xs
xsm
sm
md
lg

“มาม่า” ลุยตลาดโลกทุกโมเดล เพิ่มฐานผลิต-ชูไฮแวลูบุกตปท.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการรายวัน 360 - มาม่า เดินหน้าลุยขยายตลาดโลก มากกว่าแค่การส่งออก แต่ต้องเป็นโกลบอลมาร์เก็ต ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ตปท. 50% ในอีก 5 ปี จากขณะนี้ 30% ชี้มีโอกาสอีกมาก ผุดฐานผลิตทุกโมเดลทั้งลงทุนเอง ร่วมทุน เทคโอเวอร์ โฟกัสสินค้ากลุ่มไฮแวลูและพรีเมี่ยม


นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯวางเป้าหมายที่จะทำตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยมี “มาม่า” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรืออินสแตนท์นู้ดเดิ้ลเป็นแบรนด์หัวหอกหลัก โดยมีนโยบายที่จะทำตลาดมาม่าให้มากกว่าแค่การส่งออก (Beyond Export) นั่นคือ การเป็น โกลบอล มาร์เก็ต ( Global Market) ซึ่งจะเน้นการทำตลาดกลุ่มพรีเมียมและไฮแวลูมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้สอดรับกับเทรนด์ของผู้บริโภคในต่างประเทศ

รวมทั้งการปรับดีไซน์และขนาดของแพกเกจจิ้งให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับตลาดในแต่ละประเทศน้ั้นๆ เน้นทั้งบช่องทางการทำตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์ควบคู่กัน นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนเพิ่มในต่างประเทศ โดยปัจจุบันสัดส่วนการทำตลาดของมาม่า อยู่ในประเทศไทยที่ 70% และต่างประเทศที่ 30% ทั้งนี้บริษัททำตลาดส่งออกมานานแล้วตั้ืงแต่ปี 2524 มีสัดส่วนเริ่มต้นแค่ 2% เท่านั้นเอง


นางสาวพจนา พะเนียงเวทย์ กรรมการบริษัทและกรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพรสซิเดนท์ อินเตอร์ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตแบรนด์มาม่า กล่าวว่า มาม่า มีแผนที่จะขยายตลาดต่างประเทศและตลาดโลกมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีจากนี้ (ปี2565-2569) จะต้องมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเป็น 50% จากปัจจุบันมีประมาณ 30% จากรายได้รวมของบริษัทฯ โดยปีที่แล้วมีรายได้รวมประมาณ 14,000 ล้านบาท

รูปแบบการขยายตลาดมีทั้ง การผลิตจากประเทศไทยและส่งออกไปมากขึ้น กับ การตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องทำการศึกษาในรายละเอียดทุกประเทศที่พิจารณาเบื้องต้นก่อน เพราะแต่ละประเทศที่จะไปลงทุนนั้นก็มีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องกฎหมาย ข้อจำกัดต่างๆ เรื่องแรงงาน เรื่องภาษี ค่าจ้าง ค่าวัตถุดิบ ทำเลที่เหมาะกับการผลิตและสามารถส่งออกในตลาดใกล้เคียงได้ ซึ่งขณะนี้มีหลายแห่งที่พิจารณาอยู่ เช่น ในแอฟริกาใต้

ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสและความลงตัวเป็นหลัก ทั้งแบบการลงทุนเอง หรือการร่วมทุน หรือการเข้าซื้อโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันมาม่ามีฐานการผลิตโรงงานในต่างประเทศอยู่ 4 แห่งคือ เมียนมา กัมพูชา บังคลาเทศ และฮังการี โดยมีตลาดต่างประเทศมากกว่า 68 ประเทศทั่วโลกแล้ว โดยสัดส่วนรายได้ของมาม่าในต่างประเทศหลักๆมาจาก เช่น ในเอเซีย 50%, ในยุโรปมากกว่า 20%, ใน อเมริกา 18% , และแอฟริกา และอื่่นๆ


แผนการขยายตลาดนั้น จะเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มไฮแวลูกับกลุ่มพรเีมียมเป็นพิเศษเพราะมีราคาที่ดีกว่าและตลาดเปิดรับมากกว่าโดยเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เรื่องของสุขภาพและคุณค่าของอาหาร ซึ่งผลิตภัณฑ์บางรายการเราไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย จากเดิมที่สัดส่วนกลุ่มแมสอยู่ที่ 80% กลุ่มพรีเมียมกับกลุ่มไฮแวลูอยู่ที่ 20%

นอกจากนั้นจะตั้งสำนักงานและคู่ค้าเพิ่มขึ้น ในเฟสที่1 ด้วย เช่น ในฮังการีด้วย รวมทั้งตั้งดิสทริบิวเตอร์เช่นที่ อินเดีย มาเลเซีย เวียดนาม ส่วนเฟสที่2จะขยายที่อเมริกา ตะวันออกกลางและแอฟริกา

“การขยายตลาดต่างประเทศทั่วโลกนั้น มีโอกาสมากกว่าแม้ว่าจะยาก แต่่ก็เป็นตลาดใหญ่กว่าตลาดในประเทศมากหลายเท่าตัว เรายังมีโอกาสอีกมาก”


นายเพชร พะเนียงเวทย์ กรรมการ และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด 2 บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดจำหน่ายมาม่า และที่ปรึกษา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยมีการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรวมประมาณ 3,700 ล้านยูนิตต่อปี เป็นปริมาณที่มากถือเป็นอันดับที่9 ของโลก ซึ่งปีที่แล้วตลาดรวมเติบโตประมาณ 10% แต่หากนับการบริโภคต่อคนพบว่าคนไทยบริโภคบะหมี่่กึ่งสำเร็จรูปเฉลี่ย 53.2 ยูนิตต่อคนต่อปี ถือเป็นปริมาณที่มากอันดับที่5 ของโลก จากค่าเฉลี่ยทั่วโลกแค่ 15 ยูนิตต่อคนต่อปี


กำลังโหลดความคิดเห็น