ผู้จัดการรายวัน 360 – บอลโลกจบแล้ว แม้เกมกีฬาจะแข่งคึกคัก แต่ด้านงบโฆษณากลับเหี่ยวเฉา พบทัังทัวร์นาเมนท์ครั้งนี้ สะพัดแค่ 136 ล้านบาท ต่ำที่สุดที่เคยมี
นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด กล่าวว่า แม้กระแสฟุตบอลโลก FIFA WORLD CUP QATAR 2022 ที่เพิ่งปิดฉากลงไปจะร้อนแรงและเป็นที่สนใจของแฟนบอลชาวไทยในแง่ของเกมกีฬาและการรับชมนั้น
แต่หากมองในแง่ของเม็ดเงินโฆษณาของแบรนด์และผู้ประกอบการต่างๆที่คาดว่าจะสะพัดในช่วงไตรมาส 4 แล้ว ซึ่งคาดหวังว่าจะมาช่วยปลุกตลาดงบโฆษณาให้่กลับมาคึกคักได้มากขึ้นก่อนสิ้นปี2565นี้ กลับไม่เป็นไปอย่างที่คาดการณ์กันไว้ไม่ร้อนแรงไปตามกระแส เนื่องจากความล่าช้ากว่าจะได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดก็แทบจะเริ่มแข่งขันแล้ว รวมทั้ง ความไม่ชัดเจนของรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆในการถ่ายทอดสด เช่น รายชื่อสปอนเซอร์หลัก แพคเกจการขายโฆษณา ตารางช่องทางการถ่ายทอด รวมถึงสิทธิ์ในการสื่อสารทางการตลาดอื่นๆ (Sport Marketing) ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอนจนถึงวินาทีสุดท้ายก่อนมหกรรมฟุตบอลจะเริ่มขึ้น
โดยปกติมหกรรมกีฬาใหญ่ๆระดับโลกหรือระดับภูมิภาค มักเป็นที่สนใจและติดตามของแฟนกีฬาชาวไทย ซึ่งทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเม็ดเงินการตลาด สื่อสารการตลาดของเหล่าผู้ประกอบการและแบรนด์จะสะพัดอย่างมากเพื่อเกาะกระแสมหกรรมดังกล่าว โดยช่วงก่อนปีค.ศ. 2020 ก่อนการระบาดของโควิด มหกรรมกีฬาเหล่านี้ทำให้เกิดเม็ดการตลาด สื่อสารการตลาด โดยเฉพาะเม็ดเงินโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์สะพัดไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท แต่ FIFA WORLD CUP QATAR 2022 ที่เพิ่งจบลงไป มีเม็ดเงินโฆษณาสะพัดในสื่อโทรทัศน์ซึ่งถือเป็นสื่อหลักในการรับชมไม่ถึง 200 ล้านบาท
ทั้งนี้จากข้อมูลของเอ็มไอ พบว่า มูลค่าเงินโฆษณาที่สะพัดจริงๆแล้วมูบค่า อยู่ที่ประมาณ 136 ล้านบาทเท่านั้นเองด้วยซ้ำไป โดยช่องที่มีงบโฆษณาไปลงมากที่สุดย่อมต้องเป็นช่องทรูโฟร์ยู มูลค่าประมาณ 93 ล้านบาท มีจำนวนมากกว่า 1,856 สปอต, รองมาคือ ช่อง7 มูลค่า 12 ล้านบาท จำนวน 188 สปอต และอันดับถัดมาตามนี้คือ ช่องวัน มูลค่า 8.7 ล้านบาท, ช่อง3 มูลค่า 5.3 ล้านบาท จำนวน 149 สปอต, ช่องอัมรินทร์ทีวี มูลค่า 4.8 ล้านบาท จำนวน 178 สปอต,
ช่อง9เฮชดีอสมท มูลค่า 4 ล้านบาท จำนวน 167 สปอต, ช่องพีพีทีวี มูลค่า 3.1 ล้านบาท จำนวสน 205 สปอต, ช่อมจีเอ็มเอ็ม25 มูลค่า 1.3 ล้านบาท จำนวน 206 สปอต, ช่อง5 มูลค่า 8.6 แสนบาท จำนวน118 สปอต, ช่องเนชั่น มูลค่า 7.3 แสนบาท จำนวน 188 สปอต,
ช่องเจเคเอ็น18 มูลค่า 5.4 แสนบาท จำนวน 132 สปอต, ช่อง8มูลค่า 3.3 แสนบาท จำนวน 174 สปอต, ช่องไทยรัฐ มูลค่า 1 แสนบาท จำนวน 204 สปอต, ช่องโมโน29 มูลค่า 9.5 หมื่นบาท จำนวน 176 สปอต, ช่องเอ็นบีที มูลค่า 7.2 หมื่นบาท จำนวน 74 สปอต และสุดท้าย ช่องทีสปอร์ต ไม่ระบุมูลค่า จำนวน 135 สปอต รวมกว่า 136 ล้านบาท จำนวน 4,360 สปอต
ขณะที่คู่ที่ได้เรตติ้งในการถ่ายทอดสดสูงที่สุดคือ คู่ระหว่าง เยอรมันกับญี่ปุ่น ได้เรตติ้ง 6.53 เพราะเป็นช่วงที่ถ่ายทอดสดเพียงช่องเดียวและเวลาไม่ดึกมาก คือ สองทุ่ม ส่วนคู่ชิงชนะเลิศกลับตกเป็นที่สองเพราะ สด2 ช่องจึงกระจายกันไปและเป็นเวลาสี่ทุ่ม คือ ช่อง7 เรตติ้ง 2.22และอีกช่องคือ ทรูโฟร์ยู เรตติ้ง 2.10
ทั้งนี้ช่อง7เป็นช่องที่มีบทบาทในด้านงบโฆษณามากที่สุด ซึ่งพบว่ามีราคาขายสูงที่สุดที่ 3.5 แสนบาท ในรอบชิงชนะเลิศด้วย ซึงเท่านั้นืมีการถ่ายทอดสดเพียง2ช่องเท่านั้น ขณะที่ส่วนใหญ่จะมีการขายกันในระดับแค่ 5 หลักเท่านั้น