ผู้จัดการรายวัน 360 - อิปซอสส์เผยผลวิจัย “5 อันดับความกังวลสูงสุดของประชากรโลก และไทย” พร้อมค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระสูงสุด 3 อันดับที่ส่งผลต่อการครองชีพ สาธารณูปโภค น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหาร คนไทยคาดชีวิตมีความหวัง คิดว่า 6 เดือนข้างหน้าจะมีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนภาคธุรกิจมีความจำเป็นในการขับเคลื่อนด้วย ESG โดย 80% ของผู้บริโภคเห็นตรงกัน ยินดีซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ แม้ราคาจะแพงกว่าก็ตาม
บริษัท อิปซอสส์ จำกัด (Ipsos Ltd.) ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ผู้ให้บริการงานวิจัยครบวงจร โดย นางสาวอุษณา จันทร์กล่ำ (Usana Chantarklum) กรรมการผู้จัดการ ได้เปิดเผยถึงรายงานการศึกษาชุดพิเศษ “What Worries the World - What worries Thailand” พร้อม 5 อันดับความกังวลสูงสุดของประชากรโลก และ ไทย รวมถึงค่าใช้จ่าย 3 อันดับที่ส่งผลต่อการครองชีพ”
นางสาวอุษณาเปิดเผยว่า “รายงานชุดนี้ ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ 3 ส่วน คือ ด้านสังคม (Societal Focus) ด้านเศรษฐกิจ (Economic Focus) และการปรับใช้ ESG ในธุรกิจและประสบการณ์ของผู้บริโภค (Embedding ESG in Experience) จากผลสรุปพบว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นความกังวลใจสูงสุดของประชากรโลกตลอด 15 เดือนที่ผ่านมา ส่วนความกังวลใจด้านอื่นประกอบด้วย ความยากจนและความไม่เท่าเทียมในสังคม อาชญากรรม ความรุนแรง และการว่างงาน สถานการณ์ด้านการเงิน การเมือง คอร์รัปชัน
สำหรับประเทศไทย พบว่าความกังวลอันดับหนึ่ง ได้แก่ ปัญหาทางด้านสังคมในเรื่องที่เกี่ยวกับการทุจริตทางการเงินหรือการเมือง ส่วนปัญหาความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน และปัญหาเงินเฟ้อ มาเป็นอันดับสอง และสาม ตามลำดับ โดยสิ่งที่ประชากรไทยกังวลว่าจะมีการปรับราคาขึ้นอีกในครึ่งปีหลัง คือภาระด้านสาธารณูปโภค และน้ำมันเชื้อเพลิง กังวลสูงสุดในอัตราที่เท่ากัน คือ 65% และค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ด้วยอัตรา 64%
นางสาวอุษณาเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ผู้คนในทุกประเทศเห็นพ้องต้องกันว่ารัฐบาลควรเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน โดยมีสัดส่วนตามกลุ่ม ดังนี้ บทบาทจากภาครัฐ-ระหว่างอัตราเฉลี่ยของโลกและไทยในสัดส่วน 66 : 65% สื่อมวลชน 26 : 26% กลุ่มพนักงานลูกจ้าง 25 : 16% ระดับบุคคล 23 : 20% ผู้ปกครองและครู 22 : 19% องค์กรสนับสนุน 17 : 25% ผู้นำทางศาสนา 11 : 11% กลุ่มที่ประสบปัญหาความไม่เท่าเทียม 10 : 13%
คนไทย 39% รายงานว่าอาชญากรรมเพิ่มขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นในชุมชนของตนเองและละแวกใกล้เคียง โดย 44% ของคนไทยมั่นใจว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจังสามารถหยุดความรุนแรง และอาชญากรรมที่ไม่รุนแรงได้
สำหรับด้านเศรษฐกิจ จากการสำรวจพบว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นความกังวลอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่ใช่ความกังวลอันดับหนึ่ง คนไทยมองโลกในแง่ร้ายต่อภาวะเศรษฐกิจ คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ คนไทยส่วนใหญ่ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศในปัจจุบันว่า “แย่” ถึง 57% ส่วน 72% ของคนไทยมองว่าประเทศกำลังถดถอย เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกในอัตรา 49% โดยกังวลสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ถึง 23% ประชากรไทยคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปีในแง่ของการครองชีพ
คนไทยคาดว่าค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค น้ำมันเชื้อเพลิง และอาหารจะสูงขึ้น เป็นผลสะท้อนจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยค่าใช้จ่ายสูงสุด 3 อันดับที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอีก 6 เดือนข้างหน้า ดังนี้ 65% เชื่อว่าค่าสาธารณูปโภคเพิ่มสูงขึ้น เช่น ก๊าซ ไฟฟ้า ฯลฯ (เทียบกับ 71% ทั่วโลก) 65% ค่าเชื้อเพลิงในการขับขี่ เช่น ดีเซล น้ำมันเบนซิน/เบนซิน ฯลฯ (เทียบกับ 60% ทั่วโลก) 64% ค่าใช้จ่ายเพื่อการซื้ออาหาร (เทียบกับ 67% ทั่วโลก)
การจับจ่ายในครัวเรือนอื่นๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเข้าสังคม โดยการสมัครสมาชิก จำนอง/เช่า อาจไม่ได้รับผลกระทบมากนัก สัดส่วนระหว่างความกังวลของประชากรโลก กับประชาชนคนไทย ดังนี้ 71 : 64 ค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารของคุณ , 68 : 65 ค่าใช้จ่ายของสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ฯลฯ , 67 : 59 ค่าใช้จ่ายในการซื้อของในครัวเรือนอื่นๆ , 60 : 65 ค่ารถ ค่าเชื้อเพลิง เช่น ดีเซล, เบนซิน / เบนซิน เป็นต้น 54 : 39 , ค่าใช้จ่ายโดยรวมเพื่อการสังสรรค์ เช่น โรงภาพยนตร์ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ผับคลับ, 44 : 32 ค่าใช้จ่ายโดยรวมของสมาชิกภาพต่างๆ เช่น Netflix, สมาชิกโรงยิม ฯลฯ 42 : 34 จำนอง / ค่าเช่าของคุณ
พร้อมทั้งเปิดเผยถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ได้แก่
81% สถานะของเศรษฐกิจโลก (เทียบกับ 73% ทั่วโลก) 79% นโยบายของรัฐบาลในประเทศของฉัน (เทียบกับ 70% ทั่วโลก) 78% ระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศของฉัน (เทียบกับ 71% ทั่วโลก) รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การระบาดของ COVID-19 ผลกำไรที่มากเกินไป และความต้องการเพิ่มค่าจ้าง
73 : 81 % สภาวะของเศรษฐกิจโลก 71 : 78 % ระดับดอกเบี้ยในประเทศของฉัน 70 : 79 % นโยบายของรัฐบาลแห่งชาติของฉัน 64 : 67% การรุกรานยูเครนของรัสเซียและผลที่ตามมา 63 : 74% ธุรกิจที่ทำกำไรมากเกินไป 56 : 75% การระบาดใหญ่ของโควิด-19 53 : 73% คนงานเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้น 50 : 61% การย้ายถิ่นฐานในประเทศของฉัน ถึงแม้จะเจอความท้าทาย
แต่คนไทยก็ยังรู้สึกถึงการเติบโตในแง่ดี และ 2 ใน 3 ของคนไทย หรือประมาณ 67% ยังคิดว่าประเทศกำลังมาถูกทาง ในขณะที่คนไทยบางส่วนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับทิศทางของประเทศ และยังมีการมองโลกในแง่ดีในบางพื้นที่
54% จำนวนคนว่างงานในประเทศของฉัน เทียบกับ 68% ในเดือนพฤศจิกายน 2022 40% ภาษีที่คุณจ่าย เทียบกับ 51% ในเดือนพฤศจิกายน 2022 20% มาตรฐานการครองชีพของคุณเอง เทียบกับ 14% ในเดือนพฤศจิกายน 2022 19% รายได้ทิ้งของคุณ เทียบกับ 13% ในเดือนพฤศจิกายน 2565
คนไทยคาดชีวิตมีความหวัง คิดว่า 6 เดือนข้างหน้าจะมีแนวโน้มดีขึ้น
คนไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างมองโลกในแง่ดี และคาดหวังว่าทิศทางโดยรวมของไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีแนวโน้มที่ดี โดย 61% คาดว่าเศรษฐกิจในท้องถิ่นจะแข็งแกร่งขึ้น เทียบกับ 42% ในเดือนกุมภาพันธ์ และ 56% ในเดือนพฤษภาคม 2566
อิปซอสส์ชี้ แรงกดดันภาคธุรกิจ แนะถึงยุค กลยุทธ์ “ESG” ต้องปรับใช้ โดย 80% ของผู้บริโภคเห็นตรงกัน ยินดีซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ แม้ราคาจะแพงกว่าก็ตาม
ในส่วนของธุรกิจนั้น รายงานวิจัยของอิปซอสส์ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มและทิศทางในการปรับใช้ ESG ในธุรกิจและประสบการณ์ (Embedding ESG in Experience) โดยแนะแนวทางสำหรับแต่ละลักษณะกลุ่มธุรกิจที่ถูกผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ ต้องมีกลยุทธ์การรับมือและปรับตัวในแนวทางที่แตกต่างกัน
ผลสำรวจของอิปซอสส์ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการขับเคลื่อนด้วย ESG โดยองค์กรจำนวนมากต่างได้รับแรงกดดันหากต้องการทำธุรกิจให้ยั่งยืน โดยเห็นจากผลสำรวจ Reputation Council Report ของอิปซอสส์ ชี้ให้เห็นถึงความคิดเห็นในอัตรา 81% ของสภาสมาชิกกิตติมศักดิ์ ตัวแทนนักสื่อสารองค์กรอาวุโสจากแบรนด์ระดับโลก (Ipsos Reputation Council Members) ต่างเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการนำกลยุทธ์ ESG ฝังเข้าเป็นส่วนสำคัญของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
ในแง่ของผู้บริโภค ต่างเชื่อว่าธุรกิจเป็นตัวผลักดันที่ดี โดย 80% เห็นว่าแบรนด์สามารถทำเงินและสนับสนุนกิจกรรมดีๆ ได้ในเวลาเดียวกัน และเกือบสองในสาม หรือ 64% กล่าวว่าพวกเขายินดีซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าก็ตาม
วิธีการที่แบรนด์สามารถสร้างคุณค่าและขับเคลื่อนความสัมพันธ์กับลูกค้าให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
1. ทำในสิ่งที่นอกเหนือจากกิจกรรม ESG พื้นฐาน เช่น การลดของเสีย หรือการจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง มิฉะนั้น ภาคธุรกิจหรือบริษัทยังคงทำกิจกรรมเดิมๆ ในการสร้างความยั่งยืน
2. ส่งมอบคุณค่าที่แบรนด์ได้สัญญาไว้ผ่านประสบการณ์ที่มีต่อแบรนด์ทุกครั้ง ก็จะสามารถสร้างความใกล้ชิดกับแบรนด์และเจาะจงใช้แบรนด์มากขึ้นในอนาคต
3. การปลูกฝังพื้นฐานด้านประสบการณ์ ESG ที่ทำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอหลักของแบรนด์ โดยแสดงให้เห็นผ่านประสบการณ์ ซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพที่สุด
ในแง่ของผู้บริโภค ต่างเชื่อว่าธุรกิจเป็นตัวผลักดันที่ดี โดย 80% เห็นว่าแบรนด์สามารถทำเงินและสนับสนุนกิจกรรมดีๆ ได้ในเวลาเดียวกัน และเกือบสองในสาม หรือ 64% กล่าวว่าพวกเขายินดีซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าก็ตาม