xs
xsm
sm
md
lg

“สิงห์” ซุ่มซื้อร้านอาหารไม่หยุด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผู้จัดการรายวัน 360 - “สิงห์” รุกหนักกลุ่มฟูด “ฟู้ดแฟคเตอร์” หัวหอก เดินหน้าซุ่มซื้อกิจการอาหารไม่หยุด หลังทุ่ม 1,500 ล้านบาทฮุบซานตาเฟ่สเต๊กสำเร็จแล้วเสริมพอร์ต

นายปิติ ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยังขยายธุรกิจอาหารต่อเนื่อง โดยขณะนี้มองอยู่อีก 2-3 แบรนด์ ทั้งการพัฒนาเอง ซื้อกิจการ การร่วมทุน ซึ่งล่าสุดได้ซื้อซานตาเฟ่สเต๊ก รวมถึงร้านเหม็งนัวนัวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รวม 88% หรือมูลค่า 1,500 ล้านบาท ของบริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด ส่วนผู้ถือหุ้นกลุ่มเดิมยังเหลืออยู่อีก 12% โดยยังคงบริหารจากชุดเดิมอีก 3 ปีหลังจากนั้นค่อยว่ากันใหม่ หลังจากที่ใช้เวลาเจรจากัน 9 เดือน


(Casual Dining) ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมสำหรับกลุ่มเพื่อนและกลุ่มครอบครัว คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโต 15% ในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่สูงขึ้น จึงเป็นโอกาสของร้านสเต็กซานตา เฟ่และเหม็งนัวนัว


อีกทั้งภายใน 5 ปีจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาสินค้ากลุ่มอาหารไม่ต่ำกว่า 25 รายการ จากปัจจุบันที่มี 2 รายการ คือ ซอสต๊อด ซอสพริกสำหรับปรุงรส และสาหร่ายมาชิตะ เพื่อสร้างให้เป็นโปรดักต์แชมเปียนส์หรือสินค้าหลักที่วางจำหน่ายในช่องทางรีเทลต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันรายได้สู่เป้าหมาย 15,000 ล้านบาทตามที่ตั้งไว้ ด้วยงบลงทุนรวม 5,000 ล้านบาทที่วางไว้

ปัจจุบันกลุ่มอาหารของฟู้ดแฟคเตอร์ ประกอบด้วย ร้านฟาร์มดีไซน์, ร้านอาหารญี่ปุ่น คิตาโอจิ และเอส 33 โดยบริษัท เอสคอมพานี จำกัด ดูแลกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร และร้านซานตาเฟ่สเต๊ก มี 117 สาขา วางแผนจะใช้ช่องทางร้านค้าเหล่านี้เป็นจุดขายสินค้าในกลุ่มได้ เช่น น้ำดื่ม เบียร์ ข้าวบรรจุถุงพันดี และยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกับกลุ่มบริษัท เฮสโก โซลูชั่น จำกัด และบริษัท เฮสโก ฟู้ด จำกัด และยังมีฟู้ด อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ ในการพัฒนาเมนูและผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับร้านซานตาเฟ่ สเต๊ก และเหม็งนัวนัวอีกด้วย

นายสุรชัย ชาญอนุเดช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด ผู้บริหารร้านซานตาเฟ่สเต๊ก เปิดเผยว่า หลังจากที่กองทุนต่างประเทศได้ขายหุ้นออกก็มีบริษัทตัวแทนที่เราติดต่อคือ ไพรซ์วอเตอร์ เข้ามาเป็นตัวกลางในการหาผู้สนใจมาซื้อหุ้น โดยช่วงแรกมีมากกว่า 50 รายที่เสนอชื่อมา เป็นไทย 25 ราย และต่างประเทศ 25 ราย สุดท้ายตัดเหลือ 7 ราย และสุดท้ายคือเหลือกลุ่มสิงห์ที่สามารถตกลงและสรุปการเจรจาซื้อหุ้นกันได้

จากนี้ไปซานตาเฟ่จะรุกหนักมากขึ้น หลังจากได้ทุนใหม่กลุ่มสิงห์เข้ามาถือหุ้นใหญ่ โดยจะเปิดเฉลี่ย 20 สาขาต่อปี แบ่งเป็นบริษัทฯ 10 สาขา และแฟรนไชส์ 10 สาขา และจะขยายสาขาที่มีพื้นที่เล็กลงเฉลี่ย 90 ตารางเมตรควบคู่กันไปด้วย เพื่อความคล่องตัวในการหาพื้นที่ ล่าสุดพื้นที่เล็กเปิดแล้วที่พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน และคาดว่าปี 2562 นี้จะมีรายได้รวมประมาณ 1,800 ล้านบาท ส่วนปีหน้ารายได้เพิ่มเป็น 2,000 ล้านบาท และรักษาระดับเติบโต 20% ต่อปี อย่างต่ำ 3 ปี

ปัจจุบันมีซานตาเฟ่สเต๊ก 117 สาขา และร้านเหม็งนัวนัวขายส้มตำอาหารอีสานมี 7 สาขา ซึ่งแบรนด์หลังนี้จะเน้นลงทุนเอง ขณะนี้มี 7 สาขา จะเปิดให้ครบ 30 สาขาภายใน 10 ปี เน้นเปิดกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มสิงห์ได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่เพื่อมุ่งแสวงหาโอกาสขยายธุรกิจใหม่ โดยมี 6 เสาหลักที่เป็นหัวหอกสร้างการเติบโตขององค์กร ประกอบด้วย 1. ธุรกิจเบียร์ โซดา และน้ำดื่ม 2. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์บางกอกกล๊าส 3. ธุรกิจระดับภูมิภาค (รีจินัล) ภายใต้ สิงห์ เอเชีย โฮลดิ้ง 4. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสิงห์เอสเตท 5. ธุรกิจซัปพลายเชน ภายใต้บุญรอดซัพพลายเชน และ 6. ธุรกิจอาหาร โดยฟู้ด แฟคเตอร์

สำหรับธุรกิจอาหารในกลุ่มบุญรอดฯ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารแบบครบวงจรจากต้นน้ำไปยังปลายน้ำ บริษัทมุ่งตอกย้ำการ Synergy ร่วมผนึกความแข็งแกร่งระหว่างกลุ่มธุรกิจสร้างการเติบโตร่วมกัน โดยปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มการผลิตและผลิตภัณฑ์ (Food Product & Production) 2. กลุ่มเครือข่ายธุรกิจอาหาร (Food Network) 3. กลุ่มร้านอาหาร (Food Retail


กำลังโหลดความคิดเห็น