ทย.กางงบปี 66 กว่า 4.5 พันล้านบาท พัฒนาศักยภาพสนามบินภูมิภาครับนักท่องเที่ยวเพิ่ม เผยปี 67 จ่อทุ่มกว่า 3 พันล้านบาทขยายรันเวย์ สร้างอาคารหลังใหม่ "ชุมพร, ระนอง" รองรับแลนด์บริดจ์
รายงานข่าวจากกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า ทย.ได้รับจัดสรรงบประมาณในปี 2566 วงเงิน 4,568.0392 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่ได้รับงบประมาณ 4,396.6122 ล้านบาทเล็กน้อย โดยมีแผนการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพเพื่อรองรับความต้องการในการเดินทางของนักท่องเที่ยว ในส่วนของการศึกษาออกแบบ
ได้แก่ ท่าอากาศยานน่านนคร ออกแบบงานก่อสร้างขยายทางวิ่ง (รันเวย์) เป็น 2,500 เมตร ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน องค์ประกอบอื่นๆ และปรับปรุงอาคาร ที่พักผู้โดยสาร และศึกษารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมวงเงิน 42.6562 ล้านบาท
ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
ออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม วงเงิน 57.0280 ล้านบาท
ท่าอากาศยานชุมพร ออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม วงเงิน 41.0427 ล้านบาท
ท่าอากาศยานสตูล ออกแบบงานก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน องค์ประกอบอื่นๆ และอาคารที่พักผู้โดยสาร และศึกษารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม วงเงิน 77.2627 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ 2 แห่ง คือท่าอากาศยานมุกดาหาร ออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม วงเงิน 41.0427 ล้านบาท
ท่าอากาศยานบึงกาฬ ออกแบบรายละเอียดอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ และเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ในรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม วงเงิน 41.0427 ล้านบาท
นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาท่าอากาศยานหัวหิน เพื่อให้เป็นท่าอากาศยานตามมาตรฐานสากล โดยการก่อสร้างอุโมงค์ถนน และขยายพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง บริเวณหัวทางวิ่ง 16 วงเงิน 300 ล้านบาท ระยะเวลาการดำเนินงาน ปี 2566-2567 เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายของอากาศยานที่อาจเกิดการไถลออกนอกทางวิ่ง ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำของ กพท.
@ลุยขยาย "สนามบินระนอง-ชุมพร" เชื่อมต่อผู้โดยสารและสินค้า “แลนด์บริดจ์”
สำหรับการพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อรองรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย-อันดามัน (Land bridge) ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมนั้น จะเป็นการพัฒนาเพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ สนามบินระนอง วงเงินลงทุนรวมประมาณ 3,550 ล้านบาท โดยในปี 2566 จัดทำโครงการก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง (รันเวย์) จาก 2,100 เมตร เป็น 2,500 เมตร ก่อสร้างทางขับขนาน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่นๆ (ระยะที่ 1) ระยะเวลาการดำเนินงาน ปี 2566-2569 วงเงิน 750 ล้านบาท และอยู่ระหว่างสำรวจเพื่อจัดหาที่ดินเพิ่มในอนาคตเพื่อต่อขยายความยาวรันเวย์เป็น 2,990 เมตรในการพัฒนาระยะที่ 2
และจัดทำแผนพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินต่อเนื่องในปี 2567 วงเงินรวม 3,600 ล้านบาท สำหรับท่าอากาศยานระนอง ชุมพร และนครศรีธรรมราช ได้แก่ ท่าอากาศยานระนอง ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ วงเงิน 1,600 ล้านบาท ระยะเวลาการดำเนินงาน ปี 2567-2570 โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้จากเดิม 300 คนต่อชั่วโมง หรือ 0.8 ล้านคนต่อปี เป็น 1,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.8 ล้านคนต่อปี
ท่าอากาศยานชุมพร ก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง ขยายทางขับลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่นๆ วงเงิน 1,500 ล้านบาท ระยะเวลาการดำเนินงาน ปี 2567-2570 โดยต่อเติมความยาวทางวิ่งจากเดิม 45x2,100 เมตร เป็น 45x2,990 เมตร
ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช มีแผนก่อสร้างขยายทางขับ และลานจอดเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน และองค์ประกอบอื่นๆ วงเงิน 500 ล้านบาท ระยะเวลาการดำเนินงาน ปี 2567-2569 โดยขยายทางขับและลานจอดเครื่องบินให้สามารถรองรับอากาศยานขนาด 220 ที่นั่งได้ เพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในอนาคตจากการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ที่แล้วเสร็จ
สำหรับการพัฒนา Level of service (LOS) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ในปี 2567 จะมีการจัดทำโครงการจัดหาและติดตั้งระบบตรวจจับการไหลเวียนของผู้โดยสารท่าอากาศยาน 7 แห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, พิษณุโลก, ตรัง และแม่สอด วงเงิน 99 ล้านบาท และการจัดซื้อครุภัณฑ์อำนวยความสะดวก ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย