xs
xsm
sm
md
lg

ส.อ.ท.จับตาส่งออกปี 66 ยังเปราะบางสูงท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงเพียบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ส.อ.ท.เผยสัญญาณส่งออกไทยปี 2566 ยังเปราะบาง ทั้งภูมิรัฐศาสตร์ที่ความขัดแย้งและสงครามอาจรุนแรงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่ขีดความสามารถแข่งขันของไทยยังคงลดต่ำจากต้นทุนแพงจากค่าไฟ ดบ. รวมถึงความผันผวนจากค่าเงินบาท แนะรัฐดูแล

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยปี 2566 ยังคงเปราะบางตามทิศทางเศรษฐกิจโลกจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ที่อาจรุนแรงขึ้น ความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) และขีดความสามารถการแข่งขันของไทยที่ลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มโดยเฉพาะค่าไฟฟ้า และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยังคงคาดการณ์ตัวเลขส่งออกปี 2566 จะเติบโตราว 1-2% จากปี 2565 โดยจะมีการติดตามปัจจัยต่างๆ อย่างใกล้ชิดต่อไป

"ภาคส่งออกของไทยมีสัดส่วน 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขณะที่ท่องเที่ยวคิดเป็น 18% ซึ่งสะท้อนภาพชัดเจนเมื่อส่งออกของไทยเริ่มติดลบตั้งแต่ ต.ค. 65 ส่งผลให้ตลอดทั้งปีส่งออกไทยโตเพียง 5.5% ทำให้ตัวเลข GDP ของไทยปี 2565 ขยายตัวเพียง 2.6% ซึ่งต่ำกว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้ค่อนข้างมากเพราะเดิมต่างคาดการณ์ว่าจะโตราว 3.2% นั่นเพราะส่งออกของเราที่เริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและจำเป็นต้องติดตามใกล้ชิดในปี 2566 แต่ภาพรวม GDP ไทยปี 66 กกร.เองมองว่าจะโตได้ 3-3.5% จากปัจจัยบวกที่ท่องเที่ยวจะฟื้นตัว" นายเกรียงไกรกล่าว

ทั้งนี้ Geopolitics และ Climate change ล้วนเป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่อาจบริหารได้หากเกิดขึ้นย่อมกระทบต่อการผลิต และเศรษฐกิจภาพรวมของโลก แต่ปัจจัยภายในว่าด้วยเรื่องขีดความสามารถการแข่งขันนั้นจำเป็นที่รัฐต้องพิจารณาโดยเฉพาะต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามต่ำกว่าไทยเกือบเท่าตัว ท่ามกลางทิศทางดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น ฯลฯ ขณะเดียวกัน ยังพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐมีความผันผวนอย่างมากทำให้ผู้ประกอบการบริหารยากโดยต้องการค่าบาทที่มีเสถียรภาพ ซึ่งจากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น ส.อ.ท.ส่าลุดมองว่าควรอยู่ระดับ 34-34.50 บาทต่อเหรียญ ขณะที่ผู้ส่งออกเองควรจะมีการทำประกันความเสี่ยงไว้เพื่อลดผลกระทบ

“ต้นทุนที่แพง เงินบาทผันผวนจะฉุดขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ท่ามกลางการแข่งขันที่สูง เพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทุกฝ่ายย่อมต้องแย่งชิงตลาดกัน แต่หลังจากจีนเปิดประเทศแม้จะมีปัจจัยบวกที่ท่องเที่ยวต่างๆ จะฟื้นตัวรวมถึงไทยแต่ปัจจัยลบที่อาจตามมาคือสินค้าจีนจะทะลักเข้าสู่ตลาดโลกในลักษณะทุ่มตลาดได้และรวมถึงในภูมิภาคอาเซียนเช่นไทยด้วย ดังนั้นจึงต้องจับตาใกล้ชิด ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้การส่งออกของไทยปี 2566 มีความท้าทายอย่างมาก” นายเกรียงไกรกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น