xs
xsm
sm
md
lg

“พาณิชย์” มอบประกาศนียบัตร 31 องค์กรผ่านประเมินระบบ ICP รุ่น 2

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กรมการค้าต่างประเทศมอบประกาศนียบัตรแก่องค์กรที่ผ่านการประเมินผลการรับรองระบบงาน ICP รุ่นที่ 2 ของไทยจำนวน 31 องค์กร ที่ผ่านการประเมินการจัดทำระบบงานควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงได้มีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้มอบประกาศนียบัตรแก่องค์กรภาคเอกชนของไทยที่ผ่านการประเมินผลการรับรองระบบงานควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ระบบงาน ICP) รุ่นที่ 2 จำนวน 31 องค์กร ที่สามารถดำเนินงานภายในองค์กรเพื่อป้องกันการทำธุรกรรมขององค์กรไม่ให้เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามหลักสากล

สำหรับผู้ผ่านการประเมินทั้ง 31 บริษัท แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. องค์กรที่ผ่านการประเมินในระดับสมบูรณ์ (Total) จำนวน 19 องค์กร ได้แก่ 1. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย 2. บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท ซิติเซ็น แมชชินเนอรี่ เอเชีย จำกัด 4. บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด 5. บริษัท นิสสัน เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด 6. บริษัท นิสสัน มอร์เตอร์ ประเทศไทย จำกัด 7. บริษัท พานาโซนิค ออโต้โมทีฟ ซิสเต็มส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด 8. บริษัท พานาโซนิค อินดัสเตรียล ดิไวซ์ ซังค์ (ไทยแลนด์) จำกัด 9. บริษัท ฟูรูคาวา (ประเทศไทย) จำกัด 10. บริษัท มิตซูบิชิเทอร์โบชารจ์เจอร์ เอเซีย จำกัด 11. บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด 12. บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด 13. บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด 14. บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด 15. บริษัท อีซูซุมอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด 16. บริษัท เอ็ม เอ็ม ซี ทูลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 17. บริษัท แอร์ ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด 18. บริษัท ฮานา เซมิคอนดักเตอร์ (อยุธยา) จำกัด 19. บริษัท เฮงเค็ล (ประเทศไทย) จำกัด

2. องค์กรที่ผ่านการประเมินในระดับดีมาก (Intermediate) จำนวน 5 องค์กร คือ 1. บริษัท เด็นโซ เท็น (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท โตโยต้า ทูโช โลจิส ติกส์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท โตโยต้า โบโชคุ เอเชีย จำกัด 4. บริษัท โรแลนด์ ดิจิตอล กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด 5. บริษัท โอกาโมโต้ (ไทย) จำกัด

3. องค์กรที่ผ่านการประเมินในระดับดี (Basic) จำนวน 7 องค์กร คือ 1. บริษัท ซินโฟเนียร์ เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด 4. บริษัท สยามเคมีคอลอินดัสตรี้ จำกัด 5. บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 6. บริษัท โอเทค (ไทยแลนด์) จำกัด 7. บริษัท โฮยาเลนซ์ ไทยแลนด์ จำกัด

“กรมเชื่อมั่นว่าการผ่านประเมินดังกล่าว จะช่วยสร้างแต้มต่อและความมั่นใจให้คู่ค้าว่าสินค้าที่ส่งออกจากองค์กรที่มีระบบงาน ICP มีความปลอดภัยและผ่านการตรวจสอบการใช้และผู้ใช้สุดท้ายอย่างเข้มงวด อีกทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์การส่งออกสินค้าของไทยว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและการแพร่ขยาย WMD โดยกรมฯ จะประชาสัมพันธ์รายชื่อองค์กรที่ผ่านการประเมินระบบงาน ICP ของไทยในการประชุม Regional Conference on Wiesbaden Process ซึ่งเป็นการประชุมนานาชาติที่มุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการป้องกันการแพร่ขยาย WMD การสร้างความตระหนักรู้ และการทำระบบงาน ICP ซึ่งในปีนี้การประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ สำนักงาน UN ซึ่งกรมในฐานะหน่วยงานหลักด้านระบบงาน ICP ของไทยจะไปนำเสนอผลสำเร็จของการประเมินระบบงานในครั้งนี้ให้นานาชาติได้รับทราบ รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนในการจัดทำระบบงาน ICP ที่มีประสิทธิภาพต่อไป” นายรณรงค์กล่าว

กรมการค้าต่างประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการจัดทำมาตรการควบคุมการแพร่ขยายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ WMD และสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (DUI) ได้ดำเนินการจัดทำ พ.ร.บ.การควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2562 และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ โดยหนึ่งในมาตรการที่เป็นมาตรการสมัครใจ แต่ได้รับความสนใจและความร่วมมืออย่างมากจากภาคเอกชน คือ มาตรการระบบงานควบคุมสินค้าภายในองค์กร (Internal Compliance Program : ICP) หรือระบบงาน ICP ที่เป็นการกำหนดการดำเนินงานภายในองค์กร 6 หลักเกณฑ์ เพื่อป้องกันการทำธุรกรรมขององค์กรไม่ให้เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยาย WMD อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามหลักสากล

ต่อมาได้ให้ความสำคัญและผลักดันภาคเอกชนในการจัดทำระบบงาน ICP ภายในองค์กร โดยได้ดำเนินการจัดโครงการบ่มเพาะระบบงานควบคุมสินค้าภายในองค์กร (ICP In-house) และโครงการภาคีเครือข่ายความร่วมมือระบบงานควบคุมสินค้าภายในองค์กร (ICP Network) เพื่อฝึกอบรมให้บุคลากรขององค์กรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำระบบงาน ICP ที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรที่ประสงค์ขอรับการประเมินผลการรับรองระบบงาน ICP ให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องครบถ้วน จนถึงปัจจุบันมีการดำเนินโครงการแล้วจำนวน 6 รุ่น และมีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 400 คน จาก 250 องค์กรชั้นนำจากหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น รวมทั้งอยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำมาตรการอนุญาต (Licensing) มาบังคับใช้ โดยต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียและผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรการป้องกันการแพร่ขยาย WMD ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น








กำลังโหลดความคิดเห็น