ผู้จัดการรายวัน360-"จุรินทร์"กางแผนทำงานปี 63 สวมบทหัวหน้าทีมเซลล์แมนลุยต่อ เตรียมนำคณะบุกขายสินค้าไทย เป้าหมาย 18 ประเทศ พร้อมเดินหน้าเร่งเจรจาเอฟทีเอที่ค้างอยู่ให้จบ หวังใช้เป็นประตูเปิดตลาดให้กับสินค้าและบริการของไทย ปิ๊งไอเดียคุยทำเอฟทีเอรายมณฑลกับจีน รายรัฐกับอินเดีย เพื่อให้เปิดตลาดได้เร็วขึ้น ยันโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 ชนิด ยังคงเดินหน้าต่อ หลังปีนี้ทำจบครบหมดแล้ว แย้ม 11 ธ.ค.นี้ มาตรการเสริมช่วยชาวนา 3 โครงการรอเข้า ครม.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ถึงแผนงานที่จะเดินหน้าในปี 2563 วานนี้ (9 ธ.ค.) ว่า ได้หารือเฉพาะงานที่จะเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยในด้านการส่งออก ปี 2563 มีแผนที่จะนำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนเดินทางไปเปิดตลาดอย่างน้อยใน 16 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ ฮ่องกง จีน เวียดนาม ฝรั่งเศส อังกฤษ ตะวันออกกลาง รัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ติมอร์เลสเต เกาหลีใต้ บังกลาเทศ มัลดีฟส์ และกัมพูชา เป็นต้น เพื่อผลักดันการส่งออกและสร้างโอกาสทางการค้าให้กับไทย
ทั้งนี้ ยังมีแผนที่จะผลักดันการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อลดภาษีและใช้สร้างโอกาสในการส่งออกให้กับสินค้าและบริการของไทย โดยเฉพาะเอฟทีเอไทย-ตุรกี จะเร่งรัดให้เสร็จภายในกลางปีหน้า รวมถึงเอฟทีเอไทย-ปากีสถาน ไทย-ศรีลังกา ที่จะต้องเร่งรัดด้วย และยังมีเอฟทีเอที่จะเริ่มต้นใหม่ ทั้งไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ไทย-อังกฤษ ไทย-ฮ่องกง และไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟต้า) ซึ่งประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตล์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์
"ได้มอบนโยบายให้ไปเริ่มต้นการทำเอฟทีเอรูปแบบใหม่ ที่จะลงลึกรายมณฑลหรือรายรัฐ ในประเทศที่เหมาะสมที่จะทำข้อตกลงพิเศษทางด้านการค้าและบริการระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมการส่งออกให้สินค้าและบริการในเชิงลึกให้มากขึ้น เช่น อาจมีข้อตกลงพิเศษกับมณฑลบางมณฑลของจีน หรือทำกับอินเดียบางรัฐที่มีความเหมาะสม เพราะบางมณฑล บางรัฐ มีอำนาจเต็มในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้มีการลดภาษีหรือมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น และเร็วกว่าการทำเอฟทีเอเป็นแบบทั้งประเทศ ซึ่งที่เรียกว่าเป็นเอฟทีเอรูปแบบใหม่ เพราะเข้าใจกันได้ง่าย แต่สุดท้ายจะเป็นความร่วมมือแบบไหน ก็อยู่ที่การขับเคลื่อน"นายจุรินทร์กล่าว
ส่วนโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพด ก็จะมีการเดินหน้าต่อ เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยขณะนี้ได้จ่ายส่วนต่างไปแล้ว 4 ชนิด ส่วนข้าวโพด ซึ่งเป็นตัวสุดท้าย จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 11 ธ.ค.2562 และจะจ่ายส่วนต่างได้วันที่ 20 ธ.ค.2562 ซึ่งหมายความว่าพืชเกษตรทั้ง 5 ชนิด สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนเสร็จสิ้นภายในปีนี้ตามเป้า
อย่างไรก็ตาม กรณียางพาราที่ยังมีปัญหาในเรื่องกระบวนการตรวจสวนที่ค่อนข้างล่าช้า ซึ่งได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไปแล้ว โดยได้มีการปรับวิธีการตรวจสวนให้กระชับขึ้น คือ เปลี่ยนมาเป็นวิธีให้เจ้าของสวนเป็นผู้แจ้งข้อมูลว่าทำยางชนิดใด มีจำนวนพื้นที่กี่ไร่ จากนั้นให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งให้การรับรองว่าเป็นความจริง และส่งข้อมูลให้กับ กยท. จากนั้น กยท. จะส่งข้อมูลให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อโอนเงินส่วนต่างได้ทันที โดยคาดว่าเกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับเงินส่วนต่างเร็วขึ้น และจนถึงขณะนี้ ได้มีการโอนเงินส่วนต่างให้กับเกษตรกรไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนเกษตรกรชาวสวนยางที่มีอยู่ทั้งหมด ส่วนผู้ถือบัตรสีชมพู ยืนยันว่าสามารถได้รับเงินส่วนต่างเช่นเดียวกัน
นายจุรินทร์กล่าวว่า ในวันที่ 11 ธ.ค.2562 จะมีการนำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. มีจำนวน 3 เรื่อง คือ การที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเรื่องของต้นทุน , การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว และการชะลอการขายข้าว ที่จะมีการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรทันทีตันละ 1,500 บาท หากเก็บข้าวไว้ 1-5 เดือน แต่ถ้าเป็นสถาบันเกษตรกรเก็บ สถาบันฯ จะได้ตันละ 1,000 บาท เกษตรกรได้ 500 บาท และยังสามารถนำข้าวไปประกันขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. ได้ 80% ของราคาตลาด โดยไม่เสียดอกเบี้ย ส่วนโรงสี ที่ไปกู้เงินมาซื้อข้าวเก็บสต๊อก 2-6 เดือน ก็จะได้รับการช่วยเหลือดอกเบี้ย 3%
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ถึงแผนงานที่จะเดินหน้าในปี 2563 วานนี้ (9 ธ.ค.) ว่า ได้หารือเฉพาะงานที่จะเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยในด้านการส่งออก ปี 2563 มีแผนที่จะนำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนเดินทางไปเปิดตลาดอย่างน้อยใน 16 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ ฮ่องกง จีน เวียดนาม ฝรั่งเศส อังกฤษ ตะวันออกกลาง รัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ติมอร์เลสเต เกาหลีใต้ บังกลาเทศ มัลดีฟส์ และกัมพูชา เป็นต้น เพื่อผลักดันการส่งออกและสร้างโอกาสทางการค้าให้กับไทย
ทั้งนี้ ยังมีแผนที่จะผลักดันการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อลดภาษีและใช้สร้างโอกาสในการส่งออกให้กับสินค้าและบริการของไทย โดยเฉพาะเอฟทีเอไทย-ตุรกี จะเร่งรัดให้เสร็จภายในกลางปีหน้า รวมถึงเอฟทีเอไทย-ปากีสถาน ไทย-ศรีลังกา ที่จะต้องเร่งรัดด้วย และยังมีเอฟทีเอที่จะเริ่มต้นใหม่ ทั้งไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ไทย-อังกฤษ ไทย-ฮ่องกง และไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟต้า) ซึ่งประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตล์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์
"ได้มอบนโยบายให้ไปเริ่มต้นการทำเอฟทีเอรูปแบบใหม่ ที่จะลงลึกรายมณฑลหรือรายรัฐ ในประเทศที่เหมาะสมที่จะทำข้อตกลงพิเศษทางด้านการค้าและบริการระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมการส่งออกให้สินค้าและบริการในเชิงลึกให้มากขึ้น เช่น อาจมีข้อตกลงพิเศษกับมณฑลบางมณฑลของจีน หรือทำกับอินเดียบางรัฐที่มีความเหมาะสม เพราะบางมณฑล บางรัฐ มีอำนาจเต็มในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้มีการลดภาษีหรือมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น และเร็วกว่าการทำเอฟทีเอเป็นแบบทั้งประเทศ ซึ่งที่เรียกว่าเป็นเอฟทีเอรูปแบบใหม่ เพราะเข้าใจกันได้ง่าย แต่สุดท้ายจะเป็นความร่วมมือแบบไหน ก็อยู่ที่การขับเคลื่อน"นายจุรินทร์กล่าว
ส่วนโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพด ก็จะมีการเดินหน้าต่อ เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยขณะนี้ได้จ่ายส่วนต่างไปแล้ว 4 ชนิด ส่วนข้าวโพด ซึ่งเป็นตัวสุดท้าย จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 11 ธ.ค.2562 และจะจ่ายส่วนต่างได้วันที่ 20 ธ.ค.2562 ซึ่งหมายความว่าพืชเกษตรทั้ง 5 ชนิด สามารถดำเนินการได้ครบถ้วนเสร็จสิ้นภายในปีนี้ตามเป้า
อย่างไรก็ตาม กรณียางพาราที่ยังมีปัญหาในเรื่องกระบวนการตรวจสวนที่ค่อนข้างล่าช้า ซึ่งได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไปแล้ว โดยได้มีการปรับวิธีการตรวจสวนให้กระชับขึ้น คือ เปลี่ยนมาเป็นวิธีให้เจ้าของสวนเป็นผู้แจ้งข้อมูลว่าทำยางชนิดใด มีจำนวนพื้นที่กี่ไร่ จากนั้นให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านคนใดคนหนึ่งให้การรับรองว่าเป็นความจริง และส่งข้อมูลให้กับ กยท. จากนั้น กยท. จะส่งข้อมูลให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อโอนเงินส่วนต่างได้ทันที โดยคาดว่าเกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับเงินส่วนต่างเร็วขึ้น และจนถึงขณะนี้ ได้มีการโอนเงินส่วนต่างให้กับเกษตรกรไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนเกษตรกรชาวสวนยางที่มีอยู่ทั้งหมด ส่วนผู้ถือบัตรสีชมพู ยืนยันว่าสามารถได้รับเงินส่วนต่างเช่นเดียวกัน
นายจุรินทร์กล่าวว่า ในวันที่ 11 ธ.ค.2562 จะมีการนำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. มีจำนวน 3 เรื่อง คือ การที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเรื่องของต้นทุน , การช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว และการชะลอการขายข้าว ที่จะมีการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรทันทีตันละ 1,500 บาท หากเก็บข้าวไว้ 1-5 เดือน แต่ถ้าเป็นสถาบันเกษตรกรเก็บ สถาบันฯ จะได้ตันละ 1,000 บาท เกษตรกรได้ 500 บาท และยังสามารถนำข้าวไปประกันขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. ได้ 80% ของราคาตลาด โดยไม่เสียดอกเบี้ย ส่วนโรงสี ที่ไปกู้เงินมาซื้อข้าวเก็บสต๊อก 2-6 เดือน ก็จะได้รับการช่วยเหลือดอกเบี้ย 3%