xs
xsm
sm
md
lg

ส.อ.ท.เร่งปรับอุตฯรับยุคดิจิทัลปี'63กระตุ้นใช้สินค้าไทยลดพึ่งพิงส่งออก

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"ส.อ.ท." ปักหมุดแผนงานปี 2563 เร่งภารกิจขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมสินค้าไทย Made in Thailand แบบเข้มข้นหวังลดพึ่งพิงส่งออกรับมือปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศระยะยาว พร้อมหนุนทรานฟอร์มสู่อุตฯ4.0 รับยุคดิจิทัล และปั้นแรงงานรับมือ Disrupt

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปี 2563 ส.อ.ท.วางแนวทางการดำเนินงานที่จะสานต่อภารกิจหลักเดิมและมุ่งเน้นในเชิงปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นใน 3 ด้านที่สำคัญได้แก่ 1. การขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการใช้สินค้าไทยหรือ Made in Thailand 2. การสร้างความเข้มแข็งให้ 45 กลุ่มอุตสาหกรรมก้าวสู่อุตสาหกรรรม 4.0 รองรับยุคดิจิทัล และ3. การร่วมมือกับมาวิทยาลัยต่างๆเพื่อเพิ่มทักษะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ FTI Academy และ ซึ่งทั้งหมดมุ่งเน้นในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอนาคตและการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจไทย

สำหรับการมาตรการกระตุ้นให้ใช้สินค้าไทยหรือ Made in Thailand จะมีส่วนสำคัญในการปรับโครงสร้างการผลิตของไทยให้ลดการพึ่งพิงการส่งออกเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกในระยะยาวเนื่องจากขณะนี้การส่งออกของไทยมีสัดส่วนสูงกว่า 60% ของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ(จีดีพี)และเมื่อรวมกับการท่องเที่ยวจะสูงกว่า 77 % ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่บริหารจัดการไม่ได้ภาครัฐและทุกส่วนจะต้องส่งเสริมการใช้สินค้าไทยเพื่อให้คงการผลิตและการจ้างงานไว้ต่อเนื่อง

" ปี 2562 ส.อ.ท.ได้นำเสนอแนวทางเบื้องต้นกับภาครัฐแล้วที่จะขอให้ผลักดันให้หน่วยงานราชการจัดซื้อจัดจ้างที่เน้นสินค้าไทยซึ่งแม้ว่าพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างจะมีการกำหนดเรื่องนี้แต่ก็นำปฏิบัติน้อยอยู่ แต่ในปี 2563 จะต้องผลักดันให้เกิดผลทางปฏิบัติต่อเพื่อระยะยาวภายใน 10 ปีข้างหน้าการใช้สินค้าไทยจะทำให้ลดสัดส่วนการส่งออกโดยหวังว่าจะเป็นตลาดภายในและต่างประเทศสัดส่วนอย่างละ 50% ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนก้าวมาจากจุดที่เน้นใช้สินค้าในประเทศไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฯลฯ"นายเกรียงไกรกล่าว

ส่วนแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมซึ่งส.อ.ท.มีสมาชิก 45 กลุ่มจะมุ่งเน้นการสนับสนุนองค์ความรู้และความร่วมมือกับรัฐให้มีการทรานฟอร์มภาคการผลิตไปสู่โรงงาน หรือ อุตสาหกรรม 4.0 ที่ต้องเน้นการนำนวัตกรรม ระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยจะรวมถึงการเตรียมพร้อมเข้าสู่เทคโนโลยี 5 G เป็นต้น

นายเกรียงไกรกล่าวว่า ปี 2563 ยังคงสานต่อและมุ่งที่จะร่วมมือกับมาวิทยาลัยต่างๆและภาครัฐเพื่อเพิ่มทักษะแรงงาน(Up-Skill )ในภาคอุตสาหกรรมภายใต้โครงการ FTI Academy ที่จะกำหนดหลักสูตรการศึกษาให้สร้างบุคลากรที่มีทักษะที่ตรงกับความต้องการของภาคการผลิต ซึ่งขณะนี้พบว่ามหาวิทยาลัยเอกชนเองหลายแห่งก็กำลังประสบปัญหาขาดแคลนนักศึกษาเพราะจบมาแล้วหางานไม่ได้จึงเริ่มไม่เรียนในหลักสูตรเดิมๆที่มีอยู่เพราะหลักสูตรบางอย่างไม่สอดรับกับโลกในปัจจุบัน เช่น คณะวารสาร สังคมศาตร์ ฯลฯ ที่หลายธุรกิจเองก็ถูกเปลี่ยนแปลงจากนวัตกรรมหรือDisrupt ทำให้เกิดปัญหาว่างงานตามมา

"เราได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยและรัฐกำหนดหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะแรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เน้นเพิ่มทักษะด้านไอทีและวิศวกรรม ด้วยการจัดอบรมไม่เกิน 1 ปีเพื่อพัฒนาแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาด และจะขยายไปยังสาขาอื่นๆมากขึ้น "นายเกรียงไกรกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น