นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ภาคอีสานเพราะเกษตรกรชี้แจงโครงการประกันรายได้ที่จังหวัดอุบลราชธานีบ่ายวันนี้ โดยกล่าวว่ามาเพื่อรายงานความคืบหน้าของเกษตรกร โดยรัฐบาลแถลงนโยบายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 กรณีให้ประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
โดยผ่านมา 4 เดือนกว่าประกันรายได้ทำได้เกือบ 5 ตัว คือ ข้าว มัน ยาง ปาล์ม มาถึงวันนี้จ่ายเงินส่วนต่างงวดแรกแล้ว เหลือข้าวโพดจะจ่าย 20 ธันวาคมนี้ ถ้าผ่าน 20 ธ.ค. 2562 นี้ก็ถือว่าทำได้ครบทั้ง 5 ตัว ซึ่งถือว่า "ทำได้ไว ทำได้จริง"
นายจุรินทร์กล่าวว่า “ประกันรายได้ข้าว จ่ายส่วนต่างงวดแรก 15 ตุลาคม 2562 เงินส่วนต่างคือหัวใจนโยบายประกันรายได้คือหลักประกันพืชเกษตรตัวไหนท่านจะไม่มีรายได้ตามยถากรมมคือรายได้ตามราคาผลตลิตตามตลาดหลัก ถ้าตลาดไม่ดีก็จะได้ราคาไม่ดีตามตลาด ถ้าผลผลิตไม่มีคุณภาพก็จะโดนกดราคา
ก่อนมีนโยบายประกันรายได้ท่านจะมีรายได้นี้เป็นหลัก แต่มีนโยบายแล้วท่านจะมีรายได้สองทาง เช่น 15,000 ประกัน ขาย 13,000 ท่านมีส่วนต่าง 2,000 ซึ่งท่านได้กระเป๋าซ้าย 13,000 กระเป๋าขวา 2,000 รวม 15,000 ทำให้มีรายได้เพิ่มมาเพื่อเพียงพอต่อการยังชีพ
ปีนี้ปลูกข้าวหอมมะลิดีแล้ว ราคาดีทั้งในและต่างประเทศท่านควรปลูก ที่ผ่านมาราคาข้าวหอมมะลิดี สูงกว่า 15,000 แต่บังเอิญราคาแพงกว่า 15,000 ท่านเลยไม่ได้ส่วนต่าง แต่ท่านเข้าใจผิด ความจริงท่านไม่ขาด ซึ่งท่านได้สองกระเป๋าซึ่งสูงกว่าราคาประกันรายได้” นายจุรินทร์กล่าว
สำหรับงวดถัดไป หอมมะลิ และหอมนอกพื้นที่ราคาอ่อนตัวลงแล้วท่านจะได้รับเงินส่วนต่าง สำหรับงวดนี้ หอมมะลิ 500 กว่าบาท/ตัน ส่วนหอมมะลินอกพื้นที่ 400 กว่าบาทต่อตัน การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงที่ผ่านมาให้จ่ายค่าต้นทุนสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ 23,000 รายที่ยังไม่ได้ ไร่ละ 500 บาทไม่เกิน 20 ไร่ ค่าปรับปรุงและเก็บเกี่ยวก็จะได้เล่นกันตันละ 500 ไม่เกิน 20ไร่ คือที่ ครม.เห็นชอบ 11 ธันวาคม 62
สำหรับ ปาล์ม ประกันรายได้กิโลกรัมละ 4 บาท พร้อมสกัดการลักลอบการนำเข้าและเอาไปทำบี 10 เพื่อเพิ่มการใช้ปาล์ม ปรากฏว่าวันนี้เมื่อประกาศ ราคาต้องขึ้นจาก 2.20 ขึ้นเป็น 2.40 ตอนนี้ขึ้นไป 4 บาทกว่า ล่าสุดไปถามหนองคาย 4.80 บาท มีเงินมากกว่าประกันรายได้ และปาล์มถ้าเกิดตกท่านไม่ต้องกังวล ถ้าวันไหนราคาตกก็จะได้รับเงินส่วนต่าง
กรณีมันสำปะหลัง ประกันรายได้ที่กิโลกรัมละ 2.50 บาท เกษตรกรมันสำปะหลังก็ได้รับเงินส่วนต่างไป
ยางพารา ทำประกันรายได้ 3 ชนิด ดิบชั้น 3 กก.ละ 60 น้ำยาง 57 บาท ยางก้อนถ้วย กก.ละ 23 บาท วันนี้ท่านขาย 20 ท่านได้ส่วนต่าง 3 บาททันที จำนวนกิโลคูณ 3 บาท โอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส.แต่ปัญหายางฯ ก่อนโอนเงินถ้ามาขึ้นทะเบียน กยท.ร่วมกับคณะกรรมการจังหวัดไปตรวจพื้นที่ และชนิดของยางเนื่องจากชนิดของยางได้ส่วนต่างไม่เท่ากัน กว่า กยท.จะไปตรวจสวน งวดเเรก 1 พ.ย. 62 ยังตรวจสวนไม่ครบ บางรายยังไม่ได้เงินแต่ยืนยันว่าเกษตรกรทุกราย แต่จะช้าเพราะการตรวจสวนช้าต่อไปนี้ให้ชาวสวนยางมีสวนกี่ไร่ทำยางชนิดใดให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านรับรอง ถ้าเจ้าของสวนหรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแจ้งเท็จก็จะเป็นผู้รับผิดชอบ ถัดจากนี้จะทำให้ตรวจสวนได้เร็วขึ้น คืองวด 2 วันที่ 1 มกราคม 63 ไม่รอตรวจสวนงวด 3 วันที่ 1 มีนาคม 63 ซึ่งงวด 2 และ 3 ไม่ต้องตรวจสวน จะไวแล้ว ทีนี้อีกประเด็นคือ กรณีไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ขึ้นทะเบียนการปลูกไว้เป็นผู้ถือบัตรสีชมพูแค่ขึ้นทะเบียนตามจริงก็จะได้เงินส่วนต่างประกันรายได้
ส่วนข้าวโพด มติ 30 พ.ย. 63 นำเข้า ครม. 11 ธ.ค. 63 อนุมัติได้ 8.50 บาท 20 ธันวาคมนี้ โอนเงินส่วนต่างงวดแรก โดยของขวัญปีใหม่ให้คนไทยทั้งประเทศ
ข้าว มัน ยาง ปาล์ม นั้นยังมีมาตรการเสริมเพื่อให้กระเป๋าซ้ายเพิ่มขึ้น ให้มีเงินมากที่สุด เช่น ช่วงข้าวออก เยอะ พณ.ขอชะลอการขายข้าวเปลือก ให้เกษตรกรไม่นำข้าวออกมาขายซึ่งส่งผลให้ราคาตก เก็บตั้งแต่ 2 เดือนเป็นต้นไป ตันละ 1,500 บาท สามารถเอาไปจำนองเงินกู้กับ ธ.ก.ส.ได้อีกโดยไม่มีดอกเบี้ย เเละสถาบันเกษตรกร สถาบันเกษตรกรถ้าเก็บไว้ไม่นำออกมาขายสามารถได้รับตันละ 1.500 บาท โดย สถาบันได้ 1,000 บาท เกษตรกรได้ 500 บาท ถ้าโรงสีใดช่วยซื้อข้าวมาเก็บไว้ให้โรงสีกู้เงิน แล้วรัฐบาลจะช่วยร้อยละ 3 เช่นกู้มา 5 รัฐช่วย 3 ผู้ประกอบการจ่าย 2
ที่ผ่านมาไปบุกจีน ตุรกี อินเดีย เยอรมนี ไปหนานหนิงขายมัน 2,600,000 ตัน ไปอินเดียขายยางได้ 100,000 ตัน ไม้ยางพาราก็เป็นอนาคตสำคัญของอินเดีย เร่งบ้านให้คนจนได้มีที่อยู่ ถ้าสร้างบ้านเสร็จจะต้องใช้เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งอนาคตจะใช้ไม้อื่นแทนไม้สักซึ่งจะใช้ไม้ยาง ไปเปิดตลาดบังคาลอร์ และอิสรามาบัด
ไปตุรกีขายหมอนยาง กยท. กับเอกชน โดย กยท. กับเอกชนรวมเป็น 20 ล้านใบ ด้านผลไม้ก็ดูแล แต่ใช้ยาคนละขนาน มีมาตรการช่วยเหลือและผลไม้ราคาดี