xs
xsm
sm
md
lg

IES เดินหน้าโรงไฟฟ้าลมที่ลาว พร้อมรุกโซลาร์ฟาร์ม-ชีวมวลที่ญี่ปุ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“อิมแพค อิเลคตรอนส์” เดินหน้าโรงไฟฟ้าพลังลมที่ลาวขนาด 600 เมกะวัตต์ มั่นใจได้สัญญาซื้อขายไฟจากไทยในปีหน้า พร้อมทั้งเร่งลงทุนโซลาร์ฟาร์มในญี่ปุุ่นด้วย

นายณัฐ หุตานุวัตร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อิมแพค อิเลคครอนส์ สยาม จำกัด (IES) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการมอนสูน วินด์ พาวเวอร์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังลมใหญ่แห่งแรกในลาวขนาด 600 เมกะวัตต์ ว่าโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมดังกล่าวนี้จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพพลังงานไฟฟ้าจากลาว เนื่องจากจ่ายไฟได้ดีในช่วงฤดูแล้ง ชดเชยไฟฟ้าจากเขื่อนในลาวที่ผลิตได้น้อยลงในช่วงแล้งที่น้ำเขื่อนลดลง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในไทย และโครงการลงทุนโรงไฟฟ้าในลาวของบริษัทย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แต่อย่างใด เพราะบริษัทตั้งเป้าจะผลักดันเข้าสู่โครงการเอ็มโอยูที่รัฐบาลไทยทำกับลาวในการรับซื้อไฟจากลาวจำนวน 7 พันเมกะวัตต์ ที่สิ้นสุดสัญญาและเตรียมจะเจรจาเพิ่มการรับซื้อไฟเพิ่มอีก 2 พันเมกะวัตต์

ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายว่าโครงการดังกล่าวจะลงนามสัญญาซื้อขายไฟกับไทยได้ภายในปีหน้าทั้งจำนวน 600 เมกะวัตต์ ในราคาค่าไฟที่ 11-12 เซ็นต์/หน่วย ต่ำกว่าค่าไฟที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซฯ ที่ 14 เซ็นต์/หน่วย โดยที่รัฐบาลไม่ต้องอุดหนุนทางการเงิน ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความพร้อมในทุกด้านทั้งเทคโนโลยี แหล่งเงินกู้ ที่ตั้งโรงไฟฟ้า คงเหลือเพียงสัญญาซื้อขายไฟจากรัฐบาลไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โครงการนี้อยู่ห่างจากเวียดนามเพียง 50 กม. ซึ่งสามารถขายไฟส่งไปต่างประเทศได้

ขณะนี้โครงการดังกล่่าวได้รับหนังสือแจ้งเจตจำนงจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในการสนับสนุนการเงินโครงการเป็นวงเงิน 1.05 พันล้านเหรียญสหรัฐ และลงนามความร่วมมือด้านการดำเนินการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเวสทัส (Vestas) ซึ่งเป็นผู้ผลิตกังหันลมรายใหญ่ของโลก ขณะเดียวกันก็มีพันธมิตรต่างชาติหลายรายสนใจที่จะเข้าร่วมทุนด้วย ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณา

นายณัฐกล่าวต่อไปว่า นอกจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมที่ลาวแล้ว บริษัทฯ ได้มีการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันดำเนินการแล้ว 1 โครงการที่ฮิโรชิมา กำลังผลิต 14 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 1 โครงการที่ฮอกไกโด กำลังผลิต 22 เมกะวัตต์ จะจ่ายไฟเข้าระบบได้ในเดือนพ.ค. 2560 ส่วนอีก 2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 30 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการเจรจาคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้

ส่วนในไทยก็สนใจโซลาร์รูฟท็อปซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา โดยตั้งเป้าหมายติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปปีละ 15-30เมกะวัตต์ รวมทั้งมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตวู้ดพาเลต ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงไม้อัดแท่งเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่น โดยบริษัทมีแผนลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ญี่ปุ่นด้วย

ส่วนการลงทุนในไทยนั้น บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจากับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป โดยตั้งเป้าผลิต 15-30 เมกะวัตต์/ปี รวมทั้งมีแผนตั้งโรงงานผลิตวู้ดพาเลตซึ่งเป็นเชื้อเพลิงเศษไม้อัดแท่งเป็นวัตถุดิบในโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งบริษัทมีแผนจะตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลในญี่ปุ่น

เนื่องจากบริษัทฯ มีแผนลงทุนโรงไฟฟ้าในหลายโครงการทำให้ต้องใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการระดมทุน คือการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอน
กำลังโหลดความคิดเห็น