xs
xsm
sm
md
lg

“บลูพิน” จัดพอร์ตแฟชั่นสู้ภัยเศรษฐกิจ ลุยออนไลน์แก้ยอดวูบสุดปีที่แล้ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายถาวร กนกวลีวงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท บลูพิน อินเตอร์เทรด จำกัด (บลู คอร์เนอร์)
ผู้จัดการรายวัน360 - “บลูพิน” จัดทัพพอร์ตโฟลิโอใหม่ เผยมีทั้ง “ยกเลิก ยุบ รวมแบรนด์ พร้อมเพิ่มแบรนด์ใหม่” สยายปีกออนไลน์เต็มที่ ลั่นปีนี้ต้องโต 10% หลังจากปีที่แล้ววูบ 8% ต่ำสุด

นายถาวร กนกวลีวงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท บลูพิน อินเตอร์เทรด จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างการปรับกลยุทธ์ทางด้านแบรนด์สินค้าเสื้อผ้า เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาอาจจะยกเลิกบางแบรนด์อาจจะเป็นไลเซนซีแบรนด์ หรือแบรนด์ของเราที่ไม่เหมาะสมกับตลาดในปัจจุบัน หรือการยุบแบรนด์มาอยู่ภายใต้แบรนด์เดียวกัน รวมทั้งอาจจะมีการเพิ่มแบรนด์ใหม่ด้วยก็ได้ ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร เพราะอยู่ระหว่างการศึกษาต้องใช้เวลาในการพิจารณา

ปัจจุบันบริษัทฯ มีเสื้อผ้าที่ทำตลาดอยู่ในพอร์ตโฟลิโอ จำนวน 5 แบรนด์หลักคือ “บลูคอร์เนอร์” สัดส่วนยอดขาย 25% ซึ่งเป็นแบรนด์ที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นมาเองเกือบ 20 ปีแล้ว, แบรนด์ “พอร์ตแลนด์” สัดส่วนยอดขาย 35% เป็นไลเซนซีแบรนด์จากญี่ปุ่นที่ทำมา 25 ปีแล้ว, “คลาสสิฟายด์” แบรนด์เสื้อผ้าผู้หญิงทำงาน ของบริษัทฯ สัดส่วนรายได้ 15%, “ลิลลี่” แบรนด์จากจีนทำมา 3 ปีกว่าแล้ว และแบรนด์ “ซีลิโอ” เสื้อผ้าผู้ชายจากฝรั่งเศส ซึ่งทำครบสัญญา 5 ปีพอดี

“ตลาดเสื้อผ้าในไทยแข่งกันรุนแรงทั้งจากแบรนด์ไทยด้วยกันเองและแบรนด์จากต่างประเทศ โดยรวมแล้วในไทยตอนนี้ผมคิดว่ามีแบรนด์เสื้อผ้าที่จำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาด 200 แบรนด์ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมาก ขณะที่ผู้ประกอบการเสื้อผ้าประกอบการแบรนด์เองก็ต้องเหนื่อยในการสร้างยอดขาย ในแต่ละปีเราเองก็ต้องออก 8 คอลเลกชั่นต่อปีต่อแบรนด์เพื่อสร้างอารมณ์จับจ่ายให้ผู้บริโภค

ในส่วนของการลงทุนทางด้านช่องทางจำหน่ายปีนี้ไม่ได้เน้นการเปิดจุดขายที่เป็นเคานเตอร์ หรือแบบร้านค้ามากนัก แต่ก็มีการเพิ่มบ้างเมื่อได้ทำเลที่ดี เพราะปัจจุบันเน้นไปที่การสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ที่มีอยู่ก่อน เช่น ล่าสุดเปิดร้าน “บลูคอร์เนอร์” ที่ภูเก็ต รวมทั้งรีโนเวตสาขาที่เดอะมอลล์ โคราช ทำให้ปัจจุบันบริษัทฯ มีช่องทางจำหน่ายเป็นร้านของแต่ละแบรนด์ รวมกันประมาณ 320 จุด แยกเป็นชอป 20 สาขา และเคาน์เตอร์แบรนด์อีก 300 จุตตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ

“บริษัทฯ มุ่งขยายโอกาสในช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ซึ่งจะเริ่มพัฒนาจริงจังมากขึ้น จากเดิมที่ทำ 3 ช่องทางคือ ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ ผ่านเซ็นทรัลออนไลน์ และผ่านทางไป เช่น จะมีแบบเสื้อและดีไซน์ที่แตกต่างกันระหว่างช่องทางร้านค้ากับออนไลน์ หรือการโปรโมชั่นก็ต้องแตกต่าง ซึ่งทุกวันนี้ยังเหมือนกัน ทั้งแบบเสื้อผ้าและโปรโมชั่น โดยแต่ละปีจะใช้งบฯ ตลาด 5% จากยอดขายรวม”

นายถาวรกล่าวว่า การจัดวางแนวทางธุรกิจใหม่ในปี 2559 คาดว่าจะส่งผลให้ปีนี้มียอดขายรวมทุกแบรนด์เติบโต 10% ดีกว่าปีที่แล้วยอดขายรวมตกลง 8% ซึ่งถือว่าเป็นการตกลงมากที่สุดด้วยตั้งแต่ดำเนินกิจการมาจากในอดีตที่ผ่านมาเคยมีการเติบโตสูงสุดที่ 20%



PCA ตุน Backlog แล้ว 500-600 ล้านบาท
PCA ตุน Backlog แล้ว 500-600 ล้านบาท
ผู้จัดการรายวัน 360 - PCA ยอมรับไตรมาส 1/2559 มีรายได้จากการขายและบริการจำนวน 110.5 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขายและบริการ 193.9 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 43 ขณะที่ไตรมาส 1/2559 บริษัทมีขาดทุนสุทธิจำนวน 22.3 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 4.7 ล้านบาท เนื่องจากการงานโครงการที่ส่งมอบล่าช้ากว่าที่กำหนด “ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์” บอสใหญ่เผยบริษัทยังมี Backlog อีก 500-600 ล้านในไตรมาสที่ 2 สามารถส่งมอบงานได้ภายในปีนี้ และมั่นใจว่าจะมีรายได้ทั้งปีโต 15% ตามเป้าและกำไรสูงกว่าปีก่อน มั่นใจปีนี้ไม่ทำให้นักลงทุนผิดหวัง
กำลังโหลดความคิดเห็น