xs
xsm
sm
md
lg

“โควิด-19” ป่วนตั๋วร่วมข้ามสายส่อหลุดเป้า ต.ค. คมนาคมเร่ง “BTS-MRT” พัฒนาระบบหัวอ่าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ตั๋วร่วมสะดุด “โควิด-19” ออกแบบและพัฒนาระบบ รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามระบบ ส่อหลุดเป้า ต.ค. 63 “คมนาคม” เร่ง BTS และ MRT ยึดแผนเดิม ขณะที่เตรียมเสนอคลังเพิ่มขอบเขตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ใช้กับรถเอกชน “บขส.-ขสมก.” ได้


นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า ได้ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบการใช้งานร่วมกันของระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ Interoperability ในระยะเร่งด่วน ที่จะทำให้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของ รฟม. และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถใช้งานร่วมกันได้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งมีการรายงานว่าขณะที่บริษัทผู้ออกแบบและพัฒนาระบบที่ประเทศสิงคโปร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้การใช้บัตรข้ามระบบอาจล่าช้าออกไปจากแผนงาน ซึ่งทางสิงคโปร์ระบุว่าอาจต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2563 จึงได้กำชับให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เร่งรัดบริษัท ผู้ออกแบบ เพื่อให้เปิดใช้ได้ตามแผนเดือน ต.ค.

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT และ BTS จะต้องตกลงรายละเอียดในเรื่องค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรข้ามระบบด้วย ซึ่งผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และสายสีเขียว จะต้องตกลงร่วมกันอีกด้วย
นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เป้าหมายการใช้บัตรข้ามระบบเริ่มในเดือน ต.ค. 63 นั้นจะใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และ BTS สายสีเขียว ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากยังติดปัญหาผู้พัฒนาระบบ โดยตามแผนงานจะใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน (พัฒนาและติดตั้ง 4 เดือน ทดสอบ 2 เดือน) ขณะนี้พบว่าบริษัท STE ประเทศสิงคโปร์ ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารยังมีข้อติดขัดในการทำงาน

ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สนข.จัดทำไทม์ไลน์การพัฒนาระบบตั๋วร่วมใหม่เพื่อนำเสนอ ครม.พิจารณา โดยแบ่งเฟสการพัฒนาระยะเร่งด่วน (การใช้บัตรข้ามระบบ) เมื่อใด จำนวนกี่สาย การพัฒนาระยะยาว การระบบ Account Based Ticketing หรือ ABT ซึ่งใช้บัตร EMV นั้นจะเริ่มเมื่อใด


สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (แมงมุม 2.5) ซึ่งกรมบัญชีกลางออกสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันมีประมาณ 1.3 ล้านใบ โดยสามารถใช้ชำระค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชน และรถไฟฟ้า MRT BTS และแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้นั้น จะหมดอายุในเดือน ต.ค. 2565 จะมีการเปลี่ยนบัตรสวัสดิการทั้งหมดเป็นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยตัวบัตรจะเปลี่ยนเป็นระบบ EMV ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card)


นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ขอให้เพิ่มสิทธิในการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับรถโดยสารเอกชนใน 14 เส้นทางที่ บขส.ไม่ได้วิ่งให้บริการ ส่วนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอให้ใช้บัตรกับรถร่วมเอกชนได้ฯ ซึ่งกรมบัญชีกลางให้รวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ที่มี รมว.คลังเป็นประธาน เพื่อพิจารณา


สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 ที่เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... นั้นอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างฯ และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการประกาศ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน จากนั้น สนข.จะเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือน โดย คนต.จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทั้งหมดด้วยระบบตั๋วร่วม


ตั๋วร่วมสะดุด “โควิด-19” ออกแบบและพัฒนาระบบ รับบัตรรถไฟฟ้าข้ามระบบ ส่อหลุดเป้า ต.ค. 63 “คมนาคม” เร่ง BTS และ MRT ยึดแผนเดิม ขณะที่เตรียมเสนอคลังเพิ่มขอบเขตบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ใช้กับรถเอกชน “บขส.-ขสมก.” ได้


นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า ได้ติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบการใช้งานร่วมกันของระบบตั๋วร่วมในรูปแบบ Interoperability ในระยะเร่งด่วน ที่จะทำให้บัตรแมงมุม บัตร MRT Plus ของ รฟม. และบัตร Rabbit ของ BTS สามารถใช้งานร่วมกันได้ในวันที่ 1 ต.ค.นี้ ซึ่งมีการรายงานว่าขณะที่บริษัทผู้ออกแบบและพัฒนาระบบที่ประเทศสิงคโปร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้การใช้บัตรข้ามระบบอาจล่าช้าออกไปจากแผนงาน ซึ่งทางสิงคโปร์ระบุว่าอาจต้องใช้เวลาถึงปลายปี 2563 จึงได้กำชับให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เร่งรัดบริษัท ผู้ออกแบบ เพื่อให้เปิดใช้ได้ตามแผนเดือน ต.ค.

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT และ BTS จะต้องตกลงรายละเอียดในเรื่องค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรข้ามระบบด้วย ซึ่งผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และสายสีเขียว จะต้องตกลงร่วมกันอีกด้วย
นายเผด็จ ประดิษฐเพชร ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า เป้าหมายการใช้บัตรข้ามระบบเริ่มในเดือน ต.ค. 63 นั้นจะใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และ BTS สายสีเขียว ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ยังใช้ไม่ได้ เนื่องจากยังติดปัญหาผู้พัฒนาระบบ โดยตามแผนงานจะใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน (พัฒนาและติดตั้ง 4 เดือน ทดสอบ 2 เดือน) ขณะนี้พบว่าบริษัท STE ประเทศสิงคโปร์ ผู้ออกแบบและพัฒนาระบบจัดเก็บค่าโดยสารยังมีข้อติดขัดในการทำงาน

ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สนข.จัดทำไทม์ไลน์การพัฒนาระบบตั๋วร่วมใหม่เพื่อนำเสนอ ครม.พิจารณา โดยแบ่งเฟสการพัฒนาระยะเร่งด่วน (การใช้บัตรข้ามระบบ) เมื่อใด จำนวนกี่สาย การพัฒนาระยะยาว การระบบ Account Based Ticketing หรือ ABT ซึ่งใช้บัตร EMV นั้นจะเริ่มเมื่อใด


สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (แมงมุม 2.5) ซึ่งกรมบัญชีกลางออกสำหรับผู้มีรายได้น้อย ปัจจุบันมีประมาณ 1.3 ล้านใบ โดยสามารถใช้ชำระค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชน และรถไฟฟ้า MRT BTS และแอร์พอร์ตเรลลิงก์ได้นั้น จะหมดอายุในเดือน ต.ค. 2565 จะมีการเปลี่ยนบัตรสวัสดิการทั้งหมดเป็นบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยตัวบัตรจะเปลี่ยนเป็นระบบ EMV ใช้งานผ่านบัตร EMV (Euro/ Master/ Visa Card)


นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ขอให้เพิ่มสิทธิในการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับรถโดยสารเอกชนใน 14 เส้นทางที่ บขส.ไม่ได้วิ่งให้บริการ ส่วนองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขอให้ใช้บัตรกับรถร่วมเอกชนได้ฯ ซึ่งกรมบัญชีกลางให้รวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ที่มี รมว.คลังเป็นประธาน เพื่อพิจารณา


สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 ที่เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ... นั้นอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างฯ และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการประกาศ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน จากนั้น สนข.จะเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือน โดย คนต.จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ทั้งหมดด้วยระบบตั๋วร่วม


กำลังโหลดความคิดเห็น