รูปแบบธุรกิจเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ในอดีตเน้นการขายสินค้าหน้าร้าน ในยุคปัจจุบันพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง “ธุรกิจตลาดดิจิทัล” หรือ “ธุรกิจออนไลน์” จึงเป็นกระแสหลักสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญและพัฒนากลยุทธ์เพื่อเดินหน้าธุรกิจ ตลาดดิจิทัลแข่งขันสูงขึ้น ต้องปรับตัวตลอดเวลา สิ่งที่เคยทำแล้วได้ผลดีในอดีต ทุกวันนี้อาจไม่ได้ผลลัพธ์แบบเดิมแล้ว
โครงการ “SME Digital Market ครบเครื่อง คู่คิด การตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี” โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ได้ดำเนินการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาสำหรับผู้ประกอบการในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 โดยให้ความรู้ เทคนิควิธีการ และทักษะธุรกิจตลาดดิจิทัล เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวก้าวตามกระแสธุรกิจยุคปัจจุบัน เน้นแพลตฟอร์มดิจิทัล Shopee, Google และ Facebook เพิ่มช่องทางธุรกิจเพื่อการสร้างรายได้ เป็นการสนับสนุนสำคัญที่ช่วยพัฒนาตลาดดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการโดยความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน
ด้วยบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาเอสเอ็มอีไทย ตามแนวทาง “เติมทุน” คู่ “การพัฒนา” ในแต่ละปี SME D Bank ได้ร่วมมือกับพันธมิตรมากมายในการพัฒนาผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมฝึกอบรม สัมมนา และให้คำปรึกษา ให้สามารถปรับตัวและรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน และช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ
“ช้อปปี้ ประเทศไทย” ถือเป็นผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานในตลาดดิจิทัล ร่วมถ่ายทอดเทคนิควิธีการและคำแนะนำในการพัฒนาธุรกิจตลาดดิจิทัลให้ผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมออนไลน์ของโครงการฯ พร้อมทั้งมอบสิทธิประโยชน์เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า และร่วมประชาสัมพันธ์ร้านค้าและสินค้าของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยส่วนหนึ่งของความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในช่วงแคมเปญ Shopee 11.11 ลด ใหญ่ มาก ซึ่งความร่วมมือจาก “ช้อปปี้ ประเทศไทย” ในโครงการนี้จะเป็นอีกแรงผลักดันธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ ด้วยความเชื่อในพลังการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลและต้องการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น
“มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย” องค์กรสาธารณะกุศล สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในตัวบุคคล การส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญในการส่งมอบองค์ความรู้และทักษะด้านตลาดดิจิทัล ที่จะช่วยเป็นแรงผลักดันธุรกิจของผู้ประกอบการให้เติบโตก้าวหน้าต่อไป
โครงการฯ ได้รับการตอบรับและลงทะเบียนจากผู้ประกอบการกว่า 500 คน ประสบผลสำเร็จ ทั้งยังก่อให้เกิดเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจจากผู้ประกอบในการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมไปพัฒนาธุรกิจ
“เรื่องกรองน้ำ” โดยคุณชนาสิน ธัญชนิดตสกุล เจ้าของธุรกิจ บจก.ทรีควอเตอร์ ผู้ให้บริการและจัดจำหน่ายเครื่องกรองน้ำ รวมถึงอะไหล่ https://www.facebook.com/3quarter.co.Ltd เริ่มต้นธุรกิจมานานกว่า 10 ปี ปัจจุบันลูกค้าสามารถค้นหาข้อมูลตำแหน่งและเบอร์ติดต่อร้านจาก “Google” และเดินทางมาใช้บริการที่หน้าร้าน
คุณอโณทัย ดลพิทักษ์ เจ้าของธุรกิจ “ปัญญาอีเล็คโทรนิค” ธุรกิจครอบครัวที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 50 ปี คุณอโณทัยเริ่มดูแลธุรกิจอย่างเต็มตัวเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ขายสินค้าหน้าร้านและในเว็บไซต์ของตนเอง http://www.panyaeshop.com/เนื่องด้วยวิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้ลูกค้ามีจำนวนลดลง จึงมองหาช่องทางการขายเพิ่มขึ้น เขาได้พัฒนาร้านค้าออนไลน์ใน shopee https://shopee.co.th/panyaeshop และ Facebook https://www.facebook.com/dpanyad/รวมถึงปรับปรุงข้อมูลร้านค้าใน Google Business Profile https://g.page/panyaelectronic?share ช่วยเพิ่มยอดขายได้ถึง 1-2 แสนบาทต่อเดือน
“ร้านตั้งเกียงเฮง ฟู้ดสตัฟส์” โดยคุณพิภัทร์ ตันติวุฒิภัทร ร้านขายอาหารแปรรูปเจ้าเก่าแก่ตลาดเอี่ยมเจริญ จังหวัดสมุทรปราการ เปิดขายมานานกว่า 20 ปี มีร้านค้าใน Shopee https://shopee.co.th/tkhfs.shop และข้อมูลร้านค้าใน Google https://g.page/TKHFSSHOP?share ที่เป็นช่องทางการตลาดดิจิทัลช่วยเพิ่มรายได้ หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ยอดขายออนไลน์เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 5% และมียอดขายหน้าร้านเพิ่มขึ้น 20% เนื่องจากลูกค้าพบข้อมูลร้านค้าใน Facebook https://www.facebook.com/tkhfs รวมถึง Google และเลือกเดินทางมาที่ร้านตามหมุดที่ปักไว้
คุณชัยรัตน์ ลิขิตอำนวยพร เจ้าของธุรกิจ บจก.สยาม ซิมพลิ ฟู้ด ร้านอาหาร “ปิรันย่า@สยาม” เริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารมานานในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร มือใหม่ธุรกิจตลาดดิจิทัล เริ่มพัฒนาช่องทางออนไลน์ของร้านค้าในปี 2564 ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ลูกค้ารู้จักร้านค้า คือ “Google” https://g.page/PiranyaSiam?share หลังจากเข้าร่วมโครงการคุณชัยรัตน์ได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขข้อมูลใน “Google Business Profile” รวมถึงการเพิ่มภาพร้านค้าและอาหาร แก้ไขการปักหมุดร้านค้า ช่วยพัฒนาธุรกิจร้านอาหารได้มาก
นอกจากนี้ร้านอาหาร “ปิรันย่า@สยาม” ยังมีลูกค้าที่เป็น influencer และ blogger ทั้งในประเทศและต่างประเทศมารับประทานอาหารที่ร้าน ช่วยบอกเล่าและถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านสื่อออนไลน์ให้คนไทยและต่างชาติได้รู้จักร้าน พร้อมทั้งได้ถ่ายภาพแชร์ในสื่อออนไลน์ https://www.facebook.com/piranyasiam
แม้ว่าธุรกิจออนไลน์จะเป็นเรื่องยาก แต่ไม่เกินความสามารถ เพื่อปรับตัวตามกระแสยุคดิจิทัล