xs
xsm
sm
md
lg

SEAC เผย HR Mega Trend 2022 องค์กร “แกร่ง” แกนกลางต้องแน่จริง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการรายวัน 360 - ครั้งแรกในประเทศไทย SEAC ชี้ชัดองค์กร “แกร่ง” แกนกลาง (Backbone) ต้องแน่จริง เปิด “HR Community by SEAC” สังคมการเรียนรู้ที่ดีและครบวงจรที่สุด เผยภาพ HR Mega Trend 2022 ให้องค์กรเร่งปรับและพัฒนา “คน” พร้อมฝ่าคลื่นวิกฤต
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าองค์กรทั้งโลกต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงแบบหนักหน่วง พร้อมต้องวางแผนกลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่พลิกผันได้ทุกวินาที เราอาจจะมองว่าองค์กรเหล่านั้นต้องมีทีมผู้บริหาร หรือนักการตลาดที่ดี จึงสามารถนำพาองค์กรฝ่าคลื่นที่ถาโถมเข้ามาตลอดเวลา ซึ่งนั่นอาจจะถูกแค่เพียงครึ่งเดียว เพราะถ้าเปรียบองค์กรเป็นเสมือนร่างกาย ทุกแผนกมีความสำคัญและเท่าเทียมกันหมด เช่น ทีมการตลาดกับภารกิจการเคลื่อนไหวด้วยแขนและขา ทีมการขายเปรียบเสมือนปากและหู ทีมผู้บริหาร เป็นดั่งดวงตาและสมอง และที่สำคัญอีกหนึ่งทีมที่เป็นเสมือนแกนกลาง คือทีมทรัพยากรบุคคล (HR) ที่เป็นเหมือนกระดูกสันหลัง (Backbone) และจิตใจขององค์กร

นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “พื้นฐานและภาพรวมของระบบนิเวศเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้บริบทการทำงานของทั้งองค์กรและบทบาทหน้าที่ ของพนักงานเปลี่ยนไปมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ HR ที่ต้องเข้าใจในสถานการณ์และปรับตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็น “ฮีโร่คนสำคัญ” ที่ต้องทำหน้าที่เคียงคู่ทีมผู้บริหารองค์กร เพื่อนำพาธุรกิจสู่โอกาสและทางรอดในอนาคต
 
แต่การที่ HR แต่ละคน ทั้ง HR ที่มากประสบการณ์ หรือ HR รุ่นใหม่จะเข้าใจในสถานการณ์การปรับเปลี่ยนของตัวเองและองค์กรแล้ว การเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้ ทักษะ และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่อัปเดตล่าสุด จะทำให้เกิดมุมมองมิติใหม่และนำไปสู่การปรับใช้ภายในองค์กร ทั้งการเตรียมความพร้อมในการยอมรับและปรับตัว ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ การมองหาโมเดลการบริหารจัดการการทำงานของพนักงานแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถวางแนวทางในการสร้างสะพาน นำพาพนักงานและองค์กรก้าวข้ามผ่านวิกฤต ผลักดันพนักงานและองค์กรให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้เท่าทันกับโลกการทำงานยุคใหม่ พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคตนั้นจึงมีความจำเป็นที่เร่งด่วน


SEAC เข้าใจในบริบทและให้ความสำคัญต่อผู้นำผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงานทุกระดับในสายงาน HR ที่ต้อง Reskill และ Upskill ใหม่ๆ ผสมผสานทั้ง Hard Skills และ Soft Skills การเติมทักษะรอบด้านที่จำเป็นต่อการทำงานรูปแบบใหม่ ของคนในสายงาน HR จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์สังคมที่รวมกลุ่มคนในวงการ HR ขึ้นสู่ “HR Community by SEAC สังคมการเรียนรู้คุณภาพที่ครบวงจรที่สุด สำหรับคนทำงานสาย HR” ครั้งแรกในประเทศไทย สังคมที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารทรัพยากรบุคคลทุกระดับจากหลากหลายองค์กร เชื่อมต่อเครือข่าย HR ทั้งในรูปแบบ Face-to-Face และ Online ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบออนไลน์เป็นช่องทางติดต่อสื่อสาร รวมทั้งการสร้างคอนเทนต์ “ปลุก” พลัง เพื่อสร้างงานแบบ High Productivity ในทุกวัน สู่ความสำเร็จขององค์กรบนความปกติใหม่ของสังคม ซึ่งครอบคลุมมิติใหม่ของการบริหารงาน HR เช่น การบริหารผลการปฏิบัติงานแบบใหม่ (Performance Management), การบริหารจัดการความผูกพันของพนักงานที่ต้องทำงานระยะไกล (Employee Engagement during Pandemic), การวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ (Workforce Strategy) และกลยุทธ์ในการบริหารจัดการพนักงานที่มีศักยภาพสูง ที่ต่างจากเดิม (Talent Management) เป็นต้น

ข้อดีของ HR Community by SEAC สังคมการเรียนรู้คุณภาพที่ครบวงจรที่สุด คือ
1. สังคมเปิดกว้างที่เปิดโอกาสให้ HR ของแต่ละองค์กรได้มีปฏิสัมพันธ์และส่งเสริมองค์ความรู้ ทักษะด้านการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างครบวงจร เพื่อผลักดันให้องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์และคนทำงานสาย HR ทุกระดับทั่วประเทศ

2. คลังความรู้ขนาดใหญ่ ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารทิศทางใหม่ด้านการบริหารจัดการพนักงาน และกรณีศึกษาจากองค์กรระดับโลกที่อัปเดตล่าสุด ให้คุณไม่พลาดทุกเทรนด์และโอกาสใหม่ๆ

3. พื้นที่ Sandbox สำหรับทดลองและพัฒนาต่อยอดไอเดียจริง พร้อมรับฟีดแบ็กจากคน HR และพนักงานองค์กรที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน พร้อมผลักดันการเรียนรู้ และการเติบโตซึ่งกันและกัน

4. ครบถ้วนด้วยเครื่องมือ How to ต่างๆ สำหรับ HR ที่ได้รับการพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนทรัพยากรบุคคลในองค์กรจากองค์กรระดับโกลบอลทั่วโลก พร้อมทั้งกิจกรรมทั้งในรูปแบบ Face-to-Face และ Online เพื่อส่งเสริมความรู้ และพัฒนาทักษะสำหรับสายงาน HR โดยเฉพาะ


นางอริญญากล่าวเสริมว่า “เหตุผลที่ทำให้ HR ต้องเร่งปรับตัวให้ทันกระแสโลกในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงสูงและรวดเร็ว ที่เกิดจากสถานการณ์โควิด-19 จนเกิดเป็นนิยามใหม่ของโลก คือ NOW NORMAL ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก ทำให้ได้ข้อสรุปถึงเทรนด์ออกมาเป็น “8 HR Mega Trend 2022” ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่กระแสการดำเนินธุรกิจและการทำงานของพนักงานทั้งองค์กร ได้แก่

1. “Hiring” New Talent Internally: การสรรหาบุคลากรภายในที่เข้าใจและเหมาะสมกับเนื้องานใหม่ในปัจจุบัน ผ่านการเพิ่มหน้าที่และบทบาท หรือสลับเปลี่ยนรูปแบบงานให้เหมาะสมกับพนักงานภายในของบริษัทฯ มากขึ้น ตามบริบทของสังคมและธุรกิจที่เปลี่ยนไป ซึ่งจากรายงานของ LinkedIn’s Workplace Learning Report 2021 ทำให้เห็นว่าอัตราการปรับบริบทหน้าที่ของพนักงานภายในองค์กรมีมากขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 19% ในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม พ.ศ. 2562 และเพิ่มอีก 19.6% ในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ. 2563

2. Building New Management Models for a Multigenerational Workforce: กลยุทธ์การสร้างสัมพันธ์ภายในองค์กรของคนทำงานหลากหลายเจเนอเรชัน ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายองค์กรต้องกำลังเผชิญและต้องเร่งวางกลยุทธ์ หรือการสร้างโมเดลเพื่อให้พนักงานในแต่ละเจเนอเรชันทำงานแบบพึ่งพิงกันและกัน และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไปพร้อมกัน

3. Enabling Hybrid Workplaces: ความท้าทายใหม่บนวิกฤตนั้น คือการที่ HR ต้องสามารถสร้างจุดเชื่อมการทำงานที่ผสานระหว่างการทำงานที่บ้านกับการทำงานที่ออฟฟิศ เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับออฟฟิศและเพื่อนร่วมทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างผลงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิผลที่ดี

4. Rethinking Work for Gen Z: การมาถึงของเจเนอเรชัน Z ที่นับเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของ HR โดยเฉพาะการเข้าใจธรรมชาติและบริบทพนักงานเจเนอเรชัน Z เพื่อให้สามารถปรับนโยบายและแนวทางการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อสร้างการทำงานร่วมกันของพนักงานในองค์กรและกลุ่มพนักงานใหม่มากขึ้น

5. Benefiting from a Growing Gig Economy: Gig worker กับการทำงานในปัจจุบัน ที่เน้นรูปแบบการว่าจ้างงานแบบฟรีแลนซ์ พนักงานชั่วคราวมากขึ้น

6. Increasing Need for Power Skills: Soft Skills, Digital Skills, Thinking Skills: จากการที่ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น ทำให้คนเดินทางไปสู่ไลฟ์สไตล์ชีวิตแบบดิจิทัล เกิดการทดแทนทรัพยากรคน ด้วยเครื่องจักรหรือ AI มากขึ้น ทำให้ HR ต้องเร่งปรับและพัฒนาคนในองค์กรให้เข้าถึงการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่เรียกว่า “Power Skills” ประกอบไปด้วย Soft Skills, Hard Skill, Digital Skills และ Thinking Skills

7. Planning Perpetual Reskilling/Upskilling at Speed: ติดสปีดการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้แก่พนักงานในองค์กร เพื่อเสริมศักยภาพของพนักงาน สู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรต่ออุตสาหกรรมในอนาคต

8. Increasing Focus on Building Learning Ecosystems: การสร้างระบบนิเวศในการทำงานใหม่ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพิ่มทักษะใหม่ และเพิ่มนวัตกรรมในองค์กร เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบการมีส่วนร่วมของกันและกัน รวมทั้งการเข้าถึงคอนเทนต์ใหม่ๆ เทคโนโลยี และข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

“ดังนั้น HR COMMUNITY by SEAC จึงเป็นเสมือนพื้นที่เปิดให้คนที่ทำงานสาย HR และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานและองค์กรทุกระดับจากหลากหลายภาคธุรกิจ ได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาและ สัมผัสประสบการณ์ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร แลกเปลี่ยนความรู้และทักษะใหม่ๆ แก่กันและกัน เสมือนเป็น บิ๊กคอมมูนิตีที่ขับเคลื่อนโดยคนในวงการ HR สำหรับคนทำงานในสาย HR โดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกคนเท่าทันทุกข้อมูลและ รับรู้โอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และนำพาสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรและพนักงานในองค์กรให้ดีขึ้น” นางอริญญากล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น