การตลาด - ซีพีเอ็นเดินหน้าไม่หยุด ต่อจิ๊กซอว์แผนทุ่มงบแสนล้านบาทใน 5 ปี คราวนี้บุกเมืองรองสองนคร นครสวรรค์-นครปฐม ด้วยงบรวมสองแห่ง 14,000 ล้านบาท พร้อมยกระดับมิกซ์ยูสโมเดลอีกขั้น เปิดแผนและสาเหตุปักธงสองนคร
ปี 2565 นี้ถือเป็นอีกปีที่ บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็นเปิดเกมรุกได้อย่างชัดเจนและหนักหน่วง แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ก็ตาม
เพราะเปิดบริการสาขาใหม่อย่างเป็นทางการอีกแห่งคือ เซ็นทรัล จันทบุรี เปิดเมื่อพฤษภาคม 2565 ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่เปิดเซ็นทรัล ศรีราชา เมื่อตุลาคม 2564 และเซ็นทรัล อยุธยา เมื่อพฤศจิกายน 2564 และล่าสุดยังประกาศเดินหน้าการพัฒนาโครงการใหม่อีก 2 แห่งใน 2 จังหวัดด้วยกัน คือ เซ็นทรัลนครสวรรค์ และเซ็นทรัลนครปฐม
ทั้งนี้ การเปิดแนวรบในเชิงรุกหนักอย่างต่อเนื่องนี้ก็เพราะเป็นการเดินเครื่องสานต่อแผนการลงทุนในช่วง 5 ปี (ปี 2565-2569) ที่ประกาศเอาไว้ว่า ซีพีเอ็นจะต้องใช้งบลงทุนรวมประมาณ 120,000 ล้านบาท ตามแผน “Retail-Led Mixed-Use Development” ด้วยการพัฒนาธุรกิจหลัก ได้แก่ ศูนย์การค้า 50 โครงการทั้งในและต่างประเทศ และคอมมูนิตีมอลล์ 17 แห่ง, ที่อยู่อาศัยรวมกว่า 70 โครงการ, อาคารสำนักงานรวม 13 โครงการ และโรงแรมรวม 37 โครงการ พร้อมทั้งขับเคลื่อนสู่อนาคตภายใต้เจตจำนงของแบรนด์ Imagining better futures for all ด้วยการสร้างและพัฒนาพื้นที่ที่มีคุณภาพเพื่อดูแลคนและชุมชน รวมถึงสิ่งแวดล้อมให้เติบโตควบคู่ไปกับการเดินหน้าทางเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศไทย
นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล Chief Development and Commercial Officer บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า ซีพีเอ็นได้ประกาศเปิดตัวการลงทุน 2 โครงการใหม่คือ เซ็นทรัล นครสวรรค์ กับเซ็นทรัล นครปฐม ด้วยงบรวม 14,000 ล้านบาท ซึ่งย้ำชัดถึงบทบาทของเราในการเป็น Place Maker ที่บุกเบิกเมืองศักยภาพ พร้อมทั้งยกระดับการใช้ชีวิตของผู้คน ชุมชน และช่วย Scaling Up การขยายธุรกิจของคู่ค้า ซึ่งมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความเจริญให้ประเทศ ดังเช่นโครงการมิกซ์ยูสที่ประสบความสำเร็จแล้วอย่างเซ็นทรัล โคราช รวมถึงโครงการที่อยู่ในแผนงานและเราได้บุกเบิกในส่วนของศูนย์การค้าไปแล้ว ได้แก่ เซ็นทรัล อยุธยา, เซ็นทรัล ศรีราชา และเซ็นทรัล จันทบุรี
อย่างไรก็ตาม การเปิดตัว 2 โครงการใหม่นี้ยังเป็นการาสร้างและยกระดับโครงการรูปแบบมิกซ์ยูสโมเดลใหม่ไปอีกขั้น (The Upscaling of Retail-Led Mixed-Use Development ) ทั้งในส่วนของการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงกับชุมชน และการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนี้
1. New Frontier of Mixed-Use Development: การใช้แนวทางใหม่ๆ ทั้งการผสมผสาน Sustainability ที่จะเป็นมาตรฐานของการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ต่อจากนี้ และการสร้าง Master Plan ที่เชื่อมโยงไปสู่ Neighbouring Component ใกล้เคียง, แลนด์มาร์กสำคัญในเมือง และชุมชนโดยรอบ
2. Urban Township: ยกระดับเมืองศักยภาพอย่างนครสวรรค์ ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและประตูสู่ภาคเหนือ และนครปฐม เป็น Center of Satellite City ที่รองรับการขยายตัวของเมือง โดยทั้งสองโลเกชัน เซ็นทรัลพัฒนาได้บุกเบิกโครงการมิกซ์ยูสแห่งอนาคต ที่ใส่ใจทั้ง health & wellness, multi-generation lifestyles, nature, art & cultural เป็นต้น รวมไปถึงการเปิดพื้นที่เพื่อชุมชน เป็น Shared Space มากขึ้น
3. Customer & Tenant Centric: ทุกครั้งที่ขยายโครงการใหม่ ได้เล็งเห็นถึงกำลังซื้อและไลฟ์สไตล์ โดยใช้ Data-Driven Customer Insight ทั้งข้อมูลจาก The 1 และการลงทุนต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน ทำให้สร้างสรรค์โครงการที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้ในเชิงลึก และช่วยให้พันธมิตรคู่ค้า Offer Merchandise-Mix ได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ขยายโอกาสสร้างความเติบโตทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมี Synergy ของกลุ่มเซ็นทรัลเองก็มีการพัฒนาคอนเซ็ปต์ใหม่ๆ ให้สอดคล้องไปกับโครงการด้วย
*** เซ็นทรัล นครสวรรค์ เปิดไตรมาสแรก 2567
โครงการเซ็นทรัล นครสวรรค์ สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ Multi-Generation Community ด้วยมูลค่าโครงการ 5,800 ล้านบาท บนที่ดิน 42 ไร่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า GFA 76,000 ตร.ม. เปิดให้บริการช่วงไตรมาส 1/2567, โรงแรม 200 ห้อง, คอนโดมิเนียม และ Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่ นอกจากนี้ยังมี Neighbouring Component อย่างโรงพยาบาลชั้นนำที่เชื่อมโยงอยู่บน Master Plan ของโครงการด้วย
ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา Head of Marketingกล่าวถึงสาเหตุที่ซีพีเอ็นเลือกนครสวรรค์ มาจากเหตุผลคือ 1. นครสวรรค์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งภาคเหนือตอนล่างเป็นประตูเชื่อมสู่ภาคเหนือและตั้งอยู่บนแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridors (NSEC) และแผนเมกะโปรเจกต์ของภาครัฐ เช่น รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ, รถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-แม่สอด และส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ
นอกจากนี้ นครสวรารค์ยังถือเป็นพื้นที่ Logistic Hub ของการขนส่งอีกด้วย ซึ่งจะทำให้เซ็นทรัล นครสวรรค์ จะเป็นอีกหนึ่ง Hub สำคัญที่เชื่อมโยงโครงการของเซ็นทรัลพัฒนาในภาคกลางและภาคเหนือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ให้แก่คู่ค้าผู้เช่าในการขยายโอกาสทางธุรกิจ
2. นครสวรรค์ เป็น Hub of Cultural Tourism: เมืองท่องเที่ยว เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย-จีน เมืองปากน้ำโพ ต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา มีชุมชนชาวจีนใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเทศกาลตรุษจีนก็เป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของจังหวัด รองจากกรุงเทพฯ และภูเก็ต การดีไซน์ภายในศูนย์การค้าจึงชู Local Essence ผสมผสาน Thai-Chinese Culture เป็นอีกหนึ่ง Attraction ที่จะทำให้นครสวรรค์เป็นมากกว่าเมืองผ่าน สู่เมืองท่องเที่ยวที่ผู้คนต้องมาเยือน
3. นครสวรรค์มีความเป็น Affluent Multi-Generation Families: กลุ่มครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน กำลังซื้อสูง หลากหลายช่วงวัย ไลฟ์สไตล์คนเมือง โดยมีGPP (ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว): กว่า 120,000 บาทต่อปี ซึ่งเทียบเท่าขอนแก่น, รายได้ต่อครัวเรือนหรือHousehold Income มากกว่า 21,000 บาทต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าเชียงราย, Multi-Generation Thai-Chinese Families ครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน คนรวยนครสวรรค์ คือกลุ่มนักธุรกิจ คุ้นเคยกับ Urban lifestyle โดยจากข้อมูลที่เรามี ชาวนครสวรรค์เดินทางมาชอปที่สาขาในกรุงเทพฯ จำนวนมาก อันดับหนึ่งคือ เซ็นทรัล ลาดพร้าว, รองลงมาที่เซ็นทรัลเวิลด์, ที่นครสวรรค์สามารถมีCatchment Area: กว่า 1,000,000 คน รวมประชากรในนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ กำแพงเพชร, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี และพิจิตร, การเติบโตของภาคอสังหาฯ Housing Growth:ที่อยู่อาศัยเติบโต 6% ใน 5 ปี ราคาเฉลี่ยประมาณ 2.5 ล้านบาท
นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์ Head of Partner Management กล่าวว่า ที่เซ็นทรัลนครสวรรค์จะเป็นแลนด์มาร์กใหม่เพื่อชีวิตที่มีคุณภาพโดยมีประเด็นหลักๆดังนี้ Urban Park ขนาดใหญ่ 2 ไร่: ออกแบบให้เป็น Multi-Generation Space ประกอบด้วย Playground, Pet’s Park และไฮไลต์อย่าง Longevity Hill ที่ดีไซน์ให้เป็น Vertical Walkway มี running track, bike track การดีไซน์ Wellness Zone ภายในโครงการให้เชื่อมโยงกับ Neighbouring Component อย่างโรงพยาบาล ประกอบด้วย Fitness, Sport Anchors, Beauty Services เป็นต้น
คอนเซ็ปต์ดีไซน์ represent เมืองปากน้ำโพ ผสมผสาน Chinese meets Thai Culture เข้ามาในส่วนต่างๆ รวมกว่า 400 แบรนด์ ซึ่งมีการออกแบบแต่ละโซนแบบ Holistic View ที่เชื่อมโยงแต่ละโซนอย่างเช่น Chinese Village ที่ประกอบด้วย Food Destination, Chinese Market, Authentic Café, Supermarket Retail Magnet: Synergy within Central Group: Central Department Store, Supersports, PowerBuy, Tops, B2S, Officemate, go! WOW
*** เซ็นทรัล นครปฐม เปิดไตรมาส 2/2567
สำหรับที่นครปฐม ทางซีพีเอ็นก็มี เซ็นทรัล ศาลายาเปิดบริการอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งผู้บริหารมั่นใจว่าจะไม่เป็นการซ้ำซ้อนกันหรือดึงลูกค้ากันเองอย่างแน่นอน โดยนายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล Chief Development and Commercial Officer กล่าวว่า นครปฐมเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพอย่างมาก เราศึกษามานานแล้ว แต่เราเพิ่งจะพร้อมในเรื่องของที่ดิน ทุกวันนี้เซ็นทรัลศาลายา ก็เติบโตมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ด้วย
ขณะที่ ดร.ณัฐกิตติ์ก็ย้ำว่า นครปฐมเป็นเมืองที่ใหญ่เพียงพอที่จะมี 2 ศูนย์การค้าเปิดได้ ที่อื่นก็มี เช่นที่ชลบุรีก็มีตั้ง 4 ศูนย์การค้า
ที่นครปฐมนี้ ถือเป็นการสร้างเมืองใหม่ ศูนย์กลางการใช้ชีวิตขนาดใหญ่ Sustainability Mixed-Use Development เมืองคนรุ่นใหม่ ใส่ใจความยั่งยืนและพื้นที่ Co-Creation สำหรับทุกคน มูลค่าโครงการ 8,200 ล้านบาท บนที่ดินเกือบ 100 ไร่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า GFA 69,000 ตร.ม. เปิดให้บริการช่วงไตรมาส 2/2567, โรงแรม 200 ห้อง, คอนโดมิเนียม, หมู่บ้านจัดสรรและ Urban Park ขนาดใหญ่ 4 ไร่
สาเหตุที่เปิดที่นครปฐมเพราะว่านครปฐมเป็นเสมือน Center of Satellite City: สร้างเมืองใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิต, เป็น Strategic Move ในการขยายไปภาคตะวันตกโดยมีนครปฐมเป็นประตูเชื่อมไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ ราชบุรี และกาญจนบุรี, เป็นทำเลดีใกล้มหาวิทยาลัยและสถานที่สำคัญ ทำหน้าที่เป็น Center ของเมือง ตอบโจทย์ลูกค้าได้โดยไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เดินทางสะดวกด้วยมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี และมอเตอร์เวย์ ชลบุรี-สระบุรี-นครปฐม
อีกทั้งยังถือว่าเป็นยุทธศาสตร์จังหวัดในการเป็น Smart City และ Eco Industrial Town หรือเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่สร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมชุมชน
นครปฐมยังเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และธรรมชาติ มีเสน่ห์ของเมืองเก่า และความรุ่งเรืองของ “อู่อารยธรรม” และแลนด์มาร์กสำคัญอย่างพระปฐมเจดีย์ โครงการเซ็นทรัล นครปฐมจึงเข้ามาต่อยอดความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และมีเรื่องราว และเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติถึง 35-40% ของพื้นที่สีเขียวทั้งหมดของจังหวัด โครงการเซ็นทรัล นครปฐม ยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ให้กับเมืองด้วย
ศักยภาพของนครปฐม มีกลุ่มเป้าหมายชัด เมืองคนรุ่นใหม่ และมีรายได้สูงติดอันดับ 10 จังหวัดที่มี GPP (ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว) สูงที่กว่า 375,000 บาท มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ, รายได้ครัวเรือนสูง เติบโตจากปีที่แล้วถึง 5% อยู่ที่ประมาณ 34,000 บาทต่อเดือน, Catchment Area: ครอบคลุมประชากรกว่า 1,000,000 คน และยังขยาย New Catchment ไปราชบุรี กาญจนบุรี, ตอบโจทย์ของคนในเมืองในช่วงระหว่างสัปดาห์ คนในนครปฐม, คนทำงาน, นักเรียนนักศึกษากว่า 200,000 คน เป็น Universities Hub นับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มประชากรหลักของเมือง เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ชีวิต เรียนหนังสือ ไม่ได้แค่เดินทางไป-กลับ, ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว และนักเดินทางที่มาพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์ โดยมีตัวเลขนักท่องเที่ยวกว่า 4 ล้านคนต่อปี เป็นชาวไทย 97%, ต่างชาติ 3%
ความเป็นนครปฐมยังส่งผลต่อการเป็น New Urban Landmark: มิกซ์ยูสโมเดลใหม่ ใหญ่ที่สุดในเมือง ที่ Integrate พื้นที่ Semi-Outdoor เข้ากับพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เป็น The First Urban Park ของนครปฐม ขนาดใหญ่ 4 ไร่ นำความสำเร็จในการสร้างพื้นที่ Semi-Public จากเซ็นทรัล จันทบุรีมาไว้ที่นี่ด้วย แต่ที่นครปฐมจะโดดเด่นด้วยพื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกคนในครอบครัว, Community Leisure Park และพื้นที่งาน Art & Craft และพื้นที่ Co-Creation กับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาหรือ Young Co-Creator / Younger Mind และการเป็น First sustainable shopping center ของนครปฐม ด้วยมาตรฐาน Green Building มี Sustainable Design เช่น Natural Light, Solar Roof ลดการใช้พลังงาน, Waste Management
ส่วนร้านค้า นำโดยพันธมิตรธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ B2S, Office Mate, PowerBuy, Tops Market, Supersports, go! WOW โซนไฮไลต์อื่นๆ เช่น Pathom Landmark: สะท้อนความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ของคนนครปฐม, Pathom Samosorn: Authentic Lifestyle Food Destination กับพื้นที่ Semi-Outdoor Market และ Pathom Club เป็น Sport Fashion Destination ประกอบด้วยสินค้า Sport Fashion, Gadget, Fitness และ Running Track ที่เชื่อมต่อกับโซน Park ที่อยู่ใจกลางโครงการ