บอร์ด รฟท.เคาะขยายเวลาสัญญาที่ปรึกษาบริหารโครงการไฮสปีด “ไทย-จีน” อีก 2 ปีโดยไม่เพิ่มค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานระบบสัญญา 2.3 เผยพิษโควิดห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานกระทบ 4 สัญญา ชะลอเข้าพื้นที่เลื่อน NTP ไปต้นปี 65
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติขยายเวลาทำการตามสัญญางานจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการ ควบคุมงานออกแบบและติดตั้งระบบรถไฟ และรับรองความปลอดภัยของระบบรถไฟ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระยะทาง 253 กม.เป็นการขยายเวลาสัญญา โดยไม่มีการเพิ่มวงเงินค่าจ้างใดๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การทำงานของที่ปรึกษาฯ สอดคล้องกับงานสัญญา 2.3 (งานระบบรางระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) เนื่องจากสัญญา 2.3 มีการลงนามล่าช้า
แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า สัญญาจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารโครงการ ควบคุมงานออกแบบและติดตั้งระบบรถไฟ และรับรองความปลอดภัยของระบบรถไฟไทย-จีน (PMSC) วงเงินประมาณ 1,200 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 60 เดือน โดยจะขยายระยะเวลาออกไปเป็น 85 เดือน หรือจะสิ้นสุดสัญญาว่าจ้างประมาณเดือน เม.ย. 2569 โดยไม่มีการปรับเพิ่มวงเงินค่าจ้าง
“รฟท.ได้ทำสัญญาจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการ (PMSC) ซึ่งเป็นบริษัทไทย เพื่อช่วย รฟท.บริหารโครงการ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับสัญญา 2.1 งานออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา สัญญา 2.2 งานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา สัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลฯ ที่ทำสัญญาจ้างจีน”
@พิษโควิด ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน กระทบ 4 สัญญาชะลอก่อสร้าง เลื่อน NTP ไปต้นปี 65
แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า การก่อสร้างงานโยธารถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท จำนวน 14 สัญญานั้น ลงนามสัญญาไปแล้ว 11 สัญญา โดยก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา โดยการก่อสร้างจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2564 มีความคืบหน้าดังนี้
สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริง เป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้า 64.93%, สัญญาที่ 3-2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท มี บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ เป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้า 0.056%, สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บมจ.เอ็นยิเนียร์ และอุตสาหกรรมเป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้า 0.10%
สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้า 1.74%, สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า SPTK (นภาก่อสร้าง ร่วมกับรับเหมาประเทศมาเลเซีย) เป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้า 0.259%
สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริง เป็นผู้ก่อสร้าง คืบหน้า 0.79%
ส่วนอีก 4 สัญญาที่มีการลงนามแล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่เพื่อส่งมอบและออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) นั้น เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 มีการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน ทำให้ต้องปรับแผนงาน และเลื่อนการเข้าพื้นที่ก่อสร้างออกไป โดยคาดว่าจะออก NTP เริ่มงานได้ช่วงต้นปี 2565
โดย 3 สัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 ได้แก่ สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964), บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด เป็นผู้ก่อสร้าง, สัญญา 4-4 งานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท มี บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง, สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,428 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง
อีก 1 สัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2564 คือสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร วงเงิน 10,570 ล้านบาท มี บมจ.บริษัทยูนิคฯ เป็นผู้รับเหมา
“การก่อสร้างรถไฟไทย-จีนส่วนใหญ่อยู่นอกเมืองนอกเขตชุมชน จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ดังนั้น งานที่ก่อสร้างอยู่ยังดำเนินการไปตามแผน ส่วนสัญญาที่เพิ่งลงนามต้องชะลอเริ่มงานเพราะติดเรื่องเคลื่อนย้ายแรงงาน อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คงจะต้องมีการปรับไทม์ไลน์แผนงานโครงการในภาพรวมใหม่ทั้งหมด เนื่องจากงานโยธาไม่เป็นไปตามแผนงานเดิม จากผลกระทบต่างๆ และยังเหลืออีก 3 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนาม”
@ส่งร่าง TOR ให้ยูเนสโกตรวจทานก่อนจ้างศึกษา HIA สถานีอยุธยา
สำหรับช่วงผ่านพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ซึ่ง รฟท.จะศึกษาเรื่อง HIA (Heritage Impact Assessment) ผลกระทบมรดกวัฒนธรรมนั้น ขณะนี้ได้จัดทำร่าง TOR และหารือกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้แทนยูเนโกในไทยแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างส่งหารือผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโก หากไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม รฟท.จะเร่งจัดซื้อจัดจ้างศึกษา HIA ต่อไป โดยวงเงินว่าจ้างราว 50 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 180 วัน
ส่วนอีก 4 สัญญาที่มีการลงนามแล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่ เพื่อส่งมอบและออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) นั้น เนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19 มีการห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน ทำให้ต้องปรับแผนงาน และเลื่อนการเข้าพื้นที่ก่อสร้างออกไป โดยคาดว่าจะออก NTP เริ่มงานได้ช่วงต้นปี 2565
โดย 3 สัญญาที่ลงนามเมื่อ วันที่ 29 มี.ค.2564 ได้แก่สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพระยะทาง 23 กม.วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ. เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) , บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด ) เป็นผู้ก่อสร้าง , สัญญา 4-4 งานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย
วงเงิน 6,573 ล้านบาท มี บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง ,สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม.วงเงิน 9,428 ล้านบาท มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง
อีก 1 สัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 5 ก.ค.2564 คือสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง - นวนคร วงเงิน 10,570 ล้านบาท มี บมจ.บริษัทยูนิค ฯเป็นผู้รับเหมา
“การก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ส่วนใหญ่ อยู่นอกเมืองนอกเขตชุมชน จึงไม่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ดังนั้น งานที่ก่อสร้างอยู่ยังดำเนินการไปตามแผน ส่วนสัญญาที่เพิ่งลงนาม ต้องชะลอเริ่มงานเพราะติดเรื่องเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ คงจะต้องมีการปรับไทม์ไลน์แผนงานโครงการในภาพรวมใหม่ทั้งหมด เนื่องจากงานโยธา ไม่เป็นไปตามแผนงานเดิม จากผลกระทบต่างๆ และยังเหลืออีก 3 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนาม”
@ส่งร่าง TOR ให้ยูเนสโกตรวจทานก่อนจ้างศึกษา HIA สถานีอยุธยา
สำหรับช่วง ผ่านพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ซึ่งรฟท.จะศึกษาเรื่อง HIA (Heritage Impact Assessment) ผลกระทบมรดกวัฒนธรรม นั้น ขณะนี้ ได้จัดทำร่าง TOR และหารือกับกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้แทนยูเนโก ในไทยแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างส่งหารือผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโก หากไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม รฟท.จะเร่งจัดซื้อจัดจาง ศึกษา HIA ต่อไป โดยวงเงินว่าจ้างราว 50 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 180 วัน