ได้เพิ่มขี้น พร้อมทั้งเพิ่มส่วนแบ่งตลาดขึ้นมาเป็นเกือบ 9% ได้แล้ว เปิดตัวแคมเปญต่อเนื่องรับซัมเมอร์ หวังเพิ่มแชร์มากขึ้น
นางสาวสุภรณ์ เด่นไพศาล ผู้อำนวยการสำนักการตลาด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ประเทศไทย บริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดน้ำอัดลมในไทยล่าสุดมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 66,000 ล้านบาท เติบโต 12% ปีนี้ถือว่าเติบโตดีอย่างมากในภาพรวม จากผู้ประกอบการที่แข่งขันกันทำตลาดและภาพรวมเศรษฐกิจที่่ีดีขึ้น
สำหรับเครื่องดื่มน้ำอัดลมแบรนด์เอสล่าสุดเติบโต 15% ซึ่งมากกว่าตลาดรวม จากการทำตลาดอย่างเต็มที่ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว และทำให้มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 9% เพิ่มจากช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ 7% โดยช่องทางคอนวีเนียนสโตร์เติบโต 34% และช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ต เติบโต 24% จากแคมเปญ การสื่อสาร เอส โคล่า เกิดมาซ่า Awesome ทุกสัมผัส” ที่ทำปีที่แล้ว โดยสามารถขยายฐานเข้าสู่กลุ่มผู้บริโภคใหม่ได้ โดยสามารถสร้างท็อปออฟไมนด์ในกลุ่มเจนZ ได้จากเดิม 9% ขึ้นมาเป็น 17% ในเดือนมกราคมปี2567นี้ หรือเพิ่มขึ้น 8% และมีการเข้าถึงผู้บริโภค จาก 26% เป็น 28%
ขณะที่เดือนกันยายนปี2565ผู้ที่ทดลองดื่มเอสจาก 89 หน่วย กลับมาบริโภคซ้ำในรอบสามเดือนจากนั้นอยู่ที่ 24 หน่วย หรือคิดเป็น 26.9% และกลับมาดื่มเป็นลูกค้าประจำ อยู่ที่ 5 หน่วย หรือ 20.8% เมื่อเทียบกับเดือนกันยายนปี 2566 พบว่า จากผู้ที่ทดลองดื่มเพิ่มเป็น 90 หน่วย และกลับมาดื่มในรอบสามเดือนหลังจากนั้น 38 หน่วย หรือคิดเป็น 42.2% และเป็นลูกค้าที่มาดื่มประจำที่ 7 หน่วยหรือ 18.4%
ส่วนประเด็นสัดส่วนยอดขายของเอสแบ่งตามบรรจุภัณฑ์จากยอดขายรวมของเอสคือ ซิงเกิ้ลเสิร์ฟ 60% มัลติเสิร์ฟ 15% ขวดแก้ว 18% ที่เหลือเป็นกระป๋อง ขณะที่ตลาดรวมนั้นสัดส่วนจะแบ่งเป็น มัลติเสิร์ฟ 50% ซิงเกิลเสิร์ฟ 29% ขวดแก้ 9% และที่เหลือกระป๋อง
สำหรับพื้นที่ที่เอสมีการจำหน่ายได้มากสุดเมื่อเทียบกับยอดขายของเอสเองประกอบด้วย กรุงเทพมากสุด 37% รองลงมาคือ ภาคกลาง 28% ภาคอีสาน 19% ภาคเหนือ 10% และที่เหลือเป็นภาคใต้ อย่างไรก็ตาม บริษัทก็มีแผนที่จะเร่งขยายการเติบโตในภาคอื่นๆมากขึ้นด้วย เช่นที่่ภาคเหนือ ก็เริ่มที่จะขยายผลแคมเปญนี้ด้วยเช่นกัน
ล่าสุดเปิดตัวแคมเปญการสื่อสารชุดใหม่ “est Cola Awaken Awesome Senses” แค่ดื่มเอสก็เปิดทุกสัมผัส ให้ซ่ากล้าเป็นตัวเอง ตอกย้ำจุดยืนของแบรนด์ภายใต้คอนเซปต์ “Born to be Awesome เกิดมาซ่า..กล้าเป็นตัวเอง” เพื่อเดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์เข้าไปอยู่ในใจ Gen Z ทั้งในเรื่องของรสชาติและความออซั่ม
ที่แตกต่าง ผ่านการสื่อสารด้วย “8 สัมผัส” ซึ่งกระตุ้นความรู้สึก (Feeling) จากภายใน (Inner Sense) ช่วงซัมเมอ์์นี้คาดว่าเอสจะเติบโตได้ 25%
“เราใช้พรีเซ็นเตอร์ที่ปลดปล่อยแพชชันในตัวเองและได้รับการยอมรับในระดับเอเชีย ทั้ง “เจฟ ซาเตอร์” ในฐานะนักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ ที่ไปโชว์ความออซั่มและได้รับรางวัลในรายการ Call Me by Fire Season 3 ได้เป็นเมนเทอร์ในรายการ Chuang Asia Thailand 2024 จนสามารถตกแม่ๆ ชาวจีนเข้าด้อมมากมาย รวมทั้ง Collab กับศิลปินชาวเกาหลีใต้ Shaun ในเพลง Steal the Show และ “อิ้งค์ วรันธร” ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเจ้าหญิงแห่งวงการเพลงป๊อปแห่งยุค ที่เก่งทั้งร้องและการแสดง มีผลงานเพลงที่ประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว และขึ้นแสดงโชว์ในเทศกาลดนตรีระดับโลก Summer Sonic 2023 ที่ประเทศญี่ปุ่น มาคอนเนคและชวนคนรุ่นใหม่ให้ปลุกทุกประสาทสัมผัส รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กไทยได้กล้าเป็นตัวเอง เช่นเดียวกับทั้ง 2 คนที่กล้าเป็นตัว
ของตัวเองและทำงานด้านดนตรีที่รักจนประสบความสำเร็จในระดับเอเชีย”
ครั้งนี้ ได้นำ การ Co-Pilot กับ AI มาใช้ทั้งในงานโฆษณา ด้วยการให้ AI สร้างความรู้สึกได้อย่างลงตัวร่วมกับพรีเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ ยังสร้างสรรค์กิจกรรม “เอสเช็กฟีลซ่า” ลองเอสเซย์ดังๆ AI รู้ทันใน 3 วิ ชวนคน Gen Z เปิดใจลองดื่มเอส โดยเทคนิคใช้ AI เทคโนโลยี Speech Analysis and Voice Burst Analysis ซึ่งเป็นครั้งแรกของวงการโฆษณาเมืองไทย มาอ่านโทนเสียงความออซั่มหลังดื่มเอส โดยให้เซย์บอกความรู้สึก 1 คำ แล้ว AI จะอ่านผลความรู้สึกที่แท้จริงของคุณออกมา ผ่านการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับหลักจิตวิทยาให้ออกมาเป็นความรู้สึกในการดื่มเอส โดยมีเป้าหมายในการแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ถึง 1 ล้านชิ้นตลอดปี 2567 ในประเทศไทย รวมทั้งในเอเชียที่จะออกเดินสายพร้อมกับคอนเสิร์ตในทวีปเอเชียของเจฟ ซาเตอร์ “est Cola Presents JEFF SATUR: SPACE SHUTTLE NO.8 ASIA TOUR” ใน 5 เมืองใหญ่ทั่วเอเชีย อีกด้วย” น.ส.สุภรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ เอส ยังคงรักษาส่วนแบ่งการตลาดเชิงปริมาณอยู่ในสัดส่วน 8.6% โดยมี Penetration Rate จากก่อนแคมเปญ Rebranding ในปี 2566 อยู่ที่ 26% ในปี 2567 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 28% (ข้อมูลจากคันทาร์ (ประเทศไทย)) ซึ่งเป็นการขยายฐานในกลุ่ม Gen Z